เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5473 สิ้นศิลปินแห่งชาติ “อาจินต์ ปัญจพรรค์”
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 18 พ.ย. 18, 11:10

          นานนับหลายทศวรรษ,บนโต๊ะรับแขกในบ้านหลังเก่ามีรูปกลุ่ม(เพื่อนหรือ) คนที่พ่อรู้จักหนึ่งใบวางอยู่
ให้เห็น(แทบ) ทุกวันมาตั้งแต่เด็กจนจำได้ว่า กลุ่มชายหนุ่มสามคนที่นั่งดื่มสังสันทน์(รอยอินให้ใช้ว่า - สังสรรค์)
ในรูปนั้น คือ (ลุงหรืออา) สรรพสิริ วิริยศิริ, นพพร บุณยฤทธิ์ และ อาจินต์ ปัญจพรรค์ 

          ได้รับทราบข่าวคุณสรรพสิริ วิริยศิริ จากไปก่อนเมื่อหลายปี(ตุลาคม พ.ศ. 2555) ทางหน้านสพ. ต่อมา
เมื่อต้นปีนี้คือ คุณนพพร บุณยฤทธิ์ (จากคอลันนิสท์ จัตวา กลิ่นสุนทร : นพพร บุณยฤทธิ์ (อดีต) บ.ก.หนังสือพิมพ์
“สยามรัฐ” จากลาอย่าง “เงียบเหงา”) และในที่สุดก็เป็น   

           สิ้นศิลปินแห่งชาติ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของผลงานเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน
ด้วยวัย ๙๑ ปี

จากวิกกี้ - หนังสือ ภาพ และประวัติเจ้าหน้าที่ ไทยทีวีช่อง ๔


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 12:16

อ่าน "ฟ้าเมืองไทย" ของคุณอาจินต์ เป็นประจำ เคยเขียนกลอนไปประกวด คำบรรยายภาพ ประมาณมัธยมปลาย


ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติด้วยเทอญ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 16:57

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:01

กราบ พี่อาจินต์ ด้วยรักและอาลัย

สมัยเราเด็ก ๆ ประมาณ ๑๐-๑๓ ขวบ ที่ร้าน'สิริบรรณ' ตรัง เกือบทุกเที่ยงจะมีรวมห่อนิตยสารต่าง ๆ จากกรุงเทพฯส่งทางรถไฟมาให้แกะ และจัดวางบนแผงหน้าร้าน นิตยสารบางฉบับที่มีนิยายเป็นตอน ๆ หรือรูปดาราดังลงปก จะมีนักอ่านมายืนรอซื้ออย่างใจจดจ่อ (เดลิเมล์วันจันทร์ บางกอก ผดุงศิลป์ ฯลฯ) แต่ฉบับที่ 'ครูจีระ' เจ้าของร้านแอบหยิบไว้เป็นการส่วนตัวเพราะกลัวขายหมดก่อนที่จะได้อ่านเอง คือ 'ชาวกรุง' กับ 'ฟ้าเมืองไทย' (ยังมี National Geographic รายเดือนที่ลูกค้ารายหนึ่งฝากสั่งพิเศษ แม่ชอบเปิดให้ลูก ๆ ดูภาพสวย ๆ และสอนภาษาอังกฤษเป็นคำ ๆ แบบง่าย ๆ).. แล้วหลังจากปิดร้านตอนค่ำ ๆ ครูจีระจะนั่งอ่านอย่างเพลิดเพลิน จนลูกสาวที่เริ่มจะตามรอยเป็นนักอ่านอีกคนชักสงสัยว่า นิตยสารอะไรกัน มีแถบสีเลือดหมูพาดหัวด้วยลายมือตัวหวัด ๆ แถมบางช่วงมีคำแปลก ๆ โผล่มา เช่น 'โอเลี้ยงห้าแก้ว' เด็กหญิงช่างสงสัยจึงลองเปิดอ่านดูบ้าง...  

นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้รู้จัก 'อาจินต์ ปัญจพรรค์'ในโลกหนังสือ แล้วหลังจากนั้น เด็กหญิงจิระนันท์ก็เที่ยวเล่นเพลิดเพลิน เดินหลงอยู่ในดงอักษรจนหาทางออกไม่ได้....

มันไม่ใช่การเสแสร้งแอบอ้าง เมื่อเด็กคนนั้น (ในวัยกลางคน) ได้พบกับพี่อาจินต์ (ในวัยเกษียณแต่ยังไม่เลิกเขียน) ประโยคแรกที่พูดออกไปคือ "หนูโตมากับ 'ฟ้าเมืองไทย' ค่ะ"

จิระนันท์ พิตรปรีชา
๑๗-๑๑-๒๕๖๑

https://www.facebook.com/729491179/posts/10156935001256180/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:23

ด้วยความเคารพรัก และอาลัย
อาจินต์ ปัญจพรรค์ (๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑)

ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๓๔
นักเขียนช่อการะเกดเกียรติยศ พ.ศ. ๒๕๓๔
นักเขียนรางวัลศรีบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๕

สุนทรกถากล่าวนำในการมอบ "รางวัลช่อการะเกด"
ฉบับ "ไฟไม่ลามทุ่ง” พ.ศ. ๒๕๓๔

งานเขียน เป็นงานที่ต้องทำคนเดียวอย่างโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว แต่ความโดดเดี่ยว คือเอกเทศในการคิด  ความเปล่าเปลี่ยวให้เอกสิทธิ์ในการฝัน

นักเขียนคือคนธรรมดาสามัญ  มีความรักที่จะเขียน  เก็บวัตถุดิบ เลือกสรรออกมาปั้นด้วยจินตนาการ  แล้วถ่ายทอดออกมาด้วยภาษาเขียน

แผ่นกระดาษจึงเป็นอาณาจักรเสรีของเขา ที่เขาจะบันดาลให้มันลุกเป็นไฟ หรือเยือกเย็นด้วยแสงจันทร์  เขาใช้ความโดดเดี่ยวสร้างตัวหนังสือให้โดดเด่น เขาเปลี่ยนความเปล่าเปลี่ยวให้เป็นตัวหนังสือที่ปราดเปรียว

โลกบนแผ่นกระดาษของเขาบังเกิดมวลชีวิตและความรู้สึกนึกคิดด้วยตัวหนังสือที่เขาสั่งให้เคลื่อนไหว  เขาปล่อยตัวคน สัตว์ วัตถุ ลงบนแผ่นกระดาษในเหตุการณที่เขากำหนด  ในบทเจรจาที่เขาเสกสรร

ไม่มีคะแนนพิเศษให้แก่ห้องแอร์  ไม่มีการตัดคะแนนงานจากกระท่อม  ต้องวัดกันด้วยฝีไม้ลายมือ – คุณค่า – คุณภาพ – คุณธรรม

สายธารแห่งวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง  มีตาน้ำอยู่ที่ขุมวัตถุดิบ ผุดพุ่งขึ้นมาด้วยความบันดาลใจ  ขับเคลื่อนด้วยแรงแห่งภาษาและศรัทธาในการเขียน

 พ่อขุนรามคำแหงสร้างภาษาไว้ให้แก่เรา
 พ่อแม่สร้างสมองไว้ให้แก่เรา
 โลกสร้างวัตถุดิบรอเราอยู่
 เราลงมือใช้ความโดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยวสร้างงาน

[ กล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคาร ๕ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ]

หมายเหตุ : ลาพี่อาจินต์ ๑๖.๐๐ น.ศาลา ๙ วัดตรีทศเทพ

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

https://www.facebook.com/100007995606560/posts/2286541211622377/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:25

น้อยคนรู้ว่าคุณอาจินต์แต่งเนื้อเพลงให้สุนทราภรณ์ด้วย
ท่านเขียนไว้ในหนังสือ 'สุนทราภรณ์ครึ่งศตวรรษ' ว่า

   "วันหนึ่ง คุณเอื้อมาสั่งผมว่า "จินต์ แต่งละครเพลงเรื่องสวัสดีบางกอกซิ   เพลงเสร็จแล้ว จะเอาออกในละคร ไม่ใช่รายการใหญ่นะ แต่เป็นรายการหัวค่ำก่อนข่าว เอา'สวัสดีบางกอก'นำในละคร  แจกบทแจกตัวให้นักร้องทุกคนใน'สุนทราภรณ์' นะ"

     ผมฟิตทันที แต่งเรื่อง "สวัสดีบางกอก" ให้สาวบ้านนอก (อ้อย อัจฉรา)อยากเข้ากรุง พี่สาว(ชวลีย์ ช่วงวิทย์)ซึ่งเคยผิดหวังจากกรุงเทพฯ ร้องเพลง สวัสดีบางกอก-อย่าไปเลย , พี่เคยไปมาแล้ว
     อ้อยไม่เชื่อจึงเข้ากรุงเทพฯจนได้ แล้วก็อกหักกลับบ้านนอก   มีชาวบ้านปลอบใจให้ลืมความหลัง ชาวบ้านก็คือ เลิศ ประสมทรัพย์    วินัย จุลบุษปะ สมศักดิ์ เทพานนท์ วรนุช อารีย์ ฯลฯ
     ต่อมามีสาวรุ่นน้องอยากเข้ากรุงอีกคน ผมจำไม่ได้ว่าบรรจุบทให้ใครแสดง, แล้วอ้อยก็เป็นคนร้อง “อย่าไปเลยบางกอก” สอนใจ เตือนใจอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:26

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:32

เพลงนี้ฮิททั่วบ้านทั่วเมือง จนคุณอาจินต์ต้องแต่งเพลงแก้ออกมา คือ "อย่าเกลียดบางกอก"  ทำนองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน เช่นเดิม   
ขับร้องโดย ม.ร.ว.ถนัดศรี  สวัสดิวัตน์

บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 17:58

เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว สมัยที่อินเทอร์เนตยังไม่มีใครรู้จัก

ถ้าจำเป็นต้องไปต่างบ้านต่างเมืองนานๆ
สิ่งหนึ่งที่ผมจะใส่ลงไปในกระเป๋าเดินทางด้วยเสมอ คือ
หนังสือนิตยสารรายสัปดาห์ "ฟ้าเมืองไทย" เล่มล่าสุดขณะนั้น
และเล่มที่ยังไม่ได้อ่าน อีกสัก 2-3 เล่ม
เพียงเท่านี้ ก็ทำให้สบายใจ อุ่นใจ

แล้วถ้าเกิดคิดถึงเมืองไทยมากๆ ในระหว่างอยู่ต่างเมืองนานๆ
ผมก็จะหยิบเอา "ฟ้า" ออกมาดูหน้าปก หรือพลิกดูเนื้อใน แบบผ่านๆ
ความคิดถึงบ้านของผม ไม่ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ก็จะผ่อนคลายลงได้ทุกครั้ง
หลายๆเที่ยวเข้า เพียงแต่นึกว่ามี "ฟ้า" อยู่ในกระเป๋า
ก็ทำให้ไม่เกิดความคิดถึงกระวนกระวายเลย ก็มี

ในที่สุด "ฟ้า" ทุกเล่มที่ผมมี
เข้าใจว่าได้บริจาคให้ห้องสมุดโรงเรียนไปหมดนานแล้ว
ทั้งๆที่ ใจก็หวง อยากเก็บเอาไว้

จึงขออนุญาต บันทึกไว้เพื่อระลึกถึงท่าน“อาจินต์ ปัญจพรรค์”ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 18:12

"รู้สึกว่าน้อยไป ผมควรจะสะสมมากกว่านี้ แต่ผมสะสมเท่าที่ผมมีเงิน ผมมีเงินจำนวนใหญ่ก้อนหนึ่ง มาจากการทำงานทีวี แล้วเขาให้เบี้ยบำนาญผม ผมก็แบ่งซื้อบ้าน และก็ซื้อหนังสือที่ผมรักทุกเล่ม หนังสือควรอยู่กลางฝูงชน ให้ฝูงชนอ่านไม่ใช่ผมอ่านคนเดียว ต้องอ่านทุกคน จะได้รู้ว่าใครโง่ใครฉลาด หนังสือช่วยทุกคน ช่วยในการทำให้สมองเจริญขึ้น"

อาจินต์ ปัญจพรรค์"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 พ.ย. 18, 19:03

กราบลา พี่อาจินต์ ปัญจพรรค์

เป็นผู้ใหญ่ใจยิ่งกว่ามหาสมุทร
เป็น บอ กอ.ผู้ที่สุดแห่งนิตยสาร
เป็นนักเขียนผู้ยิ่งยง อลังการ
เป็นตำนานของกองทัพวรรณกรรม

เปิดโอกาสให้คนใหม่ได้เริ่มต้น
เปิดโอกาสให้แก่คนวันยังค่ำ
มี “โอเลี้ยงห้าแก้ว”ในทรงจำ
“ฟ้าเมืองไทย”ตอกย้ำให้จำลึก

เขียน “เหมืองแร่” เขียน “ร่ายยาวฯ”เล่าความคิด
เขียน “แม่น้ำ”ขีดลิขิตใน “ยามศึก”
เขียน “เจ้าพ่อ เจ้าเมือง” เรื่องเกินนึก
ทุกอย่างคือมวลผลึกของชีวิต

ส่งทอดให้คนรุ่นหลังไว้ตั้งหลัก
สืบสานรักสืบวงวรรณประสานสนิท
ทุกอย่างที่พี่สร้างทำงามทุกทิศ
“วาบความคิด” ยังวาบใจไม่ลืมลา

ลูกผู้ชายชื่ออาจินต์สิ้นลงแล้ว
แต่งานดั่งดวงแก้วยังทรงค่า
ส่องประกายคนรุ่นหลังไม่ร้างรา
ขอพี่สู่สวรรยา ณ “ฟ้า” งาม

ชมัยภร แสงกระจ่าง
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 พ.ย. 18, 10:04

            พี่สาวคุณอาจินต์ - คุณชอุ่ม ปัญจพรรค์ เป็นนักเขียน(ทัดดาวบุษยา) และ นักแต่งเพลงวงสุนทราภรณ์
(หนึ่งในดวงใจ - เพลงในตำนาน,ข้องจิต,รักเอาบุญ)  เป็นผู้นำคุณอาจินต์เข้าสู่บรรณภพด้วยการส่งผลงานของ
น้องชายไปให้บก.นสพ.พิจารณานำลง
            หลังกลับจากเหมืองแร่คุณอาจินต์เข้าสู่เหมืองรูป,ทำงานที่ช่อง ๔ และเป็นบก.นิตยสารไทยโทรทัศน์
ก่อนที่จะมาเป็นบก.นิตยสาร ฟ้าเมืองไทย (ตามด้วย ฟ้าต่างๆ อีกหลายฉบับ) ของตัวเอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 พ.ย. 18, 11:20

ผลงานเนื้อเพลงอีกชิ้นหนึ่งของอาจินต์ ปัญจพรรค์

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 พ.ย. 18, 14:32

คุณอาจินต์ รำลึกถึงเพลงนี้ในฟบ.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 พ.ย. 18, 15:44

เพลงชุด "ปริญญาชาวนา" ออกมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองไทยส่งออกแรงงานไปทำงานแถวตะวันออกกลาง โดยเฉพาะที่ประเทศซาอุดิอารเบีย จนมีประโยคฮิตอย่าง "ไปเสียนา มาเสียเมีย" ทำให้เพลงชุดนี้มีความเด่นไม่ต่างจากหนังสือ เพราะแทบทุกเพลงสะท้อนชีวิตของ "คนขายเหงื่อ"

ภาษาเพลงในอัลบั้มนี้ เป็นภาษาวรรณกรรม ทำให้เนื้อเพลงฟังแบบสบาย ๆ คล้าย ๆ เพลงลูกทุ่ง แต่ที่แปลกก็คือ อาจินต์เป็นผู้เลือกนักร้องมาขับร้องเพลงนี้ และที่ถือเป็นเซอร์ไพรซ์ในวงการเพลงในช่วงนั้นก็คือ อาจินต์กลับเลือกธานินทร์ อินทรเทพ ที่ปกติร้องเพลงแบบผูกไทใส่สูท มาเป็นนุ่งยีนส์แต่งตัวเตรียมขึ้นเครื่องบินไปขายแรงงานที่ตะวันออกกลาง

ถูกหรือผิดไม่รู้ แต่ในยุคเมืองไทยส่งออกแรงงานไปซาอุฯ เพลงชุดนี้ขายดีมากชุดหนึ่ง

ทั้ง ๑๒ เพลงในอัลบั้มนี้ แม้จะไม่เป็นเรื่องแรงงานไทยทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ซึ่งทั้ง ๑๒ เพลงได้แก่ ปริญญาชาวนา, แผ่นดินหอม, สงกรานต์น้ำตา, แม่โพสพลังสันทน์, ผู้ชนะคือความตาย, เทพธิดานุ่งผ้าซิ่น, นิราศทะเลทราย, แผ่นดินของเรา, ขุดทองกลับบ้าน, แม่พิมดาวสุพรรณ, ชมนางนา และกล่อมนิทรา


หลายเพลงสะท้อนความคิดของ "คนไกลบ้าน" ที่ตัดสินใจไปอาบเหงื่อต่างน้ำต่างแดน เช่นเพลง "ขุดทองกลับบ้าน" จะสะท้อนตั้งแต่ขึ้นประโยคแรก "เดินทางไกลไปหางานทำ ตาดำ ๆ คอยอยู่เมืองไทย .." จนถึง "..ลงลานบินถิ่นของคนไทย เดินภูมิใจในบ้านของเรา..." และที่ผมชอบมากก็คือ "...อากาศเมืองไทยหายใจเต็มอิ่ม ร่ำรวยรอยยิ้ม อิ่มเอมหัวใจ.."

หรือเพลง "ผู้ชนะคือควาย" ที่ประชดประชันพ่อกำนันที่ใช้แทรกเตอร์ขณะที่ตัวเองใช้ควายไถนา ก็มีประโยคแสบ ๆ เช่น "..ไอ้ทุยมันรู้หน้าที่ อยู่กันมาหลายปี รู้ใจกันดียิ่งกว่าเครื่องยนต์..." หรือ "...เครื่องจักรไม่รักคนจน เราก็ไม่สนใจมัน.." และ "..แทรกเตอร์เห่อไปทำไมกัน ขาดแคลนน้ำมัน จอดทั้งวันหน้าเซียว..เบ่งกันไปเดี๋ยวเดียวเห็นเดินหน้าเหี่ยวมาเที่ยวยืมควาย"


ผมฟังเพลงนี้แล้วนึกในใจ หรืออาจินต์เลือกธานินทร์เพราะกลัวนักร้องลูกทุ่งร้องคำว่า"ควาย"ไม่ชัด (ฮา)

เมื่อฟังทั้งอัลบั้ม ผมได้กลิ่นอาย "ลูกทุ่ง" จากเสียงนักร้องลูกกรุง

เพราะเนื้อเพลงอย่าง "สงกรานต์น้ำตา" นี่มันลูกทุ่งชัด ๆ อย่าง "..ชาวตำบลทุกคนทุกครัวเตรียมตัวเล่นสงกรานต์ คนจากไปแสนนานก็ลางานกลับบ้านเรา คนของฉันยังไม่กลับ เขาลืมกระท่อมรักเสียแล้วหรือเจ้า ทุกปีป่านนี้มีลมว่าว เขาเคยกลับมาไม่มาชักช้าแชเชือน" หรือ"..โอ้เจ้าดอกกระถิน อยู่ดินเจ้าก็งามทั้งเดือน ไปอยู่กระถางต่างเรือน ไม่เยือนกับมาสงกรานต์.."

หรือเพลง"แม่โพสพพลังสันทน์" ที่ร้องว่า "...คิดถึง ท้องนาเวลาเกี่ยวข้าว สาวรุมชุมนุมกันมา..." ที่มีนักร้องหญิงคือจิตราภรณ์ บุญญขันธ์ มาร้องคู่ ที่ผมชอบตอนร้องตอบโต้กัน โดยฝ่ายหญิงร้องว่า "..น้ำแข็งน้ำเขียวน้ำแดงแจกสาว" ฝ่ายชายก็จะร้อง "..น้ำขาวสำหรับคอเหล้า เอาให้ฉัน.." และ "..ข้าวทุกเม็ดได้มาเพราะสามัคคี"


เมื่อเพราะทุกเพลงจนยากจะเลือก และตอนแรกผมตั้งใจเลือกเพลง "ปริญญาชาวนา" มาฝากเพราะเห็นว่าเป็นชื่ออัลบั้ม แต่เมื่อนึกว่าหลายคนคงคุ้นเคยเพลงนี้ ผมจึงเลือก "ชมนางนา" มาแทน เพราะผมชอบเนื้อเพลงชมสาวชาวนาที่เป็นพลังเลี้ยงเมืองไทย



ฟังเพลงนี้จบ ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะรัก "นางในนา" มากขึ้น โดยเฉพาะประโยค "แสนงามเมื่อยามขุดดิน สวยยิ่งกว่าภาพศิลป์ ที่ปฏิทินดารา งามประทับใจคนไทยในหมู่ที่รู้คุณค่า โอ้นางน้องท้องนา น่าบูชายิ่งกว่านางใด .."

จาก ปริญญาชาวนา...อัลบั้มเพลงในความทรงจำ โดย ลูกเสือหมายเลขเก้า

http://oknation.nationtv.tv/blog/chai/2009/08/28/entry-1
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง