เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20875 เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ม.ค. 19, 18:04

ขออนุญาตนำข้อเขียนของคุณ Pat Hemasuk ใน Facebook มาลงในนี้ค่ะ

เมื่อวานนี้ เวลา 04:02 น.

บัดเดี่๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน


****************************************


ผมอยากเขียนเรื่องเข้าใจผิดอย่างหนึ่งในเรื่องพระอภัยมณีที่เวลานี้คน 99 % ของคนรุ่นใหม่เข้าใจว่าพระฤๅษีขี่รุ้งกินน้ำออกมาช่วยสุดสาคร ซึ่งเรื่องนี้ไม่จริงครับ เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดมาไม่นานเลย จะบอกว่าเข้าใจผิดตั้งแต่หนังสือบทอาขยานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่มีรูปประกอบผิดๆ เล่มนี้ออกมาก็ว่าได้


ในสมัยผมเรียนนั้นจะเข้าใจกันดีว่ารุ้งที่พระฤๅษีขี่พุ่งออกมานั้นคือนกเหยี่ยวใหญ่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเหยี่ยวรุ้งหรืออีรุ้ง (Crested serpent-eagle) ซึ่งคนกรุงเทพ ฉะเชิงทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี คนสมัยเก่าๆ เรียกเหยี่ยวใหญ่ว่ารุ้งกันหมด เพราะเหยี่ยวพวกนี้กางปีกแล้วกว้างเมตรหนึ่งได้เลย ส่วนเหยี่ยวเล็กพวกเหยี่ยวนกเขาจะเรียกว่าเหยี่ยวกันตามปกติ ยกเว้นเหยี่ยวใหญ่พันธุ์นี้จะเรียกว่ารุ้งหรืออีรุ้ง


แต่ทำไมไม่เรียกว่าอินทรีตามที่ฝรั่งเรียกก็ไม่รู้ อาจจะเป็นเพราะมันเล็กกว่าอินทรีก็คงใช่ เพราะผมก็ไม่เคยเห็นเหยี่ยวรุ้งกางปีกใหญ่กว่าเมตร แต่อินทรีนั้นใหญ่กว่านั้น และคอมีแถบขาวอย่างชัดเจน


สมัยผมเด็กๆ นั้น ผมนั้นรู้จักรุ้งหรืออีรุ้งมาก่อนจะอ่านพระอภัยมณี เคยเห็นรุ้งยังมีอยู่มากแม้จะในกรุงเทพก็ยังมีบินให้เห็นตลอดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเป็นนกกินงูและกินปลา จะจับงูบินขึ้นไปกินบนยอดไม้ริมแม่น้ำให้เห็นไม่ยาก และยังเห็นแร้งบินกันเป็นกลุ่มในช่วงหน้าหนาว ซึ่งเวลานี้ไม่มีให้เห็นกันมาหลายสิบปีแล้ว


ดังนั้นสอนลูกหลานกันครับว่าจินตนาการของสุนทรภู่นั้นไม่ได้หมายความว่าพระฤๅษีขี่รุ้งกินน้ำตามจินตนาการของคนวาดรูปในหนังสือแบบเรียนเล่มนี้ แต่คนสมัยก่อนจะนึกภาพเป็นฤๅษีขี่นกเหยี่ยวรุ้งที่เป็นนกเหยี่ยวขนาดใหญ่ที่เป็นนกประจำถิ่นทั่วไปของไทยเรานี่เอง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 19:02

คุณวิกกี้ บอกว่าเหยี่ยวรุ้งตัวยาวประมาณ ๕๑-๗๑ เซนติเมตร ตัวจะเล็กไปสำหรับเป็นพาหนะให้ท่านฤๅษีขี่หรือเปล่า ?



ภาพจาก http://www.indianbirds.club


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 19:27

เรื่องนี้มีความเห็นเป็น ๒ ฝ่าย

ฝ่ายเหยี่ยวรุ้ง
https://www.silpa-mag.com/history/article_6581

ฝ่ายรุ้งกินน้ำ
https://www.silpa-mag.com/culture/article_6664

อ่านเหตุผลของแต่ละฝ่าย แล้วเชิญวินิจฉัยกันตามอัธยาศัยเทอญ
  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ม.ค. 19, 21:06

มันก็มีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง ก้ำกึ่งกัน
ถ้ารุ้งหมายถึงรุ้งกินน้ำ    ก็สอดคล้องกับครั้งก่อนที่พระโยคีขี่เมฆมาช่วยสุดสาคร     หมายถึงพาหนะของท่านเป็นของที่อยู่บนฟ้าเหมือนกัน   แล้วต้องเป็นของที่เคลื่อนไหวได้ อย่างเมฆในครั้งก่อน
รุ้งนั้นมีลักษณะเป็นสะพาน  อาจใช้ทอดไปสู่จุดหมายได้  คือพระโยคีโผล่มาจากไหนก็ตาม  แต่นั่งมาบนสายรุ้งที่ทอดลงมาถึงก้นเหวที่สุดสาครอยู่   แล้วก็เลื่อนขึ้นไปตามลำสายรุ้ง ขึ้นไปถึงข้างบนภูเขาได้

ถ้ารุ้งหมายถึงเหยี่ยวรุ้ง  ก็มองเห็นภาพไปอีกแบบหนึ่ง   คือสุดสาครถูกผลักตกลงไปก้นเหว ขึ้นมาไม่ได้   
 ถ้าพระโยคีจะลงไปช่วยถึงก้นเหว ก็ต้องมีพาหนะประเภทที่พาลงถึงก้นเหว แล้วพาขึ้นมาได้ 
ตามคำบรรยายว่า "ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต" คือประคองสุดสาครขึ้นมาจากก้นเหวขึ้นมาสู่พื้นที่บนภูเขา   
นกใหญ่ย่อมเป็นพาหนะพาทั้งสองขึ้นมาได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น   ม้ามังกรก็ยังช่วยไม่ได้เพราะมันไม่มีปีกจะเหาะขึ้นลงจากเหวได้

พิจารณาจากงานนิทานเรื่องอื่นๆของสุนทรภู่ประกอบเข้ามาด้วย   เห็นได้ว่างานหลายชิ้นได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมจีน  เช่นอภัยนุราชมาจาก "ห้องสิน"   
ข้อนี้ไม่แปลก  สุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ ย่อมได้อ่านวรรณคดีจีนที่แปลเป็นไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 1 
ตัวละครจีนประเภทเซียน   มีพาหนะอย่างหนึ่งเป็นเมฆ   หลงเหลืออยู่ในสำนวน "เซียนเหยียบเมฆ"   พระโยคีก็ใช้พาหนะแบบเซียนเหมือนกัน   
ถ้าเซียนขี่นกกะเรียนได้   พระโยคีจะขี่เหยี่ยวรุ้ง (หรือนกอินทรี) ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 09:37

ขอแวบเข้าซอยแยก, จากกระทู้เก่า  ชาติพันธุ์วรรณา ใน พระอภัยมณี (๓)

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3115.0

อ้างถึง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 09:39

คิดถึงจินตนาการของเด็กในวัยที่ต้องท่องอาขยานบทนี้ก็แล้วกันนะครับ

ผมจำได้ว่าผมวาดภาพในสมองไม่ถูกว่าโยคีจะขี่รุ้งอีท่าไหน รุ้งมันรูปร่างจริงๆอย่างไรก็ไม่รู้ เห็นแต่มันแบนๆ ขืนโยคีขึ้นไปนั่งคล่อมมีหวังโดนผ่าหมากแน่  
แล้วรุ้งไม่ใช่มันอยากจะเกิดก็เกิด ต้องเฉพาะหลังฝนเท่านั้นที่มันอาจปรากฎ ไม่ได้เคลื่อนไหวเหมือนพายุงวงช้างที่จะแหย่ปลายลงไปในหุบเหวเพื่อส่งผู้โดยสารให้ลงโดยสวัสดิภาพได้

แต่ผมก็ดับความสงสัยนั้นด้วยความจริงที่ว่ามันเป็นแค่นิทานหลอกเด็กเท่านั้น

การที่มีผู้รู้มาเฉลยว่ารุ้งคือนกขนาดใหญ่เอาตอนอายุเลยเจ็ดสิบนี่  ถือว่ายังไม่สายเกินกว่าที่ผมจะรู้สึกดีใจที่หมดเรื่องคาใจไปได้อีกเรื่องหนึ่ง อย่างน้อยความรู้สึกต่อท่านสุนทรภู่ก็ดีขึ้นแยะ
ถึงโยคีขี่นกยักษ์ก็ยังเป็นเรื่องหลอกเด็กอยู่ดี แต่ถือว่ามีตรรกะรองรับ ไม่เพ้อเจ้อตกขอบ

ถ้าครูบอกอย่างนี้ตั้งแต่ตอนนั้นคงจบ ไม่เก็บไว้ในใจมาจนถึงวัยนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 10:55

ถ้าเป็นรุ้งกินน้ำ  พระโยคีน่าจะขี่แบบสไลเดอร์นะคะ  ยิงฟันยิ้ม
แต่ถ้าเป็นนกรุ้ง  ดูตามรูปข้างบนนี้   คงนั่งสบายกว่า มีปีกสองข้างเหมือนโซฟาที่ดึงออกไปได้   
อุ้มสุดสาครขึ้นนั่งด้วยก็สะดวก
หากพระโยคีอ้วน พุงออกมา  นกก็คงพอรับน้ำหนักไหว  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 12:14

นกรุ้งมีปรากฏในเรื่องคันธณะกุมารชาดก พญาแถนส่งนกรุ้งมากินชาวเมือง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเหตุการณ์ตอนนี้ที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

ถ้านกรุ้งตัวใหญ่ขนาดนี้ ท่านฤๅษีคงขี่ได้ไม่มีปัญหา  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Chatsurang_Kaewpenthong/fulltext.pdf หน้า ๗๕


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 12:26

มโนภาพคนขี่รุ้งของฝรั่งมีสองแบบ

แบบแรกมันโดดข้ามมากกว่า
แบบหลังนี่โกงนิดๆ คือจับรุ้งมาแผ่เป็นแบนๆ เพราะถ้าตั้งแบบใบมีดวงเดือนตามที่ตามนุษย์เห็น  อีตาฮิตเลอร์คงไม่ยอมขี่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 12:36

โยคีขี่รุ้ง จินตนาการของไปรษณีย์ไทย (บน) และของคุณปยุต เงากระจ่าง (ล่าง)

ภาพจาก

http://oknation.nationtv.tv/blog/nitimada/2016/05/29/entry-5
http://oknation.nationtv.tv/blog/rukpong/2009/04/01/entry-1


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 12:45

นั่นมันไม่ใช่ขี่รุ้งแล้ว ฤาษีติดเครื่องเจ๊ต(ไว้ตรงไหนเป็นความลับ) ไอที่พ่นออกมาเป็นสีรุ้งต่างหาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ม.ค. 19, 18:01

ถ้ามีฝรั่งมาร่วมวงถกเถียงด้วย  อาจบอกว่าพระโยคีขี่รุ้งกินน้ำ  เพราะในนิทานตำนานของตะวันตก   เขารู้จักคำว่า riding the rainbow กันเป็นของธรรมดา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ม.ค. 19, 09:20

ฤๅษีไทยขี่เหยี่ยวรุ้ง VS ฤๅษีฝรั่งขี่นกอินทรี  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152730747114474&set=a.10150193993259474&type=3
https://churchm.ag/gandalf-planned-on-flying-to-mount-doom/


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ม.ค. 19, 11:42

ท่าทางมันไม่สมเหตุผมผลเท่าไหร่ ขี่รุ้งมันต้องแบบอีหนูคนนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ม.ค. 19, 12:45

ในตำนานจีนก็มีหนึ่ง(ในแปด)เซียนที่ขี่นก ดังในภาพ

Daoist immortal He Xiangu on a flying crane by Zhang Lu, early 16th century


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง