เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6132 ตามหาข้อมูลเกี่ยวกับพระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)
ปราโมชย์นคร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 13 ส.ค. 18, 19:15

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับพระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)ครับ เพื่อนำไปเขียนบทความลงในวารสารโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
เพราะท่านมีความสำคัญกับโรงเรียนมากครับ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับท่านมีไม่ค่อยเยอะครับ
บันทึกการเข้า
ปราโมชย์นคร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ส.ค. 18, 19:26

ใครมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติม แม้เพียงเล็กน้อยก็มาร่วมแบ่งปันได้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ส.ค. 18, 19:32

ลองสอบถามคุณกุ๊ก (google) ดูแล้ว มีข้อมูลเกี่ยวกับพระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต) มากพอสมควร คุณปราโมชย์นครลองแย้มข้อมูลที่ทราบมาประเดิมก่อน หากขาดตกบกพร่องประการใดจะได้เพิ่มเติมให้ภายหลัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 15:28

ผ่านไป ๓ สัปดาห์ คุณปราโมชย์นครคงไม่กลับมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)

หนังสือประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์ในวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๐๔ มีประวัติของท่านอยู่ในหน้า ๓๑-๓๕

http://news.ksp.or.th/ksplibrary/components/com_booklibrary/ebooks/2504.pdf


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 15:30

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 15:55

พระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)
หรือ พระมหาแก้ว ปธ.๔ อดีตครูพระภิกษุของโรงเรียนวัดนวลนรดิศรุ่นแรก

เกื้อ ศาลิคุปต : ผู้เรียบเรียง


พระยาภักดีนฤเบศร์ คุณพ่อของดิฉัน เกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๑๓ ที่ตำบลคอกกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ท่านมีพี่น้องรวมแปดคน เป็นหญิงสามคน ชายห้าคน

๑.นางเล็ก พิบูลย์เวช
๒.นายขุ้ย ศาลิคุปต
๓.มหาอำมาตย์ตรี พระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)
๔.มหาเสวกตรี พระยาเอนกนิธิกรรม์ (เฉย ศาลิคุปต)
๕.นางเทศ บุตรฉ่ำ
๖.อำมาตย์เอก พระยาวิสูตรเกษตรศิลป์ (ขำ ศาลิคุปต)
๗.นางเชย พุ่มพฤกษ์
๘.นายไข่ ศาลิคุปต

การศึกษาขั้นแรกของท่าน ได้เล่าเรียนกับปู่ชื่อนายเขียว ศาลิคุปต เมื่อถึงฤดูว่างจากการทำนา ปู่ใช้ลานบ้านปลูกเป็นเพิงหลังคาจาก สำหรับสอนหนังสือบุตรหลานและเด็ก ๆ ทั้งหญิงชายในละแวกบ้านนั้น ในศตวรรษที่แล้วมา หนังสือเป็นของมีค่าหายาก ปู่จึงต้องสอนหนังสือจากความจำ ปู่จำบทประพันธ์ได้เป็นเล่ม ๆ เช่นโคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น แล้วเขียนให้นักเรียนอ่าน ห้องเรียนของปู่มีเครื่องเล่นไว้พร้อม เช่นว่าวหลายชนิด พร้อมทั้งป่านชักว่าว ใครอ่านเขียนตามที่กะไว้เฉพาะวันนั้นเสร็จแล้ว ก็ออกเล่นได้ คุณพ่อเคยเล่าว่า ท่านอุตส่าห์ทำงานให้เสร็จเร็ว ๆ เพื่อออกไปเล่นว่าว แต่ปู่กลับให้ช่วยสอนเด็กอื่น ๆ ควรเล่าในที่นี้ด้วยว่า ต่อมาในทุ่งบ้านนั้น มีแต่บุตรชายของปู่เท่านั้นที่เข้ามารับราชการ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาถึง ๓ คน คือ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว) มหาเสวกตรี พระยาอเนกนิธิกรรม์ (เฉย) และ อำมาตย์เอก พระยาวิสูตรเกษตรศิลป์ (ขำ)

เมื่อเรียนภาษาไทยได้ดีพอสมควรแล้ว ปู่จึงฝากคุณพ่อให้เรียนหนังสือตัวขอมที่วัดราชรังสรรค์ ตำบลคอกกระบือ กับพระอาจารย์ฤทธิ์ วันหนึ่งพระสาสนานุรักษ์ วัดประยูรวงศ์ ไปเทศน์ที่วัดนี้ ก็เลยชวนคุณพ่อให้มาอยู่วัดประยูรวงศ์ด้วยกัน เวลานั้นคุณพ่ออายุได้ ๑๐ ขวบ พอมาอยู่ที่วัดนี้ได้หน่อยหนึ่ง ก็บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระสาสนโสภณ (อ่อน) ขณะที่เป็นสามเณรอยู่สอบภาษาบาลีได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค แล้วไม่ได้สอบอีกต่อไป เพราะพระสาสนานุรักษ์ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ ตำบลปากคลองภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี และได้ขอให้คุณพ่อซึ่งขณะนั้นเป็นสามเณรแก้ว ย้ายตามมาด้วย

วัดนวลนรดิศเวลานั้นอยู่ในสภาพราวป่าชัฏ มีหญ้าคาเถาวัลย์ขึ้นรกรุงรัง นอกจากช่วยกันซ่อมแซมวัดแล้ว พระสาสนานุรักษ์และคุณพ่อได้จัดการตั้งโรงเรียนขึ้น วัดนวลนรดิศเป็นวัดของต้นตระกูลบุนนาคสร้างไว้ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์จึงสนับสนุนการตั้งโรงเรียนนี้มาก พระสาสนานุรักษ์และคุณพ่อได้ชักชวยให้ชาวบ้านส่งบุตรหลานมาโรงเรียน สมัยนั้นการศึกษาเล่าเรียนไม่สำคัญ ไม่มีใครในละแวกบ้านนี้นิยม ในปีแรกคุณพ่อมีนักเรียนเพียง ๖ คน วิชาที่สอนมีภาษาไทย อ่าน เขียน และเลขซึ่งเรียนจนถึงโจทย์หน้าไม้ ครั้นถึงเวลาสิ้นปี ส่งนักเรียนเข้าสอบประโยคหนึ่ง ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาย สอบได้ ๒ คน ปีที่สองสอบได้ ๖ คน ปีที่สามสอบได้ ๑๒ คน นักเรียนเหล่านี้มีหลายคนพอสอบไล่ได้ประโยคหนึ่งแล้วก็เข้ารับราชการทันที คราวนี้ชาวบ้านเกิดความนิยมส่งบุตรหลานมาเรียนโดยมิต้องชักชวน ตลอดเวลาที่คุณพ่อเป็นครู หาได้รับเงินเดือนหรือค่าเรียนจากชาวบ้านไม่ รัฐบาลจ่ายเงินสำหรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ประโยคหนึ่งให้ท่านเป็นรางวัลเพียงคนละ ๔ บาทเท่านั้น แต่คุณพ่อก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้แรกเริ่มก่อประทีปแห่งการศึกษาผู้หนึ่ง สามารถปลุกชาวบ้านแถบนี้ให้ตื่นขึ้น จนเกิดความนิยมส่งบุตรหลานของตนเข้าโรงเรียน เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมวัดนวลนรดิศตลอดมาจนบัดนี้

ครั้นคุณพ่อมีอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ได้อุปการะอุปสมบทให้ที่วัดนวลนรดิศ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นอุปัชฌาย์ คุณพ่อได้บวชเป็นพระภิกษุอยู่ ๕ พรรษา ใน พ.ศ.๒๔๓๙ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้แนะนำให้ลาจากสมณเพศเข้ารับราชการเป็นเสมียนเอก ในกรมบัญชาการกระทรวงธรรมการ เป็นอันว่าหน้าที่ครูของท่านต้องสิ้นสุดลงอย่างน่าเสียดาย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 15:55

ในฐานะที่คุณพ่อมีเลือดเป็นครู เมื่อได้เข้ารับราชการในกระทรวงครู การงานที่ท่านได้ปฏิบัติไป จึงเหมาะสมและก้าวหน้า ปรากฏตามประวัติที่ได้เลื่อนตำแหน่ง จากเสมียนจนถึงได้เป็นเจ้ากรมราชบัณฑิต เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็น มหาอมาตย์ตรี พระยาภักดีนฤเบศร์ ได้รับพระราชทานตราทวิติยาภรณ์ช้างเผือกเป็นที่สุด ในส่วนราชการพิเศษ อันเนื่องจากคุณงามความดีของท่านนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีถึงสองรัชกาล คือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังเคยเป็นกรรมการจัดการสอบวิชาทำสวน เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ อีกด้วย

การที่คุณพ่อเขยิบฐานะตั้งแต่เสมียนขึ้นมาได้ถึงชั้นนี้ ก็อาศัยความซื่อสัตย์พากเพียรอดทนต่อการงานอันเป็นสมบัติของครูโดยแท้ ขณะที่เป็นเสมียนนั้น คุณพ่ออาศัยอยู่ในบ้านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ โดยปรกติในสมัยนั้น เสนาบดีกระทรวงธรรมการทำงานอยู่ที่บ้านเป็นประจำเป็นส่วนมาก คุณพ่อเคยเล่าว่า เสมียนต้องเขียนหนังสือทั้งกลางวันและกลางคืน บางทีติดต่อกันเรื่อยไป เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ท่านหลับง่าย บอกหนังสือค้างไว้แค่ไหน ตื่นขึ้นมาก็บอกต่อได้ บางที่ราชการด่วน เจ้ากระทรวงต้องมีจดหมายติดต่อกันในยามดึก คุณพ่อต้องเป็นคนเดินจดหมาย ข้ามเรือที่ท่าโรงยา (คือบริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า) เดินมาที่พระบรมมหาราชวังและเดินกลับบ้าน คุณพ่อบอกว่าท่านได้ดี เพราะมีครูดี ปู่ ครูคนแรกของคุณพ่อใจดี แต่ลูกทุกคนต้องอยู่ในระเบียบ วิชาความรู้ส่วนมากในการทำราชการ คุณพ่อเรียนจากเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ทำไป เรียนไป ส่วนในหน้าที่ครู เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ก็สอนให้ด้วยความเมตตา คุณพ่อเคารพนับถือเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ดุจบิดาของท่าน

คุณพ่อได้แต่งแบบเรียนสำคัญไว้เล่มหนึ่ง ใน พ.ศ.๒๔๖๔ ชื่อเรื่อง “พระพุทธศาสนา” ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการดำริจะนำมาใช้เป็นแบบเรียนภาษาไทยสำหรับชั้นมัธยมปีที่ ๕ หนังสือเล่มนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก  ปรากฏว่าวันหนึ่ง คุณพ่อไปเฝ้ารับเสด็จในงานพระราชพิธีครั้งหนึ่ง เจ้าพระยารามราฆพ เขียนนามบัตรให้มหาดเล็กถือมาส่งให้ ความว่า จะพระราชทานตราช้างเผือกให้คุณพ่อ ขณะทรงคล้องตราพระราชทานให้ รับสั่งว่า พอพระทัยหนังสือเล่มนี้มาก

คุณพ่อเขียนหนังสือธรรมะไว้อีกหลายเล่ม เช่น เขมสรณคมน์ อริยสัจย่อ กับอารักขธรรมกถา ธรรมวิภาคบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้แล้ว ยังมีงานหนังสือสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ท่านได้ให้ไว้แก่วงงานของครูสมัยนั้น คือการแต่งสักวา หรือโคลงกระทู้แก้กัน ซึ่งถือกันว่าเป็นภาษาไทยที่สำคัญแขนงหนึ่งตลอดมาจนทุกวันนี้ ท่านได้ให้ตัวอย่างไว้ในหนังสือ วิทยาจารย์ หลายบท โคลงกระทู้ของท่านบทหนึ่งถือกันว่าไพเราะมาก ทั้งความและคำ อันควรที่จะยึดถือไว้เป็นตัวอย่างคือ

 หัว         เราใครว่าล้าน     ช่างเขา เถิดเวย
 ล้าน       ก็ล้านเป็นเงา       เช่นแก้ว
 นอก       ครูเพราะครูเรา     ก็นอก ครูแฮ
 ครู         ว่าเจ้าถูกแล้ว       เพราะล้านเหมือนครู

คุณพ่อรับราชการอยู่ได้ ๓๑ ปี กับ ๓ เดือน ก็ลาออกรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ ตลอดเวลานอกราชการ ๖ ปีเศษ นอกจากใช้เวลาว่างเขียนหนังสือ ท่านจังไปดูแลเรือกสวน ถึงวันพระก็ไปสดับพระธรรมเทศนา ณ วัดนวลนรดิศ และไปสนทนาธรรม ณ วัดต่างๆ คุณพ่อถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ คำนวณอายุได้ ๖๔ ปีเศษ (พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๗๗) บุตรชายหญิงที่มีชีวิตอยู่มี

นางสาวเกื้อ ศาลิคุปต M. Ed.
นายกิ่ง ศาลิคุปต์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต
คุณหญิงอุศนา ปราโมช ต.จ.
นายอุทัย ศาลิคุปต์ สัตว์แพทย์บัณฑิต

รายชื่อผลงานบางส่วน
พระพุทธศาสนา / พระยาภักดีนฤเบศร์ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ๒๔๗๘
นิบาตชาดกฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ   พระยาภักดีนฤเบศร (แก้ว ศาลิคุปต) เปรียญ ๔ ประโยค วัดนวลนรดิศ แปล ๗ เรื่อง

จาก https://www.facebook.com/156701377689213/posts/1430652150294123/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 16:06

ชอบประวัติของบรรพชนค่ะ  ทำให้ได้เห็นวัฒนธรรมความเป็นอยู่สมัยนั้นด้วย  บางเรื่องก็ไม่อาจหาอ่านได้ในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเกร็ดที่น่าสนใจยิ่ง

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูมากค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 09:25

พระยาภักดีนฤเบศร์ (แก้ว ศาลิคุปต)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 09:30

ศาลิคุปต เป็นหนึ่งในนามสกุลพระราชทานสำหรับผู้อยู่ในตระกูลชาวนา

นามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล

สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1290.PDF



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 09:33

ใบพระราชทานนามสกุล


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 09:49

ผมมีรุ่นพี่ ที่นามสกุลนี้ครับ สอบถามได้ความว่า คุณทวดคือ พระยาเอนกนิธิกรรม์ (เฉย ศาลิคุปต)

แต่ปัจจุบัน รุ่นพี่ผมไม่ได้สะกดนามสกุลว่า ศาลิคุปต แล้ว เห็นว่า เกิดจากตอนเรียนมัธยมอาจารย์บอกว่าไม่ถูก ต้องมี ต์ รวมทั้งพี่ผมก็ไม่ทราบมาก่อนเลยว่า มีใบพระราชทานนามสกุลด้วย (เขาว่า ถ้ารู้งี้ ได้เอาไปยันกับอาจารย์ไปเสียตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว)

ผมเปิดกระทู้เก่า เกี่ยวกับการขอใบพระราชทานนามสกุลเก่าให้พี่ผมดูแล้วครับ พี่เขาสนใจมาก

ทีนี้ ผมมีเพื่อนที่นามสกุล "ณ ลำพูน" อีก รายนั้นก็สนใจเช่นกัน จึงเอาลิงค์ที่อยู่ในเรือนไทยนี้ไปค้นต่อ แล้วก็พบว่า นามสกุลพระราชทานสะกดต่างจากในปัจจุบันเช่นกันครับ กล่าวคือ ในเอกสารระบุว่า "0866 ณ ลำภูน na lampbhu^n เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (น้อยจักรคำ) เจ้าผู้ครองนครลำภูน" เจ้าตัวยังลังเลว่าจะไปเปลี่ยนให้เหมือนเดิมดีหรือไม่

ไล่ดูเอกสารหน้าเดียวกัน ก็พบ "ณ ร้อยเอ็จ na Roi Ech พระยาขัตติยวงษา เอกาธิกะสตานันต์ (เหลา)" อีกท่านหนึ่ง ที่ชื่อเมืองสะกดไม่เหมือนเดิม  

    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 10:58

เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

ณ ลำภูน

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2194_3.PDF



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 11:00

ณ ร้อยเอ็จ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/63.PDF



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 11:39

การสะกดคำแตกต่างกันไปตามยุคสมัยค่ะ   
นามสกุลพระราชทานหลายนามสกุลมาเจอภาษาไทยยุควัธนธัมของจอมพล ป. เข้า ต้องเปลี่ยนกันอุตลุด
ปัจจุบันนี้ แม้นามสกุลพระราชทานเดียวกัน ลูกหลานก็ยังสะกดแตกต่างกันไปในทะเบียนบ้าน  และบัตรประจำตัวประชาชน
ราชสกุล นวรัตน ของคุณ NAVARAT.C  ก็เข้าข่ายนี้ค่ะ  ท่านเคยเล่าไว้ในเรือนไทย

ดิฉันไม่ทราบว่าทางวังพญาไทยังมีโครงการพิมพ์นามสกุลพระราชทานให้ผู้ติดต่อขอไป เป็นใบคล้ายๆประกาศนียบัตรแบบนี้หรือเปล่า
ต้องถามผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณ V_Mee   
หากว่ายังมี  เพื่อนๆคุณนริศจะได้ไปขอมาประดับบ้านเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลต่อไป


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง