เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8840 กูเกิลดูเดิลรำลึกถึง 'มัลลี คงประภัศร์' บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
 เมื่อ 20 ม.ค. 19, 21:48

ผมเพิ่งเข้าอินเทอร์เน็ตตอน 3 ทุ่มวันนี้พอดี พลันได้เห็นภาพผู้หญิงไทยตั้งท่ารำในหน้ากูเกิล นำเมาส์เข้าไปทาบปรากฎว่าเป็นตัวอักษรไทยคำว่า

'สุขสันต์วันครบรอบ 136 ปี มัลลี คงประภัศร์'

แล้วเธอผู้นี้เป็นใครที่ไหนกัน ฮืม เหตุอันใดเล่ากูเกิลจึงนำภาพและข้อมูลเธอมาใส่ไว้ ฮืม ผมจึงตามรอยด้วยกูเกิลเข้าไปดูรายละเอียด ปรากฎข่าวจากสำนักข่าวช่องหนึ่งดังนี้

https://voicetv.co.th/read/nutFDqM2P

20 ม.ค.ปีนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดปีที่ 136 ของ 'มัลลี คงประภัศร์' หรือ 'ครูหมัน' ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูนาฏศิลป์คนสำคัญของไทย กูเกิลจึงอุทิศ 'กูเกิลดูเดิล' เพื่อรำลึกถึงในวันนี้
ภาพการ์ตูนกูเกิลดูเดิลที่ปรากฎพร้อมตัวอักษร Google ในเสิร์ชเอ็นจินชื่อดังระดับโลก วันนี้ (20 ม.ค. 2562) อุทิศให้กับ 'มัลลี คงประภัศร์' ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะ 'ครูหมัน' ผู้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญที่มีคุณูปการต่อแวดวงนาฏศิลป์ไทยในอดีต



ครูหมันเกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2428 ในละแวกคลองบางกอกใหญ่ และมีโอกาสได้ชมการแสดงละครรำในวังตั้งแต่ยังเด็ก เพราะมารดาเป็นข้าราชบริพารประจำห้องเสวยของเจ้านายพระองค์หนึ่งในวัง ทั้งยังเคยแอบหนีมารดาเพื่อติดตามคณะละครไปพักหนึ่ง และได้รับการฝึกสอนอย่างจริงจังจากครูละครคนสำคัญของวัง

'หมัน' เป็นชื่อที่ได้มาจากบทบาท 'สมันน้อย' ในละครดาหลัง ซึ่งเป็นบทบาทที่ทำให้เจ้านายหลายพระองค์ชมชอบ 'มัลลี คงประภัศร์' สมัยยังเด็ก และเมื่อโตขึ้นก็ได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถในการแสดงโขนและละครรำหลายบทบาท สามารถขึ้นแสดงแทนในบทบาทชายได้ ก่อนจะกลายมาเป็นครูรุ่นบุกเบิกของโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2477 หรือ 'วิทยาลัยนาฏศิลป์' ในปัจจุบัน


ตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นครูนาฏศิลป์ ครูหมันมีบทบาทสำคัญในการประสิทธิ์ประศาสตร์ความรู้แก่นักเรียนนาฏศิลป์ และมีการบันทึกด้วยว่า ครูหมันมีความสามารถในการประดิษฐ์ท่ารำร่วมกับครูท่านอื่นๆ และมีโอกาสได้รับเชิญไปแสดงนาฏศิลป์ในต่างประเทศหลายครั้ง จึงถือเป็นการช่วยเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างแดน

ทั้งนี้ ครูหมันถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2514 ขณะมีอายุได้ 89 ปี

                                         
                                                                                  -------------------------------------------------


ผมเกิดไม่ทันครูหมันครับ หาข้อมูลคร่าวๆ ได้ประมาณนี้

http://krunoppawan.blogspot.com/2012/12/blog-post_7.html

ครูมัลลี  (หมัน)  คงประภัศร์

       มัลลี (หมัน) คงประภัศร์  มีนามเดิมว่า “ปุย” เป็นบุตรีคนที่ ๓ ของนายกุกและนางนวม ช้างแก้ว เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านปากคลองวัดรั้วเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดประยุรวงศาวาส) อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

       เมื่อเด็กหญิงปุยอายุ ๘ ขวบบิดาก็สียชีวิต นางนวมผู้เป็นมารดาจึงได้สมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานประจำห้องเสวยของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ฯได้พาเด็กหญิงปุยไปอยู่ด้วย เด็กหญิงปุยได้มีโอกาสชมละครรำของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ฯ ที่เข้าไปแสดงประจำในวังหลวง จึงมีความหลงไหลพอใจในบทบาทของตัวละครมากจนถึงกับแอบหนีมารดาติดตามคณะละครเจ้าขาวไป ได้รับการฝึกสอนจาก “หม่อมแม่เป้า” ครูละครคนสำคัญของวังเจ้าขาว แม้มารดาจะมารับตัวกลับ แต่เด็กหญิงปุยก็ไม่ยอมขออยู่หัดละครให้ได้จนมารดายอมแพ้  ให้หัดละครอยู่ในวังเจ้าขาว (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)

       เมื่ออายุ ๑๐ ขวบได้มีโอกาสไปแสดงในงานต่างๆมากมาย ครั้งหนึ่งได้แสดงหน้าพระที่นั่งเป็นตัว “สมันน้อย” ในละครเรื่องดาหลัง ปรากฏว่าเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัยของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ จนทรงจำได้และเรียกเด็กหญิงปุยด้วยความเอ็นดูว่า “ไอ้หมัน”จนเป็นเหตุให้ใครต่อใครเรียกตามกันจนเคยชิน และเจ้าตัวก็พอใจชื่อใหม่นี้ เพราะถือเป็นมงคลนาม  ได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงแก่กรรม

       ต่อมาเมื่ออายุ ๒๒ ปี ก็ได้กราบทูลขอลาออกมาแต่งงานกับนายสม คงประภัศร์  โดยยังยึดอาชีพรับจ้างแสดงละครตามปกติ ต่อมาประมาณปีพ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนยาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา หม่อมครูต่วนและอาจารย์ละม่อม วงทองเหลือ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ได้มาชักชวน “ครูหมัน” ให้ไปช่วยสอนนักเรียน หว่านล้อมนานพอสมควร แม่ครูหมันจึงยอมไปสอน หม่อมครูต่วนจึงพาไปพบกับหลวงวิจิตรวาทการและสมัครเข้ารับราชการเป็นศิลปินชั้น๓  ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗ ทำหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

       แม่ครูหมันได้ร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ประดิษฐ์ท่ารำ แม่บทใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในหลักสูตรสอนนักเรียนและใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่รับราชการเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ครูหมันปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา ท่านได้รับราชการจนกรทั่งอายุ ๘๐ ปี จึงได้ถูกเลิกจ้างเพราะได้มีอาการหลงลืม ในวาระสุดท้ายแม่ครูหมันได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี

                                                                                  -------------------------------------------------




มีคำถามเล็กๆ ตามมาก็คือ ในภาพกูเกิลดูเดิลคือ 'ครูหมัน' หรือ 'ครูสัมพันธ์ พันธุ์มณี' กันแน่ครับ ส่วนตัวคิดว่าภาพสลับกันหรือเปล่าหนอ ฮืม
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ม.ค. 19, 22:10

http://www.youtube.com/watch?time_continue=66&v=NJhn2mIx4e0


ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะลงยูทูปได้หรือไม่ ภาพในคลิปเขียนชื่อ สัมพันธ์ พันธุ์มณี ไว้อย่างชัดเจน คุณพี่ก็ยังลงชื่อคลิปว่าเป็น มัลลี คงประภัศร์ มันไม่ใช่เน่อ !!


นี่ผมไม่ได้อ่านผิดใช่ไหมครับ แว่นตาเพิ่งตัดใหม่ได้ไม่กี่เดือนเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 08:04



เรื่องและรูปนี้ในยูทูบ เอามาจากเว็บซึ่งคุณยอดกุมารเข้าไปหาข้อมูลข้างบน ซึ่งลงรูปผิด  ยิงฟันยิ้ม

http://krunoppawan.blogspot.com/2012/12/blog-post_7.html


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 08:57



ภาพครูหมันถือหัวโขนมูลพลัม (สหายของทศกัณฐ์)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 09:49

ในเว็บนั้นก็มีคห.แสดงแล้วว่าเป็นครูสัมพันธ์ พันธุ์มณี แห่งคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ ไทยทีวีช่องสี่ บางขุนพรหม

และในเว็บศิลปินแห่งชาติ ก็ใช้รูปนี้ของครูสัมพันธ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 11:57

ซ้ายสุด คือภาพครูหมัน มัลลี คงประภัศร์ ต่อท่ารำตัวเงาะให้กับครูสุวรรณี  ชลานุเคราะห์ (ที่ ๒ ต่อจากครูหมัน) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ - ละครรำ) พุทธศักราช ๒๕๓๓

ภาพจาก https://www.facebook.com/NadySangkhitKhnaSuksaSastrMkh/photos/a.380533305327154/897860646927748/?type=3


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 14:11

ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ ผมขอเข้าสู่คำถามถัดไปนะครับ


ในกรณีนี้เราสมควรทักท้วงไปยัง 'กูเกิล ไทยแลนด์' ว่าข้อมูลผิดพลาดหรือเปล่าครับ อาจจะด้วยได้มาจากต้นทางแบบนี้ หรือด้วยเหตุผลบางประการของกูเกิลเอง (อาทิเช่นทำเป็นภาพการ์ตูนแล้วสวย) ทำให้ใช้ภาพ 'ครูสัมพันธ์ พันธุ์มณี' แทน 'ครูหมัน'  ถ้าเป็นยูทูปจะมีศัพท์แสลงเรียกว่า 'ปกไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง' แต่อย่างภาพวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ของ Hanif Mohammad นักกีฬาคริกเกตชายอินเดียผมว่าใกล้เคียงเลยนะ พอจะคาดเดาได้ว่าเป็นคนเดียวกัน


มีเรื่องต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็คือ ภาพการ์ตูนกูเกิลดูเดิลที่ปรากฎพร้อมตัวอักษร Google ในเสิร์ชเอ็นจิ จะเปลี่ยนทุกวันตามแต่กูเกิลจะเห็นสมควร อย่างในวันนี้ 21 มกราคม 2562 จะเป็นภาพ 'วันรำลึกถึงมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์' และ 'วันย่าและยายปี 2019 (โปแลนด์)' แล้วแต่ว่าอยู่ส่วนไหนของโลกใบนี้ ภาพของครูหมันก็จะมีเฉพาะวันที่ 20 มกราคมเท่านั้น โดยไม่มีสิ่งใดมายืนยันได้เลยว่าปีหน้าหรือปีถัดไป ทางกูเกิลจะยังใช้ภาพเดิมหรือไม่หวนกลับมาอีกตลอดกาล


กูเกิลดูเดิลของครูหมันไม่ได้หายไปไหนนะครับ อยู่ที่นี่แต่ไม่แน่ใจว่าตลอดไปหรือไม่

https://www.google.com/doodles/manlee-kongprapads-136th-birthday

20 มกราคม ค.ศ. 2019

วันเกิดปีที่ 136 ของ Manlee Kongprapad

Dance has a rich history in Thailand, dating back more than 500 years. Over the centuries, royal courts have been important patrons of classical dance, one of the region’s most celebrated art forms, which incorporates theatrical elements to interpret epic tales of history and culture.

Today’s Doodle celebrates Thai dancer Manlee Kongprapad, born in Bangkok’s Yai District on this day in 1885, who fell in love with dance at an early age and overcame a humble upbringing to distinguish herself within royal circles as a renowned performer and later as a teacher.

Kongprapad was raised by a single mother who worked in a palace kitchen. Her mother’s job gave her the opportunity to watch royal dance performances, the young Kongprapad quickly became enchanted by the dancers’ ornate costumes and graceful movements. She was so captivated that she briefly ran away from her mother to practice the choreography. Receiving training from masters of the ancient art form, she became so proficient that she was recognized as a favorite of the court—even inventing some of her own moves that are still practiced to this day.

Kongprapad would eventually become a part of the first generation of teachers to provide formal dance training at Thailand’s first School of Drama and Musicology, which was founded in 1934 and later renamed the College of Dramatic Arts. In doing so, she helped preserve the rich cultural tradition that had changed her life, opening up similar opportunities for future generations of dancers.

Happy birthday, Manlee Kongprapad!

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 15:36

สมควรทักท้วงอย่างยิ่งค่ะ   ผิดแบบนี้ถ้าเป็นเมืองนอก  กูเกิ้ลโดนฟ้องเรียกค่าเสียหายขนาดหนักเลย
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 21:02

ผมทักท้วงไปที่ กูเกิล ดูเดิล ตามช่องทางที่เขาโปรโมทตัวเองแล้วนะครับ ส่งภาพถ่ายภาพครูหมันถือหัวโขนมูลพลัมให้แล้ว ทางนั้นน่าจะอ่านแล้วเพราะเพิ่งโปโมทมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ แต่คิดว่าทางนั้นคงไม่ตอบกลับอย่างแน่นอน


ส่วน กูเกิล ไทยแลนด์ คือแดนสนธยาตามตำนานเล่าขานดีๆ นี่เอง  ลังเล

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ม.ค. 19, 21:44

ดีแล้วค่ะ  ถ้าวิญญาณครูหมันได้รับรู้ด้วยทางใดก็ตาม  ก็คงจะขอบใจคุณซูเปอร์บอยมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง