เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:34
|
|
ตาม็อก ชเว กูจี เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ส.ค. 18, 12:41 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:45
|
|
ที่ผมปั่นกระทู้เต็มที่เมื่อเช้าก่อนพักไปทานอาหาร ก็เพราะกลัวคุณหมอเพ็ญจะปาดด้วยคลิ๊ปนี้แหละ ความจริงผมเตรียมไว้แล้วเหมือนกันที่จะนำมาลงเมื่อถึงเวลาอันควร แต่เอาเถอะไหนๆก็ไหนๆ ไม่เป็นไร ภาพและเรื่องที่ผมจะนำเสนอต่อไปจะลงรายละเดียดที่ไม่ได้หล่าวถึงในคลิ๊ป ใครทียังสนใจอยู่ก็เชิญอยู่ต่อครับ ใครจะออกไปเมือหนังเลิกก็ตามอัธยาศัย
เราเดินชมรอบนอกของพระสถูปก่อนจะหยุดสนทนากันถึงพระพุทธรูปองค์นี้ ผมตั้งข้อสังเกตุว่าส่วนพระนลาฏ(หน้าผาก)ยื่นออกมาผิดธรรมดา ซึ่งพี่วิจิตรตอบว่า ถ้านั่งอยู่กับพื้นที่ควรจะนั่งต่อหน้าองค์พระ ผมก็จะเห็นอีกอย่างหนึ่ง
ื่คุณๆต้องอดใจรอสักหน่อย เดี๋ยวถึงตรงนั้นแล้วผมจะนำภาพมาให้ดูอีกทีพร้อมคำอธิบาย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:53
|
|
หลังจากนั้นแล้วเราก็เดินเข้าไป "ถ้ำทองใหญ่" ช่วงนี้ถ้าดูในคลิ๊ปจะชัดเจนกว่า
ภายในพระสถูป ซึ่งมีลักษณะของอุโมงค์มากกว่าถ้ำ เมื่อเข้าไปแล้วจะพบพระประธานที่จุดศูนย์กลาง พุทธศาสนิกชนชาวพม่าพากันมานั่งสวดมนต์ภาวนาโดยไม่สนใจนักท่องเที่ยว หรือใครจะไปใครจะมา
ผนังของอุโมค์ที่เชื่อมต่อกันนั้น มีพระพุทธรูปโบราณของแท้ประดิษฐานอยู่ทุกทิศ ชาวพม่าจะมาสักการะบูชาไม่ขาดสาย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:54
|
|
พระพุทธรูปเหล่านี้เป็นหินสลัก อายุร่วมพันปีทั้งนั้น ที่ถ่ายมาให้ชมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เห็นลักษณะของซุ้มแล้ว นึกถึงพิมพ์พระสมเด็จมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 09:57
|
|
ฝาผนังบางแห่งที่ความชื้นเข้าไปถึงเต็มที่ ยังมีจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลืออยู่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:01
|
|
โดยเฉพาะส่วนหลังคาโค้ง(vault)ของอุโมงค์ ภาพจะยังคมชัดด้วยสีสันเดิมๆ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:02
|
|
^
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:07
|
|
องค์สุดท้ายก่อนออกจากถ้ำ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประจำวันอังคารวันเกิดของผม
ชาวพม่านิยมเอามือลูบที่องค์ท่านเพื่อขอพรอะไรสักอย่าง จนเป็นคราบดำ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ องค์ท่านแม้จะเป็นหิน แต่ก็สกปรกและสึกกร่อนได้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:16
|
|
เมื่อออกจากฐานพระสถูปมาแล้ว จึงได้พบองค์ที่น่าทึ่งที่สุด ซึ่งนับเป็น High Light ของที่นี่
พระพุทธรูปองค์นี้ อาจารย์วินหม่องเล่าว่า เมื่อได้พบนั้นส่วนพระนาภี(ท้อง)แตกอยู่ก่อนจึงรู้ว่ากลวง เมื่อส่องไฟเข้าไปข้างในได้เห็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง จึงค่อยๆตัดหินออก พบว่าพระพุทธรูปนั้นเป็นพุทธศิลป์แบบพุกาม ซึ่งมีลักษณะกลวงเช่นกัน จึงเปิดช่องออกดู เห็นพระเศียรพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งองค์นี้เป็นพุทธศิลป์คุปตะ หรือที่พบในพม่าเรียกว่าแบบพยู
กล่าวคือ นอกจากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์ครอบทับองค์ที่กษัตริย์พระองค์ก่อนสร้างไว้แล้วนั้น กระทั่งพระพุทธรูป ก็ยังอุตส่าห์สร้างของพระองค์เองครอบของพระองค์อื่นเสียด้วย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:19
|
|
ผนังภายนอกส่วนฐานของพระสถูป จะเห็นลวดลายปูนปั้นอันเป็นศิลปะของพุกาม ที่ตาม๊อก ชเว กู จีนี่งามเลิศประเสริฐศรี เพราะแป้งดินได้ห่อหุ้มรักษาสภาพไว้แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษก็ตาม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:20
|
|
^
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:21
|
|
กล่าวกันว่า ถ้าอยากจะชมศิลปะปูนปั้นแบบพุกามแล้ว ไม่ต้องไปที่ทุ่งเจดีย์ที่เมืองพุกาม เพราะแม้จะมีเจดีย์นับพันๆองค์ แต่ไม่มีที่ใดจะสมบูรณ์พร้อมเท่าที่ตาม๊อก ชเวซูจี
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:21
|
|
จากสื่อของพม่าในเน็ตครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:29
|
|
อาจารย์วินหม่องจะทิ้งร่องรอยที่จะแยกแยะสถาปัตยกรรมต่างยุคสมัยให้ชัดเจน ด้วยการใช้วัสดุเปลือยให้เห็นเนื้อแท้บ้าง การเรียงอิฐที่แตกต่างบ้าง ทำให้รู้ชัดเจนว่าอะไรเป็นของโบราณ อะไรเป็นของสร้างทีหลัง และอะไรเป็นของที่นำมาซ่อมแซม บูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยปัจจุบัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 15 ส.ค. 18, 10:33
|
|
เมื่อขึ้นบันไดเหล็กไว้ไปดูส่วนบน อันเป็นฐานชั้นที่สองของพระสถูปรองรับองค์พระเจดีย์ จะเห็นช่องว่างที่ถูกเว้นไว้ตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อบรรจุผงดินลงไปแทนที่อากาศดังกล่าวไปแล้ว และโปรดสังเกตุเทคนิกของการก่ออิฐ ที่จงใจจะบอกให้ทราบว่าเป็นการก่อส้างในสมัยไหน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|