เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6704 เจ้าหญิงแสนหวี
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 08:34

สตรีที่โพกศีรษะ ๒ ท่าน ทางซ้ายคือ เจ้านางแว่นทิพย์ ทางขวาคือน้องสาว เจ้านางทิพย์ธิดา ทั้ง ๒ ท่านเป็นพี่สาวของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 08:43

ภาพเต็ม


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 14:50

รูปนี้หาดูยาก และมีขนาดใหญ่ด้วย คุณเพ็ญชมพูพอจะบอกลายแทงได้ไหมครับ ผมอยากตามไปค้นต่อ


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 15:09

รูปภาพในราชสำนักไทใหญ่ ไทเขิน ในอินทรเนตร ส่วนใหญ่จะเป็นรุ่นลูกของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว
ส่วนในรุ่นเจ้าฟ้าก้อนแก้วจะปรากฏรูปน้อยกว่า เจ้านายสตรีในรุ่นนี้ที่เรามักเห็นจนชินตาคือ เจ้านางนวลพิมพา กับ เจ้านางทิพย์ธิดา
นี่เพิ่งเคยได้เห็นเจ้านางแว่นทิพย์
.
สตรีเชียงตุงมีบทบาทการเมืองสูง
เจ้านางแว่นทิพย์ - ตามที่คุณนโม ตสฺส เล่าไว้ข้างต้น
เจ้านางทิพย์ธิดา - เป็นตัวแทนเชียงตุงเข้าประชุมประเทศในเครือสหราชอาณาจักร (Durbar) ที่อินเดีย และเจ้านางค้าขายเก่ง
เจ้านางบัวสวรรค์ - สตรีเปิ๊ดสะก๊าด ล้ำสมัยแห่งเชียงตุง เป็นเลขานุการส่วนพระองค์เจ้าฟ้าก้อนแก้ว และได้บริหารการเงินการคลังในรัชกาลต่อมา
เจ้านางอ่องยุ้น - คนนี้เป็นไทใหญ่(รัฐสีป่อ) นางติดตามเจ้าแม่ไปทำอะไรที่อังกฤษไม่ทราบ ฝรั่งเกิดต้องตา ขอวาดรูปไว้เป็นสิบ และได้ฉายาว่า โมนาลิซ่าแห่งเอเชีย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 พ.ค. 21, 15:51

รูปนี้หาดูยาก และมีขนาดใหญ่ด้วย คุณเพ็ญชมพูพอจะบอกลายแทงได้ไหมครับ ผมอยากตามไปค้นต่อ

ลายแทง : เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น ดูในความคิดเห็นของคุณมนตรี ปัญญาฟู  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 17:08

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอน ๓๔ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ หน้า ๘๗๑-๘๗๒


เจ้าสลีแว่นทิพย์เมืองเชียงตุงเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท

ด้วยเจ้าสลีแว่นทิพย์ ซึ่งเปนพี่สาวเจ้าเมืองเชียงตุง ได้ลงมาเที่ยวในกรุงเทพฯ มีความประสงค์จะใคร่เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จึงได้กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทตามความประสงค์

ครั้นวันที่ ๒ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ข้าราชการฝ่ายในเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทพร้อมกันแล้ว พระยาจ่าแสนบดีแทนราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย นำเจ้าสลีแว่นทิพย์มาขึ้นทางอัฒจันท์พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทแล้ว ท้าววรจันทร์นำเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารแก่เจ้าสลีแว่นทิพย์ตามสมควรแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้นำเจ้าสลีแว่นทิพย์ไปพระราชทานเลี้ยงที่พระที่นั่งมูลสถานบรมอาศน์ด้วย แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปประทับวัดบวรนิเวศวิหารในการเลื่อนกรมต่อไป ๚

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/034/871_1.PDF
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 17:26

คำว่า สลี อ่านว่า สะ-หลี มาจากคำว่า ศรี เจ้าสลีแว่นทิพย์ หากเรียกในภาษาไทยกลางก็คือ เจ้าศรีแว่นทิพย์ นั่นแล


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 17:38


สนับสนุนภาพประกอบ
Shan Princess 1907 Rangoon




บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 18:13


ภาพเจ้านางพิมพา (พี่สาว) กับเจ้านางแว่นทิพย์ (น้องสาว)
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 18:38

คนที่โพกผ้าไม่ใช่เจ้านางแว่นทิพย์ครับ แต่เป็นเจ้านางทิพย์ธิดาครับ
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 18:39

“...การบวงสวงผีเสื้อเมืองเชียงราย ทำเปนครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ส. 2455 ไนปี 2455 นั้นมีแขกเมืองมาสืบสัญชัยไมถี 2 เมือง คือเมืองเชียงตุงกับเมืองแสนหวี (แสนหวีเชียงรุ่งสิบสองพันนา) และรวมมาเป็นขบวนเดียวกัน...

...ไนสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงมีลูกหยิงชื่อ “เจ้าแว่นทิพ” (ความจริงเป็นพี่สาว) ได้เปนแม่นางเมืองของเมืองแสนหวี (แสนหวีเชียงรุ่งสิบสองพันนา) เจ้าแว่นทิพนิยมการค้าขายจึงลงมาตั้งทำป่าไม้สักหยู่ไนเมืองแพร่และค้าขายติดต่อกับกรุงเทพฯ ไนขนะที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองแสนหวีกับเมืองแพร่ ต้องผ่านเมืองเชียงราย เจ้าแว่นทิพย์ได้วิสาสะคุ้นเคยกับพวกพ่อเมืองเชียงรายเปนกานญาติพี่น้อง และไนการที่เจ้าแว่นทิพลงมาค้าขายหยู่เมืองแพร่นั้น เจ้าฟ้าแสนหวีจัดเสนาอำมาจนำเงินลงมาส่งไห้ไช้จ่ายปีหนึ่งหลายหมื่นรูปี มีผู้คนควบคุมมาด้วยทั้งหยิงชายคราวละไม่น้อยกว่า 200 คน และมาผ่านเมืองเชียงรายไนรึดูขึ้นปีใหม่ทุกครั้ง เจ้าฟ้าแสนหวีและเจ้าแว่นทิพจึงไห้เสนาอำมาจพวกนี้ทำพิธี “สืบสัญไจยไมถี” กับเมืองเชียงรายในงานพิธีบวงสวงผีเสื้อเมือง

การสืบสัญชัยไมตรีที่เมืองแสนหวีและเมืองเชียงตุงรวมทำกันนี้ ก็คือนำเครื่องอุปโภคบริโภคและเงิน 1,500 รูปีพร้อมด้วยดอกไม้ทองเงินทำเปนเถากล้วยไม้มาสังเวยผีปู่ย่า กับไห้สิ่งของและดอกไม้เงินทองทำเปนดอกบัวหย่างละดอกแก่พ่อเมืองเชียงราย ไนวันบวงสวง หรือ สืบสัญชัยไมตรี นั้น แขกเมืองตั้งขบวนแห่สิ่งของจากสาลาที่พักไปสังเวยผีเสื้อเมือง เปนขบวน “กลองมองเซิง” คือ กลองสองหน้าไป 1 ฉาบและฉิ่งหย่างละ 1 กับค้องเถามีตั้งแต่ค้องหมุ่ยลงไปจนค้องเล็กเท่าฝ่ามือนับจำนวนกว่า 50 ใบ ตีขัดจังหวะกับกลองและฉาบฉิ่ง ประกอบด้วยโยธาทหานฟ้อนหอกฟ้อนดาบกว่า 20 คู่

ฝ่ายพ่อเมืองพร้อมด้วยยสบริวารเสนาอำมาจคอยรับที่หอเสื้อเมือง และมีขบวน “กลองเจิง-เถิดเทิง” ประกอบด้วยทหานฟ้อนหอกฟ้อนดาบที่นอกรั้วตาแสงหน้าหอผีเจนเมือง กับจัด “ขุนนาง” คือพวกหนุ่มสาวลูกหลานคหบดี คอยเปลี่ยนมือรับหาบหามสิ่งของของแขกเมืองเข้าไปตั้งที่แท่นบูชา พวกฟ้อนทั้งสองฝ่ายนำกันเข้าสู่ข่วงลูกกุย ขึงเส้นเชือกแบ่งสนามนั้นหยู่คนละครึ่ง แล้วฟ้อนรำหอกดาบ “ประชัน” กัน ตอนนี้น่าดูยิ่งนัก ต่างฝ่ายต่างแสดงเต็มฝีมือ ทำท่าล้อหลอกกันคล้ายกับจะทำร้ายกันจิงๆ เปนเวลาราว 1 ชั่วโมงจึงยุตติ

เมื่อหยุดการฟ้อนรำแล้ว หัวหน้าแขกเมืองจุดธูปเทียนบูชาถวายเครื่องสังเวยแก่ผีปู่ย่า และตั้งสัจจาธิถานขอพรเอาเอง แม่มดซึ่งยืนประจำแท่นบูชาประพรมน้ำ “ทิพมนต์” ตอบแทน แล้วเลี้ยงอาหารเย็นแด่แขกเมือง รื่นเริงกันหยู่จนราว 18 นาลิกาจึงเลิก เวลาแขกเมืองเดินออกจากสาลผีเสื้อเมือง อาจารย์หลวงกับโหราหลวงพรมน้ำทิพมนต์ที่ประตูรั้วทั้งสองข้างประตู ต่อจากนี้ไปไนวันอื่นแขกเมืองจึงนำดอกบัวคำดอกบัวเงินและสิ่งของไปบรรณาการแก่พ่อเมืองที่คุ้มหลวงหย่างกันเอง...”

เรื่องผีของชาวลานนาไทยโบราณ โดย นายแก้วมงคล ชัยสุริยันต์ (เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่) เรียบเรียง พ.ศ. 2486

(เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ท่านนี้ เป็นบุตรของขุนพฤฒิเพทย์พัฒนา (เจ้าหนานเหลา ณ เชียงใหม่) กับเจ้ากุยคำ คนละคนกับเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ที่เป็นบุตรของเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่))

ภาพ พระยารัตนาณาเขตร์ (เจ้าน้อยเมืองไชย) พ่อเมืองเชียงราย ที่กล่าวในพิธีสืบสัญชัยไมตรีเชียงราย-เชียงตุง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 มิ.ย. 21, 18:45

ภาพเจ้านางพิมพา (พี่สาว) กับเจ้านางแว่นทิพย์ (น้องสาว)
คนที่โพกผ้าไม่ใช่เจ้านางแว่นทิพย์ครับ แต่เป็นเจ้านางทิพย์ธิดาครับ

จากหนังสือ เจ้าฟ้าแห่งอาทิตย์อัสดง ความทรงจำจากรัฐฉาน โดย มอริส คอลลิส แปลโดย สุทธิศักดิ์ ปานโพธิ์



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 มิ.ย. 21, 13:19


เสียใจด้วยที่ท่านทายผิด   ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง