Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสคุยกับตาเกี่ยวกับเทียดผม(ยายของตา) ตาผมเล่าให้ฟังว่า เทียดผมนั้นโดนลูกเขยหลอกให้ปั้มลายมือ โดยแสร้งเอาตำรวจมาว่า ไม่มีเหล้า-สุรา อยู่ในบ้าน เทียดผมเลยปั้มลายมือไป แต่ที่จริงแล้วใบที่เทียดปั้มลงไปนั้น เป็นเอกสารเซ็นสัญญายกที่ดินให้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเยอะพอสมควร(ประมาณ20ไร่) เลยเกิดเป็นความขึ้นศาลขึ้นมา และตาผมยังเล่าอีกว่า สมัยนั้นค่าทนายก็แพงมากประมาณครั้งละ 3,000-4,000 บาท เรื่องนี้น่าเกิดปี2486-2487 และเนื่องจากบ้านตาผมไม่ได้อยู่ตัวเมืองเวลาไปว่าความก้ต้องเดินทางไกลและต้องนอนโรงแรม ผมเลยเกิดคำถามว่า 1. สมัยก่อนค่าทนายถือว่าแพงไหมครับ3-4 พันสำหรับสมัยนั้น 2. คนสมัยก่อนสามารถหลอกให้ปั้มลายนิ้วมือง่ายขนาดนั้นเลยหรอครับ 3. สมัยนั้นมีศาลตัดสินความตามตัวเมืองแบบสมัยนี่แล้วหรอครับไม่ใช่ตัดสินกันตามอำเภอหรือให้พวกผู้ใหญ่หรือกำนันจัดการหรือครับ #ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 พ.ย. 18, 19:07
|
|
ยกคำถามทั้งหมดให้คุณ Naris ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 พ.ย. 18, 12:09
|
|
ในปี 2486 จะมีค่าทนายความประมาณใด ผมไม่ทราบจริงๆครับ ผมจึงขอเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมคุ้นเคยคือ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ข้าราชการการเมืองตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งได้รับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองมาแล้ว และมีเวลาราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองรวมกันไม่น้อยกว่าสี่ปีบริบูรณ์ เมื่อออกจากตำแหน่งและไม่ประสงค์จะรับบำเหน็จบำนาญตามความในบทแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยประการอื่น ก็ให้มีสิทธิรับบำนาญเดือนละสามร้อยบาท"
จะเห็นว่า คนระดับรัฐมนตรี ซึ่งทำงานมาสี่ปี เมื่อพ้นจากตำแหน่ง ในสมัยปี 2494 นั้น หลวงจ่ายบำนาญให้เดือนละ 300 บาทครับ
อีกกฎหมายหนึ่ง เป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ กระทรวงยุติธรรม (ฉะบับที่ 1) พุทธศักราช 2477 (เล่ม 51 12 สิงหาคม 2577) ในพรฎ.นี้ ปลัดกระทรวง มีเงินเดือน 800 - 1000 บาท ครับ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ขออนุมานว่า ค่าทนายความในปี 2486 ราคา 3000 บาท ถือว่าแพงสุดๆไปเลยหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 พ.ย. 18, 12:22
|
|
ส่วนการหลอกให้พิมพ์ลายนิ้วมือ อันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ครับ เป็นปกติธรรมดา คนเราไม่ได้ตั้งระวังตัวไปเสียทุกอย่าง ยิ่งกับคนที่น่าเชื่อถือ น่าไว้ใจด้วยแล้ว บางทีก็ไม่ได้สงสัยอะไรเลยครับ อย่าว่าแต่สมัยก่อนเลยครับ สมัยนี้ก็ยังมีผู้ถูกหลอกอยู่ตลอด อย่างที่เห็นในคดีแกงค์คอลเซนเตอร์นั่นอย่างไรครับ บางทีผู้ที่ถูกหลอกก็เป็นถึงอาจารย์ เป็นคนมีความรู้ เป็นอดีตข้าราชการก็มี ก็ยังถูกหลอกได้เลยครับ
สำหรับเรื่องศาลในต่างจังหวัด ช่วงนั้นมีแล้วครับ (ผมค้นเจอพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศาลในช่วยเวลานั้นหลายฉบับ มีที่น่าสนใจคือ การจัดตั้งศาลจังหวัดล้านช้าง ศาลจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ศาลจังหวัดพิบูลย์สงคราม และศาลจังหวัดพระตะบองด้วยครับ โดยศาลทั้ง 4 จะเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2484 ครับ)
อย่างไรก็ดี ในสมัยนั้น การคมนาคมไม่เหมือนสมัยนี้ การเดินทางเข้าเมืองเพื่อไปขึ้นศาลเป็นเรื่องที่วุ่นวายยุ่งยากมากครับ ประชาชนนิยมตัดสินความกันเองมากกว่าครับ อาจจะให้ผู้ใหญ่ในท้องถิ่นที่เป็นที่นับถือเป็นผู้ตัดสินให้ก็ได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 พ.ย. 18, 18:05
|
|
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆครับ ตาเล่าให้ผมเพิ่มอีกว่า กว่าจะเสร้จคดีก้ต้องเดินทางไปว่าความ3-4 ครั้ง จนในที่สุดเทียดของผมก้ชนะความ ทางลูกเขยก้เลยขอซื้อ ผมก้แปลกใจทำไมไม่ขอซื้อตั้งแต่ทีแรกครับ555 และอีกอย่างสมัยนั้นบ้านนอกคนเรียนจบสูงๆก้คงไม่ค่อยมี ทนายคนนี้เลยเรียกเงินแพงๆแน่เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 24 พ.ย. 18, 19:14
|
|
ศาลในหัวเมืองมีมาตั้งแต่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จกลับจากทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษราว พ.ศ. ๒๔๓๙ และรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปจัดตั้งศาลในหัวเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ แล้วครับ ช่วงแรกจัดตั้งศาลมณฑลขึ้นก่อน แล้วจึงจัดตั้งศาลจังหวัดจนครบทุกจังหวัดในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อต้นรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๖ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคดีสำคัญ แสดงให้เห็นการพิจารณาในศาลมณฑลโลเลบุรี ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 24 พ.ย. 18, 21:08
|
|
แล้วคติที่ว่า คนจนมุงแฝกคนรวยสังกะสีนี่ สมัยนั้นจริงหรือเปล่าครัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 09:38
|
|
พูดถึงอัตราเงินสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จำได้จากหนังสือ "เพื่อนนักเรียนเก่า" ของนายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี ท่านเล่าเรื่องสมัยเป็นเด็กนักเรียนประมาณพ.ศ. 2480 ว่า สมัยนั้นใครมีเงิน 1000 บาทก็ถือว่าเป็นเศรษฐีย่อยๆแล้ว ค่าใช้จ่ายอย่างประหยัดในครอบครัวชาวบ้านธรรมดาๆ ตกเดือนละ 20 บาท ค่าทนาย 3000 บาทในพ.ศ. 2486 ปลูกบ้านได้หลังหนึ่งเชียวนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 09:39
|
|
แล้วคติที่ว่า คนจนมุงแฝกคนรวยสังกะสีนี่ สมัยนั้นจริงหรือเปล่าครัย
จริงค่ะ สำหรับต่างจังหวัด คนรวยเท่านั้นถึงจะมีเงินซื้อสังกะสีมุงหลังคาได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 11:38
|
|
ขอบคุณมากๆครับ เทียดผมเป็นคนต่างจังหวัดแถมอยู่ไกลจากตัวเมืองอีกด้วยซ้ำ ตาผมบอกว่าเทียดผมเขามีเชี่ยนหมากเงิน มีทองสะพายแล่ง และเวลาสลากภัต ท่านก็จะทำของใส่ภาชนะทองเหลืองไปทำบุญที่วัดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 19:20
|
|
ขอบคุณมากๆครับ เทียดผมบ้านท่านมุงหลังคาบ้านด้วยสังกะสี ฟังตาผมบอกเหมือนจะไม่ใช่ทรงเหมือนเรือนไทย ลักษณะหักมุมผมก็อธิบายไม่ถูกครับ555 ตาผมบอกว่า2 ปี คดีความถึงจะเสร็จรวมๆแล้ว เทียดผมน่าจะเสียเงินค่าทนายเหยียบๆหมื่น ไม่รวมค่ากิน ค่าเดินทาง ที่พัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 19:27
|
|
คุณเทียดคุณน่าจะเป็นเศรษฐีประจำท้องถิ่นนั้นเลยเชียวละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 19:33
|
|
เชี่ยนหมากเงิน กับทองสะพายแล่ง เครื่องทองเหลือง สมัยก่อนราคาแพงมากหรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 25 พ.ย. 18, 20:24
|
|
โลหะมีค่่าที่คนยุคชั้นใช้ แบ่งได้เป็น 3 ระดับตามราคา คือทอง เงิน และนาก ทองเหลืองราคาถูกสุด เป็นของใช้ทั่วไป ใครพอมีเงินก็ซื้อมาได้ ถ้าเป็นสามัญชนฐานะร่ำรวย ก็มีทองเป็นเครื่องประดับตัว เช่นสร้อยสะพายแล่ง(หมายถึงสร้อยสังวาล หรือสร้อยตัว สวมเฉียงบ่าทับบนผ้าห่มอีกที สำหรับสตรี) นอกจากนี้ก็มีเข็มขัดทอง สำหรับระดับเศรษฐีนี ถ้าเป็นแม่บ้านที่ฐานะธรรมดาก็เข็มขัดนาก เชี่ยนหมากเงิน มีอยู่ตามบ้านคนมีฐานะดีทั่วไปค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|