เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 13586 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 14 ส.ค. 18, 20:37

การกระทำหรือการทำงานเพื่อค้นหาหรือแสวงหาสิ่งใดๆที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงหรือที่อยู่นอกเหนือตำราหรือเอกสารที่มิได้เคยมีการบันทึกใดๆมาก่อนเลย นั้น  หลักในการดำเนินการอย่างหนึ่งที่นำมาปฎิบัติกัน  จะเรื่มด้วยการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จริง และเรื่องราวความเป็นจริงเท่าที่เคยเกิดมาที่ใกล้เคียงหรือที่พอจะเทียบเคียงได้  เพื่อจะได้รู้ถึงสิ่งที่เป็นแก่นหรือเป็นแกนร่วมของสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น   กระบวนการกระทำงานในด้านนี้จัดอยู่ในเรื่องที่เรียกว่า empirical approach ในภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กระบวนการสืบค้นแบบเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

เมื่อมีความมุ่งมั่นว่าจะว่าจะต้องประสบผลสำเร็จ ก็จำเป็นจะต้องเอาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาทางทฤษฎีหรือผลจากการทดลองทางทฤษฎีที่เป็นแก่น เอามาผนวกเข้าด้วยกันแล้วดูความเป็นไปได้มากที่สุดว่าเงื่อนไขที่เป็นหัวใจจริงๆของความสำเร็จนั้นๆคืออะไรและภายใต้เงื่อนไขยิ่งยวดอะไร  กระบวนการกระทำงานในด้านนี้จัดอยู่ในเรื่องที่เรียกว่า theoretical approach ในภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กระบวนการสืบค้นความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี

เอาทั้งสองของข้อมูลที่เป็นแก่นนี้มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อประเมินความเป็นไปได้ โอกาสของความสำเร็จ และความเสี่ยงต่างๆ แล้วจึงตัดสินใจจะลงมือปฎิบัติหรือไม่ปฎิบัติการใดๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 18:05

พักกระบวนการคิดไว้ก่อน  มาดูกระบวนการกระทำ

ในกระบวนการกระทำก็จะมีอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านการบริหาร และด้านปฎิบัติการ

ด้านบริหารนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีหัวหน้าใหญ่ของทีม ทำหน้าที่ในด้านงานอำนวยการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดำเนินงานต่างๆให้สามารถดำเนินการหรือปฎิบัติการไปได้ด้วยดี เพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้  บุคคลผู้นี้ ในแนวคิดที่ผมอ้างถึงนั้น เขาใช้คำว่า Sponsor  ซึ่งมิใด้หมายถึงผู้ให้การอุปถัมภ์ (สนันสนุนเงินทุน...) ในความหมายตามที่เราเข้าใจกันตามปกติ (ซึ่งไปตรงกับคำว่า Foster)

เมื่อสปอนเซอร์ในที่นี้มีหน้าที่ทำเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการ ก็จะหมายถึงบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่อยู่ในระดับที่สามารถจะไปเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจในระบบของทรัพยากรที่เราต้องการนั้นๆ   ซึ่งก็แน่นอนว่าผู้ที่อยู่ในระดับสปอนเซอร์นี้ย่อมจะไม่มีความรอบรู้ในรายละเอียดของโครงการซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีเรื่องในด้านเทคนิดเฉพาะทางมาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 18:41

ก็จำเป็นที่จะต้องมีหัวหน้าทีมในด้านปฎิบัติการ ที่จะสามารถแปลเรื่องยากทางเทคนิคให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย สามารถอธิบายถ่ายทอดความต้องการอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หรือทรัพยากรใดๆที่แปลกหรืออาจจะดูไม่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆเลย  บุคคลนี้หรือกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่มีพื้นฐานมากพอในความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านเทคนิควิชาการและในด้านระบบการบริหารจัดการ ทำหน้าที่สื่อสารและประสานกับสปอนเซอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการของผ้ปฎิบัติงาน  ในภาพดังกล่าวนี้ตามปกติเราจะนึกถึงคำว่า ที่ปรึกษา (Adviser)  แต่ด้วยที่มิใช่เป็นการทำงานในลักษณะของการ ถามมา-ตอบไป    เขาก็ใช้คำว่า Mentor (ซึ่งก็แปลเป็นไทยว่าที่ปรึกษา) ผู้สันทัดกรณี ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 19:09

ก็มาถึงผู้ปฎิบัติ    ในงานหนึ่งๆก็จะประกอบไปด้วยคนที่จบมาจากต่างสาขาวิชา ต่างวิชาชีพ ต่างอาชีพ ต่างความสันทัด หลากหลายความรู้ ที่เรียกเป็นนัก...ต่างๆเหล่านั้น    กลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ปฎิบัติงานที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ทำงานเชื่อมโยงประสานกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ภาษาไทยก็น่าจะเรียกว่า กลุมผู้ทำงาน ซึ่งคงจะใช้คำภาษาอังกฤษได้หลายคำ ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน (ก็เช่น actors, operators, workers...)   

สุดท้ายก็คือผู้ใช้หรือผู้ได้รับประโยชน์ที่ได้จาการดำเนินการนั้นๆ จะตรงกับคำว่า Beneficiary   (ผมติดปากใช้คำว่า User ในงานที่ผมเคยทำครับ)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 15 ส.ค. 18, 19:36

ดูเหมือนเรื่องราวในกระบวนการดำเนินการช่าวเหลือ 13 หมูป่าทั้งหลายนั้น อยู่ในกรอบของหลักการที่ได้กล่าวถึง แล้วก็คิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและทุกระดับ ได้ตระหนักถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ การให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และรู้ถึงขอบเขตอันพึงกระทำการของตน   

เป็นเรื่องที่สมควรได้รับยกย่องอย่างแทัจริง

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 18:48

การดำเนินและการปฎิบัติการความช่วยเหลือในครั้งนี้  เต็มไปด้วยเรื่องทางเทคนิคและวิชาการเฉพาะทาง ในระดับที่ต้องมีองค์ความรู้ลึกลงไปถึงด้านทฤษฎี หลากหลายสาขาวิชา และหลากหลายความเชี่ยวชาญและความชำนาญการเฉพาะทาง    ยากที่ท่านผู้ว่าฯจะมีความรู้ครอบคลุมในทุกเรื่องลึกไปถึงระดับนั้น และยากที่จะเข้าใจถึงความต้องการของผู้ชำนาญการเฉพาะทางที่กำลังปฎิบัติการอยู่เหล่านั้น

แต่เมื่อมันเป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายว่าจะต้องได้รับความสำเร็จ  ซึ่งท่านผู้ว่าฯมีภาระต้องเป็นผู้แสวงหาทรัพยากรมาให้ทีมงานอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน ก็จึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจมากพอที่จะประมวลและอธิบายความต้องการทางเทคนิคเหล่านั้นในลักษณะที่เข้าใจง่ายๆให้ผู้มีอำนาจ เพื่อที่จะให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนความต้องการต่างๆเหล่านั้น  ตัวอย่างหนึ่งก็น่าจะเป็นบางเรื่องทางด้านเอกสิทธิ์ (immunity)

ในรูปการณ์เช่นนี้ ก็ย่อมจะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างฝ่ายปฎิบัติงานกับฝ่ายอำนวยการ   เป็นเรื่องของการขอ มิใช่เรื่องของการถาม(เพื่อขอความเห็น) ซึ่งผู้ที่ทำงานในระดับนี้สำหรับปฎิบัติการในครั้งนี้ก็มีอาทิ ท่านผู้บัญชาการหน่วยซีล  และหัวหน้าส่วนราชการ   ซึ่งบุคคลเหล่านี้เราคงจะเรียกในองค์รวมว่าที่ปรึกษา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 19:19

ก็ได้ภาพของการสื่อสารที่มีความเข้าใจกันอย่างค่อนข้างจะถ่องแท้ระหว่างฝ่ายผู้ครองทรัพยากร ฝ่ายอำนวยการ และผ่ายปฎิบัติการ   เป็นภาพชองการสื่อสารขึ้นบน-ลงล่างแบบมีแต่สาระ มีแต่ข้อมูลที่ไร้การแต่งเติมเสริมแต่ง เป็นข้อมูลปฐมภูมิวันต่อวัน  และเป็นข้อมูลทุกแง่ทุกมุมในเชิงวิชาการ  แล้วก็เชื่อว่าได้มีการถกกัน หารือกันลึกๆในทางวิชาการในหมู่คนที่ทำงานหรือที่มีความรู้ในศาสตร์เดียวกัน (อย่างน้อยก็บรรดาน้องๆในวิชาชีพเดียวกันกับผมที่อยู่ทั้งในพื้นที่หน้างาน ในเมือง และที่ทำงานอยู่ใน ตปท.ใกล้เคียง)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 16 ส.ค. 18, 19:39

ขอต่ออีกเล็กน้อยครับ

ผมเห็นว่า ในกระบวนการตัดสินใจของท่านผู้ว่าฯและคณะที่นั่งประชุมร่วมกันในแต่ละวันนั้น ว่าจะทำอะไร จะไม่ทำอะไร จะดำเนินการอย่างไร หรือจะไม่ดำเนินการอย่างไร  อยู่บนพื้นฐานของแนวทางปฎิบัติที่เรียกว่า Delphi technique (หรือ Delphi method)  ซึ่งนิยมใช้กันในทางทหารและในการศึกษาเพื่อกำหนดแนวนโยบายของรัฐในด้านการแข่งขันของประเทศ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 17 ส.ค. 18, 08:38

อ่านบทวิเคราะห์ของท่านตั้งติดต่อกันมาหลายคืนแล้ว ผมมีความรู้สึกว่าเมื่อเหตุการณ์เด็กหายเข้าไปในถ้ำเกิดขึ้น ท่านผู้ว่าท่านคงปฏิบัติไปตามสถานการณ์รายวันโดยไม่มีเวลานึกถึงตำรา หรือมีโมเม้นต์อะไรที่ต้องนำมาเทียบกับศัพท์วิชาการที่ท่านตั้งค้นหามา

คือ ท่านคงทำไปตามสิ่งที่ท่านคิดว่าเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้นๆหรือนาทีนั้นๆ  การที่ท่านตัดสินใจถูก(มากกว่าผิด)ในเรื่องสำคัญๆ หัวใจอยู่ที่ว่า ท่านรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ไม่ได้ใช้อำนาจของตำแหน่งทุบโต๊ะสั่ง ผมเชื่อว่า การให้เกียรติผู้ที่ร่วมประชุมทำให้ทุกฝ่ายยินดีที่จะสนับสนุนท่าน ส่วนการตัดสินใจใดๆน่าจะเป็นการตัดสินใจร่วมมากกว่าเป็นความคิดเห็นของผู้ใดผู้หนึ่ง

ถึงท่านจะเรียนมาสูงและมาก ได้ปริญญาหลายใบ ก็ไม่จำเป็นว่าท่านจะมีทฤษฎีทั้งหมดในตำราอยู่ในหัวสมอง ท่านเป็นนักปฏิบัติมากกว่านักวิชาการ นักปฏิบัติที่เก่งจะมีคุณสมบัติของสมองในการประเมินข้อมูลและวิเคราะห์ได้ถูกต้อง (จากประสบการณ์ที่พบจากเหตุการณ์จริงและในหนังสือ รวมถึงนวนิยายนักสืบที่ท่านชื่นชอบ) และออกคำสั่งที่ชัดเจน และที่สำคัญคือ รวดเร็วทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทุกๆนาที
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 17 ส.ค. 18, 09:14

ข้างบนนั้นเป็นเพียงความคาดเดาของผม ส่วนจริงๆจะเป็นอย่างไรต้องรออ่านหนังสือที่ตัวท่านผู้ว่ากล่าวเองว่าอยากจะบันทึกไว้ในลักษณะ Case study หรือกรณีย์ศึกษา สำหรับชาวโลก เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้น ควรจะปฏิบัติอย่างไรโดยไม่ต้องเลือกผิดเลือกถูก(อาจจะ-อย่างที่ท่านทำ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 17 ส.ค. 18, 18:36

ความเห็นของท่าน NAVARAT.C ถูกต้องทุกประการครับ     ในสถานการณ์จริงที่ผ่านมา ท่านผู้ว่าฯและบุคคลากรทั้งหลายในทีมที่ร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือเหล่านั้น คงจะไม่มีผู้ใดนึกถึงตำราและทฤษฎีทางวิชาการใดๆเลย  การกระทำทั้งหมดมาจากกระบวนตัดสินใจเฉพาะหน้าไปตามสถานะการณ์ในลักษณะของการรับฟังข้อมูลและความเห็นซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะจากผู้ชำนาญการในศาสตร์ต่างๆ  ได้ร่วมกันตัดสินใจ แล้วก็ดำเนินการปฎิบัติการแบบเอื้อเฟื้อและสนับสนุนกันและกันทั้งด้านภาคการปฎิบัติและด้านเก็บรวบรวมข้อมูล

ผมเพียงพยายามจะถอดบทเรียนและนำเสนอความเห็นส่วนตนว่า เรื่องราว กระบวนการคิด และการดำเนินการที่ปฎิบัติกันในยามนั้น มันไปอยู่ในกรอบแนวคิดใด หรือในตรรกะของทางวิชาการใดบ้าง         
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 17 ส.ค. 18, 19:02

คำตอบของท่านตั้งทำให้ผมนึกถึงคำพูดของครูบาอาจารย์  มีศิษย์ไปถามว่า ขณะจะเข้าใจแก่นแท้ของธรรมะนั้น  ท่านอาจารย์ได้รู้อะไรตามลำดับบ้าง
ท่านตอบว่า ของเรามันเร็วเหมือนกับลิงตกต้นไม้ พอรู้ตัวก็ถึงพื้นดินแล้ว  แต่บางท่านนั้นท่านรู้ท่านศึกษามามากกว่าเรา ท่านแยกแยะได้ว่าท่านผ่านกิ่งผ่านใบอะไรมาบ้าง และเขียนแจกแจงไว้ในพระคัมภีร์
เมื่อเรามานึกย้อนทบทวนดู  เราก็ผ่านขั้นตอนต่างๆมาเหมือนท่านเช่นกัน  เพียงแต่ว่าในขณะที่เกิดขึ้นนั้นเราไม่เห็น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 ก.ย. 18, 10:56

หมูป่า (ถูกให้) เข้าถ้ำอีกครั้ง คุณคิดอย่างไร ?



ก่อนเดินทางไปร่วมงาน "รวมใจเป็นหนึ่งเดียว" รัฐบาลให้สมาชิกทีมหมูป่าทั้ง ๑๓ คนได้ "ทบทวนความทรงจำ" ผ่านนิทรรศการ "ปฏิบัติการถ้ำหลวง วาระแห่งโลก" ณ ลานไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ สยามพารากอน แม้ที่ผ่านมามีคำขอร้องสื่อมวลชนให้งดสัมภาษณ์และติดตามชีวิตของบรรดาผู้ประสบภัยก็ตาม

นักเตะเยาวชนทั้ง ๑๒ คน (ยกเว้นพระเอกพล) ต้องสัมผัสความมืด แคบ คดเคี้ยว อีกครั้ง เมื่อถูกเชื้อเชิญให้มุดเข้า "ถ้ำหลวงจำลอง" ซึ่งจัดแสดงไว้ที่โซนที่ ๒ "นาทีชีวิตวิกฤตเสี่ยงตาย" จากทั้งหมด ๗ โซน บางคนมีท่าทีลังเลก่อนเข้าไป ขณะที่บางคนก็ยิ้มหัวเราะ

https://www.bbc.com/thai/thailand-45434653
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 ก.ย. 18, 14:22

ถ้าหมูป่าน้อยสมัครใจจะเข้าไปในถ้ำหลวงจำลอง  เพื่อสนุกในการทบทวนการผจญภัยครั้งใหญ่สุดในชีวิตเขา   ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าจำต้องเข้าไปเพราะผู้ใหญ่ให้เข้า  ทั้งๆความทรงจำครั้งนั้นเป็นบาดแผลยังไม่หาย  ยังมีอาการฝันร้าย  หรือขยาดที่จะเอ่ยถึง   ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 ก.ย. 18, 19:00

แพทย์หญิง จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลได้กล่าวถึงกรณีหมูป่า (ถูกให้) เข้าถ้ำอีกครั้งว่า

#ความโชคร้ายไม่ใช่ความบันเทิง

“นักเตะเยาวชนทีมหมูป่าทั้ง ๑๒ คน ต้องสัมผัสความมืด แคบ คดเคี้ยว อีกครั้ง เมื่อถูกเชื้อเชิญให้มุดเข้า "ถ้ำหลวงจำลอง" ซึ่งจัดแสดงไว้ที่โซนที่ ๒ "นาทีชีวิตวิกฤตเสี่ยงตาย”

บางคนมีท่าทีลังเลก่อนเข้าไป ขณะที่บางคนก็ยิ้มหัวเราะ: สำนักข่าว BBC Thai

........................

ภายใต้รอยยิ้มร่า...
ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบาดแผล

บาดแผลหลายบาดแผล
มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

มองไม่เห็น... ไม่ได้แปลว่าไม่มี

บาดแผลหลายบาดแผล
หายได้ ถ้าไม่ไปสะกิดซ้ำ ๆ

การที่ทีมหมูป่าต้องเจอเรื่องยากลำบาก กระทบกระเทือนจิตใจ อาจไม่ใช่เรื่องที่ควรนำมาพูดถึงด้วยความสนุกสนาน

เราไม่จัดเหตุการณ์จำลอง เอาไม้มาตีกันแรง ๆ เพื่อการเรียนรู้ว่าเด็กที่ถูกกระทำรู้สึกอย่างไร...

เราไม่จัดเหตุการณ์จำลองการถูกข่มขืน เพื่อให้ผู้คนเรียนรู้ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน...

เหตุการณ์คับขันในชีวิตคนอื่น มันอาจไม่ใช่เรื่องสนุกของพวกเค้า

การสร้างถ้ำจำลอง โดยให้ทีมหมูป่าลองเข้าไปใหม่

ไม่แน่ใจว่าจะเกิดประโยชน์และพัฒนาอะไรให้กับพวกเค้าจริง ๆ

แต่อาจเสี่ยงซ้ำรอยสะกิดแผลเก่า ๆ ของเด็ก ๆ หลายคน

แผลเก่า... ที่อาจมองไม่เห็นผ่านรอยยิ้ม

............................

PTSD (post traumatic stress disorder) ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ และผ่านไปง่าย ๆ (ไม่ได้แปลว่าในทีมจะมีใครเป็น)

มันบั่นทอนการใช้ชีวิต กระบวนการคิด และหลายครั้งก็เรื้อรังจนส่งผลเสียหาย

คงจะดี....

ถ้าคนจะมองประโยชน์และโทษที่จะเกิดกับเด็ก ๆ เหล่านี้

มากกว่าความบันเทิงที่จะได้รับ... กับตัวเอง

#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้ไม่แน่ใจว่าการมุดถ้ำจำลองของทีมหมูป่า เป็นประโยชน์... กับชีวิตใคร

https://www.facebook.com/1383393308644684/posts/2113128375671170/


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.213 วินาที กับ 20 คำสั่ง