เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 13594 13 หมูป่า : วีรกรรมถ้ำหลวง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 06:51

ที่เข้าใจกันว่าการนำเด็กออกมาใช้วิธีการดังภาพล่าง แต่จากการเปิดเผยล่าสุดของนักดำน้ำอังกฤษเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ปรากฏว่าแผนเปลี่ยน เพราะนักดำน้ำที่ตามหลังถึงไปก็ไม่มีประโยชน์อันใดเพราะน้ำขุ่นจนมองไม่เห็น ต้องใช้มือคลำอย่างเดียว พวกเขาจึงใช้นักดำน้ำคนต่อคนในการพาเปลเด็กไปสู่โลกภายนอก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 06:52

ภาพชุดนี้มีภาพแรกเท่านั้นที่ต้องแก้ไข แต่ภาพอื่นๆถูกต้องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 07:05

ภาพแก้ไข


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 09:14

ผมขออนุญาต นำบทความนี้มารวมไว้ด้วยครับ


Why we couldn't stop watching the Thai cave rescue
by Jay Parini
Updated 1541 GMT (2341 HKT) July 10, 2018

https://edition.cnn.com/2018/07/08/opinions/thai-cave-rescue-mission-bravery-parini/index.html

(CNN)All eyes were on Thailand, as we watched the brave divers who risked their lives to bring a trapped boys' soccer team and their young coach to safety.

Our hearts went out to these divers, who have shown not only great courage but incredible skill. One can hardly imagine the difficulty of this rescue effort, which took place deep underground in impossibly narrow and jagged areas, with powerful currents pushing against divers who had to perform a complex task in near-zero visibility in parts of the cave.

It was inspiring to see this effort in part, I suspect, because of the international make-up of the rescue team, with British, American, Australian and Japanese divers (among others) joining Thai divers, and with other countries adding their expertise. This joint effort was symbolic, and it suggests a world where, at least for a time, it's possible to work together in a constructive way toward a common goal.

In the Thai cave, there were no skin colors, religious differences or questions of sexual identity. Nobody wrapped himself in a flag or questioned the science at hand. This was one of those rare times when we see how much we can achieve against terrifying odds when people work in unison, selflessly, to do something important.
Putting the welfare of these children first, in itself, is admirable. We've all made mistakes, and it occasionally takes a village at times to make up for those mistakes.

I don't think anyone, anywhere, begrudges the amount of money it cost to rescue a dozen boys and their coach. What's interesting to me is that nobody is counting. Everyone knows that the value of life can't be measured in money.
And everyone is beholden to Saman Gunan, the Thai diver who lost his life a few days ago while making his way out of the Tham Luang complex of caves. His willingness to put his life on the line for the trapped boys and their coach was remarkable. He showed us courage in its purest form.

It doesn't surprise me that countless people around the globe were riveted to their screens, waiting for the boys to emerge, one by one, eager to hear that the divers also were okay and that the coach was rescued in good health as well.
There is high drama here, of course: underground rescues always hold our attention.

I remember being glued to the TV set during the Chilean mine disaster of 2010, when 33 miners were rescued under what seemed at the time like impossible circumstances. They were trapped far underground in great danger for 69 days, and the world (an estimated one billion people) watched the rescue.

The fact that the whole world watched and prayed for these boys in Thailand was part of the drama. Everyone knows that each of these children, and their coach, matters to his anxious family.

I have three boys myself, and I can only imagine the fear and trembling in homes as parents and other family members wait for news. The pain of separation between parents and children is an intolerable pain, and something that all people with a shred of humanity in their hearts will appreciate.

Let's hope this successful international effort to rescue a dozen boys and their coach in a remote cave in Thailand lifts us all, bringing us back into the light where we can stand together and be grateful for those who teach us to care this deeply.



บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 12:51

ผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์นวรัตน์ เป็นอย่างสูงครับ
ที่ได้กรุณาให้รายละเอียดกระบวนการช่วยเหลือทีมหมูป่า
ทำให้ผมหายสงสัย ในเรื่องนี้ที่คาใจผม มาเกือบอาทิตย์นึงเต็ม

และผมขอเพิ่มเติม เรื่องดีๆ น่ารักๆ เบื้องหลังของคุณริชาร์ด สแตนตัน ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมช่วยเหลือจากอังกฤษ

โดยเป็นข่าวจาก สำนักข่าวสปริงนิวส์ รายการเจาะลึกทั่วไทย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ“อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์”
ที่ได้นำเอาข่าว จากสำนักข่าว เดลี่ เมล์ ของประเทศอังกฤษ มาเป็นข่าวนำเสนอส่งต่อ รายละเอียดตามนี้ครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 13:06

ข่าวจาก สำนักข่าวสปริงนิวส์ รายการเจาะลึกทั่วไทย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ“อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์”
ที่ได้นำเอาข่าว จากสำนักข่าว เดลี่ เมล์ ของประเทศอังกฤษ มาเป็นข่าวนำเสนอส่งต่อ

http://www.dailymail.co.uk/news/article-5946671/Hero-British-diver-rescued-12-Thai-boys-trapped-cave-finds-love-local-nurse.html



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 14:08

หมอยอดมนุษย์กับหมูป่าทั้งสิบสาม  ยิงฟันยิ้ม

สิ่งที่ผมประทับใจเด็ก ๆ ทีมหมูป่า

- ความสดใสซื่อเดียงสา มองโลกในแง่ดี มีขวัญ & กำลังใจดีเยี่ยม แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อม/สถานการณ์วิกฤต  ทุกวันเด็ก ๆ จะไปขุดโพรงหาทางออกโดยใช้เศษหิน (ได้ลึกถึง ๕ เมตรเลย) ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้กินข้าว

- มีวินัย...รวบรวมเศษขยะ หลังกินแต่ละมื้อ ทิ้งลงถุงดำ โค้ชเอกสอนเด็ก ๆ เสมอว่าไม่ให้เก็บสิ่งของจากในถ้ำเอากลับไปเป็นของตนเอง ซึ่งเด็ก ๆ ทุกคนก็เชื่อฟังและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี

- โค้ชเอก จิตใจดีงาม เป็นผู้เสียสละอย่างแท้จริง ผมแอบสังเกตตั้งแต่วันแรก เอกจะให้เด็ก ๆ อิ่มก่อนโดยแบ่งอาหารในส่วนของตนให้เด็ก ๆ  ผมมั่นใจในการดูแลเอาใจใส่เด็ก ๆ อย่างดีก่อนที่ทีมจะมาพบเด็ก ๆ เพราะสุขภาพกาย &ใจ ของเด็ก ๆ ทุก ๆ คน ดีกว่าที่ผมคาดการณ์ไว้มากทีเดียว

เด็ก ๆ ทีมหมูป่าทุกคนทราบถึงความเสียสละของทุกคนในการค้นหาพวกเค้า และผมมีความมั่นใจว่าเด็ก ๆ หมูป่าจะเติบโต เป็น 'บุคลากรที่ยอดเยี่ยมของประเทศ ทำคุณประโยชน์ และ ชื่อเสียงให้ประเทศไทยในอนาคตต่อไป'

พันโท นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุน

๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑

https://www.facebook.com/100000838303140/posts/1708249335879660/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 16:39

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 16:39


Document ที่น่าสนใจคือ ภาพที่วาดโดย นักดำน้ำไทย
และเผยแพร่ใน facebook วันที่ 26 มิถุนายน 2018
แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่านักดำน้ำไทยไปถึง พัทยาบีชในวันนั้นแล้ว แต่ยังไม่ได้วางเชือกนำทาง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 18:50

คำต่อคำ 'จอห์น โวลันเธน' เปิดใจกับ 'บีบีซี' ครั้งแรกหลังจบภารกิจกู้ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง

นี่คือบทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำของ จอห์น โวลันเธน ซึ่งเขาบอกว่าจะให้สัมภาษณ์กับ บีบีซี เพียงครั้งเดียว

โวลันเธน - ผมเป็นสมาชิกทีมกู้ภัยของเวลส์ตอนกลางและตอนใต้ การกู้ภัยภายในถ้ำในสหราชอาณาจักรจะแบ่งออกตามพื้นที่ เพื่อที่จะได้มีผู้เชี่ยวชาญในถ้ำในแต่ละพื้นที่ เราเป็นกลุ่มระหว่างประเทศด้วย และก่อตั้งขึ้นมานานแล้ว ผมรู้มาจากชาวอังกฤษที่อยู่ในเมืองไทยว่าเกิดปัญหาขึ้นที่นั่น และเขาแจ้งเราว่า จำเป็นต้องมีนักดำน้ำที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เราต้องได้รับคำสั่งจากใครสักคนจากทางการ ตอนนั้นผมทำงานอยู่ในแอสเทกเวสต์ เวลาประมาณบ่ายสามโมง ผมก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่า มีการจองเที่ยวบินไปเมืองไทยเวลา 9 โมงเช้าให้กับผมแล้ว

ถาม - แจ้งปุบปับอย่างนั้นเลยเหรอครับ?
โวลันเธน - ใช่ครับ การแจ้งมักจะกะทันหันอยู่แล้ว โดยเฉพาะถ้ำที่เสี่ยงน้ำท่วม เวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก

ถาม - แล้วคุณรู้ไหมว่าจะต้องเจอกับอะไรบ้าง?
โวลันเธน - เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์ทำนองนี้ ข้อมูลที่คุณได้รับก็ไม่สมบูรณ์หรอกครับ และมักจะไม่ถูกต้อง ดังนั้น คำตอบก็คือ คาดว่าคงจะได้เจอกับสิ่งที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ

ถาม - ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ เพราะเราเห็นในวิดีโอนิดเดียว ช่วงที่คุณโผล่พ้นน้ำมาพบเด็ก ๆ
โวลันเธน - คุณเหมือนจะข้ามไป 1 สัปดาห์นะครับ ช่วงที่มีงานต้องทำมหาศาล, ใช้ความพยายามอย่างมาก, ต้องติดต่อประสานงาน, ดำน้ำ และอีกหลายอย่างก่อนที่ถึงเวลานั้น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้น เราทำงานกันอย่างหนักไปพร้อมกับกองทัพเรือไทย เพื่อไปให้ถึงจุดนั้น เราได้ดำน้ำเข้าไปภายถ้ำลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ มาก่อนแล้วหลายครั้ง ในการดำน้ำครั้งนั้น เราได้รับกล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพพื้นที่ภายในถ้ำที่กองทัพเรือไทยอยากเห็น แต่อย่างที่เห็น เราโชคดีที่พบเด็ก ๆ มีการรายงานโดยสื่อหลายแห่งบอกว่า เป็นเพราะโชคดี ผมคงบอกว่า นั่นไม่ใช่เลย การทำงานของเราในสถานการณ์นี้คือ เรากำลังว่ายน้ำไปตามทางที่อยู่ใต้น้ำ ตรงไหนที่มีพื้นที่ว่าง เราก็จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมา เราตะโกนเรียก แล้วก็เราดมกลิ่นด้วย ในกรณีนี้ เราได้กลิ่นเด็กก่อนที่จะพบตัว หรือได้ยินเสียงเด็กเสียอีก

ถาม - จากนั้น คุณก็เรียกพวกเขา คุณพูดอะไร?
โวลันเธน - วิดีโอที่คุณเห็นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ สิ่งที่คุณไม่เห็นคือ บนฝั่งตรงข้าม เราได้ถอดอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของเราออก เรากำลังเตรียมจะไปหาพวกเขา เราเห็นว่าพวกเขาอยู่ตรงไหน และผมคิดว่า เราคงดีใจกันมาก และอยากรู้ว่า พวกเขาสบายดีกันทุกคนไหม ปรากฏว่า พวกเขาทุกคนแข็งแรงดี

ถาม - ตอนคุณเห็นพวกเขาที่นั่น คุณกำลังคิดอะไรอยู่ คุณคิดไหมว่า ผมจะพาเด็ก ๆ ออกไปอย่างไร? คุณว่าปฏิบัติการนี้มีโอกาสสำเร็จมากแค่ไหน?
โวลันเธน - ความคิดตอนที่พบพวกเขาคือ มันเหลือเชื่อ เหลือเชื่อจริง ๆ ครับ เมื่อดูจากปริมาณน้ำที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากถ้ำในช่วง 2-3 วันก่อนหน้า ไม่น่าเชื่อว่าเราจะพบพวกเขา และทุกคนก็แข็งแรงดี ผมคิดว่าทั้งริกและผมรู้ดีถึงสิ่งที่ต้องทำมหาศาลเพื่อพยายามอพยพเด็ก ๆ ออกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนเด็ก ๆ มีกัน 13 คน ซึ่งไม่ใช่คนจำนวนน้อยเลย

ถาม - คุณไปถึงตรงนั้น ก็ชัดเจนว่า ก็เป็นไปได้ที่จะออกมา มีปัญหาอะไรบ้างที่คุณเผชิญอยู่ตอนนั้น?
โวลันเธน - ปัญหาจริง ๆ คือ มันมืดสนิทเลยในนั้น คุณมีเพียงไฟฉายที่เอาติดตัวไป วิสัยทัศน์ในน้ำต่ำมาก ๆ อยู่ที่ระยะ 2-3 นิ้ว นอกจากนี้ยังมีเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมายจากความพยายามเข้ามาก่อนหน้านั้นตอนที่หลายพื้นที่ของถ้ำแห้งอยู่ มีทั้งสายเคเบิล, สายไฟ, ปั๊ม, ท่อ, อะไรต่าง ๆ ความเย็นก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เด็กบางคนยังค่อนข้างเล็กอยู่ เราจึงค่อนข้างห่วงว่า เด็กเล็กจะทนได้ดีแค่ไหนในช่วงที่ต้องฝ่าน้ำออกไป

ถาม - สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจจากภาพที่เห็นคือ เด็กบางคนยิ้มได้
โวลันเธน - พวกเขาน่าทึ่งมาก ตอนนั้น พวกเขาค่อนข้างดีใจ ผ่อนคลาย และขอพูดอีกครั้งที่ไม่เห็นในวิดีโอ คือทางลาดที่คุณเห็น มันขึ้นไปถึงพื้นที่ที่กว้างกว่าบนนั้น ซึ่งเป็นจุดที่พวกเขาใช้พักอาศัย เราอยู่ที่นั่นไม่นาน พยายามให้กำลังใจพวกเขา ก่อนที่เราจะกลับออกมา เพราะเราไม่มีอาหารให้พวกเขาเลย เรามีแต่ไฟฉายให้พวกเขา แต่ในแง่ของ ขวัญกำลังใจแล้ว เราสามารถมั่นใจได้ว่า พวกเขา... (จับความไม่ได้)

ถาม - ตอนที่ต้องกลับออกมา เพื่อวางแผนและอื่น ๆ คุณมั่นใจแค่ไหนว่า จะได้เห็นพวกเขามีชีวิตอีกครั้ง?

โวลันเธน - ผมสัญญากับพวกเขาว่า ผมจะกลับมา แล้วเราก็ทำอย่างที่พูด เรากลับไปพร้อมกับอาหาร ผมมั่นใจอย่างมาก แต่อย่างที่เคยพูดไป การมีชีวิตรอดในถ้ำ กับการมีชีวิตรอดนอกถ้ำ มันเป็นคนละเรื่องกัน เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าใจได้ว่า คนเราจะมีความสุขและสุขภาพดีในการอยู่ที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยที่ไม่สามารถออกไปไหนได้ได้อย่างไร ความยากลำบากในการออกมานั้น เป็นเรื่องปกติสำหรับนักสำรวจถ้ำและนักดำน้ำในถ้ำ คุณต้องออกมาทางเดียวกับทางที่เข้าไป แต่มันเป็นเรื่องที่ยากในการอธิบายให้คนอื่น ๆ ฟัง ทำไมเฮลิคอปเตอร์ หรือ เลเซอร์อวกาศ ถึงไม่สามารถเสกให้คุณออกมาข้างนอกได้

ถาม - ไม่มีทางลัด?
โวลันเธน - ไม่มีทางลัดใด ๆ

ถาม - ลองพูดถึงภาพที่เป็นช่วงที่แคบมาก ๆ ที่คนพูดถึงกันมาก ผมรู้สึกเสียวสันหลังวาบ เมื่อคิดถึงตอนที่ต้องมุดผ่านพ้นช่วงนั้น
โวลันเธน - แผนผังส่วนใหญ่ที่ปรากฏในสื่อไม่ถูกต้อง มีหลายจุดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละจุดใช้เทคนิคต่างกันไปในการหาทางออกมา ทั้งออกมาคนเดียวหรืออุ้มเด็กออกมาด้วย บางครั้ง ถ้าทางที่ผ่านออกมาต่ำมาก คุณอาจจะต้องอุ้มเด็กไว้ที่ด้านข้าง บางจุดที่แคบมาก ต้องดันเด็กไปข้างหน้า ขึ้นอยู่กับถ้ำว่าเป็นอย่างไร และพวกเขาต้องอยู่ตรงไหนกับคุณเพื่อผ่านช่องทางนั้นออกมา ถ้ำไม่ธรรมดาอยู่แล้ว นั่นคือสิ่งที่มันเป็น

ถาม - มีเด็ก 12 คน และผู้ใหญ่ 1 คน แล้วคุณทำอย่างไร เด็กอยู่ใต้แขน ว่ายน้ำกับพวกเขา หรือคุณพาพวกเขาออกมาอย่างไร?
โวลันเธน - ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม และไม่มีการตื่นตระหนก มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราโชคดีมากที่มีเด็กไทยที่สโมสรว่ายน้ำในพื้นที่ที่เราได้ฝึกร่วมกับพวกเขาที่สระก่อน เราให้เด็กใส่เสื้อที่เป็นทุ่นลอย(buoyancy compensator) ซึ่งเป็นเสื้อดำน้ำประเภทหนึ่ง ถังอากาศอยู่ที่หน้าอกพวกเขา เราทำเสื้อที่เป็นทุ่นลอยนี้ให้เป็นที่สำหรับใช้ควบคุม ทำให้เรากลายเป็นหน่วยเดียวกันเพื่อให้ควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ เด็กจะมีหน้ากากแบบเต็มใบหน้าแบบพิเศษ ซึ่งช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูกโยงติดกับเราด้วยเชือก เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลุดหายไป ทำให้เราเคลื่อนย้ายพวกเขาได้ง่ายกว่าการที่มัดตัวพวกเขาติดกับนักดำน้ำโดยตรง

ถาม - ขอโทษครับที่ขัดจังหวะ ช่วยพูดอีกทีได้ไหมครับ (เสียงเครื่องบินรบกวน)
โวลันเธน - เราใช้วัสดุอุปกรณ์จำนวนมากที่หาได้จากจุดนั้นที่มาจากหลากหลายองค์กร เราสร้างบังเหียนติดอยู่บนเสื้อพยุงตัวในน้ำของกองทัพเรือไทย เรารัดถังอากาศไว้ที่ด้านหน้าเด็ก พวกเขาสวมหน้ากากเต็มใบหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้มั่นใจว่าพวกเขาหายใจได้ง่ายกว่าการใช้เรกูเลเตอร์ (อุปกรณ์ช่วยหายใจใต้น้ำ) ที่ปากมาก เรามีที่จับที่ติดอยู่ที่ด้านหลังเด็ก คุณต้องพาคนออกมาด้วยการคว่ำหน้าลงเสมอ น้ำจะได้ออกจากหน้า เราเคลื่อนย้ายพวกเขาแบบนั้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูดยึดไว้กับพวกเรา เพื่อที่ถ้าพวกเขาหลุดไปในช่วงที่วิสัยทัศน์ย่ำแย่ เราจะได้หาตัวพวกเขากลับคืนมาได้ในทันที

ถาม - คุณดันพวกเขาออกมา เหมือนกับรถเข็นเหรอครับ
โวลันเธน - ย้ำอีกครั้งครับ มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่า สิ่งที่เราทำเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ นั่นจำเป็นต้องทำด้วยความเคารพและระมัดระวังอย่างสมควร แต่ถ้าอธิบายให้เห็นภาพ ก็คงน่าจะเหมือนกับถุงช้อปปิ้งมากกว่า บางครั้งคุณก็ถือมันไว้ติดกับหน้าอกถ้าทางแคบและลึก แต่ถ้าต่ำและกว้างก็ถือไว้ด้านข้าง พาเขาผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเส้นทาง

ถาม- ผมคงจะตระหนกมาก คุณทำให้พวกเขาไม่ตื่นตระหนักได้อย่างไร?

ตอบ - คุณหมอแฮร์รี แพทย์ชาวออสเตรเลีย มีวิธีการปฏิบัติต่อคนไข้ดีมาก ผมพบว่า สำเนียงออสเตรเลียนของเขาทำให้คนตลก และเด็ก ๆ ก็ดูเหมือนจะรู้ว่า เขาเป็นคนตลกด้วย เขาเยี่ยมมากและผ่อนคลายมาก

ถาม - คุณไม่ใช่คนที่ชอบตื่นตระหนก ใช่ไหม?
โวลันเธน - ไม่ครับ ผมไม่ใช่คนที่ชอบตื่นตะหนก ไม่เลย อะไรทำให้คุณคิดแบบนั้น?

ถาม - คุณนิ่งมาก ไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีช่วงเวลาที่น่าเศร้า ตอนที่นักดำน้ำไทยเข้าไป และเสียชีวิต
โวลันเธน - ตอนนั้น ผม... อย่างที่พูดไปก่อนหน้านี้ ผมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของสมาน และญาติของเขาอีกครั้ง น่าเสียดาย เพราะการกู้ภัยประสบความสำเร็จ แต่มันก็เรื่องสุขและเศร้าในเวลาเดียวกัน มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก

ถาม - คนทั้งโลกเฝ้าตามติดเรื่องนี้ คุณรู้หรือเปล่า?
โวลันเธน - ผมมั่นใจว่า คุณรู้ดีว่า เราไม่สนใจสื่อ ในช่วงที่ปฏิบัติการคืบหน้ามากขึ้น ทางไทยได้กันพวกเขาออกไปให้ห่างจากเรา นั่นทำให้เราสบายใจมาก


https://www.bbc.com/thai/international-44839515?ocid=socialflow_facebook



บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 16 ก.ค. 18, 20:04

คำต่อคำ 'จอห์น โวลันเธน' เปิดใจกับ 'บีบีซี' ครั้งแรกหลังจบภารกิจกู้ 13 ชีวิตออกจากถ้ำหลวง

นี่คือบทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำของ จอห์น โวลันเธน ซึ่งเขาบอกว่าจะให้สัมภาษณ์กับ บีบีซี เพียงครั้งเดียว

ถาม - มีเด็ก 12 คน และผู้ใหญ่ 1 คน แล้วคุณทำอย่างไร เด็กอยู่ใต้แขน ว่ายน้ำกับพวกเขา หรือคุณพาพวกเขาออกมาอย่างไร?
โวลันเธน - ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม และไม่มีการตื่นตระหนก มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราโชคดีมากที่มีเด็กไทยที่สโมสรว่ายน้ำในพื้นที่ที่เราได้ฝึกร่วมกับพวกเขาที่สระก่อน
เราให้เด็กใส่   เสื้อที่เป็นทุ่นลอย(buoyancy compensator) ซึ่งเป็นเสื้อดำน้ำประเภทหนึ่ง
ถังอากาศอยู่ที่หน้าอกพวกเขา เราทำเสื้อที่เป็นทุ่นลอยนี้ให้เป็นที่สำหรับใช้ควบคุม ทำให้เรากลายเป็นหน่วยเดียวกันเพื่อให้ควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
เด็กจะมีหน้ากากแบบเต็มใบหน้าแบบพิเศษ ซึ่งช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น แต่พวกเขาก็ยังคงถูกผูกโยงติดกับเราด้วยเชือก
เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลุดหายไป ทำให้เราเคลื่อนย้ายพวกเขาได้ง่ายกว่าการที่มัดตัวพวกเขาติดกับนักดำน้ำโดยตรง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 17 ก.ค. 18, 14:18

นักข่าวสาวออสซี่ ติดใจ พี่สุธีร์-รังนกลิบงตอนที่ให้สัมภาษณ์ ทำให้เธอ"ขนลุกจนถึงวันนี้"

อลิซ มันฟรีส์ นักข่าวสาวชาวออสเตรเลีย ได้พูดถึงความประทับใจที่เดินทางมาทำข่าวปฏิบัติการช่วยเหลือเด็ก ๆ และโค้ช ทีมหมูป่า อะคาเดมี ออกจากถ้ำหลวง ที่รวมถึงน้ำใจของอาสาสมัครทีมเก็บรังนกจากเกาะลิบง

อลิซ มันฟรีส์ ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ ไนน์ นิวส์ ของออสเตรเลีย บอกว่า บางครั้งคุณก็ไม่สามารถหาคำที่ห่อหุ้มความรู้สึกหรือช่วงเวลาหนึ่ง  แต่บางที มีคำพูด บทกวีเพลง หรือแม้กระทั่งเนื้อเพลงบรรทัดเดียว ที่พูดแทนทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเกือบทำให้คิดว่ามันถูกเขียนขึ้นเพื่อโอกาสนี้ ดังเช่น เนื้อเพลงท่อนที่ว่า "Imagine there's no countries .... The world will be as one." (จินตนาการว่าไม่มีประเทศและโลกกลายเป็นหนึ่งเดียว)

ถ้อยคำเหล่านี้ ถูกปลดปล่อยโดย "สุธีร์ สมมาตร" สมาชิกทีมอาสาสมัครกู้ภัยที่โล่งใจและดีใจอย่างเหลือล้น เมื่อเขาเลือกเพลง "Imagine" ของจอห์น เลนนอน โดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและแสดงถึงความจริงใจ ตอนที่ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกตอนที่เด็กคนสุดท้าย ได้รับการช่วยเหลือออกจากถ้ำหลวงฯ ซึ่งมันฟรีส์ บอกว่า มันทำให้เธอถึงกับขนลุกจนถึงวันนี้ ซึ่งแม้จะผ่านมาหลายวันแล้ว แต่ช่วงเวลานั้นมันทำให้เธอรู้สึกหัวใจพองโต และเห็นได้ชัดว่า มันยังคงตราตรึงอยู่ในใจของคนไทยนับล้าน ๆ คน รวมถึงผู้ที่เฝ้าติดตามทั่วโลก และทำให้สุธีร์กลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน




ปฏิบัติการกู้ภัยนานาชาติ ที่ยิ่งใหญ่ มีผู้คนร่วมแรงร่วมใจกันมากกว่าหนึ่งพัน ที่ทำงานกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง และเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ในด้านการดำน้ำ, นักผจญภัยถ้ำ, แพทย์, วิศวกร, นักกู้ภัยพิบัติและวางแผน ที่ต่างมาร่วมแบ่งปันความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในปฏิบัติการครั้งนี้

พวกเขาทำงานเคียงข้างกัน แข่งกับเวลา ฤดูฝนที่ใกล้เข้ามา และระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเด็กชาย ๑๒ คน กับโค้ช ออกมาอย่างปลอดภัยและกลับไปอยู่กับครอบครัว และแม้แต่คนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญ ก็ยังอาสามาช่วยทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น ทำอาหารส่งน้ำ รับ-ส่งบริเวณหน้าถ้ำ บริจาคถุงเท้าและเสื้อผ้าให้ทีมกู้ภัยและสื่อ แจกรองเท้าบู้ทยาง ยากันยุง และครีมทากันแดด และที่น่าทึ่งมีบริการนวดให้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครอีกมากกว่า ๓ พัน รวมทั้งเด็ก ๆ หลายร้อยคน ที่ลงชื่อเพื่อช่วยทำความสะอาด หลังสิ้นสุดปฏิบัติการ

มันฟรีส์ ทิ้งท้ายว่า ช่างเป็นตัวอย่างอันน่าทึ่งของผู้คนที่มาร่วมแรงร่วมใจกัน โดยไม่สนใจเรื่องเชื้อชาติ การเมืองและศาสนา เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ถูกประกาศไว้ในตอนแรกว่า "เป็นไปไม่ได้"  มันเป็นเรื่องของมนุษยธรรมและเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์และดีที่สุดของบทเพลงในทศวรรษที่ ๗๐ ของจอห์น เลนนอน ในท่อนที่ว่า "จินตนาการว่าไม่มีประเทศ ... และโลกกลายเป็นหนึ่งเดียว"


http://www.nationtv.tv/main/content/378641491/

https://www.9news.com.au/national/2018/07/16/18/44/thai-cave-rescue-alice-monfries-looks-back-on-moment-suthee-sommart-sang
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 17 ก.ค. 18, 17:39

ดีใจที่คิดตรงกันครับ

http://www.mcot.net/view/5b4d6d56e3f8e4f609863bbb?utm_source=TNA&utm_medium=TOPNEWS&utm_campaign=fixtna


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 17 ก.ค. 18, 18:28

 ร้องไห้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 17 ก.ค. 18, 18:55

ภูมิใจ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง