เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 45123 บ้านเมืองเมื่อ 50+ ปีก่อน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 03 ก.พ. 19, 18:28

สืบเนื่องจากกระทู้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5776.msg166846;topicseen#msg166846
ของคุณตั้ง
ท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

เคยคิดว่าน่าจะมีกระทู้คุยกันในเรื่องของคนในวัย สว. (ส.ว. ??)  เพราะคิดว่ามีเรื่องที่จะคุยกันได้อย่างหลากหลาย และน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆคน

ดิฉันก็เลยมาตั้งกระทู้นี้ สำหรับท่านที่ยังจำความหลังเมื่อ 50 ปีก่อน หรือยาวนานกว่า 50 ปีขึ้นไปก็ได้
ส่วนท่านที่ยังเกิดไม่ทัน  ก็อาจได้รับคำบอกเล่าของญาติผู้ใหญ่ จนจดจำมาเล่าสู่กันฟัง หรือจะมาตั้งคำถามให้ตอบกันบ้างก็ได้ค่ะ

ส่วนตัวเอง ก็จะเล่าไปเรื่อยๆเท่าที่จะนึกออก  คงไม่ออกมาละเอียดอย่าง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"  แต่ก็น่าจะให้ภาพถึงสังคมและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่สูญหายไปจากบ้านเมืองของเรา ว่ามีอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ก.พ. 19, 18:39

เมื่อกว่า 50 ปีก่อน (รวม 60-70 ปีด้วย)  เรามีอะไรบ้างที่ยุคนี้ไม่มีแล้ว
- ระบบการศึกษา  เด็กส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้าเรียนอนุบาล   รออายุ 8 ขวบแล้วเข้าเรียนประถม 1 เลย  ถ้าเรียนตามเกณฑ์     แต่ถ้าจะเรียนเร็วกว่าเกณฑ์ ก็เข้าป. 1 เมื่ออายุ 6 ขวบ
- ภาคบังคับของรัฐคือเรียนจบประถม 4     มีเด็กอยู่มากที่จบเพียงแค่นั้น    ส่วนเด็กที่เรียนต่อคือมัธยม 1 ถึงมัธยมปีที่ 6  ถือว่ามีความรู้พอจะออกมาประกอบอาชีพได้แล้ว
  ถ้ายังเรียนต่อก็คือเรียนชั้นมัธยมปีที่ 7 และ 8 เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน   เมื่อจบแล้วสมัครเข้ารับราชการได้เลย  มีส่วนน้อยที่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยมากเป็นเพศชาย
- การเรียนต่อในระดับอาชีวะ คือจบมัธยมปีที่ 6  ไปต่ออีก 2 หรือ  3 ปี   ผู้หญิงนิยมเรียนโรงเรียนการเรือน และโรงเรียนฝึกหัดครู
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ก.พ. 19, 19:39

ระบบการศึกษาของไทยมีเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ที่คุ้นเคยคือระบบ ๔-๓-๓-๒

ประถมต้น  ป. ๑ - ป. ๔
ประถมปลาย  ป. ๕ - ป. ๗
มัธยมต้น ม.ศ. ๑ - ม.ศ. ๓ (ลำดับห้องใช้อักษร ก ข ค ...)
มัธยมปลาย ม.ศ. ๔ - ม.ศ. ๕ (ลำดับห้องใช้ / ตามด้วยตัวเลข ๑ ๒ ๓ ...)

จากนั้นก็ถึงทางแยกของชีวิต คือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นระบบ entrance (เรียกสั้น ๆ ว่า "เอ็น") ให้เลือกได้ ๖ อันดับ ซึ่งต้องเลือกคณะที่คะแนนสูงเป็นอันดับต้นไปหาคณะที่คะแนนต่ำกว่า คณะที่มีคะแนนสูงสายวิทยาศาสตร์ก็คือแพทย์และวิศวะ สายศิลป์คืออักษรศาสตร์ วันประกาศผลการสอบเป็นวันที่ตื่นเต้นแฝงด้วยความสนุกสนาน ต้องเตรียมไฟฉายกับดูผลการสอบที่ติดบอร์ดที่สนามหน้าหอประชุมจุฬาฯ ตั้งแต่หัวค่ำ

คนที่สอบ ม.ศ. ๕ ได้ที่ ๑ ของประเทศทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ รวมทั้งคนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด จะได้รับการลงข่าวหน้า ๑ ทางหนังสือพิมพ์ และทางทีวี มีนักข่าวไปสัมภาษณ์เจ้าตัวและผู้ปกครองว่าทำอย่างไรจึงได้เก่งกาจอย่างนั้น  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ก.พ. 19, 20:51

ผมคุ้นอยู่กับระบบ
  ประถม ป.1 - ป.4 สอบข้อสอบกลาง ? ได้ประกาศนียบัตรประโยคประถม
  มัธยมต้น ม.1 - ม.6  สอบข้อสอบกลาง ? ได้ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมต้น

แล้วก็เริ่มสับสนในการเปรียบเทียบกับที่เป็นระบบ มศ.1 - มศ.5  แล้วก็ยิ่งสับสนเข้าไปใหญ่กับระบบที่ใช้กันในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.พ. 19, 22:37

ผมจำได้ว่าเข้าเรียนชั้นมูลเมื่ออายุ 5 ขวบพอ 6 ขวบขึ้นไปเรียนชั้น ป 1 พอถึง ป 4 สอบข้อสอบกลางพอผ่านจะขึึ้นชั้น ม 1พอถึง ม 6 สอบข้อสอบกลางพอผ่านแล้วถ้าใครจะเรียนต่อถ้าโรงเรียนเดิมมีชั้น ม 7-ม 8 จะเรียนต่อก็ได้หรือไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมก็ได้ พอถึง ม 8 สอบข้อสอบกลางอีกต่อจากนั้นไปเข้ามหาวิทยาลัยสมัยผมแต่ละมหาวิทยาลัยจะสอบคัดเลือกกันเองสนุกสนานมากถ้าสอบได้หลายที่จะเลือกที่ใดดีทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นคือบางมหาวิทยาลัยมีคนสละสิทธิ์ก็ต้องเรียกรอบสอง(ที่มีคะแนนรองๆลงมา)เข้าแทน ต่อมาถึงได้มีการสอบรวม ไม่ทราบปัจจุบันเป็นอย่างไรแล้ว
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 07:17

จำได้ว่านักเรียนอนุบาลและประถมยุคนั้นทั้งชายหญิงมีหมวกกะโล่สีขาวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบนักเรียนทุกคน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 07:37

ระบบการศึกษาของไทยมีเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ที่คุ้นเคยคือระบบ ๔-๓-๓-๒

พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๓

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/A/086/1.PDF


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 09:26

วิชานี้ ผมนั่งฟังได้อย่างเดียวเลยครับ แฮ่ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 16:09

อ้างถึง
คนที่สอบ ม.ศ. ๕ ได้ที่ ๑ ของประเทศทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ รวมทั้งคนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด จะได้รับการลงข่าวหน้า ๑ ทางหนังสือพิมพ์ และทางทีวี มีนักข่าวไปสัมภาษณ์เจ้าตัวและผู้ปกครองว่าทำอย่างไรจึงได้เก่งกาจอย่างนั้น

คนที่สอบได้ 50 อันดับแรกทั้งสายวิทย์และสายศิลป์  เรียกว่า "ติดบอร์ด"   มีรายชื่อและชื่อร.ร. ลงในหนังสือพิมพ์ด้วย
ร.ร. ที่มีชื่อปรากฏใน 50 อันดับแรกมากที่สุดคือร.ร.เตรียมอุดมศึกษา    ถือว่าไม่แปลก  เพราะร.ร.นี้ได้ชื่อว่าเปิดสอบคัดเลือกเอานักเรียนหัวกะทิจากร.ร.ต่างๆเข้าไปเรียนมัธยมปลาย       จนบางร.ร.ต้องหาทางออกกฎไม่ให้เด็กของตนไปสอบเข้าเตรียมอุดม  ไม่งั้นเดี๋ยวไม่เหลือจำนวนเด็กเก่ง ที่จะทำชื่อเสียงให้ร.ร.
แล้วชื่อเสียงของร.ร.ก็วัดกันตอนสอบม.ปลายเสียด้วย    ไม่ค่อยมีข่าวสำหรับเด็กประถมและเด็กม.ต้น

50 อันดับนี้ นอกจากร.ร.เตรียมอุดมศึกษา ยังมีร.ร.สวนกุหลาบ   และร.ร.ชื่อฝรั่งอีก 2-3 ร.ร.สำหรับสายวิทย์
ส่วนสายศิลป์  ก็แน่ละค่ะว่าร.ร.เตรียมอุดมศึกษาแทบจะเหมาไปตามเคย    นอกนั้นก็มีร.ร.สตรีชื่อฝรั่ง แลร.ร.ราชินี ติดอันดับด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 16:16

คุณ Choo พูดถึงม. 8  เพราะฉะนั้นต้องอยู่ก่อนดิฉันแน่ๆ
ดิฉันเป็นยุคหัวเลี้ยวเข้าสู่ มศ.  หรือมัธยมศึกษา   ซึ่งเปลี่ยนจากม.1-8  มาเป็นมศ.1-5
สมัยดิฉัน  สอบเข้ามหาวิทยาลัย  มีกรรมการการศึกษาชุดหนึ่งชื่ออะไรลืมไปแล้ว (คุณเพ็ญชมพูคงหาเจอ) มีหน้าที่จัดให้ว่าคะแนนสอบของพวกเรานั้นจะได้ติดที่ไหน   ให้เลือกได้ 5 อันดับ  ในมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ 5 แห่ง 
ติดที่เดียว มหาวิทยาลัยเดียว   ไม่มีให้ไล่สอบตามมหาวิทยาลัยต่างๆ  ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กเก่งติดได้หลายแห่ง  และเด็กฝีมือรองๆหรือโหล่ๆ ไม่ติดเลย แล้วต้องมาเรียกรอบสองกัน

ร.ร.กวดวิชามีแล้ว  แต่ไม่เป็นล่ำเป็นสันเหมือนสมัยนี้
สถานที่กวดวิชาคือทีมอาจารย์ติวเตอร์ไปเช่าร.ร.เล็กๆ ในกรุงเทพ ในเวลาเลิกเรียนและเสาร์อาทิตย์ เป็นสถานที่สอนชั่วคราว   พอหมดช่วงเวลากวดวิชาก็หมดเวลาเช่าสถานที่กันไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 16:44

 พูดถึงบ้านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพบ้างค่ะ
     เมื่อ 50+ ปีก่อน   หมู่บ้านจัดสรรเป็นยังไงชาวบ้านยังไม่รู้จัก     ดูเหมือนจะมีอยู่ที่เดียวทางฝั่งธนแถวบางแค ชื่อ"หมู่บ้านเศรษฐกิจ" ดำเนินงานโดยคุณไถง สุวรรณทัต    เคยไปตอนก่อสร้างใหม่ๆจำได้ว่าเป็นตึกแถวยาวๆ สร้างใหม่ ทาสีเหมือนลูกกวาด  แต่ไม่มีคนมาเช่าเลย  เพราะสถานที่ตั้งอยู่ไกลมากแม้แต่กับชาวฝั่งธนด้วยกัน
     บ้านเดี่ยวมีให้เห็นมากมายตามถนนหนทาง     ไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านคนมีฐานะดี  แม้คนมีฐานะไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ก็ยังมีบ้านเดี่ยวพร้อมกับสนามหญ้ารอบบ้านให้ลูกๆวิ่งเล่นได้      เพราะที่ดินราคายังราคาไม่พุ่งเป็นร้อยล้านพันล้านเหมือนสมัยนี้     คนซื้อที่ดินปลูกบ้านมักซื้อแปลงเล็กๆ เพราะขี้เกียจตัดหญ้า  บริเวณกว้างเกินไปก็รกเปล่าๆ ดูแลยาก   ขนาดแปลงเล็กๆนั้นก็คือ 200 ตารางวา
    บ้านในกรุงเทพ ประมาณ 80% เป็นบ้านไม้ ส่วนใหญ่เป็น 2 ชั้น  เพื่อมีเนื้อที่เพียงพอสำหรับครอบครัวที่อยู่รวมกันหลายคน  มีปู่ย่าหรือตายาย ลุงป้าน้าอาอาศัยรวมอยู่กับพ่อแม่และลูกๆหลายคนใต้หลังคาเดียวกัน       คนกรุงเทพมีลูก 5 คนถือว่าปานกลาง จำนวนไม่มากมายอะไร 
    ส่วนตึก หรือบ้านที่ก่ออิฐฉาบปูน ถ้าไม่ใช่อาคารพาณิชย์ ก็คือบ้านของเศรษฐี    สุขุมวิทนับแต่ข้ามทางรถไฟช่องนนทรีไปถือเป็นชานเมือง  ไกลออกไปถึงซอยพร้อมพงษ์  ซอบไปดีมาดี ซอยเอกมัย  มีบ้านสวยๆมากมาย   โดยมากจะสร้างรั้วโปร่งอวดบ้านแก่คนภายนอกได้    เพราะขโมยไม่มี   โอ่งลายครามใส่ต้นไม้หรือไม้ดัดยังวางล่อสายตาอยู่ที่สนามได้   ไม่มีใครคิดจะปีนข้ามรั้วไปแบกออกมา
   อ้อ! แต่ละบ้านไม่มีเหล็กดัดที่หน้าต่างนะคะ     บ้านทันสมัยหน่อยมีหน้าต่างลวด    แต่ถ้าบ้านทั่วไปก็กางมุ้งนอน   เปิดหน้าต่างโล่งในตอนกลางคืนให้ลมพัดเข้ามาได้เต็มที่   ไม่ต้องใช้พัดลม  เพราะบ้านแต่ละบ้านอยู่ห่างกันพอจะไม่บังทางลม 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 20:07

  สิ่งที่มีมากเมื่อ 50+ ปีก่อนแต่ปัจจุบันหายากมากในกรุงเทพ คือกระแสลมที่พัดโกรกเข้ามาในบ้าน    ถ้าบ้านไหนมีระเบียง   ที่ตรงนั้นเป็นสวรรค์ดีๆนี่เองเวลาไปนั่งนอนเล่น   เพราะลมพัดตึงๆผ่านได้ตลอด   ชื่นใจยิ่งกว่าลมจากพัดลมเสียอีก
  ระเบียงบ้านมักถูกออกแบบให้ยื่นไปทางทิศใต้   เพราะได้รับลมตลอด    ไม่ค่อยเห็นบ้านไหนทำระเบียงยื่นทางตะวันตก  เนื่องจากจะร้อนไอแดดตั้งแต่บ่ายไปจนเย็น  นั่งไม่ลง 
  ความสบายของคนกรุงเทพเมื่อครึ่งศตวรรษก่อนและนานกว่านั้น อาศัยพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก   การดำเนินชีวิตจึงกลมกลืนไปกับธรรมชาติ   อย่างเช่นปลูกบ้านให้ถูกทางลม   ปลูกต้นไม้ไว้ให้เงาร่ม
  บ้านที่ใต้ถุนสูง ลมก็พัดผ่านได้ดี   ทำให้พื้นห้องที่อยู่ข้างบนพลอยเย็นไปด้วย     บางบ้านกั้นใต้ถุนสูงเป็นห้อง แต่ไม่ตีผนังทึบ   ใช้ไม้ตีกั้นผนังบางส่วนแบบโปร่งๆ ก็เพื่อให้มีแสงและลมผ่านเข้าไปได้นั่นเอง
  อีกอย่างที่มีน้อยเมื่อ 50+ ปีก่อนแต่มีเยอะในปัจจุบัน  คือฝุ่น
  เมื่อก่อนไม่ใช่ว่าบ้านไม่มีฝุ่น  แต่ฝุ่นน้อยกว่ายุคนี้มาก  เป็นฝุ่นจากดินที่ไม่มีพิษภันจากการเผาไหม้     เพราะฝุ่นน้อย การถูพื้นกระดานให้มันจึงเป็นเรื่องไม่เกินความสามารถของเด็กๆ ในบ้าน
  ยุคนี้ลมหายไปแล้ว เพราะทิศทางลมถูกบังด้วยอาคารสูงแน่นขนัดพื้นที่      ฝุ่นจากถนนก็เหนียวหนับจับบ้าน  จึงต้องใส่กระจกทั้งบ้านแล้วเปิดแอร์รับความเย็นแทน   กับป้องกันฝุ่นจากภายนอก     ต้นไม้ใหญ่ๆให้ร่มเงาหายไป เพราะบ้านไม่มีพื้นที่่บริเวณ   
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ก.พ. 19, 22:51

จองที่นั่งริมหน้าต่างครับ จะได้แอบดูสาวๆ ห้องอื่นได้ด้วย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.พ. 19, 07:55

บ้านเรือนริมถนนในยุคนั้นเป็นแบบนี้ค่ะ
หลังซ้ายเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่อาศัย   ลักษณะคือบ้านไม้สองชั้น มีหน้ามุขและปีกซ้ายหรือขวา
หลังขวาคือห้องแถวไม้สองชั้น  ชั้นล่างเป็นร้าน เปิดค้าขาย  ชั้นบนใช้อยู่อาศัย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.พ. 19, 07:56

ดูภาพมุมกว้าง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง