เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 6413 ตาม๊อก ชเว กูจี มหัศจรรย์พันปี สถูปพม่าที่ถูกเผยความวิจิตรพิศดารอีกครั้ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:36

ฐานพระสถูปอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:43

จากนั้น เราจึงได้ลงจากพระสถูปไปสู่ส่วนต่ำของโบราณสถานที่เป็นพระวิหาร

ขณะเมื่ออยู่ที่พื้นทางเดินด้านบน ทำให้แลเห็นพระพุทธรูปที่ส่วนพระนลาฏ(หน้าผาก)ยื่นออกมาผิดธรรมดา ซึ่งคนโบราณสมัยกระโน้นจะไม่มีมุมมองนี้ให้เห็น พวกเขาจะเห็นพระพักตร์เฉพาะยามที่ตนนั่งกับพื้นอยู่ตรงหน้าท่าน
เมื่อเราทำอย่างเดียวกันและแหงนหน้าขึ้นดู จะเห็นพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่งดงามแปลกตา นี่เป็นความฉลาดเลิศล้ำของช่างที่รู้จักมุมมองที่สอบเข้า ฝรั่งเรียกว่า perspective ถ้าไม่แก้ จะเป็นพระพุทธรูปที่ส่วนองค์ใหญ่ ส่วนพระเศียรเล็กและหลิม  มองไม่งาม จึงแก้ไขจุดเสียนี้โดยเพิ่มสัดส่วนใหม่ พระพุทธรูปจะงามขึ้นอย่างประหลาด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:45

ก่อนจะออก เราได้แวะเข้าไปดูพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งนำโบราณวัตถุที่นำขึ้นมาจากใต้ดิน ในกรุบ้างนอกกรุบ้าง มารวบรวมไว้ให้ศึกษา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:57

พระพุทธรูปองค์มุมบนขวานั่น คือ Masterpiece ของตาม๊อก ชเวกูจี แกะสลักจากหินอ่อนพม่าในยุคพุกาม สูงประมาณหนึ่งศอก มีภาพพระพุทธประวัติล้อมรอบอยู่ในซุ้ม พี่วิจิตรบอกว่าช่างพม่าในปัจจุบันใช้เวลาไม่นานในการลอกแบบไปสลักขึ้นใหม่ วางขายอยู่ตามร้านขายศิลปวัตถุชั้นดีที่อยู่ในบริเวณตลาดขายของที่ระลึกของวัดพระมหามุนี ที่มัณฑเลย์

เมื่อเราไปที่นั่น พี่วิจิตรได้พาทัวร์ตลาดที่ว่า เห็นงานเลียนแบบดังกล่าววางไว้หลายร้าน ที่ร้านที่ดีที่สุดนั้น พระพุทธรูปองค์กลางก็มีหลายแบบ อย่างเช่นที่สวมเทริดแบบพระกรุฝางที่พบในภาคเหนือของไทยเป็นต้น บางองค์นั้น ตามสายตาผมเห็นว่างามกว่าต้นฉบับ(องค์ซ้ายสุด)ก็มี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 11:04

ก่อนกลับออกมาจากตาม๊อก ชเวกูจี  คุณวิจิตรชี้ให้ดูบ้านพักในอดีตของอาจารย์วินหม่องผู้สมถะ ท่านและภรรยาได้มาพักอยู่ที่บ้านพักชั่วคราวนี้หลายปี ตลอดระยะเวลาการทำงานในโครงการนี้
 
เย็นวันนั้นเอง เมื่อทราบว่าท่านมิได้ออกไปทำงานต่างจังหวัด เราจึงได้แวะเมืองสะกายเพื่อไปเยี่ยมเยียนท่านที่บ้านพักในปัจจุบัน เพื่อแสดงความเคารพ ชายผู้ยิ่งยงนี้ไม่ค่อยสนใจความเป็นอยู่ บ้านเป็นเพียงที่กินอยู่หลับนอน คงมีชีวิตอยู่เพื่องานโดยแท้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 13:40

ขอบพระคุณคุณนวรัตนสำหรับเรื่องราวโบราณสถานที่น่าสนใจของพม่า และขออภัยเรื่องคลิปประกอบเรื่อง

การสร้างซ้อนกันลักษณะดังกล่าว ในเมืองไทยพบได้ที่พระปฐมเจดีย์ นครปฐม แต่เจดีย์ข้างในคงไม่สมบูรณ์เหมือนของพม่า

ภาพของคุณกัมม์  จาก พันทิป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 15:35


หายหน้าหายตาไปซะนาน แวะมาดูกระทู้ดีๆ

นี่ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่กว่าจะไปชมสถูปในพม่าอีก อย่าลืมชวนผมติดสอยห้อยตามไปซักคนนะครับ ของแบบนี้ไปเองก็ไปไม่ได้ ต้องขอเป็นชาวเกาะเอาดื้อๆ แบบนี้แหละ

นึกว่ากลับแคว้นปางฟ้าไปแล้ว  จะไม่กลับมาซะอีก
ขอท่านทางนี้  สงสัยวีซ่าผ่านยากค่ะ   ถ้าจะไปง่าย   มาทางเรือนไทยดีกว่า เดี๋ยวจะบอกทางเลาะตะเข็บชายแดนให้  ไม่ต้องไปเกาะค่ะ
 
ไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพม่า และไม่ได้สนใจมาก่อนค่ะ     สนใจลาวกับเขมรมากกว่าเพราะรู้สึกว่าใกล้ตัวกว่า
แต่ก็ทึ่งเมื่อเห็นสถูปเจดีย์ที่ถ่ายรูปมาให้ชมกัน
พร้อมกับสงสัยในวัฒนธรรมการครอบเจดีย์เก่าโดยสร้างเจดีย์ใหม่ปิดบังไว้สนิท  ทั้งๆของเก่าก็ยังงดงามสมบูรณ์ ไม่ได้ชำรุดผุกร่อน เสียจนต้องสร้างอะไรบังไว้ไม่ให้ของเก่าพังทลายลงไป
ถ้าเจดีย์องค์นี้ไม่ถูกพลิกฟื้นขึ้นมาได้   สิ่งก่อสร้างข้างในคงสูญหายไปจากการรับรู้ตลอดกาล
ยังมีอีกกี่สิบเจดีย์ที่เป็นแบบนี้  ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 17:15

พระปฐมเดีย์ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่พอจะเทียบเคียงกับของพม่าได้ เพียงแต่อายุขององค์พระปฐมเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบัน  สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่านั้นเอง 
ในเมืองไทยยังมีที่ทำในลักษณะนี้อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเล็กเหลือเกิน  แต่ก็น่าที่จะกล่าวถึง  คือ พระธาตุดอยตุง  ตามประวัติกล่าวว่าแต่เดิมมีองค์เดียว  อีกองค์หนึ่งนั้น พระเจ้ามังรายมหาราชได้สร้างเพิ่ม  จึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์

ครั้นปี พ.ศ.๒๔๗๐  พระธาตุดอยตุงทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัยกับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา

และด้วยเหตุผลทางการเมือง  ในปีพ.ศ. ๒๕๑๖ กระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ สถาปนิกประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ได้ออกแบบด้วยการใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาเป็นเปลือก  แล้วประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙  กรมศิลปากรได้รื้อเปลือกคอนกรีตดังกล่าวออก ตามการร้องขอของคนท้องถิ่น จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์สมัยครูบาศรีวิชัยให้คืนกลับมา ตามรูปแบบเดิมที่ปรากฏหลักฐานในภาพถ่าย ส่วนครอบพระสถูปที่ถอดออกมาไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง ซึ่งอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 17:31

ความจริงภายในพระปฐมเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเจดีย์มาแล้วถึง ๓ รุ่น รุ่นที่ ๑ และ ๒ ทลายไปแล้ว คงเหลือแต่เจดีย์รุ่นที่ ๓ ซึ่งคงอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์เท่าไร

หากนับอายุเจดีย์ตั้งแต่รุ่นที่ ๑ และ ๒ ก็คงพอ ๆ กับ ตาม็อก  ชเว กูจี เหมือนกัน

http://service.christian.ac.th/ncc/Conservart/Conservart/Papathomjadee/Papathomjade_Make.html


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 18:04

ครับ คงเหลือแต่ทรากกองอิฐที่คูณค่าทางศิลปะถูกทำลายไปหมดแล้ว

ไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมพม่า และไม่ได้สนใจมาก่อนค่ะ     สนใจลาวกับเขมรมากกว่าเพราะรู้สึกว่าใกล้ตัวกว่า
แต่ก็ทึ่งเมื่อเห็นสถูปเจดีย์ที่ถ่ายรูปมาให้ชมกัน
พร้อมกับสงสัยในวัฒนธรรมการครอบเจดีย์เก่าโดยสร้างเจดีย์ใหม่ปิดบังไว้สนิท  ทั้งๆของเก่าก็ยังงดงามสมบูรณ์ ไม่ได้ชำรุดผุกร่อน เสียจนต้องสร้างอะไรบังไว้ไม่ให้ของเก่าพังทลายลงไป
ถ้าเจดีย์องค์นี้ไม่ถูกพลิกฟื้นขึ้นมาได้   สิ่งก่อสร้างข้างในคงสูญหายไปจากการรับรู้ตลอดกาล
ยังมีอีกกี่สิบเจดีย์ที่เป็นแบบนี้  ฮืม ฮืม ฮืม

ผมเชื่อว่าในพม่านั้นยังมีอีกมากที่ใช้วิธีการสร้างพระสถูปขึ้นมาใหม่เพื่อครอบทรากของเดิม เมื่อพระสถูปพังลงหลังเกิดแผ่นดินไหว แทนการขนอิฐไปทิ้ง  พม่ามีภัยธรรมชาตินี้รุนแรงกว่าเมืองไทยเยอะ ผมดูในรูปถ่ายในหนังสือพม่าเห็นกองอิฐที่มีพืชปกคลุมแล้วมีเจดีย์ของใหม่เล็กๆไปสร้างขึ้นบนยอดอีกหลายแห่ง  เดาว่ารัฐบาลพม่าไม่มีปัญญาที่จะทำอะไร นอกจากทิ้งไว้ก่อนรอเวลาในอนาคต  

ไม่ต้องดูตัวอย่างที่ไหน  คราวนี้เองเมื่อพี่วิจิตรพาผมไปวัดเยตะพัน (วัดมะเดื่อ) ทางใต้ของเมืองอังวะ ซึ่งตามหลักฐานในคำบอกเล่าของชาวพม่าว่าพระมหาสมณะเจ้าอุทุมพรทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดนี้เป็นเวลากว่า ๑๖ ปี ก่อนที่จะทรงย้ายตามพระราชบัญชาไปประทับที่วัดโยเดีย  เมื่อกษัตริย์พม่าทรงสร้างอมรปุระเมืองหลวงใหม่

ขณะรอพระนำกุญแจมาเปิดวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไม้มะเดื่อที่กล่าวกันว่าพระองค์ทรงสร้างไว้   ผมเบื่อนั่งรอนานจึงขอตัวออกไปเดินดูเนินมหึมาด้านหลังของวัด เพราะเห็นว่ามีโบราณสถานถูกหมกอยู่  เมื่อเดินประทักษิณาวัตรพลางก็ถ่ายรูปมาด้วย ดังภาพที่เห็นนี้

มันไม่ใช่อะไรเล็กๆเลย พี่วิจิตรบอกว่าเดิมเป็นพระสถูปใหญ่อายุสมัยก่อนหน้าที่พระเจ้าอุทุมพรเสด็จมานานมาก  แสดงว่าในอดีตเป็นวัดสำคัญจึงเชิญพระองค์ท่านมาประทับ  แต่ทว่าพระสถูปนี้พังมาหลายปีแล้วจากเหตุแผ่นดินไหว  และยังไม่มีใครสนใจจะทำอะไรต่อไป  
อาจจะเป็นเพราะสถูปส่วนใหญ่ที่พังก็เหลือเฉพาะกองอิฐ  ไม่พบโบราณสถานเลอค่าอย่างที่ตาม๊อก ชเวซูจี คนพม่าจึงรู้สึกเฉยๆกับการที่พระสถูปโบราณจะพังลงตามกาล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 18:16

ผมไม่ได้ตั้งใจจะอวดภาพที่ผมขอให้พี่วิจิตรยืนถ่ายกับเณรวัยซน แต่เผอิญว่าในฉากหลังมีพระพุทธรูปสร้างใหม่พร้อมๆกับศาลา เพื่อจะบอกว่า เศษอิฐจากเนินที่พังลงมานั้น ท่านเจ้าอาวาสใช้ศรัทธาชาวบ้านทะยอยขนมากอง แล้วค่อยๆก่อเป็นองค์พระขึ้นใหม่ตามนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 18:32

อ้างถึง
ผมเชื่อว่าในพม่านั้นยังมีอีกมากที่ใช้วิธีการสร้างพระสถูปขึ้นมาใหม่เพื่อครอบทรากของเดิม เมื่อพระสถูปพังลงหลังเกิดแผ่นดินไหว แทนการขนอิฐไปทิ้ง  พม่ามีภัยธรรมชาตินี้รุนแรงกว่าเมืองไทยเยอะ ผมดูในรูปถ่ายในหนังสือพม่าเห็นกองอิฐที่มีพืชปกคลุมแล้วมีเจดีย์ของใหม่เล็กๆไปสร้างขึ้นบนยอดอีกหลายแห่ง  เดาว่ารัฐบาลพม่าไม่มีปัญญาที่จะทำอะไร นอกจากทิ้งไว้ก่อนรอเวลาในอนาคต  

ผมสแกนภาพที่กล่าวไว้ รวบรวมมาให้ดูพอสังเขป

พม่าเป็นประเทศที่รุ่มรวยในโบราณสถานมาก นอกจากเขมรแล้ว ในภูมิภาคนี้คงไม่มีประเทศไหนเทียบเทียมได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 10:06

พื้นที่อาณาบริเวณซึ่งอุดมสมบูรณ์นี้อยู่ในอาณาจักรศรีเกษตร ของพวกพยู (Pyu) จึงพบร่องรอยว่าตาม๊อก ชเว กูจีมีฐานที่สร้างไม่พร้อมกัน กษัตริย์พุกามเองก็สร้างพระสถูปไปบนสถาปัตยกรรมเดิม แล้วต่อเติมองค์ประกอบอันวิจิตรพิศดารขึ้นภายหลัง ก่อนที่จะถูกสถูปเจดีย์องค์มหึมาสร้างครอบทับอีกทีหนึ่ง

แผนผังแสดงตำแหน่งและอายุสิ่งก่อสร้างในตาม็อก ชเว กูจี

จาก บทความวิชาการเรื่อง Ta Mok Shwe-gu-gyi Temple : Local Art in Upper Myanmar 11th-17th Centuries AD โดย Elizabeth Moore, Win Maung (Tampawaddy) and Htwe Htwe Win

http://eprints.soas.ac.uk/14639/1/Connecting_Empires_12.pdf


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 12:53


นึกว่ากลับแคว้นปางฟ้าไปแล้ว  จะไม่กลับมาซะอีก
ขอท่านทางนี้  สงสัยวีซ่าผ่านยากค่ะ   ถ้าจะไปง่าย   มาทางเรือนไทยดีกว่า เดี๋ยวจะบอกทางเลาะตะเข็บชายแดนให้  ไม่ต้องไปเกาะค่ะ
 

จากปางฟ้ามาไทยได้ 3 ปี ชีวิตในไทยบั่นทอนจิตวิญญาณและกำลังใจได้อย่างรวดเร็วดีมากครับ ความอยากร้อยากเห็นหดหาย เวลาอ่านหนังสือหนังหาไม่มี เดี๋ยวรออีก 7 ปี ใช้หนี้ใช้สินรัฐบาลไทยหมดแล้ว คงได้ขยับขยายไปหาอย่างอื่นทำ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 14:54

ขอบคุณท่านนวรัต เป็นอย่างยิ่ง กับบทความ ตามอ็ก ชเว กูจี
ระยะเวลาที่ห่างกันหลายร้อยปี  ลายปูนปั้น ภาพเขียนและสีตลอดจนพระพุทธรูป ทำไมของเราจึงคล้ายของเขามากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง