เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 6483 ตาม๊อก ชเว กูจี มหัศจรรย์พันปี สถูปพม่าที่ถูกเผยความวิจิตรพิศดารอีกครั้ง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 07:54

ทางทิศใต้ของมัณฑะเลย์ประมาณห้าสิบกิโลเมตร ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาตินัก มีเมืองเล็กๆชื่อเจ่าว์เซ ซึ่งในปี ๒๕๓๗ เนินสูงใหญ่ที่ปกคลุมด้วยวัชพืชของเจดีย์องค์หนึ่งที่ดูไม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ใดๆได้ทลายลงบางส่วนหลังฝนตกหนัก เผยให้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่อยู่ใต้นั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 07:55

เจ้าอาวาสได้ขอแรงชาวบ้านให้ระดมพลมาเก็บกวาดซากอิฐออก จึงพบว่ามันคือทรากโบราณสถานที่เก่าแก่มากที่ถูกหมกอยู่ หลังจากหนึ่งปีที่พยายามขุดคุ้ย ท่านก็ได้พบช่องทางที่จะเข้าไปได้ทางด้านทิศเหนือ เมื่อเข้าไปแล้วก็ได้พบส่วนพระพักตร์ของพระพุทธรูปสมัยพุกามขนาดใหญ่องค์หนึ่ง จึงรีบแจ้งให้ทางการของรัฐบาลเมียนมาร์ทราบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 07:57

กรมโบราณคดีได้ออกคำสั่งให้หยุดไว้เพื่อรอการสำรวจเบื้องต้นและของบประมาณ ขั้นนี้ใช้เวลายาวนานมากจนกระทั่งปี ๒๕๕๑ กระทรวงวัฒนธรรมของพม่าจึงอนุมัติให้ขุดค้นโบราณสถานแห่งนั้นต่อได้ ภายใต้การกำกับดูแลของอู วินหม่อง (Win Mg ) สถาปนิกและนักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากผลงานทั้งในและนอกพม่า เช่นที่ลำปาง อาจารย์วินหม่องท่านนี้เองที่เคยมาช่วยถอดแบบก่อสร้างวิหารวัดศรีชุมขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม หลังเกิดไฟไหม้เสียหายทั้งหมดในปี ๒๕๓๕ และกรมศิลปากรได้ร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลพม่า

อู วินหม่องพบศิลาจารึกที่สามารถสรุปได้ว่า กองอิฐที่พังทลายลงนั้นเป็นสถูปเจดีย์ที่สร้างเมื่อราวเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยพระเจ้าอุศนะ (King Uzana 1325-1340) แห่งราชวงศ์พินยา (Pinya) ผู้ปกครองราชอาณาจักรพุกามช่วงปลายๆ พระองค์ทรงเจตนาที่จะสร้างพระสถูปองค์ใหญ่ขึ้นครอบฐานพระสถูปองค์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นร่วมสามร้อยปี โดยพระเจ้าอโนรธา (King Anawrahta 1044- 1078) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:03

ภาพสรุปจากการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่เรียกว่า ชเว กู จี ( Shwe-Gu-Gyi แปลตรงๆว่า Great Golden Cave หรือ ถ้ำทองใหญ่ ซึ่งส่วนฐานก่อด้วยอิฐตัน มองจากภายนอกเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในที่เรียกว่าถ้ำคือส่วนกลวงเป็นอุโมงค์หลังคาโค้งสูง ตรงกลางที่อุโมงค์ตัดกันเป็นกากบาทเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ประธาน เจาะช่องเล็กๆเป็นระยะให้แสงเข้ามาในอุโมงค์เพื่อใช้เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรม) ผนังอุโมงค์ในส่วนที่แข็งแรงจะเจาะช่องเพื่อประดิษฐ์ พระพุทธรูปองค์ย่อมๆส่วนบนของฐานพระสถูปอันมั่นคงนี้เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:07

พระเจ้าอโนรธาถือเป็นมหาราชที่ทรงฝักไฝ่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทรงสร้างสถูปเจดีย์ที่เรียกว่า ชเว กู จี ใหญ่น้อยแบบนี้ถึง ๑๑ แห่งทั่วราชอาณาจักรพุกามอันกว้างใหญ่ไพศาลของพระองค์ ส่วนองค์นี้สร้างขึ้นที่ตาม๊อก อันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ส่งผลผลิตไปเลี้ยงประชากรของพุกามเมืองหลวง จึงได้ชื่อว่าตาม๊อก ชเว กูจี (Ta Mok Shwe-Gu-Gyi)

ก่อนหน้านั้นพื้นที่อาณาบริเวณซึ่งอุดมสมบูรณ์นี้อยู่ในอาณาจักรศรีเกษตร ของพวกพยู (Pyu) จึงพบร่องรอยว่าตาม๊อก ชเว กูจีมีฐานที่สร้างไม่พร้อมกัน กษัตริย์พุกามเองก็สร้างพระสถูปไปบนสถาปัตยกรรมเดิม แล้วต่อเติมองค์ประกอบอันวิจิตรพิศดารขึ้นภายหลัง ก่อนที่จะถูกสถูปเจดีย์องค์มหึมาสร้างครอบทับอีกทีหนึ่ง

จึงถือได้ว่าเป็นกรณีย์แรกที่ได้ปรากฏพบเห็นวิธีการดังกล่าวในพม่า งานอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งที่จะสงวนรักษาพยานหลักฐานต่างๆของสถาปัตยกรรมต่างยุคสมัยไว้เพื่อการศึกษาในอนาคต


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:10

ภาพบนขวา แสดงให้เห็นความวิเศษของโบราณสถานแห่งนี้ ซึ่งอยู่ที่ปรัชญาการก่อสร้าง
การที่พระเจ้าอุศนะ ไม่ว่าพระองค์ทรงมีความคิดอย่างไรในการที่ทรงโปรดให้สร้างพระสถูปของพระองค์มาครอบทับชเวกูจีของพระเจ้าอโนรธาไว้เพื่อไม่ให้ใครเห็นอีกต่อไป แต่แทนที่จะรื้อทำลายลง กลับทรงให้รักษาสถาปัตยกรรมเดิมของไว้ ไม่ทราบจะเป็นเพราะว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน หรือเพราะเสียดายวิจิตรศิลป์ของสถาปัตยกรรมนี้

วิธีการของนายช่างสมัยโน้นก็สุดยอด สถาปัตยกรรมนี้ถูกสร้างขึ้นโดยให้มีช่องว่างระหว่างผนังใหม่กับผนังของสถาปัตยกรรมเดิม ซึ่งบางจุดช่องว่างนั้นก็กว้างเพียงฝ่ามือเดียว ระหว่างก่อสร้างก็ใช้ดินเหนียวที่บดจนเป็นผงเหมือนแป้ง ค่อยๆเติมลงไปแทนที่อากาศในช่องว่าง ดังนั้น แม้กาลเวลาจะผ่านไปร่วมพันปี เมื่อสถาปัตยกรรมชั้นนอกนั้นพังทะลายลง ทีมงานของอู วินหม่องได้ค่อยๆเคาะเปลือกอิฐทิ้ง แล้วปัดฝุ่นดินออก ก่อนที่จะเอาน้ำฉีดชำระคราบสกปรกอีกครั้ง ความงดงามของลายปูนปั้นสมัยพุกามยุคทองก็ผุดขึ้นขาวผ่อง คมกริบ ตาม๊อก ชเว กู จี กลายเป็นสถูปเจดีย์ที่ลายปูนปั้นยังคงอยู่สมบูรณ์ที่สุด โดดเด่นกว่าสถูปเจดีย์นับพันๆองค์ที่ศูนย์กลางราชอาณาพุกามเสียอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:22

ผมมีโอกาสไปชมตาม๊อก ชเว กู จีเพราะคุณวิจิตร ชินาลัย ผู้อำนวยการโครงการอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร เมืองอมรปุระ ของสมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งสนิทชิดเชื้อกับอู วินหม่อง ผู้ซึ่งเป็นนักโบราณคดีผู้ควบคุมการออกแบบและก่อสร้างโครงการนั้นทางฝ่ายพม่าเป็นผู้พาไป

อู วินหม่องเคยพาคุณวิจิตรและคณะสถาปนิกจากเมืองไทยไปชมงานอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ตาม๊อก ชเว กู จี ตั้งแต่ระยะเริ่มดำเนินโครงการเมื่อห้าปีที่แล้ว บัดนี้ตาม๊อก ชเว กู จีแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่อนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพรยังไม่คืบเท่าที่ควร เพราะเหตุอะไรผมก็ได้เล่าไปแล้ว ไม่อยากกล่าวซ้ำซากให้ขุ่นเคืองหัวใจ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:35

สำนวนของพี่วิจิตรครับ ขออนุญาตนำลงทั้งท่อน

" โบราณสถานแห่งนี้ไม่มีที่ใดในโลกจะเหมือนครับ เป็นการสร้างพระสถูปเจดีย์สามยุค สามสมัย สร้างทับซ้อนกัน โดยไม่ทำให้คุณค่าสถาปัตยกรรมยุคก่อนหน้า เสียหาย เป็นความชาญฉลาดของสถาปนิกนักอนุรักษ์นิยมในสมัยโบราณที่ให้เกียรติแก่กันและกัน โดยเฉพาะพระสถูปยุคใหม่สุดที่อยู่ผิวนอกสุด เป็นสมัยพุกามยุคปลายคาบเกี่ยวกับสมัยอังวะ สร้างหลังสุดเมื่อสี่ห้าร้อยปี ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างครอบเจดีย์พุกามยุคต้นอายุร่วมพันปีองค์อยู่ข้างในตรงกลาง ที่สร้างก่อนหน้า สร้างซ้อนกันแต่ไม่แตะต้องกัน โดยเอาฝุ่นดินหนา ๔๐ ซม.บ้าง ๘๐ซม.บ้าง พอกใว้ระหว่างผิวนอกของเจดีย์องค์ใน เพื่ออนุรักษ์ปูนปั้นลวดลายยุคต้นอันวิเศษยี่งสมัยพุกามใว้ใด้เกือบ๑๐๐% แล้วจึงสร้างองค์ใหม่อยู่ด้านนอก.

เมื่ออาจารย์วินหม่อง เปิดผิวหน้าดินเก่าออกจนหมดแล้ว จึงเอาแปลงผิวอ่อนๆ ปัดฝุ่นดินที่เป็นกันชนหนาๆนั้นออกแล้ว จึงใด้พบกับปูนปั้นลวดลายวิเศษยี่ง เก่าแก่ถึงพุกามยุคต้นเต็มพื้นที่ด้านข้างทั้งหมดของฐานพระสถูป ซึ่งขาวสะอาด สด ใหม่ ลายเฉียบคม ดู เสมือนเพิ่งปั้นเสร็จเมื่อวานนี้ยังไงยั่งงั้นเลย

ใครเห็นต้องตื่นตะลึงโดยเฉพาะช่างฝีมือหรือสถาปนิก เห็นแล้วต้องพนมมือแสดงความเคารพโดยพลัน จึงเดินดูนั่งดูกันใด้ทั้งวัน ไม่ต้องถ่อสังขารไปดูปูนปั้นที่ พุกามหรือที่ใดๆกันอีกต่อไป

เป็นพระสถูปเจดีย์ยุคต้นเก่าแก่ที่สุดในพม่า พระสถูปองค์กลางซึ่งอยู่ใต้สุด ยี่งโบราณเข้าไปใหญ่ เก่าแก่ถึง ๑๒๐๐ -๑๕๐๐ปี ในสมัยพยู หรือ ศรีเกษตรของพม่า ซึ้งเก่ากว่าสมัยทวารวดีของเมืองเราสัก ๒๕๐- ๓๐๐ปีเห็นจะได้

สรุปแล้วต้องไปดูด้วยตาตนเองให้ใด้ ให้เป็นของขวัญแก่ดวงตา และเป็นของขวัญให้แก่จิตวิญญานตนเองสักที
"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 08:38

ระหว่างการก่อสร้างโครงการ ซึ่งมีทั้งส่วนที่บูรณะและปฏิสังขรณ์

สถาปนิกจะเว้นรอยต่อของสถาปัตยกรรมต่างยุคไว้อย่างชัดเจน โดยการเลือกใช้วัสดุและวิธีการที่ผู้ชมจะสามารถแยกแยะได้ชัดแจ้ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:03

ผมมีโอกาสไปชมตาม๊อก ชเว กู จีเพราะคุณวิจิตร ชินาลัย ผู้อำนวยการโครงการอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร เมืองอมรปุระ ของสมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งสนิทชิดเชื้อกับอู วินหม่อง ผู้ซึ่งเป็นนักโบราณคดีผู้ควบคุมการออกแบบและก่อสร้างโครงการนั้นทางฝ่ายพม่าเป็นผู้พาไป


หายหน้าหายตาไปซะนาน แวะมาดูกระทู้ดีๆ

นี่ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่กว่าจะไปชมสถูปในพม่าอีก อย่าลืมชวนผมติดสอยห้อยตามไปซักคนนะครับ ของแบบนี้ไปเองก็ไปไม่ได้ ต้องขอเป็นชาวเกาะเอาดื้อๆ แบบนี้แหละ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:05

ระยะแรก ได้ทำหลังคาชั่วคราวไว้เพื่อปกป้องโบราณสถานเก่าแก่นี้จากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ส่วนฐานของอาคารอันเป็นองค์ประกอบอื่นหลังจากขุดค้นขึ้นมาแล้ว ได้ทำกำแพงกันน้ำและทางเดินคอนกรีต เพื่อไม่ให้คนเข้าไปเหยียบย่ำเขตอนุรักษ์ได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:07

อ้างถึง
หายหน้าหายตาไปซะนาน แวะมาดูกระทู้ดีๆ

นี่ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่กว่าจะไปชมสถูปในพม่าอีก อย่าลืมชวนผมติดสอยห้อยตามไปซักคนนะครับ ของแบบนี้ไปเองก็ไปไม่ได้ ต้องขอเป็นชาวเกาะเอาดื้อๆ แบบนี้แหละ

ผมไม่สะดวกครับคุณวิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์ เพราะผมเป็นสลัด ไม่ใช่โจรสลัด แต่เป็นสลัดชาวเกาะ

ดูภาพไปเพลินๆก่อนแล้วกัน นี่เป็นช่วงที่เปิดให้คนเข้าชมแต่แรก ทรากโบราณสถานที่อยู่ใต้ตินนั้น ทีมงานได้พบโบราณวัตถุที่มีค่าส่วนหนึ่งและนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:18

ภาพบนซ้ายและขวานั้นถ่ายคนละทิศ
ส่วนภาพล่าง พระพุทธรูปองค์ใหญ่นั้นสร้างขึ้นมาใหม่บนร่องรอยหลักฐานเดิม ลักษณะปฏิมากรรมเป็นศิลปะร่วมสมัยในยุคเดียวกับวิหาร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:21

เมื่อหลังคาที่ทำไว้ชั่วคราวหมดอายุ และผู้อนุมัติงบประมาณเห็นคุณค่าของโบราณสถานที่เผยโฉม อาจารย์วินหม่องจึงได้หลังคาที่ถาวรมาคลุมพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:26

ตาม๊อก ชเว กู จีอยู่ภายใต้หลังคาเหล็กที่มีโครงสร้างเรียบง่ายตรงไปตรงมา เพื่อทำหน้าที่ปกป้องแดดและฝน ไม่ใช่สถาปัตยกรรมที่จะชิงเด่นความสำคัญของโบราณสถาน เราเดินผ่านทางเดินที่ทำเป็นสะพานลอยคอนกรีตข้ามส่วนฐานของโบราณสถานบริวารขององค์พระสถูปเจดีย์ ตรงเข้าสู่ศูนย์กลางอันศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง