เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6741 เจ้าหญิงแสนหวี
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 04 ก.ย. 18, 15:31

ได้อ่านประวัติ เจ้าดารารัศมี มีช่วงหนึ่งที่เสด็จออกตามพระพุทธเจ้าหลวง ให้เจ้าหญิงแสนหวีเฝ้า
อยากทราบว่า เจ้าหญิงองค์นี้มีพระนามและพระประวัติอย่างไร มีรูปถ่ายหรื่อไม่ ครับ เพราะกล่าวกันว่า
ทรงพระสิริโฉมนัก งามกว่า เจ้าดารารัศมี

แสนหวีเป็นรัฐเหมือนเชียงใหม่ หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 16:29

จากหนังสือ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕

พิธีเสด็จออกรับเจ้าต่างประเทศฝ่ายใน : เจ้าหญิงแสนหวี *

ถ้าข้าพเจ้าอย่าโคมลอยมากก็จะได้รับความรู้เล่าสู่กันฟังไม่น้อย เช่นพิธีเสร็จออกรับเจ้าต่างประเทศฝ่ายใน  คือเจ้าหญิงแสนหวี จะให้เล่าว่าเจ้านั้นชื่ออะไรและทรงปฏิสันถารว่าอะไรบ้าง เจ้ากราบบังคมทูลว่าอะไรบ้างไม่ได้ความเลย ข้าพเจ้าจำไม่ได้ จำได้แต่ว่าประทับเก้าอี้ตั้งหน้าพระที่นั่งพุดตานทอง แต่ไม่ใช่บนพระเศวตฉัตร ตั้งข้างหน้าพระที่นั่งเศวตฉัตรออกมาสัก ๕-๖ วา หันพระพักตร์ออกพระทวาร หน้าพระที่นั่งเจ้าจอมเฝ้า ซ้าย ขวา พระเก้าอี้มีลักษณะดังนี้

___________________________________________________________

* สถานที่ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

บันทึกนี้เป็นบันทึกทำนองอัตชีวประวัติที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับได้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖
ฉะนั้นจึงเป็นบันทึกเหตุการณ์ย้อนหลังจากความทรงจำของผู้มีอายุ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 16:30

หน้า ๖๒ - ๖๓


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 16:55

การที่สมัยนั้นเรียกกันว่า ‘เจ้าหญิงแสนหวี’ ก็คงหมายถึงเจ้าหญิงเมืองเชียงรุ้งนั่นเอง เพราะเวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๕๑) แม้สิบสองปันนาจะใกล้ชิดกับจีน ก็ยังมิได้เป็นของจีนเต็มที่ เจ้าแผ่นดินเชียงรุ้งยังมีสัมพันธไมตรีนับถือพระเจ้าแผ่นดินไทยอยู่ แต่ก็นับว่าเจ้าหญิงเป็น ‘เจ้าต่างประเทศ’ มิใช่ เจ้าเมืองขึ้น

 ‘เจ้าแผ่นดินเชียงรุ้ง' นั้น เรียกกันว่า ‘เจ้าแสนหวีฟ้า’ เมื่อเจ้าหญิงเชียงรุ้งเข้ามาเฝ้า อาจพลอยเรียกเจ้าหญิงว่า ‘เจ้าหญิงแสนหวี’ ไปด้วย


จากบทความเรื่อง เรื่องของเชียงรุ้งที่เกี่ยวข้องกับ "เวียงวังไทย" เมื่อ ๑๐๐กว่าปีก่อน
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 07:59

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 08:17

เห็นเรื่องนี้แล้วคิดถึงนวนิยายของหลวงวิตรวาทการที่เคยอ่านเมื่อเด็กๆ

https://talk.mthai.com/inbox/442176.html
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 08:49

อีกเรื่องหนึ่งอันเกี่ยวกับ ‘เจ้าหญิงแสนหวี’ นั้น

คนที่มีอายุพอจำความได้ ในสมัย พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ ราว ๆ นั้น คงจำเพลงจากละครเรื่อง ‘เจ้าหญิงแสนหวี’ บทละครของหลวงวิจิตรวาทการได้ที่ว่า

“พวกชาวแสนหวี เราแสนยินดีรับรองเจ้าชายมาจากเขมรัฐ เราพากันจัดงานถวาย สมโภชเจ้าชายจากบ้านเมืองมา...ฯลฯ...”

และเจ้าชายร้องตอบว่า

“พวกชาวเขมรัฐ นี้ล้วนแต่พลัดบ้านเมืองเข้ามาบุกป่าฝ่าดงมุ่งตรงมานี่ เพื่อเห็นแสนหวีเมืองศรีสง่า...ฯลฯ...”

ผู้เล่าจำได้เพียงแค่นี้ เข้าใจว่าหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ประพันธ์ละครเรื่องนี้ คงสมมุติเอาเมือง ๒ เมือง คือ ‘เชียงตุง’ เป็นเขมรัฐ และ ‘เชียงรุ้ง’ เป็น แสนหวีนั่นเอง ด้วยทั้งเชียงตุงและเชียงรุ้ง นั้น ว่าที่จริงเป็นไตลื้อหรือไทยลื้อด้วยกัน แม้ว่าพวกเชียงตุงจะเรียกพวกตนว่า ‘ไทยใหญ่’ ก็ตาม


จากบทความเรื่อง เรื่องของเชียงรุ้งที่เกี่ยวข้องกับ "เวียงวังไทย" เมื่อ ๑๐๐กว่าปีก่อน
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 พ.ค. 21, 15:03

เจ้าหญิงแสนหวีที่เจ้าดารารัศมีออกรับ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหม่อมนางแว่นทิพย์ ธิดาเจ้าฟ้าโชติกองไท น้องสาวเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุง

หม่อมนางแว่นทิพย์มีประวัติที่โลดโผนมาก เคยเป็นราชเทวีของเจ้าหม่อมฅำลือ (เท่าเซิ้นเอิ่น 刀承恩) เจ้าแสนหวีฟ้าสิบสองพันนา แต่นางสนมเมียน้อยต่างอิจฉาริษยา เเละหม่อมนางแว่นทิพย์ก็ไม่ชอบบรรดานางสนมเช่นกันจึงหนีกลับไปเมืองเชียงตุง เมื่อถึงเมืองหุน เหนือสนามเชียงรุ่งส่งคนไปอาราธนาเชิญกลับมา หม่อมนางจึงกลับมาเมืองเชียงรุ่งอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ ๒๔๓๔ เจ้าเมืองแช่ก่อกบฎ เจ้าหม่อมฅำลือจึงนำทัพออกไปถึงเมืองราย แต่ต่อมาเจรจาตกลงกันแล้วจึงไม่รบกัน ระหว่างนั้น หม่อมนางแว่นทิพย์ลักลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้าเชียงเดือน (ဝဵင်းၵဵင်းလိူၼ်) ที่มาพำนักอยู่ที่เวียงปราคราง เมื่อเจ้าหม่อมฅำลือทราบเรื่องทั้งสองก็ผิดใจกัน หม่อมนางแว่นทิพย์ไปชักนำทหารจากเมืองเชียงแข็ง เมืองยู้ เมืองวะ เมืองหลวย เมืองยอง มีพญาหลวงพิชชวงศ์เป็นแม่ทัพ จะมาทำสงครามกับเจ้าหม่อมฅำลือ เจ้าหม่อมฅำลือหนีไปอยู่ที่ป่าแอ้น ต่อมาพวกเจ้าเมืองพากันไปเจรจากับหม่อมนางแว่นทิพย์เพื่อหย่าศึก เจ้าหม่อมคำลือจึงได้กลับมาเมืองตามเดิม

พ.ศ.๒๔๓๙ เหนือสนามเชียงรุ่งทูลเชิญหม่อมนางแว่นทิพย์ให้กลับมาอยู่กับเจ้าหม่อมคำลือ หม่อมนางแว่นทิพย์ยินยอมแต่มีข้อแม้ว่า ต้องสร้างหอใหม่ให้เพราะไม่อยากอยู่รวมกับนางสนมคนอื่น เหนือสนามจึงสร้างหอใหม่ถวายหม่อมนางแว่นทิพย์ที่เชียงดอนหลวง แต่จากนั้นเพียงสองปีหม่อมนางแว่นทิพย์ก็กลับเมืองเชียงตุงและไม่หวนกลับมาเมืองเชียงรุ่งอีกเลย นอกจากนี้ หม่อมนางแว่นทิพย์ยังเคยเข้ามาค้าขายที่กรุงเทพ เชียราย และแพร่ด้วย

อนึ่ง แสนหวีฟ้า มาจาก 宣慰使 เป็นตำแหน่งที่จีนตั้งให้กับประมุขชนกลุ่มน้อย เจ้าแผ่นดินสิบสองพันนามีตำแหน่งเป็น 車里宣慰司
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 พ.ค. 21, 12:16

เจ้านางแว่นทิพย์ ราชธิดาใน เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุงองค์ที่ ๖ ประสูติแต่เจ้านางบัวทิพย์หลวง

เจ้านางเข้าเรียนที่ St. Michael's School  ในเมืองพินอูลวิน (Pyin U Lwin) และย้ายไปศึกษาต่อที่เมืองกะลอว์ (Kalaw) เมืองตากอากาศของอังกฤษสมัยอาณานิคม เมื่ออายุ ๑๖ ปี พระนางเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวี ในพิธีแต่งงานเจ้าห่มฟ้าประทับบนหลังช้างตามประเพณี แห่ขันหมากเข้ามาจัดพิธีสมรสที่หน้าหอหลวงเมืองเชียงตุง มีมโหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน อย่างไรก็ตามการสมรสของทั้งสองพระองค์ไม่ได้เกิดจากความรัก แต่หากเกิดจากการเมืองระหว่างรัฐ และเชียงตุงในตอนนั้นก็มั่งคั่งมาก ท้ายที่สุดชีวิตรักของทั้งสองพระองค์จึงสิ้นสุดโดยการหย่าขาดจากกัน

ในภาพ เจ้านางสวมสร้อยคอรูปนกยูง ที่เรียกว่า “ปยั๊ด” และสร้อยไข่มุกหลายเส้น มวยผมประดับปิ่นทองคำหลายรูปแบบ บางชิ้นสั่งผลิตที่ มัณฑะเลย์

ภาพลงสีจาก S. Phormma’s Colorizations


บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 13:59

เจ้านางแว่นทิพย์ ราชธิดาใน เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุงองค์ที่ ๖ ประสูติแต่เจ้านางบัวทิพย์หลวง

เจ้านางเข้าเรียนที่ St. Michael's School  ในเมืองพินอูลวิน (Pyin U Lwin) และย้ายไปศึกษาต่อที่เมืองกะลอว์ (Kalaw) เมืองตากอากาศของอังกฤษสมัยอาณานิคม เมื่ออายุ ๑๖ ปี พระนางเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าห่มฟ้าแห่งแสนหวี ในพิธีแต่งงานเจ้าห่มฟ้าประทับบนหลังช้างตามประเพณี แห่ขันหมากเข้ามาจัดพิธีสมรสที่หน้าหอหลวงเมืองเชียงตุง มีมโหรสพสมโภช ๓ วัน ๓ คืน อย่างไรก็ตามการสมรสของทั้งสองพระองค์ไม่ได้เกิดจากความรัก แต่หากเกิดจากการเมืองระหว่างรัฐ และเชียงตุงในตอนนั้นก็มั่งคั่งมาก ท้ายที่สุดชีวิตรักของทั้งสองพระองค์จึงสิ้นสุดโดยการหย่าขาดจากกัน

ในภาพ เจ้านางสวมสร้อยคอรูปนกยูง ที่เรียกว่า “ปยั๊ด” และสร้อยไข่มุกหลายเส้น มวยผมประดับปิ่นทองคำหลายรูปแบบ บางชิ้นสั่งผลิตที่ มัณฑะเลย์

ภาพลงสีจาก S. Phormma’s Colorizations

เจ้าแว่นทิพย์ธิดาเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงที่เสกสมรสกับเจ้าเสือห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวี เป็นคนละองค์กับเจ้าแว่นทิพย์น้องสาวของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงที่เสกสมรสกับเจ้าแสนหวีฟ้าหม่อมฅำลือ และไม่เคยเข้ามาเมืองไทยด้วยครับ คิดว่าเจ้าหญิงแสนหวีที่เจ้าดาราออกรับน่าจะเป็นเจ้าแว่นทิพย์น้องสาวเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 14:27

พม่าเสียเมือง สมัยร.๕
เจ้านางแว่นทิพย์(คนลูก) เรียนรร.ฝรั่งในพม่า กว่าจะเรียนจบ จนได้เข้าเฝ้า น่าจะล่วงเข้าสู่รัชกาลที่ ๖
ผู้ที่ได้เข้าเฝ้าร.๕ จึงน่าจะเป็นเจ้านางแว่นทิพย์(คนน้อง)(แต่ผมว่าเป็นพี่สาวของเจ้าก้อนแก้วฯนะ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 17:48

เจ้านางแว่นทิพย์มี ๒ พระองค์ ส่วน เจ้าหม่อมคำลือ มีมากกว่านั้น

ในลำดับกษัตริย์ ๔๑ พระองค์ แห่งอาณาจักรเชียงรุ่ง สิบสองพันนา มี เจ้าหม่อมคำลือ อยู่ ๓ พระองค์ ลำดับที่ ๓๙ คือ เจ้าหม่อมคำลือ (เท่าเซิ้นเอิ่น 刀承恩, ๒๔๐๗ - ๒๔๖๗) อดีตสวามีของหม่อมนางแว่นทิพย์ 'เจ้าหญิงแสนหวีในตำนาน' ที่เคยเสด็จมายังสยามสมัยรัชกาลที่ ๕


จาก หนังสือเชื้อเครือเจ้าแสนหวี ๑๒ พันนา


บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 19:05

รูปถ่ายของเจ้าหม่อมฅำลือ (เท่าเซิ้นเอิ่น 刀承恩) เจ้าแผ่นดินสิบสองพันนา ผู้เป็นอดีตสวามีของหม่อมนางแว่นทิพย์

เจ้าหม่อมฅำลือผู้นี้เป็นโอรสของเจ้าหม่อมส้อ (เท่าชิ่นอ่าน 刀均安) นัดดาของอุปราชา (เท่าเซิ้นชู่ง 刀正綜) ซึ่งเคยหนีความวุ่นวายในสิบสองพันนามาไทยสมัย ร.๓ ทำให้เกิดสงครามเชียงตุง ๓ ครั้ง หลักฐานไทยออกนามว่า อรำมาวุทะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 19:31

ขอเรียนถามหน่อยค่ะการเดินทางจากสิบสองปันนามาไทยในสมัยนั้นยากลำบากมากไหมคะ ดิฉันเข้าใจว่าคงจะไกลมากถ้าท่านเคยมาไทยคงจะใช้เวลาหลายวัน
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 21:35

พม่าเสียเมือง สมัยร.๕
เจ้านางแว่นทิพย์(คนลูก) เรียนรร.ฝรั่งในพม่า กว่าจะเรียนจบ จนได้เข้าเฝ้า น่าจะล่วงเข้าสู่รัชกาลที่ ๖
ผู้ที่ได้เข้าเฝ้าร.๕ จึงน่าจะเป็นเจ้านางแว่นทิพย์(คนน้อง)(แต่ผมว่าเป็นพี่สาวของเจ้าก้อนแก้วฯนะ)

ใช่ครับ พอดูข้อมูลดีๆ แล้ว หม่อมนางแว่นทิพย์เป็นพี่สาวของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ผมพิมพ์ผิดไปครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง