เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 31473 มาทำความเข้าใจผังแม่บทของสนามบินสุวรรณภูมิกัน
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 ก.ย. 18, 09:27

ผมถามกลับบ้างดีกว่า

หลังจากที่ผมนำเสนอไปแล้วนี้ ท่านอ่านแล้วเข้าใจไหมครับ

สมมติว่าท่านเป็นนายกตู่

สมมติว่าผมเป็นนายกตู่
ผมจะคิดอย่างนี้นะครับ

เหตุที่เกิดขึ้นนี้ ผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นความไร้เดียงสาของผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นความบกพร่องโดยสุจริต หรืออื่นๆ อันเป็นที่เข้าใจกันเองได้ดีอยู่แล้ว

แต่เนื่องจาก ผลที่จะเกิดตามมานั้น อาจทำให้การขนส่งทางอากาศของชาติต้องสะดุดลง ซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต

ผมจึงตัดสินใจว่า จะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชน ไปทบทวนโครงการนี้อีกครั้ง แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ขัดกับกฏหมาย



ผมเพิ่งจะตื่นน่ะครับ
ว่าแต่ว่าไม่รู้เมื่อกี้ ผมดันไปฝันเรื่องอะไร ตื่นมายังมึนๆอยู่เลย  ฮืม
...สบายๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 ก.ย. 18, 18:52

จาก Facebook ของคุณ Pat Hemasuk
26 กันยายน เวลา 23:30 น. ·
วันนี้สภาสถาปนิก โดย พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน นายกสภาสถาปนิก แถลงข่าวในงาน “สุวรรณภูมิอาคาร 2 ความจริงที่คนไทยต้องรู้” ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการสร้างอาคารใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับแผนแม่บทเดิม และจะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ และต้องการให้ทอท.ทบทวนการตัดสินใจการบริหารงานโครงการต่อไป


แต่วันนี้อีกเช่นกันที่ทาง ทอท.โดย นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด ได้แถลงข่าวโดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทางการบินได้เปลี่ยนไปมาก ทั้งเชิงคุณภาพได้แก่ ขนาดและคุณสมบัติของเครื่องบิน และเชิงปริมาณ คือ จำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ทอท.จึงมีการปรับปรุง Master Plan ใหม่ โดยตามข้อเสนอแนะของ ICAO แผนแม่บทท่าอากาศยานควรปรับปรุงทุกๆ 5 ปี หรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ


*******************************************************


ผมเองนั้นมีความเห็นไม่ต่างกับนายกสภาสถาปนิก และ สภาวิศวกรที่ออกมาให้ข่าวเรื่องที่ต้องเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนหน้านั้น ซึ่งในวันศุกร์ที่จะถึงนี้จะมีการเสวนากันอีกรอบ ผมคาดว่าก็คงมีเรื่องไม่เห็นด้วยอีกหลายรายการจากสภาวิศวกรไม่ต่างกับความเห็นเดิมก่อนหน้านี้


ผมอยากจะฝากความเห็นแก่ทุกฝ่ายดังนี้ครับ


ถ้าสร้างตามแผนแม่บทเดิมแล้วไม่ดีอย่างไร ตรงไหนบ้าง อยากให้ฝั่ง ทอท. แถลงออกมาเป็นข้อๆ เลย การพูดเหมารวมโดยไม่มีรายละเอียดเจาะจงเหมือนที่ฝั่งสถาปนิกและสภาวิศวกรเจาะจงมาหลายข้อนั้นทำให้คำพูดของ ทอท.ไม่มีน้ำหนักและหลักลอยมากครับ


*** การก่อสร้างอาคาร Satellite และการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารเทอร์มินัล 1 ไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามแผนแม่บทเดิมนั้น ไม่ดีกว่าไปสร้างใหม่ที่ไม่มีตามแผนแม่บทเดิมอย่างไร


*** การต่อเติมทางทิศตะวันตกและตะวันออกของเทอร์มินัลเดิมนั้นใช้แบบตัวเดียวกันที่ออกแบบไว้แล้ว เพียงแต่พลิกกลับด้านมิลเลอร์แบบเท่านั้น มีเหตุใดถึงไม่มองการขยายตามแผนนี้ก่อนที่จะไปสร้างใหม่นอกแผนเดิม และสามารถรับผู้เดินทางได้ 45+15 ล้านคน นั้นไม่ดีกว่าไปสร้างใหม่อย่างไร


*** ราคาก่อสร้างต่อพื้นที่เป็นตรางเมตรนั้น ถ้ามันเท่ากันหรือถูกกว่านั้นจากการที่ไม่ต้องไปเพิ่มระบบสาธารณูปโภคหลักเพิ่มเป็นอิสระอีกต่างหาก และระบบกระเป๋าอีกหนึ่งชุด รวมถึงกำลังคนทุกหน่วยงานที่ส่วนหนึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้ ทำไมไม่ทำตามแผนเดิมที่ไม่มีปัญหาเรื่องอินฟาร์สตรักเจอร์และการจราจรแม่บททั้งภายในสนามบินและภายนอกสนามบิน


*** ถ้าสมมุติว่าต้องกลับเส้นทางตามทิศทางลมของฤดูกาลในการใช้รันเวย์ 01-19 LR, 02-20 LR ระยะที่เครื่องบินต้องแท็กซี่ด้านไกลสุดจากอาคารเจ้าปัญหาหลังนี้อาจจะต้องทำให้การจราจรบนแท็กซี่เวย์แจมหนักในด้านตะวันออก แต่จะไม่มีปัญหาการแจมฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไปในแผนแม่บทเดิม และอาจจะต้องใช้ระยะทางแท็กซี่จากอาคารใหม่ยาวกว่า 4 กิโลเมตร เมื่อรันเวย์เสร็จทั้งหมด 4 รันเวย์ในอนาคตก็เป็นไปได้


ผมคิดเรื่องใหญ่ๆ ที่หาคำตอบไม่ได้สี่ข้อที่อยู่ในใจของผมที่ทำอาชีพผู้ออกแบบ และวิศวกรที่ปรึกษาบริหารโครงการ มาตลอดชีวิต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 09:00

ผมถามกลับบ้างดีกว่า

หลังจากที่ผมนำเสนอไปแล้วนี้ ท่านอ่านแล้วเข้าใจไหมครับ

สมมติว่าท่านเป็นนายกตู่

คำถามของผม สิ่งที่ผมอยากรู้ ยังไม่มีใครตอบตรงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:20

ดิฉันคิดว่าสมาชิกหลายท่านที่เข้ามาตอบก็ล้วนแต่ตอบตามความเข้าใจของพวกท่านทั้งนั้นนะคะ
ความเข้าใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน   อาจไม่ตรงกับสิ่งที่คุณ Navarat.C อยากทราบก็ได้

ส่วนดิฉันอยากจะยกความเห็นอื่นๆนอกเรือนไทยมาให้อ่านกันมากกว่า   ความเข้าใจของตัวเองค่อยเอามาตอบทีหลัง

กวนน้ำให้ใส
สารส้ม
วันจันทร์ ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.
เทอร์มินอลแปลกประหลาด ความจริงที่ประชาชนควรรู้

มีท่านผู้อ่านส่งข้อเขียนของคุณไพโรจน์ จีรบุณย์ สถาปนิกเพื่อสังคม เรื่อง “ข้อเท็จจริง เพื่อประชาชน... กรณี Terminal Shit สุวรรณภูมิ” เนื้อหาแจกแจงข้อมูล ความเห็น ตรงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ คัดค้านอย่างกว้างขวางในขณะนี้

เห็นว่ามีเนื้อหาเฉียบคม ตรงเข้าเข้าประเด็น จากคนที่เป็นสถาปนิกมืออาชีพ และไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวทับซ้อนในกรณีนี้ แต่เนื่องจากมีความยาวค่อนข้างมาก จึงขออนุญาตเรียบเรียงตัดทอนลงไปบ้าง เพื่อเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้

1.การวางผังสนามบิน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องบินเป็นหลัก ทั้งในแง่ความปลอดภัยสูงสุด ตามกฎขององค์กรการบินต่างๆ และความสะดวกของการใช้พื้นที่ต่างๆในสนามบินของเครื่องบิน และเพื่อให้เครื่องบินสามารถใช้งานสนามบินนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การวางผังหลักของสนามบินจึงต้องมีการวางแกนหลักที่ชัดเจน ที่เหมาะสม ตามภูมิประเทศ มาสเตอร์แปลนของสนามบินสุวรรณภูมิได้ถูกออกแบบมาอย่างดีตามหลักการนี้ เป็นระบบ 2 Terminals 4 runways  นับว่า เป็นผังที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง ที่ยังใช้กันอยู่ทั่วโลก

2.ถ้ามองในภาพใหญ่ จะเห็นว่าระบบการเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิได้ถูกแบ่งใช้กับถนนหลัก 2 ด้าน คือ ด้านลาดกระบัง เป็นถนนมอเตอร์เวย์, ด้านบางนาตราด เป็นถนนบางนา-ตราด และทางด่วนบูรพาวิถี เพื่อใช้ถนนทั้งสองสายนี้ รองรับการเข้าออก Terminal 1 กับ Terminal 2 (ตามมาสเตอร์แปลนเดิมจะอยู่ทางทิศใต้) เพื่อไม่ให้เกิดการจราจรคับคั่ง ในถนนเส้นใดเส้นหนึ่ง จนเกิดปัญหา

3.สนามบินสุวรรณภูมิ มีโอกาสเป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลกได้ไม่ยากขอเพียงแค่ผู้รับผิดชอบดำเนินการทุกอย่าง ด้วยความเคารพในมาสเตอร์แปลนนี้ ไปตามเฟส ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยน เฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อย ไปตามเทคโนโลยี หรือตามการเปลี่ยนแปลงของเครื่องบินแบบต่างๆ หรือตามพฤติกรรม ความต้องการใช้พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้โดยสาร หรือการเปลี่บนแปลงของอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ที่ล้ำยุคขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ พึงทำได้ ตามความจำเป็น แต่คงไม่เหมาะสม หากมีการเปลี่ยนมาสเตอร์แปลน ในจุดที่ไม่มีความจำเป็นใดๆเลย

โดยเฉพาะการที่อยู่ๆ ก็นึกอยากสร้างอาคารผู้โดยสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสนามบิน ที่ต้องมีระบบสนับสนุน และการเข้าถึงที่ต้องเชื่อมต่อกันอย่างดี จากทั้งผู้คน สิ่งของ ปริมาณมหาศาล และเครื่องบิน ที่มีข้อจำกัดมากมาย ในตำแหน่งที่ “ไม่ได้ถูกวางแผนเตรียมการเอาไว้ในมาสเตอร์แปลน”

การกระทำเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายตามมา อย่างมาก อาจถึงกับเป็นหายนะของสนามบินเลย ยังไม่นับรวมว่า การเอาอาคารผู้โดยสารหลัก ที่อยากทำใหม่ดื้อๆ มาวางในตำแหน่งที่อยู่นอกแกน ที่จะทำให้สมดุลต่างๆ ที่ถูกเตรียมเอาไว้ของสนามบิน เสียไปทั้งหมด

4.อาคารผู้โดยสาร Terminal 1 นั้น เดิมถูกออกแบบไว้ 11 ช่วงเสาแต่สร้างจริงเพียง 7 ช่วงเสา พื้นที่ประมาณ 560,000 ตารางเมตร เพื่อประหยัดงบประมาณ ในตอนเริ่มต้น โดยมีประสิทธิภาพในการรองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคน สำหรับ 124 Gates (หลายรูปแบบ รวมกัน) โดยมีที่ว่างด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ของ Terminal 1 เหลืออยู่ฝั่งละ 2 ช่วงเสา และได้วางแผนต่อขยาย เพิ่มพื้นที่ ให้กับ Terminal 1 ได้อีก รวมประมาณ 150,000 - 200,000 ตารางเมตร

ได้มีการออกแบบด้านทิศตะวันออก จนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง ถ้าต่อขยายในส่วนนี้ จะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ได้อีก 15-20 ล้านคน  พอที่จะใช้งานไป จนกว่าจะสร้าง Terminal 2 ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ในเฟสต่อไป (ที่อยู่ทางทิศใต้ของสนามบิน)

5. ทอท. บอกว่า พื้นที่ด้านซ้ายและด้านขวา (ทิศตะวันออกและตะวันตก) ของ Terminal 1 นั้น ทำการก่อสร้างอาคารเพื่อขยายพื้นที่ได้ยาก แค่รถตักดินขนดินออกไปก็ลำบากแล้ว การก่อสร้างขยายอาคารจะทำให้ต้องปิดพื้นที่ Terminal 1 เดิม ไปถึง 20 เปอร์เซ็นต์

ตามความเป็นจริง สถาปนิกและวิศวกรทุกคนก็รู้ว่า ทุกวันนี้เราสามารถสร้างต่อขยายอาคารที่มีพื้นที่ว่างโดยรอบกว้างขวางเช่นนั้น โดยอาคารที่เปิดใช้งานอยู่ แทบจะไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งงานโครงสร้างและงานระบบประกอบอาคาร ก็สามารถทำไปจนแล้วเสร็จ จึงมาเชื่อมกับอาคารเดิม การปิดพื้นที่อาคารเดิมก็จะมีเพียงวันที่ต้องเชื่อมผนังอาคารเดิม เข้ากับอาคารต่อขยาย ไม่ว่าจะรื้อผนังเดิมออกทั้งหมดให้โล่งถึงกัน หรือจะเจาะหลายๆช่อง เพียงให้ใช้งาน ต่อเชื่อมกันได้ ทั้งนี้ การปิดพื้นที่แค่บางส่วนเพียงแคบๆ ของแนวผนังอาคารเดิม น่าจะใช้เวลาไม่นาน ไม่กี่วัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบ

การก่อสร้างอาคารส่วนต่อขยาย ทั้ง East Wing และ West Wing ของ Terminal 1 ที่ปัจจุบันเป็นสวน อยู่ใต้หลังคาส่วนหนึ่ง อยู่ภายนอกส่วนหนึ่งนั้น ในโลกปัจจุบันนี้ เอาแค่ผู้รับเหมาแค่ระดับกลางๆ เขาก็สามารถก่อสร้างอาคารนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งงานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม และงานระบบ จนแล้วเสร็จเสียก่อน เมื่อพร้อมที่จะต่อเชื่อมกับอาคารเดิม เขาจึงจะปิดพื้นที่บางส่วนเล็กน้อย เท่าที่จำเป็นในการทำงาน  น่าจะใช้ระยะห่างจากผนังกระจกเดิมไม่เกิน 5 - 6 เมตร เพื่อการเชื่อมต่อนั้น ในระยะเวลาไม่กี่วัน หรืออย่างมากก็หนึ่งเดือน โดยที่ระหว่างก่อสร้าง ยังสามารถควบคุมไม่ให้มีผลกระทบ กับการใช้งานทั้งสนามบิน ทั้งตัวอาคารผู้โดยสารเดิม ได้อย่างง่ายดาย

6. ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ปัจจุบัน มีการสร้างอาคาร ที่เรียกว่า Midfield Satellite ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะเสร็จภายในปี 2562 รองรับผู้โดยสารเพิ่ม 20 ล้านคน โดยอาศัยการเชื่อมทางอุโมงใต้ดิน ระหว่าง Terminal 1 กับอาคารนี้ อันนี้ยังอยู่ในมาสเตอร์แปลน

แต่อาคาร Terminal 2 ตามมาสเตอร์แปลนเดิมที่จะต้องอยู่ฝั่งทิศใต้ ไม่ดำเนินการ แต่จะมาสร้าง อาคาร Terminal Shit ที่เป็นสิ่งแปลกปลอมแทน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:20

โดยอาคาร Terminal แปลกปลอมอันนี้ ขนาด 380,000 ตารางเมตร ที่ประกวดแบบไป เมื่อสร้างเสร็จ จะมีหลุมจอดบริเวณนั้น เพียง 14 หลุมจอด ซึ่งไม่ใช่เป็นหลุมจอดที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นหลุมจอดที่มีอยู่แล้ว แต่ ทอท. บอกว่า
อาคารนี้จะรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มปีละ 30 ล้านคน จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะในเมื่อ อาคาร Terminal 1 ที่รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคน ยังต้องใช้หลุมจอด ทุกประเภทถึง 124 หลุมจอด, อาคารมิดฟิลด์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ มี 28 หลุมจอด ก็ยังรองรับคนได้เพียง 20 ล้านคน

7.ทอท. บอกว่า ที่ต้องเร่งทำเทอร์มินอลแปลกปลอม เพราะจะทำได้เร็วที่สุด ใช้งบประมาณน้อยที่สุด

ตามความเป็นจริง งบประมาณ 42,000 ล้านบาท ในเบื้องต้น เป็นเพียงงบของตัวอาคารและระบบประกอบอาคาร ยังไม่นับรวมงบในส่วนสนับสนุนต่างๆ ที่จะเชื่อมไปยัง Terminal 1 หรืออาคารมิดฟิลด์ ที่กำลังจะเสร็จในปีหน้า
คาดว่าน่าจะอีกหลายหมื่นล้านหรือไม่

ตรงกันข้าม ถ้าต่อเติมอาคาร Terminal 1 ฝั่งทิศตะวันตกและตะวันออก (ที่ได้ดำเนินการออกแบบไปแล้ว) จะได้พื้นที่อีกรวม 150,000 - 200,000 ตารางเมตร รองรับคนเพิ่มได้ 15 - 20 ล้านคน ด้วยราคาค่าก่อสร้าง (คิดเป็นราคาต่อตารางเมตร) ของตัวอาคารส่วนต่อขยาย ที่ถูกกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ของอาคารแปลกปลอม โดยไม่ต้องไปเสียงบประมาณในการแก้ปัญหา หรือในการสร้างระบบสนับสนุนอาคารใดๆเพิ่มอีกมากด้วย เพราะอยู่ในมาสเตอร์แปลนอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:21

รวมแล้ว ถ้าทำตามมาสเตอร์แปลน เฉพาะสองส่วนนี้ น่าจะรองรับคนได้เพิ่มขึ้น 20-30 ล้านคน คุ้มค่ามากกว่าการสร้างอาคาร Terminal แปลกประหลาด โดยยุ่งยากน้อยกว่า เสียงบประมาณน้อยกว่า แต่ได้ประสิทธิภาพ สมบูรณ์ สมดุล ตามมาสเตอร์แปลน ที่วางเอาไว้

8.น่าสงสัยว่า ถ้าอาคารเทอร์มินอลแปลกประหลาดนี้ได้ถูกสร้างขึ้น แล้วเปิดใช้งานจริง ก็จะเสมือนมีอาคารผู้โดยสารขนาดยักษ์ 2 อาคาร ที่ควรต้องมีinfrastructure ของตัวเอง แต่กลับมาใช้ร่วมกัน ถนนมอเตอร์เวย์จะหายนะขนาดไหน ถนนภายในสุวรรณภูมิเองทางฝั่งทิศเหนือ ทั้งตัวสะพานลอย และถนนทางราบ คงจะติดเหมือนสาทร

ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูล ข้อสมุมติฐานและคำถาม ที่ทาง ทอท. น่าจะต้องออกมารับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าสิ่งที่ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบ ได้ตัดสินใจไป จะไม่เป็นเช่นนี้ และหากเสียหายตามนี้ พวกตนพร้อมจะรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายทั้งหมด ประชาชนผู้เสียภาษี ก็คงจะสบายใจขึ้น

สารส้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:34

ผมถามกลับบ้างดีกว่า

หลังจากที่ผมนำเสนอไปแล้วนี้ ท่านอ่านแล้วเข้าใจไหมครับ

สมมติว่าท่านเป็นนายกตู่

คำถามของผม สิ่งที่ผมอยากรู้ ยังไม่มีใครตอบตรงๆ

คำถามของผมง่ายที่สุด เพียงว่า เข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ คือ Yes หรือ No
เพื่อผมจะได้ประเมินความสามารถในการนำเสนอของผมได้น่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:38

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 11:24

 ถ้าทอท.จัดแถลงการณ์ให้ประชาชนมีโอกาสร่วมซักถามได้   คำถามของดิฉัน ในฐานะชาวบ้านธรรมดา ไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตย์ฯ หรือวิศวกรรมฯ   ก็จะมีว่า
- งบประมาณเบ็ดเสร็จของสุวรรณภูมิ 2  คือเท่าไหร่กันแน่   เอาเน็ดๆเลย
- สุวรรณภูมิ 2  รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้ปีละกี่สิบล้านคน   เอาตัวเลขเน็ดๆ    
- สุวรรณภูมิ 2  ช่วยให้เครื่องบินจอดเพิ่มได้อีกกี่หลุม คำตอบชัวร์ๆ
- สุวรรณภูมิ 2  มีผลกระทบต่อความแออัดทางมอเตอร์เวย์และเส้นทางใกล้เคียงหรือไม่    ถ้ามี  สร้างทางออกอย่างไรแบบไหน
 ขอแค่นี้ค่ะ

มันมีการก่อสร้างหลายอย่างที่สร้างไปแล้ว  ต้องมาปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ใช้ไม่ได้ หรือใช้แล้วไม่เหมาะสมต้องเลิกใช้   อีกอย่างคือใช้แล้วสักพักต้องทุบทิ้ง สร้างใหม่
เท่าที่นึกตัวอย่างเล็กๆออกตอนนี้ คือประตูหมุนหน้าเกทแต่ละเกทของสุวรรณภูมิ 1   จำตัวเลขได้ว่า 12 ล้าน /ประตู
เห็นใช้อยู่แป๊บ   ทุกวันนี้ตัวที่หมุนเลิกใช้เพราะไม่สะดวก เหลือประตูเลื่อนธรรมดา    ที่สูญเปล่าไปนั้นไม่รู้จะหามาชดใช้จากใคร
หลายสิบปีมาแล้ว  ตอนไปเที่ยวหัวหิน จำได้ว่าทางไฮเวย์กับทางรันเวย์เครื่องบินดันตัดผ่านกัน   บางครั้งรถต้องหยุดเพื่อให้เครื่องบินวิ่งผ่านไปก่อน      ไม่รู้ว่าใครออกแบบ   และคิดได้ยังไง  
ต่อมาต้องยกเลิกไปทำเส้นทางอื่นแทน      เงินที่สูญเปล่าไปนั้นก็ถือว่าหายไปกับสายลม  ไม่ได้ข่าวว่าเรียกชดใช้ได้จากหน่วยงานไหนของรัฐ

พอมีข่าวอึงคะนึงขึ้นมาถึงสุวรรณภูมิ 2  ที่ทำท่าว่าจะมีอะไรสูญเปล่าอีกเหมือนกัน    ความทรงจำเดิมก็เลยทำให้นอยด์ขึ้นมาน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 12:05

^


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 12:19

ถ้าทอท.จัดแถลงการณ์ให้ประชาชนมีโอกาสร่วมซักถามได้   คำถามของดิฉัน ในฐานะชาวบ้านธรรมดา ไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตย์ฯ หรือวิศวกรรมฯ   ก็จะมีว่า
- งบประมาณเบ็ดเสร็จของสุวรรณภูมิ 2  คือเท่าไหร่กันแน่   เอาเน็ดๆเลย
- สุวรรณภูมิ 2  รองรับผู้โดยสารเพิ่มได้ปีละกี่สิบล้านคน   เอาตัวเลขเน็ดๆ    
- สุวรรณภูมิ 2  ช่วยให้เครื่องบินจอดเพิ่มได้อีกกี่หลุม คำตอบชัวร์ๆ
- สุวรรณภูมิ 2  มีผลกระทบต่อความแออัดทางมอเตอร์เวย์และเส้นทางใกล้เคียงหรือไม่    ถ้ามี  สร้างทางออกอย่างไรแบบไหน
 ขอแค่นี้ค่ะ

ความจริงเขาเคยให้ไว้บ้างแล้ว และก็โดนบุคคลที่มีคุณวุฒิทัดเทียมกัน คือดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ(สุวรรณภูมิ)ตั้งคำถามไว้ชัดเจน เอาข้อเดียว ให้ตอบชัดๆว่าที่บอกอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ซึ่งนำมาแปะนี้ จะรับผู้โดยสารได้ ๓๐ ล้านคนต่อปี ด้วย contact gate 14 หลุม จะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อเทียบกับอาคารผู้โดยสารรองที่กำลังสร้าง ซึ่ง ทอท.เองให้ข้อมูลว่า มี contact gate 28 หลุม แต่รับผู้โดยสารได้ ๑๕ ล้านคนต่อปี
ขอให้มาตอบข้อนี้ อย่าเลี่ยงก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 13:07

อ้างถึง
ทอท.เองให้ข้อมูลว่า มี contact gate 28 หลุม แต่รับผู้โดยสารได้ ๑๕ ล้านคนต่อปี
ถ้างั้น เพื่อรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคน  เกทก็ควรจะมี 56 หลุม  ใช่ไหม?

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 13:37

ถ้าใช้คณิตศาสตร์อย่างเดียวก็ตามนั้นครับ แต่การคำนวณความสามารถในการรองรับผู้โดยสารมันมีอีกหลาย factor อันเป็นศาสตร์ของ logistic engineering ยกตัวอย่าง ต้องนำเอาการคล่องตัวของเครื่องบินแต่ละขนาดมาคำนวณด้วย ถ้าอาคารไปตั้งอยู่ในซอยอย่างนั้น ยิ่ง contact gate มาก ก็ยิ่งเสียเวลารอคิวเข้าออกวุ่นวาย

นั่นก็เฉพาะเครื่องบินนะครับ ผู้โดยสารก็วุ่นพอๆกัน บทเรียนจากสนามบินอินคันไซในโอซาก้าให้ข้อสรุปว่า สนามบินที่เป็น HUB มีทั้งเครื่องในประเทศและต่างประเทศ ถ้าจัดการให้ผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องไม่ได้ภายใน ๔๕ นาที จะถือว่าfail เขาถึงจะไม่พยายามจะแยก domestic กับ international ไว้คนละ terminal กัน
 
อย่าลืมนะครับ คนไป กระเป๋าก็ต้องไปด้วย แล้วไอ้เจ้าอาคารแปะของทอท.นี่มันเชื่อมโยงกับระบบขนส่งกระเป๋าอัตโนมัติที่ใช้อยู่ไม่ได้ ต้องใช้อัตโนมือ โยนใส่รถแล้ววิ่งมาส่งที่ฮับกระเป๋า แล้วมันจะไปรอดหรือนั่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 13:52

เพิ่งบินทรานสิทมาเดือนนี้เอง  พบว่าเวลากระชั้นมาก   ตัวเองก็ไม่คุ้นสนามบินนี้  ลงเครื่องแล้วกระหืดกระหอบไปให้ที่ gate  เพื่อทันขึ้นเครื่องอีกลำไปจุดหมายปลายทาง 
ระหว่างทางเห็นร้านปลอดภาษีเรียงรายแต่ไม่มีเวลาแวะ  เพราะกลัวตกเครื่อง   ซื้อขนมสักกล่องยังไม่ทันเลยค่ะ
เพราะฉะนั้น  ร้านค้าที่สนามบินไม่ได้แอ้มเงินในกระเป๋าเลยสักสตางค์เดียว

ถ้าสายการบินส่วนใหญ่สามารถจัดเวลาให้ผู้โดยสารรอระยะสั้นที่สุด     ร้านก็ขายได้น้อย
แต่ถ้ามีเวลาเหลือเฟือ   เพราะผ่านทีไรต้องรอ 3-4 ชั่วโมงทุกที     อย่างน้อยถึงไม่ซื้อของแบรนด์เนม  ก็ต้องซื้อของฝาก ของที่ระลึก นิดๆหน่อยๆฆ่าเวลาบ้างละน่า

ไม่รู้จะเข้าเรื่องหรือเปล่า    รำพึงรำพันเฉยๆ คุณ NAVARAT.C กรุณาอย่าหักคะแนน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 14:19

ไม่มีให้คะแนนคนอื่นครับ มีแต่ประเมินตนเองว่ามีความสามารถพูดในเรื่องวิชาชีพของตนอันเกี่ยวกับปัญหาของชาติ ให้ปัญญาชนเข้าใจได้หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง