เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 11829 ผมอยากทราบว่า แต่งกายแบบนี้เป็นขุนนางระดับไหนของจีนครับ
Kiangsak loekaudom
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 ต.ค. 18, 09:32

ขอบคุณมากๆครับ คุณเพ็ญชมพู
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 ต.ค. 18, 11:42



พระศรีสมบัตินำขุนนางจีนแต่งตัวเต็มยศอย่างจีนรวม ๑๙ นาย เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ถวายกิมฮวยอั้งติ๋ว แลถวายไชยมงคล มีพระดำรัสตอบด้วยพอสมควร

จาก จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๓๓ หน้า ๑๗๓-๑๗๔

http://beyond.library.tu.ac.th/utils/getdownloaditem/collection/cremation/id/6138/filename/6139.pdf/mapsto/pdf



บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 ต.ค. 18, 12:46

จาก คห.22 สำเนาเอกสารที่แนบ

ในวรรคแรก “ แผ่นผ้าปัก ” เพื่อแสดงสถานะของข้าราชการจีน ภาษาจีนใช้  補子  หรือย่อว่า 补子 อ่าน ปู๋จื่อ

補子又稱胸背,簡稱補,指明朝及清朝、朝鮮王朝、越南黎朝至阮朝、琉球國官員服裝上,位於胸前和背後的方形裝飾

อ้าง
https://zh.wikipedia.org/zh-hant/%E8%A1%A5%E5%AD%90

ส่วน ปู๋ฝู ภาษาจีนเขียน 補服 หรือย่อเป็น 补服  ท่านหมายถึงชุดเครื่องแบบราชการครับ

補服是中國明、清兩代、朝鮮半島朝鮮王朝至大韓帝國時代、越南後黎朝至阮朝、琉球國第二尚氏王朝時期官服的一種。

อ้าง
https://zh.wikipedia.org/zh-hans/%E8%A1%A5%E6%9C%8D


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 ต.ค. 18, 17:58

เสื้อยศเข้าเฝ้า เรียกว่าเฉาเผา 朝袍  เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกใช้สวมขณะเข้าเฝ้า มีลักษณะเป็นเสื้อคลุมคอกลมติดกระดุมผ่าหน้ามีความยาวเพียงหน้าแข้ง แขนเสื้อจะตรงและสั้นกว่าเสื้อลายมังกร สีดำ หรือน้ำเงิน ในฤดูร้อนจะเป็นแพรโปร่งในฤดูหนาวจะเป็นผ้าขนสัตว์ มีสัญลักษณ์บ่งบอกระดับชั้น เรียกว่า ปู๋ฝู (โป้วฮก) 補服 เป็นแผ่นผ้าไหมปักลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ติดไว้กลางอกทั้งหน้าและหลัง ของขุนนางทั่วไปเป็นสี่เหลี่ยม ขุนนางในราชสำนักเป็นวงกลม ส่วนของเชื้อพระวงศ์นั้นสัญลักษณ์ปักลายมังกรในวงกลม แผ่นผ้าปักหรือ ปู๋ฝู นี้ ราชวงศ์ชิงอนุโลมใช้ตามแบบราชวงศ์หมิง เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะของเสื้อเป็นแบบแมนจูเท่านั้น

จากบทความของอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน อยู่ในหนังสือกระเบื้องถ้วยกระลาแตก  โดยพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

ขอบพระคุณ คุณนามแปลง
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 02:34

ที่คุณเพ็ญชมพูกรุณาแก้ไขก็ยังไม่ชอบครับ เพราะตัวข้อมูลที่เป็นฐานอ้างอิงท่านเขียนหรือพิมพ์ผิดครับ

เพราะ 服 แปลว่า ชุดเสื้อผ้า  補服 (补服) เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกของข้าราชการ ที่จะคลุมกรณีที่เป็นพิธีกรรมทางราชการ

เช่นยามเข้าเฝ้า การประชุมขุนนาง และยามขึ้นนั่งพิพากษาคดีครับ  เรียกชื่อเต็มว่า 官員補服

ด้วยชุด 補服 เป็นชุดพระราชทานที่ต้องใส่ยามเข้าเฝ้า จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุดเข้าเฝ้า หรือ 朝袍 ครับ



อ้างอิง
https://zh.wikipedia.org/wiki/%E6%B8%85%E6%9C%9D%E6%9C%8D%E9%A3%BE





บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 02:39

แผ่นผ้าปักกลางอกของชุด補服 (补服) ที่เป็นหมาย บอก ฝ่าย และบรรดาศักดิ์ ต้องเรียก ปู๋จื่อ  補子 ( 补子 ) ครับ

อ้าง
https://zh.wikipedia.org/zh-hant/%E8%A1%A5%E5%AD%90


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 03:08

ความที่คุณ hakkayin2550 คัดลอกมา และคุณเพ็ญชมพูกล่าวถึงนั้น ในข้อสองเรื่อง เสื้อยศลายมังกร หรือหมังเผา 蟒袍 ผมขออนุญาตเพิ่มเติมดังนี้

จีนใช้ศัพท์ หมังเผา 蟒袍 เพื่อเลี่ยงคำว่า หลงเผา 龙袍

หลง 龙  แปลว่ามังกรสมบูรณ์ มี 5 เล็บ เสื้อลายมังกร หรือหลงเผา เป็นชุดทรงของฮ่องเต้

แต่ หมัง 蟒 ท่านหมายถึงมังกรไม่สมบูรณ์ มีเพียง 4 เล็บ ชุด หมังเผา 蟒袍 ควรระบุให้เห็นความต่างตามเจตนาให้ต้องกับขนบจีน ว่า เสื้อลายหมัง หรือเสื้อลายมังกร 4 เล็บ

หมังเพ้า เป็นชุดปฏิบัติราชการปกติเฉพาะจีนช่วงก่อนยุคสมัยต้าชิงครับ เป็นชุดข้าราชการที่เราคุ้นตายามดูงิ้ว


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 03:27

แต่ หมังเผา ในสมัยต้าชิง เป็นชุดประกอบสวมใต้ปู๋ฝูของชุดเข้าเฝ้า เป็นผ้านุ่งยาว แขนสอบตามขนบแมนจู ปักไหมเป็นลายมังกร 4 เล็บ

ท่านสวมใส่หมังเผาแต่ในวันเข้าร่วมพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น ไม่ใช่ชุดราชการใส่ทำงานปกติ

ด้วยหมังเผาเป็นชุดพระราชทาน ต้องทำความสะอาดและสิ้นเปลืองในการดูแล



ชุดข้าราชการปกติท่านเรียกเปี้ยนฝู 便服 และหากเป็นงานพิธีกรรม หรือการขึ้นบัลลังก์พิพากษาคดี ท่านจึงจะสวมปู๋ฝูทับ

ชุดเปี่ยนฝู เป็นเสื้อยาว แขนยาวสอบตามขนบแมนจู



ข้าราชการชั้นผู้น้อยจะนุ่งสีโทนน้ำเงิน หรือเขียวเข้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 12:56

ความที่คุณ hakkayin2550 คัดลอกมา และคุณเพ็ญชมพูกล่าวถึงนั้น ในข้อสองเรื่อง เสื้อยศลายมังกร หรือหมังเผา 蟒袍

อาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวนเขียนไว้ในหนังสือกระเบื้องถ้วยกะลาแตกไว้ดังนี้

๒. เสื้อยศลายมังกร เรียกว่า หมังเผา (หมังเพ้า) 蟒袍 เป็นเสื้อที่ใช้สวมเวลาปฏิบัติงานปกติเป็นเสื้อไหมยาวตลอดตัว คอกลมปกใหญ่ติดกระดุมข้างขวา พื้นสีน้ำเงินปักไหม มีลวดลายสิริมงคลต่าง ๆ มีความแตกต่างกันที่เล็บมังกรที่ปักบนเสื้อ ชายเสื้อปักลายฝั่งน้ำคลื่นทะเลด้วยไหมห้าสี เสื้อของชาวแมนจูปลายแขนเสื้อทั้งสองข้างจะยื่นยาวเลยมือออกมาคล้ายรูปเกือกม้า เรียกว่า หม่าถีซิ่ว 馬蹄袖 แปลว่า แขนเกือกม้า หรือ เจี้ยนซิ่ว 箭袖 แปลว่า แขนเสื้อยิงธนู ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของเสื้อสมัยชิง แขนเสื้อนี้ปกติจะต้องพับขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่เวลาเข้าเฝ้าจะต้องปัดปลายแขนเสื้อลงทั้งสองข้าง โดยต้องสะบัดข้างซ้ายลงก่อน แล้วจึงสะบัดข้างขวาเพื่อแสดงความเคารพ การปัดแขนเสื้อนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของการถวายความเคารพแบบแมนจู

ขอบพระคุณ คุณนามแปลง อีกทีสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมใน #๓๖ และ #๓๗



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 14:14

แอบสงสัยว่า แขนของ"เสื้อยิงธนู" ที่ยาวออกมา จะช่วยให้การยิงธนูดีขึ้นได้อย่างไร
ก็พอดีพบภาพนี้ครับ

ที่มา : http://www.manchuarchery.org
คำอธิบายใต้ภาพ
Manchu archers, 1872.
Photograph by John Thompson, National Library of China. He used wet-collodian which required an exposure time of just a few seconds, making such shots possible for the first time.
เหมือนกับว่า ชายแขนเสื้อที่พับกลับเข้าหาตัว ทำให้ชายเสื้อไม่หลุดรุ่ยไปขวางสายธนูตอนปล่อยลูกศร ซึ่งอาจทำให้ความแรงลดลง หรือทิศทางเปลี่ยนไปได้ นอกจากนี้การที่แขนเสื้อหนาขึ้น จะช่วยป้องกันแขนของผู้ยิงไม่ให้บาดเจ็บจากการถูกสายธนูตีเอาได้อีกด้วย
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 14:53

















คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 15:10

ขอโทษครับ  รบกวนแอดมินลบแก้ภาพที่ซ้ำ เกินมาด้วย ผมไม่ได้เจตนา และลบแก้ไม่ได้ครับ _/\_
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 15:13



คงเป็นอย่างที่คุณนามแปลงว่า

หมังเพ้า เป็นชุดปฏิบัติราชการปกติเฉพาะจีนช่วงก่อนยุคสมัยต้าชิงครับ เป็นชุดข้าราชการที่เราคุ้นตายามดูงิ้ว

แต่ หมังเผา ในสมัยต้าชิง เป็นชุดประกอบสวมใต้ปู๋ฝูของชุดเข้าเฝ้า เป็นผ้านุ่งยาว แขนสอบตามขนบแมนจู ปักไหมเป็นลายมังกร 4 เล็บ

ท่านสวมใส่หมังเผาแต่ในวันเข้าร่วมพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น ไม่ใช่ชุดราชการใส่ทำงานปกติ

ด้วยหมังเผาเป็นชุดพระราชทาน ต้องทำความสะอาดและสิ้นเปลืองในการดูแล
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 15:45

เอกสารจีนอธิบาย หม่าถีซิ่ว 马蹄袖 ว่าเป็นปลายแขนเสื้อแขนยาว ที่สอบเข้า

เมื่อปล่อยปลายแขนให้สุด จะมีลักษณะเหมือนเท้าม้า หรือ หม่าถี  โดยผ้าส่วนเกินจะยาวลงคลุมหลังมือ

ส่วนศัพท์ 箭袖 หรือแขนเสื้อลูกธนู ท่านหมายเพียงปลายแขนเสื้อที่ลู่เข้าดังคมธนู ไม่ได้หมายถึงการใส่เสื้อเพื่อสะดวกในการยิงธนู

เสื้อแขนยาวปลายสอบ เป็นขนบของพวกชนกลุ่มน้อยทางเหนือที่อากาศหนาวเย็น

ปลายแขนสอบช่วยกักเก็บความอบอุ่นของร่างกาย และยังทำงานสะดวก

( ปลายแขนเสื้อของชาวฮั่นตามขนบดั่งเดิมจะปล่อยหลวมครับ )

อ้าง https://baike.baidu.com/item/%E7%AE%AD%E8%A2%96





บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ต.ค. 18, 16:16

แหะๆ สรุปแล้วไม่เกี่ยวกับการยิงธนูเลยสินะครับ แค่เปรียบเปรยว่ามีลักษณะดั่งคันธนูเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.14 วินาที กับ 20 คำสั่ง