เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 29 ม.ค. 19, 12:19
|
|
เหยี่ยวรุ้งของพระโยคี น่าจะทิ้งตัวลงเหวแบบเดียวกับเหยี่ยวในคลิปนี้ได้ไหมคะ สมมุติว่าพื้นทะเลคือก้นเหวที่สุดสาครอยู่ เหยี่ยวก็กระพือปีกทรงตัวไว้ จนพระเจ้าตาอุ้มหลานขึ้นมานั่งด้วยกัน เหยี่ยวก็บินขึ้นสู่ยอดเขาปากเหว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 29 ม.ค. 19, 12:26
|
|
บัดเดี่๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
ย้อนกลับไปที่การใช้ภาษาของสุนทรภู่ กริยาของรุ้ง (จะเป็นสายรุ้งหรือเหยี่ยวรุ้งก็ตาม) คือ "พุ่ง" + ออกมา
ที่จริงถ้าจะเปลี่ยนเป็น พุ่งลงมา ก็จะเห็นชัดเจนว่าเป็นนก คือนกรุ้งพุ่งลงมาในเหว เหมือนเวลามันโฉบต่ำลงจะจับเหยื่อที่อยู่บนพื้นล่าง แต่กวีเอกท่านบอกว่า "ออกมา" เลยเกิดคำถามว่า ออกมาจากไหน ถ้าออกมาจากเมฆ ก็น่าจะเป็นรุ้งกินน้ำ
ถ้าเป็นรุ้งกินน้ำ คงจะคงสภาพอยู่ได้ไม่กี่นาที ขากลับพระโยคีเลยต้องหายตัว เพราะพาหนะเลือนหายไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 30 ม.ค. 19, 09:42
|
|
มีประเด็นเพิ่มเติมครับ "บัดเดี่๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว"
เสียงที่สุดสาครได้ยินนี้ จะเป็นเสียงอะไรได้บ้างหรือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 30 ม.ค. 19, 11:05
|
|
ประมวลความแล้ว,โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า โยคีขี่สายรุ้ง
เสียง"หง่างเหง่งวังเวงแว่ว" เป็นแบบ"สัญญาเสียงโยคี" ของสุดสาคร, sound effect หรือประมาณ jingle ประกอบการปรากฏ ของโยคี ถ้าเป็นนกรุ้งสุดสาครน่าจะแว่วเสียงปีกขยับพรั่บพรึ่บหรือหวีดหวิวจากเสียงลมปีกพัด โยคีประคองพาสุดสาครขึ้นเขาไปเอง โดยไม่มีกล่าวว่า พาขึ้นหลังนกบินขึ้นเขา และ ในที่สุดโยคีก็หายไปเหมือนสายรุ้งจาง ไม่มีการกล่าวถึงนกรุ้งบินพาโยคีลับไปเพราะ ระดับโยคีมาเองได้ ไม่ต้องอาศัย(เบียดเบียน)นก
ปล. ภาพโยคีขี่รุ้ง ในสมัยนี้ทำให้นึกถึงสิ่งที่เรียกว่า คอนเทรลกระเจิงแสงสีรุ้ง(Iridescent Contrail) ดังรูป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 30 ม.ค. 19, 18:32
|
|
ยังสองจิตสองใจมาตั้งแต่ค.ห.แรกค่ะ เพราะน้ำหนักนกรุ้งกับสายรุ้ง ก้ำกึ่งกัน เมื่อนำกลอนบทอื่นๆมาประกอบ บางบทก็ชวนให้คิดว่าเป็นนก บางบทก็ชวนให้คิดว่าเป็นสายรุ้ง
"บัดเดี่๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว" ที่คุณ Naris ถาม ดิฉันเห็นด้วยกับคุณหมอ SILA ว่าน่าจะเข้าข่าย sound effect นำบทบาทปรากฏตัวของพระโยคี ทำนองเดียวกับเสียงหวีดๆหวิวๆ ตอนนางเอกเดินเข้าไปในเคหาสน์ร้างผีสิง บอกให้รู้ว่าเดี๋ยวเจ้าของเดิมจะโผล่ออกมาหลอกหลอน ในเรื่องนี้ สุนทรภู่ใช้ระฆังเป็นสัญญาณ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับนก หรือสายรุ้ง ทำให้เดายากขึ้นไปอีก ถ้าเปลี่ยนเป็น "บัดเดี๋ยวดังพึ่บพั่บขยับปีก" ละก็ ไม่ต้องเถียงกันอีกว่านกหรืออะไร
ลองเรียงลำดับดูแบบทำสตอรี่บอร์ดจะเห็นว่า สับสนเอาการ 1 เสียงระฆังนำมาแต่ไกล แล้วเงียบหายไป 2 พระโยคีนั่งบนหลังนกรุ้ง แหวกฟ้ามาแต่ไกล 3 พระโยคีฉุดสุดสาครขึ้นไปจากก้นเหว 4 นกหายไปแล้ว ไม่รู้อยู่ไหน 5 พระโยคีพาสุดสาครขึ้นไปวางบนยอดเขา แล้วอบรมสั่งสอน 6 พระโยคีหายวับไป
ถ้างั้นนกพาหนะ ก็คงจะทำหน้าที่คล้ายแท็กซี่ คือพาผู้โดยสารมาถึงที่หมายก็จอดให้ลง แล้วแท็กซี่ก็ขับต่อไป ไม่เกี่ยวข้องด้วยอีก ขากลับ ผู้โดยสารเลยต้องกลับเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 30 ม.ค. 19, 18:36
|
|
ทีนี้ ถ้าเป็นสายรุ้ง จะได้ภาพตามนี้
1 เสียงระฆังนำมาแต่ไกล แล้วเงียบหายไป 2 สายรุ้งพาดผ่านมาบนฟ้า พระโยคีนั่งมาบนรุ้ง 3 รุ้งทอดลงมาในเหว พระโยคีฉุดสุดสาครขึ้นไปจากก้นเหว 4 รุ้งเป็นปรากฏการณ์ชั่วประเดี๋ยวเดียว จึงหายไปเร็วมาก 5 พระโยคีพาสุดสาครขึ้นไปวางบนยอดเขา แล้วอบรมสั่งสอน 6 พระโยคีหายวับไป เพราะรุ้งไม่เหลือให้ขี่กลับอีกแล้ว
ถ้าขี่รุ้งแบบนี้ รุ้งก็คล้ายๆสะพานชั่วคราว ใช้ได้หนเดียว คือพาพระโยคีสไลด์ลงมาก้นเหว แล้วหมดสภาพที่จะใช้สอยอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 01 ก.พ. 19, 10:50
|
|
ถ้าเป็นของผมนะครับ (แนวคิด ไม่มีนก และไม่มีสายรุ้ง)
1. เสียงระฆังนำมาแต่ไกล แล้วเงียบหายไป 2. พระโยคีเหาะลงมาจากปากเหว 3. ด้านสุดสาครซึ่งถูกผลักตกลงไปในเหว กระแทกเข้ากับของแข็งบางอย่างสลบไป ได้ยินเสียงนั้น จึงค่อยๆลืมตาตื่นขึ้น 4. เนื่องจากก้นเหวค่อนข้างมืด เมื่อสุดสาครมองมาทางปากหลุมที่สว่างกว่า จึงเกิดตาพร่าขึ้นชั่วขณะ มองเห็นเป็นสีรุ้ง 5. พระโยคีเข้าช่วยเหลือโดยพาสุดสาครขึ้นไปวางบนยอดเขา แล้วอบรมสั่งสอน 6. สุดสาครซึ่งในขณะนั้น รู้สึกตัวดีแล้ว และตาปรับให้ชินกับความสว่างแล้ว 7. ในตอนที่พระโยคีหายวับไป สุดสาครจึงไม่เห็นรุ้งใดๆ อีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 01 ก.พ. 19, 12:48
|
|
เนื่องจากก้นเหวค่อนข้างมืด เมื่อสุดสาครมองมาทางปากหลุมที่สว่างกว่า จึงเกิดตาพร่าขึ้นชั่วขณะ มองเห็นเป็นสีรุ้ง อาการของสุดสาครตามที่คุณนริศอธิบาย คล้ายกับอาการของต้อหินชนิดเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma) คือเมื่อมองแสงจ้าแล้วตาพร่ามัว เห็นเป็นวงสีรุ้งรอบ ๆ (Iridescent vision))
สมควรส่งไปให้คุณหมอศิลาตรวจอาการโดยละเอียดอีกที 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 01 ก.พ. 19, 16:32
|
|
เป็นอันว่า พระโยคขี่รุ้ง อาจตีความได้ 3 อย่าง 1 ขี่นกรุ้ง เหมือนเซียนขี่นกกะเรียน 2 ขี่สายรุ้ง 3 เป็นอาการไมเกรน หรือภาพหลอนเกิดจากสายตาพร่าของสุดสาคร เมื่อหัวกระแทกก้นเหว
ใครเลือกเชื่ออย่างไหนก็ตามอัธยาศัยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 02 ก.พ. 19, 12:46
|
|
รุ้งที่ไม่ใช่นก นอกจากจะเป็นรุ้งกินน้ำ มีให้เลือกอีก ๒ อย่างคือ คอนเทรลสีรุ้ง (Iridescent contrail)

และ ภาพวงสีรุ้งรอบแสงจ้าอันเนื่องจากความผิดปรกติของดวงตา
แต่ในบรรยากาศนิยายแฟนตาซีอย่างพระอภัยมณี รุ้งกินน้ำน่าจะเหมาะเป็นพาหนะของโยคีตอนนี้มากที่สุดภาพการแสดงหุ่นเชิดเรื่อง "สุดสาคร" (スサーコン) ในโรงเรียนประถมของญี่ปุ่น http://blog.livedoor.jp/majoreenu/archives/27285729.html
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 02 ก.พ. 19, 20:00
|
|
หุ่นน่าเล่นจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|