เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3820 อยากทราบหน้าที่ของกรมการเมืองในสมัยอยุธยาครับ
kumsaneiei
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 12 พ.ย. 18, 21:32

คือผมงงกับตำแหน่งหน้าที่การทำงานของกรมการเมืองในสมัยก่อนว่ามีหน้าที่อะไรเช่นตำแหน่ง ปลัด ยกกระบัตร ผู้ช่วยราชการ ไหนจะตำแหน่งกรมการเมืองชั้นผู้น้อยเช่นตำแหน่ง จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา สารเลข  ขอให้ผู้รู้ช่วยอธิบายกระผมทีน่ะครับจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 16:44

ส่งไม้ต่อให้คุณเพ็ญชมพู  คุณหนุ่มสยาม และ/หรือท่านอื่นที่ประสงค์จะให้คำตอบค่ะ

ขอตอบเกี่ยวกับคำว่ายกกระบัตร ตามที่ราบัณฑิตให้คำอธิบายไว้

ยกกระบัตร       [N] a rank in the provincial Public prosecutors' Department, See also: the supply service of an army, the procurement service, Syn. ยุกกระบัตร,
๑   ตำแหน่งข้าราชการครั้งโบราณสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี, ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับอัยการในบัดนี้,
๒   ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายธุรการของศาล ตรงกับจ่าศาลในบัดนี้, เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 16:54

ตำแหน่งยกกระบัตร เข้าไปดูได้ที่นี่

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=138.0
บันทึกการเข้า
kumsaneiei
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 18:47

แล้วหน้าที่ของกรมการเมืองชั้นผู้น้อยอย่างเช่น แพ่ง สัสดี ศุภมาตรา สารเลข นี่เขาทำหน้าที่อะไรบ้างหรอครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 19:10

คุณน่าจะเอาศัพท์ทั้งหมดนี้ไปค้นหาทาง google ดูก่อน
อย่างคำว่า ศุภมาตรา ใช้ google ค้นหาได้ค่ะ  ลองทำดูนะคะ  ประหยัดเวลากว่ามารอคำตอบในเรือนไทย
บันทึกการเข้า
kumsaneiei
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 20:20

คือไปลองไปหาดูพบแค่ ศุภมาตรา สัสดี แต่ตำแหน่งอย่างผู้ช่วยราชการนี่ผมยังงงว่ามันตำแหน่งซํ้ากับปลัดหรือเปล่า   ไหนจะตำแหน่ง แพ่ง สารเลข หรือจ่าเมืองอีกผมนี่จนปัญญาเลยต้องมาถามในนี้หวังว่าจะพบผู้รู้เพื่อเพิ่มความรู้น่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 20:24

จ่าเมือง
https://www.thairath.co.th/content/7960
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 07:34

สารเลข หรือ สาระเลข เป็นชื่อเดิมของ อักษรเลข  เป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ มีหน้าที่เขียนหนังสืออักษรตัวเลขตามคำสั่งของเจ้าเมืองหรือผู้ใหญ่ ตำแหน่งนี้มีขึ้นในสมัยที่มีการปรับปรุงหัวเมือง ครั้งรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพื่อรับกับสถานการณ์ล่าเมืองขึ้นของชาวตะวันตก โดยมีการรวมศูนย์อำนาจการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ที่ศูนย์กลางระดับมณฑลที่เรียกว่าการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งมีสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองสูงสุด ไม่ได้ปล่อยให้หัวเมืองปกครองตนเองเป็นอิสระเช่นแต่ก่อน

ในอดีตก่อนการตั้งกรมธรรมการ ซึ่งต่อมาเรียกว่า กระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีข้าราชการและคนรู้หนังสือ เขียนหนังสือเป็น ใช้การได้มีน้อยมาก เพราะยังไม่มีการตั้งโรงเรียน หรือบังคับให้เรียน การเรียนรู้หนังสือเป็นไปตามความสมัครใจ ส่วนใหญ่ผู้ชายที่ได้รับการศึกษาระหว่างบวชพระ รู้อักขระ พยัญชนะ บางคนก็ได้ศึกษาภาษาบาลี และศึกษาภาษาขอมไปด้วย เมื่อสึกออกมาแล้วก็มีความรู้ทางการอ่าน เขียนหนังสือไทย และเขียนจำนวนตัวเลขตามที่ต้องการได้ บางคนมีโอกาสได้เข้ารับราชการ นำความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์ ประกอบทั้งเจ้าเมืองหรือผู้ปกครองระดับสูงก็ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน เขียนหนังสือไม่เป็น แต่มีความสามารถ ฉลาดรอบรู้ในการปกครอง รู้วิธีการสั่งการ บอกเรื่องให้คนอื่นเขียนตามที่พูด หรือบางครั้งผู้เขียนก็สามารถเรียบเรียง เสนอเรื่องถ้อยคำเป็นเรื่องเป็นราวตามที่ผู้ใหญ่ต้องการด้วยความรอบรู้ ความฉลาดของตนเองก็มี ผู้ทำงานลักษณะดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่า “อักษรเลข” คือ เป็นผู้เขียนตัวหนังสืออักษรและจำนวนเลขได้ จึงให้ผู้ใหญ่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วลงลายมือชื่อ ประทับตราประจำตำแหน่ง ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่งเสมียนตราเป็นผู้เก็บรักษาตรานี้อยู่

​ในสมัยที่ประเทศไทยนำระบบเทศาภิบาลมาใช้ในการปกครอง เดิมใช้ชื่อตำแหน่งนี้ว่า “สาระเลข” ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการเมือง เขียนหนังสือตามคำสั่งของผู้ใหญ่ดังกล่าว ต่อมาตำแหน่งนี้ได้พัฒนามาเป็น เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเดิมมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยแทนจ่าเมือง เป็นพนักงานรับส่งจดหมาย ทำบัญชี และงานธุรการ ในปัจจุบันมีหน้าที่สำคัญ เช่น ดูแลการนัดหมายงานต่าง ๆ ของผู้ว่าราชการจังหวัด กลั่นกรองแฟ้มงานที่ส่วนราชการต่าง ๆ นำมาเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการ ติดตามผู้ว่าราชการจังหวัดไปในการออกตรวจพื้นที่ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

​ในสมัยก่อน บุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ ให้ดำรงตำแหน่งอักษรเลขนั้น ส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าราชการชาวพื้นเมืองที่มีความรู้ความสามารถ เคยปฏิบัติราชการมาก่อน และได้เล่าเรียนมามากพอสมควร โดยได้มีเกณฑ์การคัดเลือกว่า ผู้ที่จะเป็นอักษรเลขให้ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับของผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งปลัดอำเภอ มีใจความโดยย่อว่า

“เมื่อจะมีการแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเลขานุการมณฑลและอักษรเลข ซึ่งเป็นคนที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ให้รับแต่บุคคลที่สอบวิชาชั้นปลัดอำเภอ ส่วนเลขานุการมณฑลหรืออักษรเลขที่รับราชการอยู่ก่อนแล้ว ก็ให้ศึกษาหาความรู้ชั้นปลัดอำเภอไว้ด้วย ต่อมาตำแหน่งอื่น ๆ ที่อยู่ในสายมหาดไทย เช่น เสมียนตรามณฑล จ่าจังหวัด และเสมียนตราจังหวัดก็เป็นตำแหน่งที่ต้องคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ของปลัดอำเภอ”

​ปัจจุบัน ตำแหน่งอักษรเลขเป็นข้าราชการอยู่ในระดับปฏิบัติการ และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และทำหน้าที่เป็นเลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดอีกด้วย

http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2016/03/อักษรเลข-4-53-ยุติ.doc

แผนผังการบริหารงานข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑)


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 15:55

เนื้อเรื่องย่อ อำแดงเหมือนกับนายริด

เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากคดีในประมวลกฎหมายและฎีกาคดีหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เล่าถึง อำแดง (นางสาว) เหมือน ซึ่งเป็นลูกของนายเกตกับอำแดง (นาง) นุ่น ประกอบอาชีพทำสวนอยู่ที่ตำบลบางม่วง แขวงเมืองนนทบุรี นายเกตกับอำแดงนุ่นยกอำแดงเหมือนให้เป็นภรรยานายภู เมื่ออำแดงเหมือนไม่ยอมโดยดี พ่อแม่ก็ให้นายภูมาฉุดเอาตัวไป แต่อำแดงเหมือนหนีกลับบ้านของตน นายภูมาฉุดไปอีก อำแดงเหมือนก็หนีไปอีก หากแต่ครั้งนี้หนีไปอยู่กับนายริด ชายคนรัก นายภูจึงฟ้องนายริดว่าลักพาเมียตน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังสู้ความกันอยู่ที่ศาล อำแดงเหมือนได้ถูกควบคุมไว้ในตะราง (ที่คุมขัง) ที่จวนของพระนนทบุรี เจ้าเมืองนนทบุรี และถูกนายเปี่ยมพะทำมะรงซึ่งกินสินบนของนายภูกลั่นแกล้งทารุณต่าง ๆ นานาเพื่อบีบบังคับให้อำแดงเหมือนยอมเป็นภรรยานายภู อำแดงเหมือนจึงหนีตะรางไปถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408

คดีนี้นักเรียนกฎหมายจะคุ้นเคยอยู่ครับ แต่สมัยเรียนไม่เคยสงสัยเลยว่า พะทำมะรง คือตำแหน่งอะไร

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 16:01

อ้างถึง
ปัจจุบัน ตำแหน่งอักษรเลขเป็นข้าราชการอยู่ในระดับปฏิบัติการ และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และทำหน้าที่เป็นเลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดอีกด้วย

ถ้าตำแหน่งอักษรเลข = เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มตำแหน่งประเภททั่วไป ซึ่งจะเรียกว่าตำแหน่งระดับ "ปฏิบัติงาน" ครับ
เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน เมื่อมีประสบการณ์สูงขึ้น จะเลื่อนตำแหน่งเป็น "ชำนาญงาน" และ "อาวุโส" ตามลำดับครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 17:44

อักษรเลขในสมัยก่อนเป็นตำแหน่งผู้ช่วยราชการประจำผู้ว่าราชการจังหวัดเทียบได้กับตำแหน่งนายทหารคนสนิทของนายทหารบก  หรือนายธงของนายทหารเรือ  หรือนายเวรของนายตำรวจชั้นผู้บังคับการขึ้นไป


ตำแหน่พธำมรงค์นั้นตรงกับพัสดีเรือนจำ หรือหัวหน้าผู้คุมคุก  ในสมัยจัดระเบียบกรมราชทัณฑ์ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง
ผู้บัญชาการเรือนจำมีหน้าที่ตรวจตราความเป็นอยู่ของนักโทษ  และต้องจู่โจมเข้าตรวจในเวลากลางคืนเป็นประจำด้วย  ส่วนพธำมรงค์นั้นเป็นหัวหน้าผู้คุมนักโทษที่ทำหน้าที่ประจำอยู่ที่เรือนจำ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 10:53

ขอบพระคุณครับ
เสมียนตรา รู้จักแล้ว ปัจจุบันยังมีกรมเสมียนตราอยู่ในกระทรวงกลาโหมอยู่เลย (สมัยก่อนก็ทำหน้าที่เดียวกับปัจจุบันใช่ไหมครับ)
พะทำมะรง = พัสดี หรือ ผู้บัญชาการเรือนจำ
จ่าเมือง = เดาจากหน้าที่ จ่าศาล ก็พอจะนึกออกว่าทำอะไรได้อยู่ครับ
สัสดี = ปัจจุบันตำแหน่งนี้ก็ยังมี ก็ยังนึกออกว่าทำอะไรครับ
ศุภมาตรา = ผมไปค้นมาแล้ว คือ คนเก็บภาษีอากร
อักษรเลข = ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาเล่าให้ฟังไปแล้ว

เหลือตำแหน่งที่ผมน่าจะคุ้นมากๆ คือ "แพ่ง" เวลาเป็นกฎหมายก็หมายถึงกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน แต่เวลาเป็นตำแหน่ง ก็ได้ได้ยินตำแหน่ง "ขุนแพ่ง" มาบ้าง แต่ไม่ทราบว่า ขุนแพ่ง ทำหน้าที่อะไรครับ   
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 10:56

ผมค้นพบเรื่องของขุนแพ่ง เพียงเท่านี้ครับ

ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มีการตรากฎหมายวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๕ ซึ่งในกฎหมายตราสามดวงเรียกกฎหมายดังกล่าวว่า “พระธรรมนูญ” จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้ทราบได้ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมเป็นต้นมา มีศาลที่พิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ กัน ๑๔ ประเภท ดังนี้
....
๕. ศาลแพ่งวัง พิจารณาคดีด่าสบประมาท แทะโลม ล้วงแย่งเมียและลูกสาวผู้อื่น ข่มขืนมิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน ผัวเมียหย่ากัน ผัวเมียลักทรัพย์กัน พ่อแม่พี่น้องลูกหลานลักทรัพย์กัน บุกรุกที่ดินเรือกสวน รับสิ่งของฝากเช่าจำนำ ถ่มน้ำลายรดหัวผู้อื่น ทำชู้หรือข่มขืน กอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา เป็นต้น ถ้าจำเลยเป็นสมใน ความแพ่งไม่ว่าสถานหนักหรือเบาต้องขึ้นศาลกรมวังเช่นเดียวกับความอาชญาและความนครบาล หากเกิดในหัวเมืองและจำเลยเป็นสมใน ขุนสุพมาตราและรองสุพมาตราเป็นผู้พิจารณา

๖. ศาลแพ่งกลาง พิจารณาความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหา ในสถานเบา เช่น ด่าสบประมาท แทะโลม ข่มขืนมิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน เป็นต้น ถ้าความแพ่งสถานเบาและจำเลยเป็นสมนอกเกิดในหัวเมือง รองแพ่งเป็นผู้พิจารณา

๗. ศาลแพ่งเกษม พิจารณาความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหา ในสถานหนัก เช่น บุกรุกที่ดินเรือกสวน ทำชู้หรือข่มขืนกอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา เป็นต้น ถ้าความแพ่งสถานหนักและจำเลยเป็นสมนอกเกิดในหัวเมือง ขุนแพ่งเป็นผู้พิจารณา

ทีมา : http://www.supremecourt.or.th/webportal/supremecourt/content.php?content=component/content/view.php&id=79
บันทึกการเข้า
kumsaneiei
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 14:08

ขอบคุณพี่ๆทุกคนเลยน่ะครับที่ไปค้นมาตอบในกระทู้  ส่วนตัวนี่ก็สงสัยมานานแล้วว่าที่บอกว่ากรมการเมืองๆแต่ก็งงว่ามีตำแหน่งหน้าที่อะไรบ้าง  มาถามในเว็ปนี้ไม่ผิดหวังจริงๆขอบพรุคุณเป็นอย่างสูงน่ะครับทุกๆคน
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 14:45

แต่ เอ่...
ตำแหน่งกรมการเมืองทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อย ล้วนแต่เป็นตำแหน่งเชิงบริหารราชการทั้งสิ้น ไม่มีตำแหน่งทางการทหารเลยครับ
เป็นเพราะว่า ในสมัยนั้น การทหารและพลเรือนมิได้แยกจากกันอย่างเด็ดขาด ในยามปกติ กรมการเมืองก็ทำหน้าที่บริหารราชการในตำแหน่งของตนไป แต่ในยามสงคราม กรมการเหล่านี้ ต้องสามารถนำพลออกรบได้กันทุกคนอย่างนั้นหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง