ิ้ีbhuries
อสุรผัด

ตอบ: 0
|
มีใครพอให้คำนิยาม/ข้อมูล /ทฤษฎี ของคำว่า industrial heritage (มรดกอุตสาหกรรม)ได้บ้างคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 13:00
|
|
คำถามเรื่องบ้านเก่าคนเข้าตอบ อยากทราบชอบหรือไม่ให้กังขา ถามแล้วทิ้งช่างกระไรไม่นำพา ครานี้หนาเหมือนเดิมไหมให้กริ่งเกรงพอมีท่านใดสามารถให้ข้อมูลบ้านฝรั่งแบบตะวันตกในกรุงเทพฯที่ถูกนำมารีนูเวทได้บ้างคะ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6926.0
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 13:04
|
|
เห็นด้วยกับคุณเพ็ญชมพูค่ะ
กระทู้นี้คนที่น่าจะตอบได้ คือคุณตั้ง ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:21
|
|
คุณตั้ง งานเข้าาาาาาาาาา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:29
|
|
คำถามนี้มาแบบต้องการคำตอบในทางลึก อาจจะกำลังตีโจทย์เพื่อหาความกระจ่างในแนวทางการทำการวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์ หรือในการศึกษาผลกระทบในเรื่องหนึ่งใดทั้งด้านบวกและด้านลบ
ผมไม่มีความรู้มากนักในเชิงวิชาการในเรื่องของกระบวนทัศน์ที่มีอยู่ในคำว่า heritage ก็พอจะรู้อยู่บ้างตามที่เก็บเกี่ยวได้จากการได้เห็น การรับฟังคำบรรยายต่างๆ การสนทนา และการค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเล็กๆน้อยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:45
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:46
|
|
เห็นมีคำว่า "อุตสาหกรรม" ค่ะ เลยส่งไม้ต่อไปให้ท่านทูตอุตสาหกรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:49
|
|
ไม่เรียกท่าน ท่านก็คงไม่มา ขอโทษครับที่เรียกดังไปหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:50
|
|
ขอตอบแก้ตัวแล้วกัน
คำว่า มรดกอุตสาหกรรม (industrial heritage) ไม่ได้มาจากรากเง่าภูมิปัญญาทางภาษาของไทย แต่เป็นบัญญัติศัพท์ของ UNESCO ซึ่งนิยามไว้ว่า
Industrial heritage refers to the physical remains of the history of technology and industry, such as manufacturing and mining sites, as well as power and transportation infrastructure. The term is often also used in connection with museums or historic places related to industry, including worker housing and warehouses. The scientific study of such remains is called industrial archaeology
หมายถึงสิ่งของวัตถุที่ยังปรากฏอยู่อันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยี่และอุตสาหกรรม เช่นโรงผลิตหรือขุมเหมืองแร่ โรงไฟฟ้าหรือสิ่งก่อสร้างด้านคมนาคม ศัพท์เดียวกันนี้ยังใช้เกี่ยวเนื่องกับพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม รวมไปถึงบ้านพักคนงานและโกดัง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ยังปรากฏอยู่นั้นเรียกว่าโบราณคดีด้านอุตสาหกรรม ซึ่งเราคงไม่มีทางไปนิยามให้เป็นอื่นได้
ป.ล. เคยมีผู้เสนอให้นิคมโรงงานมักกะสันของการรถไฟ เป็นมรดกอุตสาหกรรมของไทย แต่ไม่คืบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 17:54
|
|
เชิญค่ะ ท่านออกญาศรีนวรัตน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 18:20
|
|
ที่รู้มาแต่เดิมนั้น คำว่า heritage แปลว่ามรดก ที่เราได้ยินมาจนคุ้นหูก็คือการใช้คู่กับคำว่า world แปลออกมาเป็นภาษาไทยว่า มรดกโลก อีกคำหนึ่งก็คือการใช้คู่กับคำว่า cultural แปลออกมาว่า มรดกทางวัฒนธรรม
เมื่อครั้งไปเข้าร่วมประชุมเจรจากับมาเลเซียในเรื่องการตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJA) ที่เมืองมะละกา ช่วงประมาณปี 2530+/- ซึ่งเป็นช่วงที่มาเลเซียกำลังจะเริ่ม Malaysia Visit Year (หลังจากที่โครงการในลักษณะนี้ของไทยประสบผลสำเร็จ) ในระหว่างการสนทนาตอนหนึ่ง จนท.ระดับสูงของมาเลเซียได้พูดถึงว่า ประเทศไทยมีความอุดมไปด้วยมรดกตกทอดที่มีความหลากหลายมากๆ ต่างไปจากของมาเลเซียที่มีค่อนข้างจำกัด เมื่อพากันไปชมการซ้อมใหญ่สำหรับพิธีเปิดปีการท่องเที่ยวของเขา ก็ได้เห็นว่ามันเป็นการแสดงที่เล่าเรื่อง Heritage ของเขาตั้งแต่การถือกำเนิดเป็นประเทศ และอิทธิพลต่างๆที่ได้รับมาเป็นลำดับจากฝ่ายผู้แสวงหาอาณานิคม ที่น่าสนใจก็คือ เขาเริ่มเรื่องจากการโห่ร้องดีใจว่าได้หลุดพ้นจากการปกครองของไทยแล้ว
ตั้งแต่นั้น ผมก็จึงได้ให้ความสนใจกับเรื่อง heritage ที่มีความหลากหลายของไทยเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 18:29
|
|
ผมพยายามนึกเพื่อหาว่า ในบรรดามรดกทางวัฒนธรรมที่รุ่มรวยของเรานั้น มันมีมรดกทางอุตสาหกรรมที่โดดเด่นโลกทึ่ง ตามคำนิยามของฝรั่งบ้างไหม
นับตั้งแต่เตาทุเรียงที่เราทำเครื่องสังคโลก เก่าแก่ แต่ไม่โดดเด่น เพราะมันไม่ใช่เทคโนโลยี่ที่เกิดขึ้นที่บ้านเรา จีน ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี่ก็มีของดีจะอวดมากกว่ามากมายนัก
เหมืองแร่และเรือขุดดีบุกถิ่นพังงาและภูเก็ต ก็เทียบไม่ติดกับของมาเลเซีย
โรงงานมักกะสันที่ว่า ในบ้านเราก็ใหญ่จริง แต่ตั้งบนที่ดินสูงค่าจนประมาณไม่ได้ หากเกิดไปเป็นมรดกโลก ต้องสงวนรักษาสภาพเช่นนั้นไว้ การรถไฟคงไม่ปลื้มแน่ นี่กำลังคิดจะให้เจ้าสัวประมูลค่าหน้าดินเพื่อผุดโครงการเมกะมหาโปรเจคอยู่ซะด้วย หากต้องอนุรักษ์โรงงานเก่าๆอย่างนั้นไว้ กิจการรถไฟคงหาทุนมาต่ออายุไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 19:06
|
|
ไม่รู้จักคำว่า มรดกทางอุตสาหกรรม ไปถามอาจารย์กู๊ก ได้คำตอบว่าในไทย มีโรงงานมักกะสันเป็นมรดกทางอุตสาหกรรม คุณนวรัตนมาเฉลยให้ฟังข้างบนนี้แล้วค่ะ
ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่ดั้งเดิม จะผลิตอะไรเป็นอุตสาหกรรมก็ล้วนแล้วแต่มาทีหลัง นึกถึงการทอผ้า หรือตีเหล็ก ฝีมือชาวบ้าน ทำกันแบบแฮนด์เมด ไม่น่าจะถึงขั้นอุตสาหกรรมนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 19 ส.ค. 18, 19:06
|
|
ผมเห็นว่าเมื่อคำว่่า heritage ได้รับการแปลว่า มรดก ก็เลยไปซ้ำกับความหมายของคำว่า มรดกตกทอดของบุคคล ก็อาจจะเป็นผลทำให้การสื่อความหมายเพี้ยนไป
ต้องขอหยุดไว้เพียงเท่านี้นะครับ แป้นพิมพ์เสียครับ ที่ ตัวแร..ของพยัญชนะไทยเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 20 ส.ค. 18, 08:00
|
|
คุณ bhuries ก็คงแป้นพิมพ์เสียเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|