เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 31479 มาทำความเข้าใจผังแม่บทของสนามบินสุวรรณภูมิกัน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:26

ภาพที่ ๑


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:28

(ภาษาอังกฤษที่ใส่เข้าไปนี้เพื่อให้มันดูขลังๆเท่านั้น คุณไม่ต้องสนใจก็ได้ แค่อ่านภาษาไทยก็เข้าใจแล้ว)

การทำMaster Plan หรือผังแม่บทของสนามบินนั้น ครอบคลุมการศึกษามากมายหลายด้าน ผู้ศึกษาวางแผนต้องทำกันเป็นทีมเรียกว่า Multi-disciplinary teamwork นักวิชาการและนักวิชาชีพที่อยู่ในแวดวงต้องเข้ามาร่วม ตั้งแต่ world Economic , Country Economic, City Planning , Transportation Engineering , Logistic Engineering, Aerospace, Aircraft Technology, Airline Business, Site Investigation, Social Impact , Environmental effect, Environmental Investment Feasibility Study ประมวลข้อมูลทั้งหมดออกมาแล้วจึงได้ตั้งเป็นโจทย์ให้สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบ ประมวลตัวอักษรลงเป็นเส้นเรียกว่าแผนผัง(Layout Plan) แล้วจึงจะถึงกองทัพของวิศวกรทุกสาขาอื่นๆ เข้ามาร่วมทำงานตรงนี้

ในแผนผังของสนามบินอันประกอบด้วยทางวิ่งขึ้นวิ่งลง (Runway) ทางวิ่งเครื่องบิน( Taxiway) และลานบิน(Apron) ต้องใช้ข้อกำหนดอันตายตัวที่คำนึงถึงความปลอดภัยของเครื่องบินและผู้โดยสารเป็นหลัก ถือเป็นกฏเหล็กของการบินที่ใช้บังคับทั่วโลก มิใช่ใครคนใดคนหนึงที่มีอำนาจจะชี้นิ้วสั่งสถาปนิกได้ตามใจว่า อาคารผู้โดยสารจะต้องอยู่ตรงโน้นตรงนี้ ประสิทธิภาพในการเข้าออกของเครื่องบินระหว่างอาคารกับรันเวย์เป็นเรื่องสำคัญแบบคอขาดบาดตาย

แผนผัง(Layout Plan)ของสนามบินสุวรรณภูมิถือเป็นแผนผังที่ดีที่สุดในปฐพีแห่งหนึ่ง เพราะเป็นผังที่ลงตัวแบบ Symmetrical Balance (สองข้างเท่ากัน) ยากที่จะเห็นไม่ว่าที่ไหนในโลก พิจารณาสิครับ ไม่ว่าจะแกนตั้งและแกนนอน ซ้ายขวาบนล่างจะมีน้ำหนักความสำคัญเท่าๆกัน เป็นการเฉลี่ยการจราจรของเครื่องบินไปยังรันเวย์ที่ขนาบข้างอาคารผู้โดยสารได้เลิศที่สุด

แผนผังนี้เมื่อจัดองค์ประกอบของอาคารบริวารต่างที่จำเป็นอื่นๆเข้าไปแล้ว จะเรียกว่า Master Plan ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ(Guideline)ของผู้บริหารในการวางแผนจัดการ(Implementation plan)ให้มันเป็นไปความต้องการที่จะมีมาในอนาคต สุวรรณภูมิใช้เวลากว่าจะได้มาถึงขั้นนี้ ๓ ปี เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนรัฐบาลเสียค่าจ้างไปเป็นพันล้านบาท แล้วจึงถึงขั้นตอนที่จะว่าจ้างสถาปนิกมาออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ ๑
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:31

ภาพที่ ๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:32

ผังแม่บทของสุวรรณภูมิถูกวางไว้ในระดับที่จะให้เป็นศูนย์การบิน(HUB)ของเอเซียแห่งหนึ่ง ที่จะรองรับผู้โดยสารได้+-๑๒๐ล้านคนต่อปี ซึ่งศักยภาพของผังทั้งด้าน airside คือภาคอากาศควบคุมด้วยวิทยุการบินแห่งประเทศไทย และ landside คือตัวสนามบินทางภาคพื้นดิน
.
ทำไมถึง ๑๒๐ ไม่มากไปกว่านั้น ก็เพราะตามความเป็นจริง สนามบินใหญ่ๆทุกแห่งในโลกจะอิ่มตัวที่ประมาณดังกล่าว เนื่องจากการควบคุมการจราจรทางอากาศจะยุ่งยากเกินไป ปัจจุบันสุวรรณภูมิเองแต่ ๕๐-๖๐ล้านคน นักบินยังบ่นว่าต้องบินวนเป็นอีแร้งหลายรอบกว่าเขาจะให้ลง ในช่วงพีคๆ เราก็คงมีประสบการณ์บ้างนะครับที่ต้องนั่งรอบนเครื่อง บางทีอยู่บนรันเวย์ ร่วมครึ่งชั่วโมงกว่าเครื่องจะถึงคิว take off
.
ดังนั้นการรักษา Axis Line ของสนามบินอันเป็นจุดดีจุดเด่นของสุวรรณภูมิจึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำโดยเคร่งครัดโดยผู้บริหารทุกระดับชั้น

อย่างไรก็ดี ผังแม่บทไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยน ในการวางแผนจัดการ(Implementation plan)ของผู้บริหาร ก็สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางอย่างได้ เช่นที่เราเคยเปลี่ยนมาแล้ว ตอนที่งบก่อสร้างอาคารหลังที่ ๑ บานปลาย ๓ เท่าเพราะแบบของนายเฮลมุต ยาห์น แล้วนายกรัฐมนตรีทักษิณสั่งให้ลดพื้นที่ก่อสร้างจริงลง จาก ๑๑ ช่องเสา เหลือ ๗ ช่องเสา แต่ทำหลังคาแล้วเตรียมพื้นที่ข้างล่างเผื่อไว้ เมื่อไหร่ผู้โดยสารมากขึ้นค่อยขยายทีหลัง

ผังแม่บทถูกปรับปรุงอีกครั้งในประมาณปี ๒๕๕๗  เนื่องจากขนาดของเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ทำให้อาคารผู้โดยสารรองที่เรียกว่า Satellite Terminal ตามรูปทรงกากบาทไม่เหมาะสมเสียแล้ว ก็เปลี่ยนเป็นอาคารยาวอย่างที่เห็นในภาพ ตามแผนนั้นกำหนดให้สร้างอาคารผู้โดยสารรองหลังที่ ๑ สีเขียว เป็นท่าเทียบเครื่องบิน ส่วนอาคารผู้โดยสารหลักสีน้ำเงินเดิม ก็ให้ต่อเติมส่วนขยายด้านข้าง สีเขียวเช่นเดียวกัน เพราะต้องทำพร้อมกันสำหรับให้มีที่รองรับผู้โดยสารของสายการบินเพิ่มขึ้น

โปรดสังเกตุ ผู้ที่ปรับปรุงผังแม่บทนี้ยังให้ความเคารพในแนวแกนหลักของสนามบินอย่างเคร่งครัด ถือว่าผังแม่บทหลักที่วางไว้แต่เดิมยังใช้การอยู่ ทั้ง airsideและlandside จะบอกว่าล้าสมัยเลิกใช้ไปนานแล้วไม่ได้

หากมีความจำเป็นในอนาคต ก็สามารถสร้าง อาคารผู้โดยสารหลักหลังที่ ๒ สีแดง ทางด้านทิศใต้ของสนามบิน เชื่อมโยงกับถนนทางเข้าด้านบางนาตราด ทั้งทางด่วนยกระดับบนดิน ตลอดจนรถไฟฟ้าสีเขียวเข้มที่จะมาทางนั้น เชื่อมต่อกับ airport link เป็นวงจรที่สมบูรณ์แบบ

สุดท้ายที่จะสร้างคืออาคารผู้โดยสารรองหลังที่ ๒ เป็นอันจบ ถ้าการเดินทางทางอากาศจะขยายมากกว่านี้ก็ต้องไปทำที่อื่น เช่นสนามบินอู่ตะเภาที่เริ่มพูดๆกันบ้างแล้ว หรือเกิดรถไฟความเร็วเท่าเครื่องบิน (Hyperloop) ขึ้นมาแย่งส่วนแบ่งผู้โดยสารในอนาคต

ในผังแม่บทนี้ ในพื้นที่ล้อมกรอบสีม่วง ซึ่งปัจจุบันว่างอยู่ จะเป็นส่วนขยายของคลังสินค้าในอนาคต เพราะซีกตะวันตกที่ได้สร้างไว้แล้วมีแนวโน้มว่าจะเต็ม จากการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ขยายตัวประมาณปีละ ๑๐% ด้วยอิทธิพลของการซื้อของทางอินเทอเน็ท อาจต้องขยายคลังสินค้ามาสร้างทางฝั่งนี้ด้วยในระยะเวลาไม่นาน หากพื้นที่ตรงนี้จะไม่ถูกนำไปทำเป็นอย่างอื่น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:33

ภาพที่ ๓


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:35

แล้วจู่ๆในพ.ศ. ๒๕๖๑ นี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อทอท.ประกาศประกวดแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ ๒ ของสนามบินสุวรรณภูมิขึ้น ซึ่งประชาชนก็รับรู้นะแต่ไม่ได้สนใจ จนกระทั่งแบบที่ได้รับการคัดเลือกเกิดมีปัญหาขึ้น เรื่องของความชอบไม่ชอบ ถูกต้องไม่ถูกต้อง ได้สร้างกระแสขึ้นอย่างรุนแรงเพราะได้ไม้(ยังไม่ได้อาบน้ำยา)เป็นเชื้อเพลิงโหมกระหน่ำลุกโพลงไปทั่วทุกสื่อ

อันนี้ต้องขอขอบคุณคุณดวงฤทธิ์ บุนนาคเป็นอย่างสูงที่ทำให้สถาปนิกที่ไม่ได้สนใจเรื่องประกวดแบบมาก่อนได้เห็นแบบ แล้วหลายคนเกิดเอะใจว่าทำไมทอท.จึงยอมทิ้งผังแม่บทดีๆ ด้วยการทำลายแกน axis line อันเป็นจุดประเสริฐของมัน แบบไม่เห็นคุณค่า

ลองคิดตามนะครับ สนามบินสุวรรณภูมิปัจจุบันเข้าออกทางทิศเหนือโดยถนนจากมอเตอร์เวย์ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ซึ่งจอดรับส่งผู้โดยสารที่อาคาร ๑ แล้วจะมีอุโมงค์ลอดไปสู่ อาคารหลังที่ ๒ ทางด้านทิศใต้ ซึ่งตรงนั้นก็จะมีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มมาสุดทางที่นั่นเหมือนกัน

การยกเลิกการขยายอาคารเดิมทางด้านข้างตามผังแม่บท ๒๕๕๗ (เขียวมีกากบาท) แล้วเอาอาคารหลังที่ ๒ ซึ่งควรจะสร้างทางด้านทิศใต้ มาแปะไว้ข้างอาคารหลังที่ ๑ แทน(อาคารสีส้ม) จะทำให้ผิวจราจรบนถนนทางเข้าออกอันเกิดจากอาคารแปะหลังมหึมานี้จลาจลขนาดไหน ใครอยู่หมู่บ้านจัดสรรที่ถนนหนทางคับคั่งอยู่แล้ว วันดีคืนดีเกิดอีกหมู่บ้านหนึ่ง ขนาดเท่าๆกันขึ้นมาร่วมใช้เข้าๆออกๆด้วย คงจะเข้าใจดี ทุกวันนี้มอเตอร์เวย์ช่วงเข้าออกสนามบินก็รถติดเป็นประจำเลวร้ายแค่ไหนน่าจะรู้อยู่ แต่ในสนามบินเองจะเลวร้ายมากกว่าหลายเท่า เวลานี้จะจอดรถรับส่งผู้โดยสารก็แสนลำบากต้องจอดซ้อนกันไม่รู้จะกี่ชั้น โดนไล่แล้วไล่อีก ต่อไปถ้าอาคารแปะสร้างเสร็จ รถจากที่นั่นจะต้องมาวนออกหน้าอาคารเดิมซ้ำเติมเข้าไป นี่ผมยังไม่เห็นแบบละเอียดนะครับ ว่าถนนแต่ละระดับมันเชื่อมต่อกันอย่างไร ตีบมันเขียนหลอกไว้เนียนไม่ให้เราได้เดาทางเลย

คาดว่าต่อไปอาชีพวินแมงกะไซคงจะรุ่งเรือง เพราะเป็นที่พึ่งของผู้โดยสารขาเดี่ยวที่ไม่อยากพลาดเที่ยวบิน

แล้วระบบขนส่งกระเป๋าอัตโนมัตที่ลงทุนไว้มหาศาลเล่า ก็ CTX อะไรนั่นไงพระคุณท่าน ทว่าเจ้าอาคารปะลงทุนมหาศาลนี้กลับเชื่อมต่อไม่ได้ ต้องใช้ระบบอัตโนมือขนใส่รถ แล้วไปส่งต่อที่HUBของกระเป๋าอีกที เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แล้วโอกาสที่จะผิดพลาดของคนขนก็อาจเกิดขึ้นได้ เรื่องนี้ผมไม่เถียงกับใครละ ใครไม่เห็นด้วยก็ไปเถียงกับการบินไทยก็แล้วกัน เขาออกข่าวมาชัดเจนแล้วว่าทำไมถึงจะไม่ย้ายมาอาคารแปะตามคำเชิญ แล้วเขาก็ยังกล่าวถึงความวุ่นวายที่จะเกิดกับผู้โดยสารต่อเครื่อง ที่ระบบขนส่งผู้โดยสารมันไม่ต่อเนื่อง ต้องนั่งโมโนเรลไปลงลิฟท์แล้วนั่งรถใต้ดินอีกทียังกับสวนสนุก ทั้งที่อารมณ์ผู้โดยสารตอนนั้นคงไม่สนุกด้วยแล้ว กว่าเครื่องจะเข้าจอดก็นั่งรอในเครื่องจนประสาทรับประทานไปเรียบร้อย

คราวนี้มาดูทางด้านลานบินบ้าง เดิมทีช่องทางนี้ในผังแม่บทเผื่อไว้สำหรับเครื่องขนส่งสินค้า แต่พอเอาอาคารแปะมาตั้งก็เปลี่ยนหลุมจอดกลางแจ้งเป็นหลุมจอดประชิด คือมีสพานเชื่อมโยงกับตัวอาคารเลย แต่จำนวนหลุมยังเท่ากันที่ ๑๔ หลุมจอด ทั้งที่ทอท.ได้ประกาศว่าอาคารหลังนี้จะมีประสิทธิภาพในการรับผู้โดยสาร ๓๐ ล้านคนต่อปี เรื่องนี้หนังสือพิมพ์พาดหัวไปแล้วว่าคุณสมเจตน์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของทอท.กล่าวว่าโกหก ท่านชี้ว่า อาคารผู้โดยสารรองที่กำลังก่อสร้างอยู่ มี ๒๖ หลุมจอด ยังรับผู้โดยสารได้ ๑๕ ล้านคน ตามตัวเลขของทอท.เอง ใครจะไปพิสูจน์ว่าตนถือศีลข้อ ๔ อย่างเคร่งครัดก็เอาตัวเลขไปเถียงกับท่าน ไม่ต้องส่งผ่านผมนะครับ

ส่วนผมขอเล่นประเด็นนี้ก็แล้วกัน ตามผังเดิมการเข้าออกของเครื่องบินจะผ่านถนนที่สั้นที่สุดไปสู่รันเวย์ แจ๋วอยู่แล้ว แต่บัดหน้าหากเขาเอาอาคาร ๒ มาแปะสำเร็จ เครื่องบินจะเข้าออกอาคารนี้ผ่านถนนแบบถนนซอย ดูภาพแล้วนึกออกไหมครับ ผมอ่านเจอในเน็ตนี้แหละว่านักบินบ่นอุบว่าอันตรายมาก และจะทำให้ของเครื่องที่จะมาจะไปอาคารหลังเดิมพลอยเสียเวลาไปด้วย
 
มีผู้ฟังในห้องคนหนึ่งลุกขึ้นถามคนบนเวทีแถลงข่าวของสภาสถาปนิกว่า สรุปแล้ว อาคารแปะหลังนี้มีอะไรดีเหลืออยู่บ้าง ผมหัวหมุนติ้วๆจะหาคำตอบช่วยๆเขาหน่อยแต่หาไม่เจอจริงๆ ก็ท่านเล่นถามคำถามซะยากมากขนาดด๊อกเตอร์ยังใบ้

นอกจากจะไม่ดีแล้ว คุณค่าของผังแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิที่เคยได้รับการยกย่องอย่างสูง จะถูกอาคารแปะนี้ทำลายไปซะด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ย. 18, 17:33 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:42

ภาพนี้เป็นภาพที่ผมใช้บนเวทีแถลงข่าวของสภาสถาปนิกเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ย. 18, 17:34 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:50

จะเห็นเส้นสีม่วงที่แสดงเส้นทางของ Airport Link ปัจจุบันมาสุดทางในตัวอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศเหนือ ในอนาคตจะต่อไปถึงอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศใต้ ซึ่งจุดนั้นจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ที่จะมาทางถนนเทพารักษ์

ส่วนเส้นสีน้ำเงินคือแนวอุโมงค์ที่กำลังสร้างจากอาคารผู้โดยสารหลักไปยังอาคารผู้โดยสารรอง สำหรับระบบขนส่งผู้โดยสารที่ผ่านการเชคอินแล้ว ให้เดินทางไปขึ้นเครื่องที่นั่น

เชนเดียวกัน อุโมงค์นี้จะสามารถขยายเส้นทางให้ยาวออกไปเชื่อมต่อยังอาคารผู้โดยสารรองและอาคารผู้โดยสารหลักของทิศใต้ได้โดยสะดวก

คำถามคือ อาคารที่ยกเอาอาคารผู้โดยสารหลักของทิศใต้มาแปะไว้ข้างอาคารผู้โดยสารหลักเดิมฝั่งทิศเหนือ มันจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลักทั้ง ๒ อย่างไร(เขามีคำตอบนะครับ แล้วเราจะไปดูกัน)

แล้วมันจะไม่ทำให้การจราจรของรถยนต์ทั้งในมอเตอร์เวย์หน้าสนามบิน และถนนหลักของสุวรรณภูมิเองเป็นอัมพาตหรือ ทุกวันนี้มีอาคารเดียว ช่วงพีคๆก็จอดรับส่งผู้โดยสารซ้อนๆกันหลายแถว ต้องมียามคอยไล่คอยเร่ง แล้วยังจะเอาพื่นทีถนนตรงนี้ไปรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นจากอาคารแปะ ซึ่งแทนที่รับส่งคนแล้วจะกลับบ้านเลย กลับต้องมาวนเข้าไปหน้าอาคารเดิม เพิ่มความชุลมุนวุ่นวายเข้าไปอีก

ไหวไหมครับนั่น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 10:13

แต่เรื่องระบบขนส่งมวลชนเขาแพลมมาแต่เดิม ว่าจะมีโมโนเรล วิ่งรับส่งผู้โดยสารไปยังจุดเชื่อมต่ออีกที ระบบนี้มีมูลค่า ๑๒๐๐๐ ล้านบาท
ส่วนเรื่องจราจรด้านถนน เขากำลังตั้งงบไว้อีก ๓๕๐๐๐ ล้านบาท เพื่อทำถนนหลักเชื่อมต่อกับมอเตร์เวย์อีกเส้น แต่มาได้ยังไงยังปกปิดอยู่

ดังนั้นอาคารแปะที่ว่าจะมีค่าก่อสร้าง ๓๕๐๐๐ ล้านบาท รวมกับระบบต่างๆรวมเป็น ๔๒๐๐๐ ล้านบาทนั้น มันขั้นเริ่มต้น จะให้มันใช้การได้จริงๆก็ต้องใส่ร่วมแสนล้าน ขอให้ประชาชนรู้ทันในเรื่องนี้ด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 10:36

ต่อคำถามว่า แล้วทำไมเขาไม่สร้างตามแผนที่กำหนดไว้เดิม ที่จะสร้างส่วนขยายอาคารหลักออกไปยังพื้นที่ที่เตรียมไว้แต่ต้น แบบก็ออกไปแล้ว ค่าแบบก็จ่ายไปแล้ว ๑๔๘ ล้านบาทตั้งแต่ ๒๕๕๗

ผู้อำนวยการใหญ่ของการท่าอากาศยานแถลงข่าวในช่วงเช้าวันเดียวกับสภาสถาปนิกว่า ที่ไม่สร้างเพราะจะกระทบกระเทือนสายการบิน ด้วยต้องปิดเคาน์เตอร์ไปถึง ๓๐ จุด

คุณนิตินัยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ คงไม่ได้ฟังสถาปนิกหรือวิศวกรคนใด นอกจากคำสั่งจากใครคนใดคนหนึ่งมาอีกที แต่คำพูดของท่านก็ทำเอานักข่าวเขว และมาถามที่สภาสถาปนิก  

พิโธ่เอ๋ย พิื้นที่ที่จะก่อสร้างส่วนนี้มันอยู่นอกอาคาร เขาสร้างหลังคายักษ์นั่นรอไว้แล้ว ดูตามแบบมันก่อสร้างได้สบายๆโดยไม่ไปแตะต้องผนังกระจกเลย จนกว่าจะก่อสร้างเสร็จแล้วต้องรื้อกระจกบางส่วนเพื่อให้พื้นที่เชื่อมต่อกัน แต่งานที่ว่านั้นไม่มีเสียงไม่มีฝุ่น ไม่ต้องปิดเคานเตอร์ ๓๐ จุดที่ว่า หรือหากปิดก็บางส่วนโดยใช้เวลาน้อยมาก อาจนับเป็นชั่วโมงเป็นวันด้วยซ้ำ และยังทำตอนกลางดึกผู้โดยสารไม่มีได้ด้วย

เรื่องนี้ฝ่ายที่คิดว่าทำได้มีท้าทายโดยเอาสมาชิกภาพวุฒิสมาชิกของสภาสถาปนิกเป็นเดิมพันด้วยนะครับ ใครว่าทำไม่ได้ขอให้ลงชื่อแล้วมาพิสูจน์กัน มีบริษัทก่อสร้างที่วิศวกรเป็นเจ้าของเข้าคิวรออยู่แล้ว ถ้าเขารับทำหรือปฏิเสธ ก็ขอให้ฝ่ายแพ้ยอมให้สภาสถาปนิกยึดไปประกอบวิชาชีพไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 10:59

ประเด็นสำคัญๆเกียวกับแกน axis ของผังแม่บทที่จะถูกทำลาย แล้วทำให้ความฝันที่จะให้สนามบินสุวรรณภูมิที่จะเป็นHUBรับผู้โดยสารได้ ๑๒๐ ล้านคนต่อปีสบายๆต้องสลายไปนั้น ไม่ใช่ภูมิรู้ของสถาปนิก แต่วันแถลงข่าวสภาได้ ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ(สุวรรณภูมิ)มาเป็นผู้ชี้แจง ท่านผู้นี้มีพื้นการศึกษาเป็นวิศวกร และรอบรู้ทุกศาสตร์ที่เกี่ยวกับเครืองบินและการบิน

ผมจะไม่นำมาเล่าให้เปลืองสมองท่านที่ไม่ได้เล่าเรียนมาทางนี้ ขอแค่ประเด็นเดียว ที่ทอท.ให้ข้อมูลว่าอาคารแปะนี้จะทำให้สุวรรณภูมิรับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก ๓๐ ล้านคนต่อปีนั้น ท่านใช้คำพูดที่รุนแรงมากว่าโกหกประชาชน

ดูเอาเองตามภาพที่มีสถาปนิกท่านหนึ่งส่งมาให้ผมนะครับ

ท่านมีท้าเหมือนกันว่าขอให้เอารายการคำนวณมาพิสูจน์กัน โดยท่านเอาตัวท่านนี้แหละเป็นเดิมพัน
ต้นทุนทางสังคมของท่านสูงมากนะครับ ไปเปิดเน็ทดูเอาเอง เคยผ่านการเป็นประธานบอร์ดที่ยากๆ ไม่มีใครกล้าเป็นเพราะไม่มีผลประโยชน์แต่งานโหดหลายแห่ง ผมขอบรรยายสรรพคุณท่านเพี่ยงเท่านี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 11:11

เชิญแสดงความเห็นได้ครับ ผมจะไปทานข้าวเช้าก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 11:47

ขอบคุณค่ะ
เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่สื่อสนใจกันมาก     ขอนำคอลัมน์ข้างล่างนี้มาลง เพิ่มเติมจากความเห็นของคุณ NAVARAT.C ค่ะ

กวนน้ำให้ใส
สารส้ม
วันศุกร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561, 02.00 น.

เทอร์มินัล 2 ตรงนั้น ทำลาย Master Plan สนามบินสุวรรณภูมิ?

ขณะเดียวกัน ก็มีข้อมูลข้อเท็จจริงเชิงลึกอีกด้าน
ประเด็นว่า ไม่เป็นไปตามแผนแม่บท (Master Plan) หรือไม่? เพราะอะไร? แล้วจะมีผลอย่างไร?
1. รองรับจำนวนผู้โดยสารที่ขยายตัว?
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. ชี้แจงว่า ทอท.ปรับปรุง Master Plan เพื่อให้ทันสถานการณ์กับการขยายตัวของผู้โดยสาร ไม่อาจรอการก่อสร้างอาคาร Satellite 1 แล้วเสร็จนำมาซึ่งการเพิ่มการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (Terminal 2)เพิ่มเติม จะรับผู้โดยสารได้อีก 30 ล้านคน

แต่ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ปรากฏว่า
พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน นายกสภาสถาปนิก ระบุว่า การย้ายตำแหน่งที่ตั้งอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 มาอยู่บริเวณทิศเหนือปลายอาคารเทียบเครื่องบิน Concourse A พื้นที่อาคาร 348,000 ตร.ม. ค่าก่อสร้างอาคาร 35,000 ล้านบาท รวมระบบจะเป็น 42,000 ล้านบาทนั้น ตำแหน่งดังกล่าวไม่เป็นไปตามผังแม่บท (Master Plan) โดยที่ตั้งใหม่นั้นไม่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินที่มีอยู่เดิม ทำให้มีปัญหาทางเทคนิค ปัญหาการสัญจรทั้งภาคอากาศ และภาคพื้น การจราจรเข้าออกสนามบิน มีปัญหาในการบริการด้านการบิน และเพิ่มต้นทุนในระยะยาว, ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ขณะที่ ทอท.มีโครงการพัฒนาขยายอาคาร Satellite ที่กำลังก่อสร้าง ควรขยายอาคารผู้โดยสารเดิมด้านตะวันออก และตะวันตก ต่อเนื่อง ซึ่งมีพื้นที่รวม3 แสน ตร.ม. เพื่อทำให้เทอร์มินัลปัจจุบันสมบูรณ์ และก่อสร้าง อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (อาคาร 2) ด้านทิศใต้ให้ต่อเนื่อง

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ ชี้ว่า ผังแม่บทของสนามบินสุวรรณภูมินั้น ไม่ล้าสมัย การวางตำแหน่งอาคารหลังที่ 1, 2 อาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1, 2 อาคารผู้โดยสาร รันเวย์ เป็นการออกแบบสนามบินอย่างสมดุล ซ้าย-ขวา ทุกอย่างวางล็อกไว้แล้ว และรองรับผู้โดยสารสูงสุดที่ 100 ล้านคนต่อปี และพีกขึ้นไปได้ถึง 120 ล้านคนต่อปี ภายใต้ 4 รันเวย์ แนวคิดในการวางผังแม่บท “Next Generation Airport” ประเด็นนี้ ทอท.อย่าโกหก

“ส่วนการปรับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 มาสร้างก่อน และวางตำแหน่งแปะไว้ตรงก่อนถึงอาคารผู้โดยสารปัจจุบันได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เพราะเป็นการทำลายสมดุลของสนามบิน   กระทบการบริหารการจราจรทั้งทางอากาศและภาคพื้น กระทบต่อการจราจรเข้าออกสนามบิน เกิดความเสียหายมากมาย และเสียพื้นที่ การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight) อีกด้วย ยิ่งกว่านั้น อ้างว่าเทอร์มินัล 2รองรับ 30 ล้านคนต่อปี (ระหว่างประเทศ 18 ล้านคน ในประเทศ 12 ล้านคน) แต่ตาม TOR ทอท.กำหนดมี 14 หลุมจอดที่อยู่ในซอย (Taxi5) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรับ 30 ล้านคนต่อปี เพราะข้อเท็จจริงการออกแบบเดิมที่อาคาร 1 มี 51 หลุมจอด (ประชิดอาคาร) หลุมจอดระยะไกล (Remote Stand) 48 หลุมจอด รวม 99 หลุม และอื่นๆ อีกรวมแล้วมีทั้งสิ้น 124 หลุมจอด เพื่อรับที่ 45 ล้านคนต่อปี ส่วน Satellite 1 ที่กำลังก่อสร้าง รับ 20 ล้านคนออกแบบให้มี 28 หลุมจอด เท่านี้ก็ขัดกันเองแล้วว่า 14 หลุมจอดจะรับ 30 ล้านคนได้อย่างไร”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 11:49

2. ถ้าขยายเทอร์มินัล 1 (อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน ฝั่งตะวันออก-ตะวันตก) จะกระทบเคาน์เตอร์เช็คอิน 50%

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ชี้แจงว่า การที่ไม่ขยายอาคารปีกตะวันออกและตะวันตกของอาคารผู้โดยสารหลังเดิม เนื่องจากจะมีปัญหาต่อบริการ เพราะต้องทุบกระจกเสียพื้นที่เคาน์เตอร์เช็คอินการบินไทย รวม 20-25% ของอาคาร หากทุบทั้งปีกตะวันออกและตะวันตกของอาคารหลัก พื้นที่จะเหลือ 50% ป่วนแน่นอน

ประเด็นนี้ หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน สถาปนิกที่ปรึกษาแสดงความเห็นอย่างเผ็ดร้อนว่า ส่วนต่อขยายเทอร์มินัลเดิมนั้นออกแบบแล้วเสร็จ พร้อมจะก่อสร้าง จ่ายค่าแบบไปแล้ว 148 ล้านบาท ถ้าเอาไปใช้ก่อสร้างจริงไม่ได้ต้องฟ้องร้องเอาโทษสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบทั้งหมด

“แบบที่ว่านี้ จะสร้างในส่วนที่ปัจจุบันเป็นสวนขนาดเท่าสนามฟุตบอลสองสนาม ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพื้นที่ในผนังกระจกของตัวอาคารเลย ที่ว่าจะทำให้เสียพื้นที่รับผู้โดยสารไป 20% นั้น ก็อาจจะมีบ้างในช่วงที่อาคารแล้วเสร็จจะต้องรื้อผนังกระจกออกเพื่อให้พื้นที่เชื่อมต่อกันถามว่าตรงนี้จะกระทบกระเทือนผู้โดยสารกี่วัน หรือกี่ชั่วโมงด้วยซ้ำแล้วงานส่วนนี้ก็ทำในช่วงดึกที่ไม่มีผู้โดยสารก็ได้

ตรงนี้มีผู้ท้านะครับ หากว่ากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.ยังยืนยันคำพูด ก็ขอให้สถาปนิกระดับวุฒิสมาชิกลงนามรับรองมา ผู้ท้าจะเป็นผู้พิสูจน์โดยเอาวุฒิสมาชิกของตนเป็นเดิมพัน หากใครแพ้จะต้องยอมให้สภาสถาปนิกยึดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 11:49

3. ล่าสุด ทอท.ก็ยังไม่ได้เซ็นสัญญาผูกพันกับกลุ่มดวงฤทธิ์ และจากเดิมที่บอกว่าจะเซ็นภายในเดือนก.ย.ก็เปลี่ยนเป็นภายในเดือนต.ค. “รอผลการประชุมคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อจะพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และคำสั่งศาล ข้อพิพาทต่างๆ รวมถึงด้านเทคนิค และประเด็นหมิ่นเหม่ต่อข้อกฎหมาย หากไม่มีปัญหาจะอนุมัติและเซ็นสัญญา”

4. เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องเอาแพ้-ชนะ แต่เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาบนพื้นฐานผลประโยชน์สูงสุดของบ้านเมือง

ทั้งประสิทธิภาพของสนามบินสุวรรณภูมิในระยะยาว และเกียรติภูมิของประเทศชาติ

รัฐบาล คสช. จะลอยตัวอยู่เหนือปัญหา คงไม่ได้

สารส้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง