เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
อ่าน: 31730 มาทำความเข้าใจผังแม่บทของสนามบินสุวรรณภูมิกัน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 08:22

20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 16:31 น. —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานข่าวจากบมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการทอท. ซึ่งมีนายประสงค์ พูนธเนศ เป็นประธานกรรมการ มีมติเห็นชอบแผนแม่บทท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (พฤศจิกายน 2562) และเห็นชอบโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ซึ่งอยู่ในระยะที่ 3 เมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทอท.แล้ว ฝ่ายบริหาร ทอท.จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ สศช.เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของแผนแม่บท ทสภ. (พฤศจิกายน 2562) คือ (1) ปรับปรุงข้อมูลการเชื่อมท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : ECC) (2) ปรับปรุงข้อมูลการการคาดการณ์ปริมาณการขนส่งทางอากาศให้เป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงปริมาณผู้โดยสารส่วนที่เกินขีดความสามารถของท่าอากาศยานดอนเมืองในอนาคต

(3) เพิ่มเติมข้อมูลการจัดสรรสายการบินที่ให้บริการประจำอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building: MTB) อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT1) และส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ตามที่ ACC ได้ให้ความเห็น (4) เพิ่มเติมข้อมูลการกำหนดทางเลือกในการจัดวางอาคารผู้โดยสารเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้งาน และ (5) ปรับลำดับการพัฒนา ทสภ. (Phasing) ให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับปริมาณการขนส่งทางอากาศ ดังนี้

ระยะที่ 1 ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสาร และทางวิ่ง 2 เส้น (ปัจจุบัน) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี และเที่ยวบิน 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560 ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของ ทสภ.ได้ 60 ล้านคนต่อปี และเที่ยวบินได้ 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง กำหนดแล้วเสร็จปี 2563

ระยะที่ 3 (ดำเนินการระหว่างปี 2559-2565) ประกอบด้วย การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 90 ล้านคนต่อปี และเที่ยวบินได้ 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 08:23

ระยะที่ 4 (ดำเนินการระหว่างปี 2564-2569) ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 105 ล้านคนต่อปี และเที่ยวบินได้ 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ระยะที่ 5 (ดำเนินการระหว่างปี 2568-2573) ประกอบด้วย การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านทิศใต้ และการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 150 ล้านคนต่อปี และเที่ยวบินได้ 120 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และการพัฒนาเพิ่มเติม โดยการก่อสร้างส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกในอาคารผู้โดยสารในระยะท้ายสุดของแผนพัฒนา ทสภ.เพื่อลดผลกระทบจากการก่อสร้างต่อการให้บริการในอาคารผู้โดยสารของ ทสภ.ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบโครงการกระตุ้นตลาดด้านการบินและการท่องเที่ยวไทยระยะสั้น โดยคณะกรรมการ ทอท.มีมติอนุมัติโครงการกระตุ้นตลาดด้านการบินและการท่องเที่ยวไทยระยะสั้น ณ ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท.ทั้ง 6 แห่ง โดยให้ส่วนลดค่าบริการขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee) แก่เที่ยวบินเช่าเหมาลำระหว่างประเทศ (International Chartered Flight) เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 – 30 เมษายน 2563

ทอท.ได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดนักท่องเที่ยวของประเทศไทยแล้ว เห็นว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีการเติบโตลดลงในปีงบประมาณ 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ตลาดอินเดียและรัสเซีย ให้มีการเติบโตเชิงบูรณาการในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กับประเทศไทย รวมทั้งเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกหรือสร้างแรงจูงใจในการเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มเติม นอกเหนือจากการอำนวยความสะดวกเรื่องวีซ่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 08:23

ดังนั้น ทอท.จึงได้จัดทำโครงการกระตุ้นตลาดด้านการบินและการท่องเที่ยวไทยระยะสั้น โดยให้ส่วนลดค่าบริการขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee) ของเครื่องบินเช่าเหมาลำ โดยอัตโนมัติในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ แก่เที่ยวบิน เช่าเหมาลำระหว่างประเทศ (International Chartered Flight) เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร โดยไม่นับรวมเที่ยวบินพิเศษ (Extra Flight) ที่มาทำการบิน ณ ท่าอากาศยาน ทั้ง 6 แห่งของ ทอท. ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีระยะเวลาโครงการฯ 5 เดือน คือระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 – 30 เมษายน 2563

จากการดำเนินการโครงการดังกล่าว ทอท.คาดว่าจะสามารถเพิ่มเที่ยวบินในช่วงตารางการบินไม่คับคั่ง และส่งเสริมการตลาดด้านการบินของ ทอท.เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด อีกทั้งยังสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ภาคการท่องเที่ยวร่วมมือกันดำเนินการกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและขยายฐานการท่องเที่ยวให้กว้างขึ้น อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศในภาพรวมต่อไป

https://www.ryt9.com/s/iq05/3069782
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 09:02

อ้าปากให้เห็นลิ้นไก่แล้ว เขาจะทำศูนย์การค้าที่เทียบเครื่องบินได้ สำหรับให้สัมปทาน   
           
https://www.facebook.com/AOTofficial/photos/a.1445284902390541/2399614673624221/?type=3&theater
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 09:02

'ม.ล.ชัยนิมิตร'ฟันธง!การสร้างเทอร์มินัลแปะคือการฆ่า'การบินไทย'อย่างเลือดเย็น

๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ -  ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน  สถาปนิกชื่อดัง ทายาทของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน อดีตนักคิดนักเขียนไทย หนึ่งในอดีตนักโทษการเมืองในคดีกบฏบวรเดช  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก   M.L. Chainimit Navarat ว่า

ผมเป็นสถาปนิกไม่ได้รู้เรื่องอะไรพวกนี้หรอกครับ แต่ฟังเขาคุยกันเรื่องอนาคตของการบินไทยในสุวรรณภูมิแล้ว อดไม่ได้ที่จะนำมาขยายต่อ

พอโดนดร.สามารถแจงถึงความทุกข์ยากของผู้โดยสารที่จำต้องเชคอินที่เทอร์มินัลแปะ แล้วต้องถ่อกายลากกระเป๋าขึ้นรถราง APM ถึง ๓ สายไปขึ้นเครื่อง  ทอท.ก็เปลี่ยนคำพูดใหม่ โดยแถ  ลงว่า ผู้โดยสารกลุ่ม Star Alliance ที่มีจำนวนถึง ๖๐% ของสนามบิน  ซึ่งใช้ที่จอดประชิดเทอร์มินัลเดิมบางส่วน กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังใหม่  จะถูกแบ่งให้เชคอินทั้ง ๒ เทอร์มินัล  โดยเอาเทอร์มินัลเดิมเป็นหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังใหม่ จะได้ไม่ต้องนั่ง APM ๓ สาย หากเชคอินที่เทอร์มินัลแปะ

คำแถลงดังกล่าวเป็นการพูดแบบขาดวิจารณญานโดยแท้  ก็ไม่รู้จะแบ่งไปทางโน้นกี่เปอร์เซนต์ทางนี้กี่เปอร์เซ็นต์  ทว่าการให้ผู้โดยสารกลุ่มเดียวกัน แบ่งเชคอิน ๒ เทอร์มินัล ในโลกนี้ไม่มีใครเขาทำกัน  เพราะหากจะมีใครหลงไปเชคอินผิดเทอร์มินัล  การบินไทยผู้รับผิดชอบดูแลผู้โดยสารกลุ่ม Star Alliance นั่นแหละจะตายก่อนคนอื่น

แล้วในขณะเดียวกัน สายการบินอื่นในกลุ่ม One World  ที่บินต่างประเทศล้วนจะได้จอดประชิดที่เทอร์มินัลเดิม หรือหากจอดที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังใหม่  ก็ยังคงเชคอินที่เทอร์มินัลเดิมแล้วต่อขึ้นเครื่อง โดยใช้ APM สายเดียว ง่าย ๆ ตรงไปตรงมา

แล้วคำชี้แจงของทอท.ที่ว่า  ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางหลักไปแล้ว  สนามบินสุวรรณภูมิไม่ใช่ Hub Airport อีกต่อไป เพราะมีผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่องน้อยมาก จากที่เคยมีกว่า ๑๐%  

นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะใคร
 
การเปลี่ยนความเป็น Hub Airport  คือการฆ่า TG อย่างเลือดเย็น  หากผู้โดยสาร long haul ของกลุ่ม Star Alliance รวมทั้ง TG ที่จะมาต่อสายการบินในประเทศไปยังเมืองท่องเที่ยวของไทยเอง หรือไปประเทศแถบเอเซีย โดยสายการบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ จะไม่มาสุวรรณภูมิอีกต่อไป เนื่องจาก ทอท.ไม่บริหารจัดการระบบอำนวยความสะดวกให้พวกเขาเปลี่ยนเครื่องได้ง่าย ๆ ไม่ลำบากลำบน หรือดีเลย์จนพลาดต่อเครื่อง  

หากพวกนี้จะเปลี่ยนเครื่องที่สิงคโปร์และกัวลาลัมเปอร์ หรือไซ่ง่อน แล้วบิน Lowcost ตรงไปเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่เลยเพราะสะดวกสบายกว่า  สายการบินของไทยก็จะเอวัง....

ต้นปีนี้เองผู้บริหารการบินไทยได้ออกข่าวชัดเจนว่าไม่ต้องการย้ายไปเทอร์มินัลแปะ  นอกจากจะมีคำสั่งจากรัฐบาล  แต่ก็ประหลาดที่ประธาน AOC ซึ่งเป็นพนักงานภาคพื้นดินของการบินไทย  กลับเชียร ทอท.ให้รีบทำเทอร์มินัลแปะ  

สมัยหนึ่งนานมาแล้ว คนการบินไทยได้ล็อบบี้ให้ทอท.จัดหลุมจอดคู่แข่งให้อยู่ไกลที่สุด ให้ TG อยู่ใกล้ที่สุด  ซึ่งก็ไม่ประหลาดหรอก สนามบินอื่น ๆ เขาก็ทำกับ TG แบบเดียวกัน

ไหงสมัยนี้กลายเป็นร่วมกันทำให้ TG เสียเปรียบ

ลองพิจารณาดูครับ ถ้าต่ออาคารเดิมทางทิศตะวันตกตามแผนเดิมที่พร้อมจะเรียกประมูลก่อสร้าง  แล้วให้สายการบินกลุ่ม  OneWorld กับ SkyTeam ฯลฯ ไปอยู่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังใหม่  ให้ TG และกลุ่ม Star Alliance ครองอาคารเทียบเครื่องบินหลังหลัก  และยังแน่นอนอีกว่า TG จะได้ลูกค้าในเรื่อง Ground Handlingกับ Cargo Handling จากสายการบินที่ไม่อยู่ในกลุ่มอะไรเลยเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนอีกแม้น้อย

น่าคิดไหมล่ะครับ

https://m.facebook.com/chai.navarat.9/posts/3307723332634224

https://www.thaipost.net/main/detail/51138
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 09:02

12 องค์กรวิชาชีพออกมาต้าน ทอท.ทำไม?

บทความ ลงใน นสพ.แนวหน้า วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ในชุด"ต่อตระกูล+ต่อภัสสร์ ยมนาค ต่อต้านคอร์รัปชัน"

เหตุใดโครงการของท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ที่จะสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่เรียกว่าอาคาร “เทอร์มินอล 2” ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จึงมีองค์กรวิชาชีพถึง 12 องค์กร ออกมาคัดค้านกันอย่างต่อเนื่องจนย่างเข้าปีที่ 2 แล้ว
โดยล่าสุดเมื่อ 14 พ.ย. ที่ผ่านมานี้ องค์กรวิชาชีพของวิศวกรอันเก่าแก่ที่สุดคือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือที่คนรู้จักกันทั่วไปในชื่อย่อว่า วสท. ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ…หายนะสุวรรณภูมิ?” ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562 โดยมี ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด และ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ วิศวกรผู้ร่วมจัดทำแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นวิทยากร โดยมีผลสรุปออกมาว่า

“อาคารเทอร์มินอล 2 ตามแผนที่ ทอท. ผลักดันนั้น ราคาแพงกว่าการสร้างส่วนต่อขยายจากเดิมเกือบ 4 เท่า และใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าถึง 2 เท่า”

บทสรุปนี้มาจากข้อมูลว่าหากเลือกที่จะสร้างส่วนต่อขยายเทอร์มินัล 1 ในอาคารเดิม ทางปีกฝั่งทิศตะวันออก และปีกทิศตะวันตก จะใช้งบประมาณเพียง 12,000 ล้านบาทเท่านั้น จะสามารถจุผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อีก 30 ล้านคนทันที อีกทั้งจะทำได้เสร็จรวดเร็วเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น แต่หากเลือกพัฒนาเทอร์มินัล 2 เป็นอาคารขึ้นมาใหม่ทั้งอาคาร ตามที่ ทอท. ผลักดันมาตลอดนั้นจะต้องใช้งบสูงถึง 42,000 ล้านบาท

ทั้งนี้แม้ว่าการสร้างเทอร์มินอล 2 จะมีข้อดีคือมีการขยายพื้นที่เพื่อการขายสินค้า เพิ่มความสะดวกและช่องทางการจับจ่ายใช้สอยให้กับผู้โดยสารที่มาใช้เวลารอเครื่อง แต่สำหรับผู้โดยสารที่จะขึ้นเครื่องจากอาคารผู้โดยสารเดิม จะไม่สะดวกในการเดินทาง เพราะจะต้องขึ้นลงรถไฟไฟฟ้าอัตโนมัติถึง 3 สายที่จะต้องสร้างขึ้นใหม่กว่าที่จะไปถึงเครื่องบินลำที่จะเดินทางได้

ผมในฐานะอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องขอบอกว่าความเคลื่อนไหวของ วสท. ในครั้งนี้ ผมถือเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญมาก เพราะตลอดเวลา 70 ปีของ วสท. องค์กรให้การสนับสนุนด้านวิศวกรรมของประเทศอย่างตรงไปตรงมาเสมอ โดยไม่เคยมีผลประโยชน์หรือเป้าหมายแอบแฝงทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรจะไม่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องอะไรง่าย ๆ
ยกตัวอย่างครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ที่ประชาชนเคยมีความกังวลเรื่องความแข็งแรงของสนามบินสุวรรณภูมิ ในกรณีความชำรุดเสียหายของทางวิ่งขึ้นลงของสนามบินในช่วงเปิดสนามบินใหม่ ๆ ร้ายแรงถึงขั้นมีกลุ่มมวลชนออกมาบีบให้รัฐบาลในขณะนั้นปิดสนามบินเลยทีเดียว วสท. จึงได้ส่งคณะนักวิชาการอิสระ ที่เป็นที่ยอมรับนับถือ มาเจาะสำรวจ ตรวจสอบทางวิชาการโดยอิสระ ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น และชี้แจงผลอย่างตรงไปตรงมาว่า ความเสียหายเป็นเฉพาะที่ชั้นผิวของลานวิ่งของสนามบินเท่านั้น ไม่พบความเสียหายหนักในชั้นฐานรากอย่างที่หวั่นเกรงกันตามความเชื่อคนส่วนใหญ่ในขณะนั้น
การยืนยันโดยใช้วิชาการเป็นหลักในการอ้างอิงในครั้งนั้น แม้จะขัดกับความเชื่อของประชาชนจำนวนมากในขณะนั้น ทำให้ผมซึ่งเป็นบอร์ดของ ทอท.ในขณะนั้น และต้องทำหน้าที่เป็นผู้เป็นแถลงผลการตรวจสอบนี้ ได้ถูกสื่อบางสำนักโจมตีอย่างหนักถึงขั้นว่ารับเงินจากผู้รับเหมามาบิดเบือนความจริง แต่ด้วยผมมีรายงานจาก วสท. เป็นหลักให้อ้างอิงได้ จึงมั่นใจที่จะแถลงข่าวตามความจริง สนามบินสุวรรณภูมิจึงสามารถเปิดดำเนินการมาได้ตลอดมาถึง 17 ปีอย่างไร้ปัญหา ไม่ยุบไม่พังลงอย่างที่เคยเชื่อกันในขณะนั้น

มาถึงในวันนี้ วันพุธที่ 27 พ.ย. 2562 ตัวแทนของ 12 องค์กรวิชาชีพได้รับเชิญจากกรรมาธิการติดตามงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ให้เข้าไปให้ข้อมูล ในโครงการของ ทอท. ที่จะก่อสร้าง “เทอร์มินอล 2” แห่งใหม่นี้

หวังว่า ทอท. จะมีผู้แทนที่จะมาร่วมฟังและร่วมซักถามวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ต่อหน้าคณะกรรมมาธิการอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา สมดังความภูมิใจของ ทอท. ที่ได้ประกาศไว้ใน Core Value ขององค์กรว่า

จะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิด "ความโปร่งใสและสำนึกในความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ และสำนึกในความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้า ต่อสังคม และประเทศชาติ "

และ ทอท. ต้องไม่ลืมเรื่องจริยธรรมขององค์กรที่ได้ประกาศออกมาใน "ประมวลจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2554" ที่มีทั้งหมดรวม 9 ข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ 6 ที่มีใจความสำคัญที่สุด ที่ต้องถือปฏิบัติว่า

"การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง"
...................

https://www.facebook.com/Dr.Tortrakul/posts/10221161849544195

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 09:15

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 10:07

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

เหตุผลหนึ่งที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.อ้างว่าสาเหตุที่ ทอท.ไม่ต้องการสร้างเทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ใกล้ถนนบางนา-ตราด ตามแผนแม่บท เป็นเพราะระบบคมนาคมทางด้านใต้ไม่พร้อม สู้ทางด้านเหนือไม่ได้ที่มีทั้งแอร์พอร์ตลิงก์และมอเตอร์เวย์ ทำให้ ทอท.ต้องการสร้างเทอร์มินัล 2 ใกล้มอเตอร์เวย์ หรือที่เรียกกันว่าเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ

ผมขอแย้งว่าไม่จริง เพราะ ทอท.ได้มีการออกแบบเบื้องต้นอุโมงค์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่เวลานี้ให้บริการถึงเทอร์มินัล 1 ให้เชื่อมต่อจากเทอร์มินัล 1 ถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้เอาไว้แล้ว นั่นหมายความว่าอีกไม่นานก็จะมีแอร์พอร์ตลิงก์ให้บริการไปจนถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท โดยวิ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ารถไฟฟ้าไร้คนขับ หรือ APM ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ทำให้การเดินทางเข้าออกเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ มีความสะดวกสบาย และรวดเร็ว


อนึ่ง อุโมงค์รถไฟฟ้าแอร์พอรต์ลิงก์จากเทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ สามารถเชื่อมต่อไปถึงถนนบางนา-ตราด ได้ ซึ่งบนถนนบางนา-ตราด จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล ไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง อีกทั้ง จะมีการต่อเชื่อมทางด่วนบูรพาวิถี (ทางด่วนบางนา-ชลบุรี) เข้าสู่เทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ด้วย โดยไม่ต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ทำให้การเดินทางเข้า-ออก เทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และรวดเร็ว

หาก ทอท.มุ่งมั่นที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ จะเป็นการเพิ่มปัญหารถติดบนมอเตอร์เวย์ ทำให้กรมทางหลวงต้องเตรียมที่จะก่อสร้างมอเตอร์เวย์ชั้นที่ 2 ระยะทาง 18 กิโลเมตร จากถนนศรีนครินทร์-ทับยาว ใช้เงินถึง 37,500 ล้านบาท และเมื่อถึงวันหนึ่งมอเตอร์เวย์ 2 ชั้น ก็ช่วยไม่ได้ เนื่องจากปริมาณรถจะเกินความจุของมอเตอร์เวย์นั่นเอง

การสร้างเทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ตามแผนแม่บท จะช่วยกระจายปริมาณรถให้มาใช้ถนนบางนา-ตราด แทนที่จะกระจุกแน่นอยู่บนมอเตอร์เวย์


https://www.facebook.com/samart.ratchapolsitte/posts/10215325790603164
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 27 พ.ย. 19, 10:14

“แผนแม่บท” หรือ “แผนอยากทำ”

"...“แผนแม่บท” ที่ดีต้องกำหนดขึ้นจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การวิเคราะห์และคาดการณ์ตามหลักวิชาการอย่างตกผลึก โดยคำนึงถึงทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในวันนี้และอนาคต คือมองอย่างองค์รวม ดังนั้นแผนแม่บทจึงต้องทำอย่างเป็นกระบวนการด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ เพื่อกลั่นกรองจนเกิดหลักประกันความสำเร็จระยะยาวมิฉะนั้นจะเป็นแค่ “แผนอยากทำ” คือทำเพราะอยากใช้เงินภาษีและทรัพยากรของรัฐไปลงทุนมากๆ ตามแนวคิดหรือผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องที่แอบแฝงอยู่ สุดท้ายความผิดพลาด การรั่วไหลและคอร์รัปชันจะตามมา เมื่อถึงวันนั้นโอกาสและความคุ้มค่าของทรัพยากรของชาติที่หมดไปก็คือความสูญเสียของชาติ..."

สองคำถามใหญ่สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ คือ

หนึ่ง ทำไมสนามบินหลักของชาติแห่งนี้จึงตกต่ำลงเรื่อยๆ จากเคยได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสนามบินคุณภาพอันดับ 10 ของโลก กลับร่วงสู่อันดับที่ 46 ในปีนี้

สอง ทำไมสุวรรณภูมิจึงมีข่าวและมีคดีเกี่ยวกับคอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนจำนวนมากนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างมาจนถึงวันนี้

เป็นที่เข้าใจกันดีว่า หน่วยงานใดก็ตามหากใช้อำนาจอย่างผูกขาด ใช้ดุลพินิจเอื้อพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม จะนำไปสู่คอร์รัปชันและผลประโยชน์ทับซ้อนจนสร้างความเสียหายและบ่อนทำลายศักยภาพระยะยาวของหน่วยงานนั้นเอง ยิ่งเป็นยุคที่มีการใช้อำนาจการเมืองปิดกั้น หน่วยงานนั้นจะยิ่งไม่โปร่งใส ละเลยการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้บริหารขาดความรับผิดชอบ เพราะสื่อมวลชนและสังคมไม่สามารถตรวจสอบพวกเขาได้เต็มที่

บางทีคำอธิบายนี้อาจเป็นคำตอบให้กับสองคำถามข้างต้นก็ได้

วันนี้ตั้งใจนำเรื่อง “แผนแม่บท” ที่เคยเขียนไว้มาให้ท่านที่สนใจได้อ่าน ส่วนใครที่ใคร่รู้มากขึ้นถึงแนวทางการจัดทำแผนแม่บทสนามบินที่เป็นสากล ขอให้เปิดอ่านตามลิ้งค์ที่แนบท้ายมานะครับ

“แผนแม่บท” ที่ดีต้องกำหนดขึ้นจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การวิเคราะห์และคาดการณ์ตามหลักวิชาการอย่างตกผลึก โดยคำนึงถึงทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในวันนี้และอนาคต คือมองอย่างองค์รวม ดังนั้นแผนแม่บทจึงต้องทำอย่างเป็นกระบวนการด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ เพื่อกลั่นกรองจนเกิดหลักประกันความสำเร็จระยะยาว

มิฉะนั้นจะเป็นแค่ “แผนอยากทำ” คือทำเพราะอยากใช้เงินภาษีและทรัพยากรของรัฐไปลงทุนมากๆ ตามแนวคิดหรือผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องที่แอบแฝงอยู่ สุดท้ายความผิดพลาด การรั่วไหลและคอร์รัปชันจะตามมา เมื่อถึงวันนั้นโอกาสและความคุ้มค่าของทรัพยากรของชาติที่หมดไปก็คือความสูญเสียของชาติ

จริงอยู่ แผนแม่บทแม้จะไม่ใช่คัมภีร์วิเศษที่แตะต้องแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้ามันเริ่มต้นไว้ดีแล้ว วันข้างหน้าก็ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอะไรให้ผิดแผกไปมากนัก เพราะมักมีการลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบสาธารณูปโภคไปรองรับตามแผนนั้นแล้ว พูดง่ายๆ คือกำหนดโครงร่าง ทิศทางไว้ ใครจะมาทำอะไรต่อเมื่อศึกษาดูก็จะเข้าใจไม่ผิดเพี้ยน

ส่วนการขยายสนามบินเฟสสองมูลค่าราว 4.2 หมื่นล้านบาทที่กำลังถูกทักท้วงจากสังคมอย่างกว้างขวางว่าขาดความเหมาะสมหลายอย่าง เพราะมุ่งใช้แต่ประสบการณ์และรับฟังความเห็นความต้องการของหน่วยราชการด้วยกันและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น สายการบินและธุรกิจท่องเที่ยว (ดูเอกสารประกอบ 2-4) แต่ไม่ใส่ใจเท่าที่ควรกับการศึกษาเสนอแนะจากสถาบันที่เป็นกลางอย่างองค์กรวิชาชีพด้านวิศวกรและสถาปนิก ที่เป็นเสาหลักทางความรู้ของประเทศไทย..อย่างนี้จะเรียกว่าอย่างไรดีครับ

ดร. มานะ นิมิตรมงคล

เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)


https://www.isranews.org/isranews-article/82851-masterplan.html
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 28 พ.ย. 19, 05:50

ถ้าให้เวลาแก่การฟังสักนิดก็จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ
ช่วงที่ ๑


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 28 พ.ย. 19, 05:51

ช่วงที่ ๒

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 29 พ.ย. 19, 09:50

กวนน้ำให้ใส
สารส้ม
วันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
หยุดเถอะ North Expansion หรือ อาคารแปะ


เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา กรณีโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ (North Expansion) ในการพัฒนาขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ถูกซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร(นายไชยา พรหมา ประธาน)
เป็นครั้งแรกที่คุณนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้บริหารใหญ่ของ ทอท.นำคณะเข้าชี้แจง และมีการถกแถลงกันด้วยข้อมูลอีกด้านหนึ่งจากฝ่ายสภาวิชาชีพฯ ที่คัดค้านโครงการนี้อย่างแข็งขัน
ถือเป็นเรื่องดีที่ผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมรับผิดชอบไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีคมนาคม ฯลฯ จะได้รับข้อมูลทั้งสองด้าน
ไม่ใช่พูดกันคนละที พลิ้วกันไปคนละเรื่อง แล้วเปลี่ยนคำอธิบายไปเรื่อยๆ

1. แฟนเพจ “National Engineering 2019 วิศวกรรมแห่งชาติ 2562 วันที่ 13-15 พ.ย. 2562” ได้อัพเดทข้อมูลในที่ประชุมวันนั้น เพราะมีตัวแทนเข้าร่วมชี้แจงด้วย ระบุว่า
“...สรุป วันนี้ในที่ประชุมคืบหน้าไปประเด็นหลัก คือ
ตามที่ ทอท. อ้างรายงาน ICAO ปี 2554 ว่าการก่อสร้างอาคารส่วนขยายตะวันออกทำได้ยากนั้น ได้ชี้แจงในที่ประชุมถึงรายละเอียดที่ได้ตรวจเอกสารและแบบก่อสร้างของ East expansion พร้อมแนวคิดของผู้ออกแบบแล้ว ยืนยันว่าทำการก่อสร้างได้ ไม่สร้างผลกระทบการให้บริการ
รวมถึงการก่อสร้างที่ ทอท. แจ้งว่า East expansion มีการขุดดินชั้นใต้ดินที่จะใช้เวลาก่อสร้างและทำได้ยากนั้น วสท.ชี้แจงว่าสามารถใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นใต้ดินและชั้นบนอาคารพร้อมกัน ที่เรียกว่า Top down and bottom up construction ที่จะลดเวลาการก่อสร้างได้มากที่ปัจจุบันเมืองไทยทำมาหลายอาคารแล้ว

ทอท.เอ่ยคำยอมรับตามที่ วสท. ชี้แจงในที่ประชุม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 29 พ.ย. 19, 09:51

เหลือเพียง ทอท. หยิบประเด็นใหม่มาแย้งว่า การขยายอาคารทางทิศตะวันออกและตะวันตกนั้น ควรทำหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างอาคารเทอร์มินอลตัดแปะ หรือที่เรียกใหม่ว่าส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ
วสท.ยืนยันจุดนี้ว่า การขยายอาคารผู้โดยสารเดิมใช้งานได้เหมือนกัน ด้วยเงินลงทุนถูกกว่าอย่างน้อย 30,000 ล้านบาท

วันนี้ วสท. ทำหน้าที่คืบหน้าในประเด็นหลักในการที่ ทอท.ยอมรับในเทคนิคก่อสร้าง East expansion ที่เคยค้านมาโดยตลอด วสท.ยังมีงานที่เหลือที่ยังมีข้อมูลที่ต้องชี้แจงให้ในชุดอนุกรรมาธิการต่อไป
“เขียนมาทั้งหมดนี้เพราะเราทุกคนรักและหวงแหนสนามบินสุวรรณภูมิ...”

2. จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ทราบมาว่า ในที่ประชุมวันนั้น ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตผู้บริหารสนามบินหนองงูเห่า ได้ซักถามหมัดตรงใส่ทอท.ซึ่งๆ หน้า ว่าด้วยเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่นำมากล่าวอ้าง แล้วยืนยันด้วยว่า North Expansion นั้น ไม่สามารถสร้างเพื่อแก้ปัญหาความแออัดเร่งด่วนตามที่อ้างได้
แต่ ทอท.ไม่ยอมรับ
สุดท้าย ดร.สมเจตน์ถึงขนาดท้าพนัน 20 ล้านบาท ในห้อง ว่า North Expansion ไม่สามารถสร้างเสร็จได้ใน 3 ปี ถ้าชนะจะมอบเงินโรงเรียนแถวนั้น!!!
แถม รองเลขาฯสภาพัฒน์ ในที่ประชุม ยังแถลงยืนยันตามเอกสารสภาพัฒน์เลขที่ 1115/268 ลว. 16/01/2562 ที่ให้ดำเนินการตามแผนแม่บทเดิม มิใช่ทำอาคารผู้โดยสารเพิ่มออกมาทางทิศเหนือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 29 พ.ย. 19, 09:53

3. ล่าสุด ในแฟนเพจ AOT Official (ของ ทอท.) ได้พยายามนำเสนอข้อมูลด้านดีของ NORTH EXPANSION ว่ามีอะไรบ้าง
แต่ปรากฏว่า มีแต่คนเข้าไปตั้งคำถามหมัดตรง และยังไม่ได้รับคำชี้แจงใดๆ เลย

ยกตัวอย่าง

Panya Laongthong Unt-Tom - ช่วยอธิบายการจัดการปัญหา Landsideทางเข้าจาก motorway และทางออกจาก Ter 2 ในตำแหน่งทิศเหนือด้วยครับ ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด และต้องลงทุนเท่าไหร่ครับ

Kongwud Worasart - ผมเพิ่งรู้ว่า ภารกิจของการท่าอากาศยาน ต้องจัดการให้มีพื้นที่การค้าด้วย มุ่งไปที่การบริการทางอากาศยานไม่ดีกว่าเหรอครับ อันดับสนามบินร่วงเอาๆ

 
Net Sinthavathavorn - ช่องตรวจ ตม.มีเยอะ ก็บรรจุ จนท. ให้เต็มทุกช่องในช่วง peak ด้วยนะครับ infographic ทำง่าย แต่ก็นำไปปฏิบัติด้วยนะครับ

Siriwat Akkharathanainan - รถยังเยอะไม่พอหรือครับนั่น มีสำนักงานด้วย สนามบิน หรืออิมแพ็ค เมืองทองธานี

Kaekai Poonnard - ไม่มีผดส.ที่ไหนอยากจะใช้เวลาในสนามบินนานทั้งขาเข้า-ขาออกค่ะ โดยเฉพาะต่างชาติ สร้างอาคารใหญ่โตแถมมูลค่าก่อสร้างหลายหมื่นล้านเพื่อจะเอาพื้นที่มาทำการพาณิชย์ราวกับห้างสรรพสินค้าซึ่งไม่ตรงกับการใช้งาน เมื่อไหร่จะคุ้มทุนคะ ? กว่าครม.จะอนุมัติ กว่าจะออกแบบ กว่าจะผ่าน EIA กว่าจะสร้างเสร็จ...ดิฉันว่าขยาย T1 ด้านตต. ตามด้วยตอ.ก็จบแล้วค่ะ ได้รับการอนุมัติแล้วด้วย ใช้งบประมาณรวมกันสองด้านแค่หมื่นล้าน แถมใช้ประโยชน์ได้ตรงกับความต้องการใช้งานอีกด้วย

นภพล ดวงฤดีสวัสดิ์ - ทำไมเอา east,west expansion มาเทียบกับ north ครับ?? มันคือการพัฒนาคนละอย่างเลยนะ north มันคือการสร้างอาคารใหม่ แต่ east west มันคือการขยายอาคารเช็คอิน

George Pornintra - ฟังดูก็ไม่ถูกต้องแล้วครับ

Suyuth Chutharat - ตามแผนแม่บททิศใต้มันก็สัมปทานได้เหมือนกัน แบบก็รับรองแล้ว ตัดแปะทำไมให้วุ่นวาย หรือใครกลัวผิดแผนสัมปทาน?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 29 พ.ย. 19, 09:54

Ratee Teachakantho - อยากรู้จักแอดมินจัง แม้นรับคำสั่งทำตาม ก็ควรจะมีวิจารณญาณ เพราะนี่คือหน้าตาขององค์กร นี่เป็นการไม่รู้หรือจงใจโกหก ทั้งถนน Curbside & Contact Gate @ East/West ที่บอกเป็น 0 เพราะไม่ต้องสร้างให้สิ้นเปลืองงบฯ เพราะมันอยู่ในอาคารเดียวกันอยู่แล้ว และสร้างได้เสร็จภายใน 2 ปี (ตามที่เคยแจ้งไว้) ตลอดถึงผ่านข้อกำหนดทุกขั้นตอนมาแล้ว (หมายถึงสร้างได้เลย) ที่สำคัญรับ ผดส. เพิ่มได้ทันที 30 ล้าน+45 ล้าน = 75 ล้านคน ยังมีเวลาเหลือให้ไปสร้าง North Expansion (ตามคำสั่ง)ได้อีก 4-5 ปี ส่วนล่างสุดที่พยายามบอก “สิ่งที่เพิ่มมากกว่า..” ถามจริง ตกลงจะแก้ปัญหาแออัดของ ผดส. หรือพื้นที่ขายของ หากจะแก้พื้นที่ขายของ ปล่อยให้นายทุนเช่าพื้นที่ไปสร้างและบริหารเองเลย ทอท. อาจช่วยด้วยการสร้างทางเชื่อมต่อก็เหมาะสม เดินตามแผนแม่บทเถอะ อย่าดันทุรังให้เป็นปัญหาแก้ไม่เสร็จสิ้น... ขอเสนอให้กท. คลัง และรัฐบาล ควรแยกหน้าที่ให้ชัดเจนดีกว่ากระมัง ระหว่างผู้บริหารสนามบิน กับผู้บริหารพื้นที่ทำประโยชน์เพื่อเป็นรายได้ของสนามบิน ปัญหาสนามบินเป็นปัญหาของการรองรับ ผดส. และการอำนวยความสะดวกการขึ้น-ลงของเครื่องบิน ที่ต้องใช้ผู้มีความรู้ทางวิศวะทั้งการก่อสร้างและการบิน ตลอดถึงสถาปัตย์ภายใน ส่วนด้านหาประโยชน์ รักษาและเพิ่มรายรายได้ของพื้นที่สนามบินเป็นหน้าที่ของการบริหารการตลาดและจัดการ  ปัญหาผังใหม่ตามใจนายทุนจะได้ไม่เกิด

Nurack Petchpoon - สนามบินนะครับ ไม่ใช่ศูนย์การค้า ทำไมไม่เน้นไปที่บริการด้านการบิน???

ฯลฯ
เรียกว่า ระดมยิงด้วยคำถาม และข้อสังเกตแบบที่มีคุณภาพ แล้วยังไม่ได้รับคำชี้แจงใดๆ เลย

อาการหนักถึงขนาดนี้ ถ้านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังปล่อยให้เดินหน้าต่อ ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว ทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เคยมีบัญชาแล้วว่า จะต้องตอบคำถามคนที่คัดค้านให้ได้ และต้องคำนึงถึงแผนแม่บทเดิม

หยุดเถอะ พอเถอะ ล่อนจ้อนแล้ว

สารส้ม

https://www.naewna.com/politic/columnist/42213
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง