เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 4948 ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 พ.ย. 18, 20:30

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูมากๆครับ ทองสะพายแล่งกับสร้อยสะพายแล่ง ก็คงเหมือนกันมังครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 พ.ย. 18, 20:42

ทองสะพายแล่ง คือสร้อยสะพายแล่งทำด้วยทอง ค่ะ
บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 พ.ย. 18, 20:47

ขอบคุณมากๆครับ ผมคิดว่าชาวบ้านทั่วไปจะมีเหมือนกันหมดครับ เพิ่งกระจ่างตอนนี้เอง แสดงว่า คนที่มีทองสะพายแล่ง เชี่ยนหมกเงิน บ้านมุงสังกะสี คงต้องมีฐานะพอสมควร ผมคงต้องสอบถามตาเพิ่มแล้วล่ะครับว่าเทียดหญิงผมท่านทำอะไรถึงมีได้ขนาดนี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 พ.ย. 18, 09:37

"สร้อยสะพายแล่ง" ตามความหมายที่ใช้กันอยู่ตรงกับคำว่า "สังวาล" ของท่านรอยอิน

สังวาล สร้อยเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้คล้องเฉวียงบ่า. (ป. เสวาล; ส. เศวาล, ไศวาล ว่า สาหร่าย).

ส่วน "สะพายแล่ง" หมายถึง

สะพายแล่ง ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.

คำว่า "สะพายแล่ง" ตามความหมายของท่านรอยอิน ฟังดูน่ากลัวเกินกว่าจะใช้กับเครื่องประดับ  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก https://www.facebook.com/224705224234289/posts/1654832074554923/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 พ.ย. 18, 16:57

ชาวบ้านรุ่นคุณเทียดคงไม่ได้ใช้อย่างท่านรอยอิน
พวกท่านอยู่มาก่อนราชบัณฑิตทำพจนานุกรมกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 พ.ย. 18, 18:26

รอยอินท่านอาจจะลืมใส่อีกความหมายของ "สะพายแล่ง" ลงไป อย่างในความหมายของคำว่า พรหมสูตร ก็เห็นใช้ "สะพายแล่ง" ในความหมาย ห้อยเฉียงบ่า อยู่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 พ.ย. 18, 18:51

เผลอกันได้นี่คะ


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 13:41

เอ่ อาจารย์ครับ ผมเกิดสงสัยความหมายของคำว่า "แล่ง" จึงลองไปค้นดูแล้วพบว่า มีความหมายได้หลายความหมาย
ความหมายที่หนึ่ง เป็นมาตราตวงแบบโบราณ 2 แล่ง = 1 ทะนาน
ความหมายที่สอง หมายถึงที่เก็บลูกกระสุนหรือลูกศร ความหมายนี้ทำให้นึกไปถึงการพกพากระบอกบรรจุลูกธนู ที่มักสะพายเฉียงบ่า เป็นไปได้หรือไม่ครับว่า อาการที่คนพกพากระบอกลูกศรอย่างนั้นแหละ เป็นที่มาของการ "สะพายแล่ง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 16:22

เห็นด้วยค่ะ  คิดได้ไวมาก
ไปหารูปพรานบุญในมหาเวสสันดรชาดกมาประกอบ
แกมีแล่งธนูสะพายเฉียงบ่าจริงๆด้วย


บันทึกการเข้า
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 07:12

ตาผมบอกว่าบ้านท่าน เป็นเรือนทรงปั้นหยาผมเลยไปดูรูปในอินเตอร์เน็ตมา ผมเลยอยากรู้ว่าเรือนทรงปั้นหยาเป็นทรงของไทยดั้งเดิมหรือว่าผสมกับตะวันตกครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 08:41

เรือนปั้นหยาเป็นเรือนไทยที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกค่ะ     ลักษณะเป็นเรือนไม้ ตัวเรือนมีโครงสี่เหลี่ยมเป็นหลัก   มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบปิรามิด ไม่มีหน้าจั่ว   
ส่วนที่เรียกว่าปั้นหยาคือหลังคาแบบปิรามิด จึงเรียกตัวเรือนว่าเรือนปั้นหยา  ฝรั่งเรียกว่า hip roof   หลังคาปั้นหยาเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4   ส่วนบ้านของประชาชนที่สร้างโดยมีหลังคาแบบนี้ เรืยกว่าเรือนปั้นหยา  เริ่มมีให้เห็นในรัชกาลที่ 5
ข้างล่างนี้ภาพซ้ายคือเรือนปั้นหยาของไทย  ส่วนภาพขวาเป็นบ้านในอเมริกา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 11:31

เรือนปั้นหยามีรูปร่างเป็นแบบไหนก็ได้ เป็นเรือนหนึ่งชั้น สองชั้น  ต่อด้านข้าง ฯลฯ
แต่หลังคาต้องเป็นทรงปิรามิด ไม่มีหน้าจั่ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 11:39

บ้านฝรั่งหลังคาปั้นหยา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 14:43

สงสัยมานาน,วันนี้ค้นได้ความว่า

พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า -
             
                เป็นคำจากเปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดี*ซึ่งมีลักษณะหลังคาเช่นนั้น

* กุฎี / กุฏิ / กะดี มีรากศัพท์และความหมายเหมือนกัน ซึ่งแปลว่า 'กระท่อมที่อยู่ของนักบวช' อาทิ พระสงฆ์ และสามเณร หรือ
ที่ถูกนำไปใช้ในบริบทของชาวมุสลิม 'กะดี' ยังแปลว่าโรงพิธีในศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็นได้อีกด้วย(uddc.net/th/knowledge ย่านกะดีจีน)

และ จาก https://www.facebook.com/RamannMon/posts/869808689760651/

              ปั้นหย่า (มือทองคำ) สัญลักษณ์รูปมือทำด้วยโลหะ เช่น แผ่นเงินหรือแผ่นทองแทนอิหม่ามฮูเซนในพิธีกรรม การใช้รูปมือ
เป็นเครื่องหมายแทนการปกป้องพระศาสนา ในพิธีเชิญมือทองคำ หรือ “ปั้นหย่า” ในพิธีคืนที่ 7 ซึ่งเป็นพิธีใหญ่ มีชุมชนมุสลิมชีอะห์
แห่งอื่นที่ขยับขยายออกไปจากจากชุมชนเจริญพาศน์มาร่วมพิธีด้วย

ภาพ กุฎีเจริญพาศน์ จากเว็บนิตยสาร สารคดี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 ก.พ. 20, 15:10

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
นึกมานานแล้วว่าปั้นหยาไม่ใช่คำที่มาจากบาลีสันสกฤต   แต่ไม่ได้ค้นต่อว่ามาจากภาษาอะไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง