เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 13676 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 ก.ค. 18, 21:00

https://www.thairath.co.th/content/1336369

ครูบาบุญชุ่ม ร่วมสวดมนต์ถวายสวัสดิมงคล เข้าเฝ้าพระสังฆราช


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 ก.ค. 18, 17:07

.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 ก.ค. 18, 21:30

ปรากฎการณ์! สื่อนอกพร้อมใจยิงสดเปิดใจ'หมูป่า'กระหึ่มทั่วโลก
http://www.naewna.com/inter/352465
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ก.ค. 18, 08:25

เรื่องเล่าจากหมูป่า
หลังออกมาจากถ้ำหลวง
เรื่องจริงสิ่งทั้งปวง
บันทึกไว้ให้ทราบกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ก.ค. 18, 11:40

คำเตือนจากรุ่นพี่
ด้วยหวังดีกับน้องหนา
ระวังสังคมพา
หวนสู่ถ้ำดำมืดมน


อดีตคนงานเหมืองทองคำชิลีที่เคยติดอยู่ในเหมืองใต้ดินนาน ๖๙ วันเมื่อ ๘ ปีก่อนให้คำแนะนำเยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีและโค้ชของไทย โดยเล่าประสบการณ์เรื่องปัญหาที่ประดังเข้ามาในชีวิตหลังเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก

นายหลุยส์ เออร์ซัว วัย ๖๒ ปี หนึ่งในคนงาน ๓๓ คน แนะนำเด็ก ๆ ให้อยู่กับครอบครัวเอาไว้ อย่าสนใจข้อเสนอการเงินที่หลายฝ่ายพากันหยิบยื่น ตัวเขาเองหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาก็ถูกรุมล้อมไปด้วยสื่อมวลชนมาขอสัมภาษณ์ ทนายความอาสาเป็นตัวแทนดูแลเรื่องสัญญาผลประโยชน์ นักการเมืองโหนกระแส เยาวชนไทยและครอบครัวไม่สามารถรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้แน่นอน เขาและเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยังไม่สามารถรับมือได้เลย นายเออร์ซัวเผยว่า เขาและครอบครัวสวดภาวนาระหว่างติดตามข่าวทุกวัน ขอยกย่องทางการไทยที่รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างรอบคอบ ไม่เปิดเผยตัวเด็กและดูแลเรื่องสุขภาพอย่างดีเยี่ยม เด็ก ๆ จะต้องค่อย ๆ กลับเข้าสู่สภาพแวดล้อมเดิมทีละน้อย และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อพร้อมจะเล่าแล้วเท่านั้น

นายโอมาร์ เรย์กาดาส อดีตคนงานเหมืองอีกคนยอมรับว่า ติดตามข่าวการช่วยเหลือเยาวชนไทยที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนจนตัวเองเครียดและต้องไปรับการบำบัด ขณะที่นายฆอร์จ กัลเยกียอส วัย ๖๔ ปี เล่าว่า ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน จากคนงานเหมืองธรรมดากลายเป็นคนดังระดับโลก ได้รับเชิญไปฮอลลีวูด ไปอิสราเอล เข้าทำเนียบประธานาธิบดีชิลี ใคร ๆ ก็พูดถึง ลงข่าวทุกสื่อ คนนั้นคนนี้รับปากให้โน่นให้นี่ แล้วไม่นานก็ถูกลืม หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นกับทีมเยาวชนไทย


http://www.mcot.net/view/5b456befe3f8e4f605861de4?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ก.ค. 18, 17:05


https://www.facebook.com/search/top/?q=Wassana%20Nanuam%20%20%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B9%8C


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 11:01

ABC ของออสเตรเลีย ทำสารคดีเรื่องการกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในรายการ Four Corners โดยมีไฮไลต์คือการสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ ผู้บังคับทีมช่วยเหลือของสหรัฐ และคู่ดำน้ำของ Dr. Richard Harris ชาวออสเตรเลีย



Jason Mallinson นักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษที่เราน่าจะจำกันได้ให้กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งในภารกิจที่ยากที่สุด อันตรายที่สุด และเสี่ยงที่สุดที่เขาเคยทำ ไม่ใช่ในแง่ของความปลอดภัยของเขา แต่เป็นในแง่ของความปลอดภัยของคนที่เขาจะต้องรับผิดชอบ เขาไม่เคยทำอะไรที่เสี่ยงขนาดนี้มาก่อน และคิดว่าคงจะไม่ต้องทำอะไรแบบนี้อีกแล้ว แต่นั่นเป็นทางเลือกเดียวในตอนนั้น

เขาเสริมว่าตัวเขาเองมั่นใจว่าจะพาตัวเองออกมาได้ มั่นใจว่าจะเชือกนำทางจะไม่หลุดมือ มั่นใจว่าจะนำเด็กออกมาได้ แต่เขาไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ว่าเด็กที่นำออกมาจะมีชีวิตอยู่หรือไม่

เช่นเดียวกับนาวาอากาศตรี Charles Hodges ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมกู้ภัยของสหรัฐที่ทำหน้าที่รับเด็กจากนักดำน้ำและตรวจสอบสุขภาพเด็กในโถง ๓ กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่ภารกิจนี้จะสำเร็จนั้นต่ำมากเท่าที่จะนึกออก เขาทำใจไว้ว่าอาจจะต้องมีเด็ก ๓, ๔ หรือ ๕ คนที่เสียชีวิตในระหว่างการกู้ภัย และเขาก็บอกกับท่านผู้ว่าไปว่าเขามั่นใจว่ามีโอกาสที่ภารกิจจะสำเร็จ ๖๐ - ๗๐ %

เขายังเผยว่าการดำน้ำพาเด็กออกมานั้นเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ แต่ถ้าให้เด็กอยู่ในนั้นเป็นเวลา ๔ - ๕ เดือน และประมาณการว่าจะต้องเตรียมอาหารแห้งให้เด็กขั้นต่ำสุดวันละ ๑ มื้อ เท่ากับจะต้องเตรียมอาหารถึง ๑,๘๐๐ มื้อเป็นอย่างน้อยเข้าไปข้างใน ซึ่งไม่มีที่พอในถ้ำ และจะต้องใช้การดำน้ำเข้าออกถึง ๑๘ เที่ยว ดังนั้นการให้เด็กรอคนหมดหน้าฝนจึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปไม่ได้ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากฝนที่กำลังเข้ามาซึ่งอาจทำให้นักดำน้ำไม่สามารถส่งอาหารได้ครบตามที่คำนวณไว้

เขาเสริมว่าเขารู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ไม่เพียงแต่มันจะเป็นข่าวดี แต่เด็ก ๆ ยังได้กลับไปพบผู้ปกครอง และนั่นคือสิ่งสำคัญที่อยู่ในใจของเขา

และหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญก็คือ Dr. Richard Harris และคู่บัดดี้ดำน้ำคือ Craig Challen ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพเด็ก ๆ และให้ยาระงับอาการตกใจก่อนที่จะนำเด็กออกมา รวมถึงประเมินสุขภาพเด็กตลอดทาง ซึ่งเขาเป็นฟันเฟืองสำคัญในความสำเร็จของภารกิจนี้

Jason Mallinson ยังบอกอีกว่าถ้าไม่มี Dr. Richard Harris ภารกิจนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเขาอยู่กับเด็ก ๆ พูดกับเด็ก ๆ ทำให้เด็กสงบลง ด้วยความเชี่ยวชาญจากการเป็นแพทย์ฉุกเฉิน (คุณหมอ Harris เป็นแพทย์ในบริษัท medSTAR ซึ่งเป็นบริษัทขนย้ายผู้ป่วย - ผู้แปล)

ส่วนคู่บัดดี้ของคุณหมอคือ Craig Challen (ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ - เพ็ญชมพู) เผยว่าพวกเขาเกือบพลาดรับโทรศัพท์จากรัฐบาลไทยที่โทรมาขอความช่วยเหลือ เพราะเขาจัดกระเป๋าเตรียมไปเที่ยวทุ่ง Nullarbor ในออสเตรเลียใต้เรียบร้อยแล้ว แต่กลับกันพวกเขาต้องรื้อของทุกอย่างออก เตรียมอุปกรณ์ดำน้ำให้พร้อม และไปสนามบินภายใน ๔๕ นาที

ทั้งสองเดินทางมาถึงถ้ำหลวงในวันที่ ๖ ก.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ จ่าเอกสมาน กุนัน (ยศในขณะนั้น) เสียชีวิต เมื่อถูกถามว่าข่าวการเสียชีวิตของจ่าเอกสมานทำให้ตระหนักถึงอันตรายของภารกิจมากขึ้นหรือไม่ Craig Challen กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยว่านี่เป็นภารกิจที่อันตราย แต่เราซึ่งเป็นนักดำน้ำในถ้ำนั้นสามารถดูแลตัวเองได้เพราะนี่คือสิ่งที่เราทำมาตลอด แต่สำหรับคนอื่น ๆ และ หน่วยซีลของกองทัพเรือไทย ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถสูงมากแต่นี่ไม่ใช่สภาวะแวดล้อมที่พวกเขาคุ้นเคยและได้รับการฝึกมา

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เสริมว่าเมื่อจ่าเอกสมานเสียชีวิต ทุกคนพักภารกิจ ถอยออกมา และมาประเมินความเสี่ยงกันใหม่ว่ามีความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ตระหนักว่ามันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะสุดท้ายก็ยังมีเด็ก ๆ และโค้ชที่ต้องช่วยออกมาอยู่ดี ดังนั้นยังไงเราก็ต้องเดินหน้าต่อ ดังนั้น แม้ว่าการเสียชีวิตของจ่าเอกสมานจะเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและในใจของเขาก็ระลึกว่าจ่าเอกสมานคือวีรบุรุษของคนไทยและคนทั้งโลก แต่พวกเขาก็รอช้าไม่ได้ และพวกเขาจะไม่ปล่อยให้การเสียชีวิตของจ่าเอกสมานต้องสูญเปล่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 11:02

หลังจากการค้นพบเด็ก ๆ แล้ว ทีมกู้ภัยทุกคนเริ่มรู้ตัวลึก ๆ ว่าการนำเด็กออกมาด้วยการดำน้ำคงต้องเป็นทางเลือกเดียว ทางหน่วยซีลของไทยได้เข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทยเพื่ออธิบายให้ท่านฟัง รวมถึงทีมกู้ภัยทั้งหมดที่อธิบายแผนการเป็นขั้นเป็นตอนให้กับท่านรัฐมนตรีฟัง ซึ่งตัวนาวาอากาศตรี Charles Hodges มั่นใจว่าแผนจะได้รับการอนุมัติเพราะเขาเชื่อว่าแผนการนี้ได้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี

นาวาอากาศตรี Charles Hodges กล่าวกับท่านรัฐมนตรีว่า ท่านครับ โลกทั้งโลกกำลังดูเราอยู่ เรามีเด็ก ๑๒ คนและโค้ชติดอยู่ในถ้ำ และเรามีความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์เป็นอย่างมาก แต่โชคร้ายที่ในสถานการณ์แบบนี้เราจะไม่ใช้อารมณ์ ดังนั้นเราตัดสินใจทุกอย่างด้วยเหตุและผลและพยายามเอาอารมณ์ออกทั้งหมด และตอนนี้สถานการณ์มาถึงจุดที่เหลือทางเลือกเพียงทางเลือกเดียว และถ้าไม่ตัดสินใจที่จะดำน้ำพาเด็กออกมา สถานการณ์จะกลายเป็นผู้ตัดสินใจให้เราแทน

เขาคิดว่าท่านรัฐมนตรีเข้าใจในเหตุและผล ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานหน่วยซีลของไทยก็มาบอกกับเขาว่า แผนการทั้งหมดได้รับการอนุมัติและเราจะเดินหน้าทันที

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson หนึ่งในนักดำน้ำจากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่า หลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่มฝึกกันในสระน้ำที่ได้รับอนุเคราะห์จากโรงเรียนละแวกนั้น และได้เด็ก ๆ มาเป็นตัวอย่างฝึก การฝึกเริ่มจากง่าย ๆ และใช้อุปกรณ์จำลอง และเป็นการฝึกความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้อุปกรณ์จริง และเด็กตัวอย่างจริง ซึ่งก็จะเริ่มฝึกจากการใส่อุปกรณ์ให้เด็ก การนำเด็กดำน้ำ การส่งผ่านเด็กไปยังนักดำน้ำคนอื่น และพยายามลงรายละเอียดไปเรื่อย ๆ จนมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกมากที่สุดเท่าที่ทักษะของตนจะมี ทุกคนได้ฝึกร่วมกัน และทุกคนจะทำให้ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากก็ตาม

จุดเล็ก ๆ อย่างข้อความของเด็ก ๆ ที่ Jason Mallinson เกิดไอเดียให้เด็ก ๆ เขียนออกมาให้ผู้ปกครองได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สร้างกำลังใจชั้นดีที่ทำให้ทีมกู้ภัยมั่นใจมากขึ้น Jason Mallinson ยังย้ำถึงความกล้าหาญที่น่าทึ่งของเด็ก ๆ ที่เมื่อพวกเขาอธิบายแผนการให้เด็ก ๆ ฟัง ไม่มีใครเลยที่แสดงอาการตกใจหรือร้องไห้ เด็ก ๆ ยอมปฏิบัติตามภารกิจทั้งหมด ซึ่งมันน่าทึ่งมากเมื่อเทียบกับอายุของพวกเขา

Craig Challen เสริมอีกว่าในบ่ายวันเสาร์ เขาและหมอ Harris เข้าไปตรวจสอบเด็ก ๆ และพบว่าพวกเขามีกำลังใจดีมาก โดยหน่วยซีลทั้ง ๔ นายที่อยู่กับเด็ก ๆ ทำหน้าที่ได้ดีมากในการเสริมกำลังใจให้เด็ก ๆ ดังนั้นทุกอย่างดูพร้อมมาก แม้ว่า Jason Mallinson จะซ่อนความกังวลไว้ข้างในว่า ถ้าฝนจะตกหนักอย่างที่พยากรณ์ไว้จริง ทุกอย่างมันจะยิ่งยุ่งยากขึ้นก็ตาม

และนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านผู้ว่าตระหนักว่าปฏิบัติการจะต้องเริ่มภายในวันอาทิตย์นั้น และท่านก็ประกาศวัน D-Day นักดำน้ำต่างชาติ ๑๓ คนพร้อมหน่วยซีลของไทย ๕ คนเริ่มดำน้ำเข้าไปหาเด็ก ๆ

เช่นเดียวกับการแถลงข่าวของทีมหมูป่า ที่คงจะได้ฟังกันไปแล้ว นักดำน้ำออสเตรเลียบอกว่าผู้ที่ตัดสินใจว่าใครจะออกมาเป็นกลุ่มแรกคือเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทย โดยพวกเขารอรับการตัดสินใจเท่านั้น หลังจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการดำน้ำของเด็ก ๆ อุปสรรคทางภาษา และอายุของเด็ก ๆ ทำให้ทุกคนตัดสินใจที่จะต้องทำทุกอย่างให้เด็ก ๆ โดยเด็ก ๆ ไม่ต้องทำอะไร

พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson จากกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวว่าทีมกู้ภัยแบ่งถ้ำออกเป็น ๙ โถง ในส่วนที่ซับซ้อนที่สุดจะเป็นหน้าที่ของนักดำน้ำอังกฤษซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า ๓๐  ปี ในส่วนอื่น ๆ ก็จะแบ่งกันไปตามความเชี่ยวชาญและทักษะของแต่ละคน เรื่อยไปจนถึงคนเกือบ ๑๕๐ คนที่รับผิดชอบตามจุดต่าง ๆ ตั้งแต่โถง ๙ จนถึงหน้าถ้ำ ทุกคนทำงานกันเป็นทีมเดียวกันแต่มีหน้าที่ต่างกัน

Jason Mallinson หนึ่งในนักดำน้ำอังกฤษที่รับหน้าที่พาเด็ก ๆ ดำน้ำออกมากล่าวว่าในวันแรก ๆ ทัศนวิสัยยังดีอยู่ แต่ในวันสุดท้ายเขามองไม่เห็นอะไรเลย นั่นทำให้พวกเขาเหนื่อยมากในแง่ของจิตใจ

Dr. Richard Harris จะดำน้ำมากับเด็ก ๆ ในช่วง ๓๕๐ เมตรแรก และเมื่อมาถึงช่วงแห้งที่ยาว ๒๐๐ เมตร Craig Challen จะรับหน้าที่ถอดหน้ากากของเด็ก ๆ ออก ตรวจสอบอุปกรณ์ และพาเด็ก ๆ สไลด์ข้ามเนินดินไปจนถึงช่วงที่จะต้องดำน้ำอีกครั้ง ใส่อุปกรณ์ และพากลับลงน้ำ ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าจะต้องใช้นักดำน้ำ ๒ คนต่อเด็ก ๑ คนมันจะต้องใช้เวลานานมาก สุดท้ายก็เลยกลายเป็นการดูแลหนึ่งต่อหนึ่ง

และก็จะมีช่วงแห้งที่เป็นช่วงสูงชันที่จะต้องแขวนเด็กเอาไว้บนเชือกกู้ภัยและค่อย ๆ พาเด็กไปราว ๆ ๑๕๐ เมตร เพราะมันอันตรายเกินไปที่จะให้เด็กลงเดินและข้ามช่วงสูงชันนั้น โดยเด็ก ๆ จะถูกแขวนด้วยเชือกแขวนที่ปรับปรุงพิเศษเพื่อการนี้ Jason Mallinson เสริมว่าจะมีช่วงที่ต้องดำน้ำขึ้นตรง ๆ ซึ่งนักดำน้ำไม่มีทางรู้ว่าจะถึงช่วงนั้นเมื่อไหร่จนกว่าจะเอาหัวโขกกับผนังถ้ำ ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้น นักดำน้ำก็จะรู้ว่าจะต้องดำขึ้นตรง ๆ ไปตามช่องแคบ ๆ นักดำน้ำต้องลองว่าจะพาเด็กกับนักดำน้ำไปพร้อมกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย และลองให้นักดำน้ำดำคนเดียวดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอย ลองดันเด็กไปตามช่องดู ถ้าไม่ได้ก็ต้องถอยอีก มันเป็นกระบวนการที่กินเวลานานและน่ากลัวมาก เพราะถ้าเกิดดันเด็กไปชนผนังถ้ำและกระแทกหน้ากากของเด็ก ๆ หลุด เด็กก็จะต้องเสียชีวิต หรือถ้านักดำน้ำทำเชือกนำทางหลุดมือ พวกเขาก็จะตกอยู่ในอันตรายมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 11:04

แต่เมื่อทุกคนพาเด็กสี่คนแรกออกมาได้ทุกคนก็ทั้งโลงใจและรู้สึกหมดแรงในเวลาเดียวกัน แต่ความกดดันก็ยังมีอยู่เพราะทุกคนรู้ว่าฝนกำลังมาแล้ว และนั่นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงลดลงเลย พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson กล่าวว่ามันจึงเป็นการฉลองสั้น ๆ หลังจากนั้นทุกคนก็ต้องกลับไปตั้งสมาธิ ทำตัวเป็นมืออาชีพ เพราะทุกคนรู้ว่านี่เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ ในภารกิจที่ใหญ่กว่า และรู้ว่าถ้าฝนตกลงมาก่อนหน้าที่คาดไว้แม้เพียงนิดเดียว ภารกิจกู้ภัยจะต้องยุติลง เพราะมันจะเสี่ยงมากเกินไปต่อทั้งเด็ก ๆ และนักดำน้ำเอง และแม้เด็กชุดที่สองจะออกมาสำเร็จซึ่งหมายถึงความสำเร็จ ๘ ครั้งจากความพยายาม ๘ ครั้ง มันก็ไม่ทำให้พวกเขาเบาใจลง

เขาจำได้ว่าหลังจากวันที่สอง เขาเข้าไปบอกกับนักดำน้ำอังกฤษว่า พวกคุณสุดยอดอย่างกะ Rock Star และนี่จะต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์แน่นอน

ในภารกิจวันสุดท้าย Dr. Richard Harris เลือกที่จะอยู่กับเด็ก ๆ และหน่วยซีลของไทยเป็นกลุ่มสุดท้าย ซึ่ง Craig Challen บอกว่าทำงานของหมอ Harris ว่ายอดเยี่ยมมาก ๆ

นาวาอากาศตรี Charles Hodges เล่าถึงช่วงสุดท้ายของภารกิจว่า เมื่อคุณรู้ว่าเด็ก ๆ ออกมากันหมดแล้ว หน่วยซีลของไทยออกมากันแล้ว ในตอนสี่ทุ่มที่ทุกคนยืนอยู่ตรงนั้นทุกคนก็ปล่อยให้อารมณ์กลับเข้ามาในจิตใจอีกครั้ง มันรู้สึกได้ว่าทุกคนได้ทำอะไรสักอย่างสำเร็จ ทุกคนที่มาจากต่างที่กันมาทำงานด้วยกัน และโลกก็เฝ้ามองอยู่ Craig Challen เสริมว่าเขารู้สึกโลงมาก แต่หน่วยซีลของไทยยังมีงานต้องจัดการ ดังนั้นเขาจึงออกมากันช้ากว่า ๒-๓ ชั่วโมง

ซึ่งนั่นก็ทำให้มีเรื่องดราม่าในตอนสุดท้ายของภารกิจจนได้ พันจ่าอากาศเอก Derek Anderson สารภาพตามตรงว่ามันอาจจะเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่ ณ วินาทีนั้นปั้มน้ำหนึ่งตัวในโถง ๓ เสีย และยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งรอรับหน่วยซีลกลุ่มสุดท้ายให้ออกมา เมื่อได้รับแจ้งว่าระดับน้ำกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกคนตื่นเต้นมาก แต่สุดท้าย ทุกคนออกออกมาได้อย่างปลอดภัย

Craig Challen บอกว่านักดำน้ำได้ไปเยี่ยมเด็ก ๆ ที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เด็ก ๆ นั่งกินอาหารกันอย่างมีความสุข พวกเราไม่สามารถบรรยายได้ว่าพวกเรามีความสุขมากขนาดไหน เพราะตอนแรกทุกคนคาดว่าภารกิจนี้จะเป็นภารกิจกู้ศพแทนที่จะเป็นภารกิจนำผู้ป่วยออกมาทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิต เขายังต้องถามตัวองว่าสิ่งนี่มันเป็นความจริงหรือเปล่า เพราะมันดูเหมือนจะดีเกินกว่าที่จะเป็นความจริง

เรืออากาศเอก Jessica Tait มาเสริมเป็นคนสุดท้ายว่า เธอจำได้ว่าเมื่อมาถึงที่ถ้ำใหม่ ๆ มีใครในทีมบางคนที่แม้จะเป็นคนที่แข็งแกร่งมากบ่นว่า เขาไม่รู้ว่าแม้แต่ตัวเขาเองจะมีชีวิตรอดจากเหตุการณ์แบบนี้ได้ไหม แต่นี่เป็นแค่เด็ก ๆ เท่านั้น และสำหรับเธอ มันแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะมีชีวิตรอดของเด็ก ๆ และโค้ชที่คอยนำเด็ก ๆ ให้รอดชีวิตได้ คนพวกนี้คือผู้ที่กล้าหาญและเธอรู้ว่าเหตุการณ์นี้จะต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์สำหรับความกล้าหาญของพวกเขา

TAF แปล จาก เฟซบุ๊กของ ThaiArmedForce.com
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 11:34

ขอกราบความกล้าหาญ น้ำใจและความเสียสละของทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับวีรกรรมนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 16:28

ABC ของออสเตรเลีย ทำสารคดีเรื่องการกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในรายการ Four Corners โดยมีไฮไลต์คือการสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ ผู้บังคับทีมช่วยเหลือของสหรัฐ และคู่ดำน้ำของ Dr. Richard Harris ชาวออสเตรเลีย

คลิปที่หายไปสามารถดูได้จากลิ้งก์นี้

http://www.abc.net.au/4corners/out-of-the-dark/10000580
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 16:53

ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงขุนน้ำดอยนางนอน นี้ทำท่าจะเป็นมหากาพย์
ผมจึงขออนุญาตลอง update link บน youtube อีกสักครั้งครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 17:18

มันเป็น  mission impossible จริงๆด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 21:02

จากเฟสบุค Thai NavySEAL ครับ  แต่ทำไมผมหาต้นฉบับไม่เจอไม่ทราบเหมือนกัน เลยนำมาจากไทยโพสซึ่งเขานำมาลงอีกที

https://www.thaipost.net/main/detail/13627


 เรื่องเล่าในถ้ำหลวงจากอดีตซีลของเชฟรอน ภารกิจสุดหินในถ้ำหลวง


สวัสดีครับ หลายคนคงจะทราบแล้วว่าเรามีอดีตซีลหรือหน่วยซีลนอกราชการ ที่ปัจจุบันเป็นพนักงานของเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต ไปช่วยปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจดำน้ำในถ้ำหลวงถึ่ง 3 คน วันนี้เมื่อผมได้ข่าวว่าทุกๆ ท่านได้เสร็จจากภารกิจและเดินทางกลับศูนย์เศรษฐพัฒน์ของเชฟรอนที่ จ. สงขลา กันแล้ว ผมจึงติดต่อไปและได้มีโอกาสพูดคุยกับ อาจารย์ สุธน ทะวา หน่วยซีลนอกราชการ ซึ่งปัจจุบันเป็น Security Specialist ประจำที่ฐานปฏิบัติการบนฝั่ง สงขลา ขอให้ท่านแชร์ประสบการณ์ที่ถ้ำหลวงให้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งน่าตื่นเต้นและน่าประทับใจ แบบอินไซท์สุดๆ ผมจึงขออนุญาตอาจารย์สุธนนำประสบการณ์ของท่านมาแบ่งปันให้ชาวเพจเอราวัณ 36 ได้ฟังกันบ้าง น่าประทับใจและท้าทายขนาดไหน มาฟังกันครับ


#เล่าเรื่องขวดอากาศ (หรือที่คนทั่วไปเรียกถังออกซิเจน แต่จริงๆ คือถังบรรจุอากาศเพื่อหายใจขณะดำน้ำ) ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ที่กลายเป็นข่าวไปทั่ว social media นี่ เชฟรอนเข้าไปช่วยได้ยังไงครับ

ตอนนั้นน่าจะประมาณวันที่ 30 มิถุนายนครับ ทาง ผ.บ. หน่วยซีลแจ้งมาเลยครับ แจ้งมาทางอาจารย์พุก (คุณดุลยพินิจ ภู่อยู่) ว่าขวดอากาศไม่พอ จะขอสนับสนุนจากทางเชฟรอนได้ไหม เพราะต้องใช้อีกถึง 200 ขวด ผมเลยคุยกับทางแผนกจัดซื้อฯ ตอนทุ่มนึงว่าจะหาขวดอากาศให้เขาได้ยังไง ตอนแรกเราดูว่าจะเช่าได้ไหม แต่ไม่มีที่ไหนให้เช่าเลย เพราะต้องเอาไปทำงานหนัก พวกเขากลัวขวดพัง เราจึงกลับมาตรงทางเลือกว่าซื้อ และติดต่อไปทางคุณกิตติพงศ์ ที่เป็น Bangkok Incident Commander หรือหัวหน้าหน่วยบัญชาการภารกิจนี้ที่กรุงเทพฯ โดยให้ทางแผนกจัดซื้อฯ ประเมินราคาของมาประมาณเกือบ 2 ล้าน โดยถามคุณกิตติพงศ์ว่าเราจะซื้อได้ไหม รอแค่ 10 นาทีเท่านั้นครับ ก็ได้รับแจ้งมาว่าผู้บริหารอนุมัติแล้วตามที่ร้องขอ ไม่มีปัญหาอะไรเลย ผมจึงส่งข้อความไปบอกทางหน่วยซีลว่าทางเชฟรอนอนุมัติแล้ว พวกเขาก็ร้อง เย้.. ดีใจกันใหญ่เลยครับ

เรายังส่ง backpack ไปให้ด้วยครับ (เป้สะพายหลังที่ใช้ใส่ขวดอากาศ) แต่เราหาทั้งประเทศไทยมีแค่ 64 อัน ทางเชฟรอนก็เหมาส่งไปให้ทั้งหมดเลยครับ เราหาทุกอย่างเท่าที่เราหาได้ในประเทศไทยเพื่อไปสนับสนุนงานนี้



#อาจารย์สุธนตามไปสมทบที่หน้าถ้ำได้ยังไงครับ

จริงๆ แล้วผมบอกอาจารย์มิ่ง (คุณมัจฉริยะ ครไชยศรี) กับอาจารย์พุกว่าผมขอเป็นฝ่ายสนับสนุนกองหลัง จะได้เป็นฝ่ายประสานงานหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้ เพราะกลัวไปที่หน้างานกันหมดแล้วการติดต่อสื่อสารจะไม่สะดวก พอเหตุการณ์ผ่านไปสักพักจึงคิดว่าอุปกรณ์ของเราน่าจะครบถ้วนแล้ว ผมจึงขอตามไปสมทบในพื้นที่ โดยผมได้เอา Gas Detector 5 เครื่อง (สามารถวัดระดับอ๊อกซิเจนในอากาศได้) จากศูนย์เศรษฐพัฒน์ไปด้วย เพราะทางทีมช่วยเหลือร้องขอมา เมื่อออกจากสนามบิน ผมตรงไปที่ถ้ำเลย ผมได้บรีฟเรื่องการใช้เครื่องวัดออกซิเจนในถ้ำ และข้อจำกัดเรื่องความปลอดภัยต่างๆ ให้ทีมดำน้ำฟัง โดยที่เราได้ยินข่าวที่ออกมาว่าออกซิเจนภายในถ้ำลดระดับลง ก็เป็นผลมาจากเครื่อง gas detector ที่ทางเรานำไปมอบให้ครับ



#เล่าเรื่องภารกิจในการดำน้ำหน่อยได้ไหมครับ

ช่วงประมาณวันที่ 7 กรกฏา ก่อนน้องๆ หมูป่าออกจากถ้ำ ผมได้ร่วมภารกิจดำน้ำเพื่อนำอาหารและขวดอากาศเข้าไปด้านในโถง 3 การดำน้ำเข้าโถง 3 ทำงานค่อนข้างลำบาก มือขวาสาวเชือก มือซ้ายลากขวดอากาศ มุดลอดช่องหินขึ้นไปส่งของด้านในครับ ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ตรงเลยว่ากระแสน้ำแรงมาก และต้องดำทวนน้ำตลอด จริงๆ ก่อนหน้านั้นก็มีคนมาอธิบายก่อนว่าดำน้ำไปจะเจออะไรบ้าง ต้องระวังเชือกพันคอ สายโทรศัพท์ ฯลฯ ทัศนวิสัยไม่เห็นอะไรเลยครับ เหมือนหลับตาดำน้ำ แล้วในถ้ำก็เป็นเนินชันๆ ค่อนข้างอันตราย ความน่ากลัวอีกอย่างคือ เมื่อพักเครื่องปั๊มน้ำ (จะพัก 20 นาที ทุกชั่วโมง) แค่ 10 นาที ระดับน้ำจะสูงขึ้นถึง 20 เซ็น น้ำขึ้นไวมากๆ ต้องเตือนกันล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ตกใจ



#เห็นว่ามีส่วนร่วมในการนำเด็กๆและโค้ชออกมาจากถ้ำด้วยหรอครับ

ใช่ครับ วันแรกที่นำเด็กออกมาได้เป็นวันอาทิตย์ เราแบ่งเป็นทีมละ 5 ทีม เพื่อรับเด็กจากโถงสาม ผ่านโถงสองไปที่ปากถ้ำ แต่ละทีมมีจำนวนคนน้อยมากแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ระยะทางและลักษณะเส้นทางแคบกว้าง หน้าที่ของพวกเราคือ รับเด็กที่อยู่ในเปลสนามจากโถง 3 แล้วลำเลียงต่อกันมาเรื่อยๆกระทั่งถึงปากถ้ำด้วยความปลอดภัย โดยผมเป็นหัวหน้าทีมชุดที่ 5 พื้นที่ที่รับผิดชอบคือพื้นที่สุดท้ายก่อนออกจากถ้ำ เพื่อนร่วมทีมวันแรกมี 10 คน วันที่สองเพิ่มเป็น 12 คน วันที่สาม ขอเพิ่มเป็น 18 คน เพราะยิ่งทำยิ่งรู้ว่ามีความเสี่ยงสูงหากใช้คนน้อยๆ เราทำงานร่วมกันกับทหารบก ซีลประจำการ และซีลนอกราชการครับ ตอนนั้นต้องระวังมากๆ เพราะเส้นทางในการนำพาน้องๆ มาปากถ้ำค่อนข้างอันตรายมีทั้งทางดิ่ง มีเนินขึ้นเนินลงที่ชันมาก ทางแคบ และลื่น ก่อนเคลื่อนย้ายจากจุดรับส่งทุกจุด จะมีแพทย์ พยาบาลประจำการแต่ละจุดคอยวัดชีพจรและค่าออกซิเจนของเด็ก รวมทั้งระหว่างการเคลื่อนย้ายจะมีเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาล ทั้งไทยและต่างประเทศคอยประกบตลอดเวลา เพื่อสังเกตุอาการเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพร่างกายของเด็กๆ โอเคอยู่ เป็นงานที่ค่อนข้างกดดัน เราจะพลาดไม่ได้แม้แต่น้อยครับ เพราะทุกวินาทีมีชีวิตของน้องๆ ทีมหมูป่าเป็นเดิมพัน



#สุดท้ายนี้มีความประทับใจอะไรเกี่ยวกับภารกิจนี้บ้างครับ

ผมว่าทุกคนภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในภารกิจนี้ครับ สำหรับผมก็เป็นโอกาสที่มีไม่บ่อยนัก ที่จะได้กลับไปร่วมงานกับหน่วยซีลที่ผมเคยสังกัดอยู่ สิ่งที่ประทับใจคือทางผู้บริหารเชฟรอนให้การสนับสนุนและตอบสนองอย่างรวดเร็วมากๆ ทีมสนับสนุนจากกรุงเทพฯ ก็ทำงานกันเต็มที่ พนักงานทั้งบริษัทฯ ก็ส่งกำลังใจมาให้อย่างท่วมท้น ส่วนตัวผมตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยเห็นความร่วมมือกันที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ทุกๆ คนต่างเป็นจิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จ ตลอดภารกิจก็พบเจอแต่ผู้คนที่มีน้ำใจ หลายๆโรงแรมพอรู้ว่ามาช่วยทำภารกิจนี้ก็จะไม่คิดเงิน เสื้อผ้าก็มีคนรับซักให้ฟรี หรือแม้แต้ร้านอาหารที่แม่สาย ถ้าใครมาช่วยงานนี่ก็ทานฟรีแทบทุกร้านครับ!!


                                                               -------------------------------------------------------------------


ส่วนอันนี้จากเพจ Erawan36 ครับ

https://web.facebook.com/Erawan36/?hc_ref=ARTx3TfT4ifraQViReb2QvxFJsWJEwG4pgmUMPZNH6XdAgnFY0TCWjx3OEogZkJqZRM&fref=nf&_rdc=1&_rdr


ถอดบทเรียนปฏิบัติการด้านวิศวกรรมช่วย13ชีวิตหมูป่า


เมื่อวานนี้ ผมได้มีโอกาสไปร่วมรับฟังการเสวนา “ถอดบทเรียนปฏิบัติการทางวิศวกรรมช่วย 13 หมูป่า…กู้ภัย ระดับโลก“ ซึ่งจัดขึ้นที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หลังจากที่หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชน จากหลายสาขาวิชาชีพ ได้ระดมทุกสรรพกำลังลงไปช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ ที่ประสบภัยติดอยู่ในถ้ำหลวง ให้กลับออกมาได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด


งานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากพี่ๆ สื่อมวลชนจำนวนมาก โดยในช่วงเช้า เป็นการพูดคุยกันในภาพกว้างเกี่ยวกับการควบคุมและจัดการปฏิบัติการช่วยชีวิตน้องๆ 13 หมูป่า และ งานสำรวจจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการถอดบทเรียนในเรื่องของ งานเจาะถ้ำ สำรวจธรณีวิทยา และการสูบน้ำออกจากถ้ำ รวมทั้งการแนะนำทีมวิศวกรอาสาและผู้ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจ โดยงานนี้มีพี่ๆ นักธรณีวิทยาและวิศวกรจากทางเชฟรอน ที่เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น เข้ามาร่วมรับฟังด้วยครับ


แง่มุมน่าปลาบปลื้มใจที่ผมได้ฟังจากวิทยากรบนเวทีนั้น คือ ท่านจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาร่วมภารกิจครั้งนี้ โดยในส่วนของเชฟรอน ท่านกล่าวว่าประทับใจในเรื่องความรวดเร็วในการจัดหาอุปกรณ์ และอาจารย์ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมปฐพี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้สรุปเอาไว้ว่า ภารกิจนี้ถือเป็นงานที่สามารถร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมืออุปกรณ์ทางด้านธรณีวิทยา อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยแต่ละบริษัทถึงแม้ในทางธุรกิจอาจจะเป็นคู่แข่งขันกัน แต่เมื่อมาถึงหน้างานที่ต้องปฏิบัติภารกิจ ทุกคนก็กลายเป็นทีมเดียวกัน เอาโจทย์ปัญหาเป็นตัวตั้งและร่วมมือช่วยกันแก้ไขอย่างสุดกำลัง


ในการถอดบทเรียนงานส่วนของการสูบน้ำออกจากถ้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจที่มีส่วนสำคัญในการช่วยพี่ๆ หน่วยซีลให้พาน้อง13 หมูป่าออกมาได้สำเร็จ และทางเชฟรอนได้จัดส่งทั้งนักธรณีวิทยาและวิศวกรพร้อมทั้งอุปกรณ์เข้าไปช่วยตามที่ภาคสนามมีความต้องการมาตั้งแต่ต้นนั้น ฟังแล้วก็มีความเข้าใจมากขึ้นว่า นอกจากจะต้องมีเครื่องสูบน้ำที่มีกำลังแรงที่เพียงพอแล้ว ยังต้องมีส่วนของการช่วยเบี่ยงทางน้ำที่จะไหลเข้ามาที่ถ้ำด้วย


งานนี้ ดร.กัมปนาท ขวัญศิริกุล นักธรณีวิทยาซึ่งทำงานอยู่ที่กรมชลประทาน ที่รับผิดชอบงานเบี่ยงทางน้ำ บอกว่า เมื่อมีการสำรวจพบว่า มวลน้ำบริเวณดอยผาหมี เป็นจุดสำคัญที่ทำให้น้ำไหลลงไปเติมในถ้ำอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการทำฝายเพื่อเบี่ยงทางน้ำ คำนวณดูแล้วต้องใช้ท่อที่มีความยาวถึง 2,400 เมตร ไม่รู้จะไปจัดหาจากไหนให้ทันเวลา ก็โทรหาน้องที่บริษัทแห่งหนึ่งได้ท่อมารวมกันได้ขนาดความยาว 400 เมตร ยังขาดอีก 2,000 เมตร จึงโทรหาน้องอีกคนที่เชฟรอน ก็ต้องถือเป็นความโชคดีที่ทางเชฟรอน มีท่อรวมกันขนาดความยาว 2,000 เมตรพอดี และรีบช่วยกันจัดส่งมาที่หน้างานทันที นำลำเลียงขึ้นไปทำฝายบนดอยผาหมี จนสามารถเบี่ยงทางน้ำได้สำเร็จ และยิ่งดีใจมากเมื่อประสานกับส่วนงานสูบน้ำภายในถ้ำ แล้วรู้ว่าการเบี่ยงทางน้ำบนดอยผาหมีนั้นมีส่วนช่วยลดระดับน้ำภายในถ้ำลงได้จริง


นั่งฟังเสวนาถอดบทเรียนที่ถ้ำหลวงก็ต้องขอขอบคุณพี่ๆ ทุกๆ คนที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้จนสำเร็จ แม้ว่าจะพบปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน แต่ทุกคนก็ไม่ย่อท้อ ต่างทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ จนทำให้ภารกิจที่เหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้จบลงด้วยความสำเร็จครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ก.ค. 18, 21:09

ยิ่งอ่านยิ่งเห็นว่าเป็นปาฎิหาริย์แห่งการร่วมมือร่วมใจกันโดยแท้ค่ะ    ทุกภาคส่วนของไทยทั้งรัฐและเอกชน  และทุกภาคส่วนของโลกที่มีผู้ช่วยเหลือได้ ก็ตรงมากันหมด
และที่สำคัญ  ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ งานจึงลุล่วงไปด้วยอย่างยอดเยี่ยม    เกินความคาดหมายแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเอง ก็ไม่คิดว่าจะทำได้สำเร็จขนาดนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 20 คำสั่ง