เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 03 ม.ค. 19, 09:30
|
|
ส่งความศุข ส.ค.ศ. วันปีใหม่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑)
เจาะเวลาหาอดีต เวอร์ชั่นสยามประเทศ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 03 ม.ค. 19, 10:11
|
|
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 03 ม.ค. 19, 10:35
|
|
๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันที่ ๑ เมษายน เพื่อให้เป็นไปตาม "นานาอารยประเทศทั้งปวง" ดังนั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ประเทศไทยจึงมีเพียง ๙ เดือน  ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงสาครคชเขตต์ (ประทวน สาคริกานนท์)ในนามตัวแทนของชาวจันทบุรี ก็ได้ส่งบัตรอวยพรถึงจอมพล ป. ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในการสงครามกรณีพิพาทอินโดจีน ที่ไทยได้เปรียบฝรั่งเศสในการรบ ก่อนญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย https://www.facebook.com/508693749269823/posts/999110486894811/
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 03 ม.ค. 19, 16:26
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 04 ม.ค. 19, 11:44
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 04 ม.ค. 19, 13:55
|
|
ทำนายว่า การเงินการคลังของประเทศไทย จะเป็นแบบ "ได้มาแล้วใช้ไป" เพื่อบำรุงชาติ สามารถเก็บส่วยสาอากรได้
ขุ่นพระ ทำไมแม่นอย่างนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 04 ม.ค. 19, 15:06
|
|
นี่ก็แม่น ธรรมชาติประท้วงหนัก ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม น้ำแข็งทั่วโลกละลาย
จริงค่ะ ไม่เฉพาะแต่ขั้วโลก น้ำแข็งในตู้เย็นที่บ้าน ถ้าเอาออกมาวางข้างนอกก็ละลาย ยืนยันได้ว่าทำนายแม่นจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
superboy
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 06 ม.ค. 19, 21:52
|
|
อิจฉาคุณ Jalito มากมาย ถ้าผมสามารถเดินทางย้อนเวลาได้ อยากกลับไปนั่งวาดภาพเรือที่ริมแม่น้ำสัก 3-6 เดือน เอาให้ครบทุกลำแล้วค่อยกลับมาสู่โลกปัจจุบัน เคยเห็นแต่ภาพถ่ายของฝรั่ง (หรือเปล่า) แล้วชอบสุดๆ เพราะกองทัพเรือเอาเรือมาจอดครบทุกลำเลยนะนั่น ยกเว้นเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ไม่รู้เอาไปจอดที่ไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 07 ม.ค. 19, 09:53
|
|
พาผมไปดูงานด้วยคนสิครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 08 ม.ค. 19, 13:19
|
|
ส่งความสุขเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ส.ค.ส. แผ่นนี้สามารถส่งความสุขได้ยาวนานถึง ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๙) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 08 ม.ค. 19, 13:35
|
|
ส.ค.ส. แผ่นนี้ส่งทางไปรษณีย์จากปาจิณบุรีถึงนายควง อภัยวงศ์ ขณะศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ติดแสตมป์ ๕ สตางค์ ประทับตราไปรษณีย์ปาจิณบุรี วันที่ ๒๙ -๑๑-๒๔๖๒ (ขณะนั้นวันขึ้นปีใหม่คือวันที่ ๑ เมษายน ดังนั้นเดือน ๑๑ คือเดือนกุมภาพันธ์)
ภาพวาดบน ส.ค.ส. เป็นภาพธงไตรรงค์ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ส.ค.ส. แผ่นนี้จึงห่างจากปีประกาศใช้ธงไตรรงค์เพียง ๒ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 08 ม.ค. 19, 14:34
|
|
ส.ค.ส. ปี 246 นี้แปลกนะครับ ตรงกลางเป็นรูปดาวหกแฉกกับช่อไม้ ไม่น่าจะเป็นเครื่องหมายอะไรของไทยเรา รอบๆ ประดับด้วยแสตมป์ ที่ดูเป็นของต่างประเทศ มีตัวอักษร อยู่ 5 ตัว อ่านว่าอะไรก็ไม่ทราบ แสตมป์เหล่านี้ ด้านซ้ายแสตมป์ ทุกดวงยังไม่ถูกประทับตรา ในขณะที่ด้านขวาประทับตราแล้วทุกดวงเป็นรูปม้วนแพรแถบ ที่มีตัวอักษร 5 ตัวเช่นกัน ที่มาของ ส.ค.ส. ฉบับนี้ เป็นอย่างไรหรือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 09 ม.ค. 19, 19:27
|
|
ส.ค.ส. ปี ๒๔๖ แผ่นที่คุณนริศถาม ตรงกลางภาพด้านบนคือ Ethiopian Star of David อยู่ในช่อชัยพฤกษ์ (Laurel wreath) สองข้างประดับด้วยแสตมป์ของเอธิโอเปีย ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิเมเนลิกที่สอง (Menelik II) ราชวงศ์โซโลมอนแห่งเอธิโอเปีย และสิงห์แห่งยูดาห์ (Lion of Judah) อักษรทุกตัวบนแสตมป์คืออักษรกีเอส (Ge'ez) เป็นอักษรที่ใช้ในประเทศเอธิโอเปีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 09 ม.ค. 19, 19:29
|
|
ส.ค.ส. ชุดความสุขสำหรับ พ.ศ. ๒๔๖ คงมีหลายแบบ ข้างล่างเป็นอีกแบบหนึ่ง ล่างซ้ายเป็นรูปโล่ในตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและมงกุฎในช่อชัยพฤกษ์ ด้านบนเป็นอากรแสตมป์ (revenue stamp) ของฟิจิ พิมพ์ออกมา พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ (Edward VII) แห่งสหราชอาณาจักร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 10 ม.ค. 19, 09:22
|
|
ขอบพระคุณครับ ถ้าอย่างนี้สันนิษฐานว่า คงจะจัดองค์ประกอบให้เป็น "การส่งความสุขมาจากที่ต่างๆทั่วโลก" กระมังครับ อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็น "สากล" ก็ได้ ผู้ทำบัตรอวยพรจึงพยายามสื่อความเป็นสากลออกมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|