เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 7621 ขออนุญาตสอบถามอาจารย์เทาชมพู เกี่ยวกับเรื่อง อักษรสามหมู่ค่ะ
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 17:42

พออาจารย์บอก ดิฉันก็เลยลองให้ลูกสาว(ลูกครึ่งญี่ปุ่น)ออกเสียง สึนามิ(tsunami)ให้ฟัง ได้ยินเสียง tsu เป็นเสียงเอกดังที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้
แต่พอให้ออกเสียง ซึรุมิ(tsurumi) ก็ได้ยินเสียงtsuเป็นเสียงตรีตามที่อาจารย์ได้ยินจริงๆค่ะ

พอจะอธิบายได้ไหมคะว่า คำเดียวกันแต่ทำไมคนญี่ปุ่นออกเสียงไม่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 19:36

เคยได้ยินบางคนกล่าวด้วยความภูมิใจว่า อักษรไทยใช้เขียนการออกเสียงได้ทุกภาษา ซึ่งไม่จริงเลย ในแต่ละภาษาก็มีการออกเสียงต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถเขียนโดยใช้อักษรไทย แล้วให้อ่านเหมือนสำเนียงในภาษานั้น ๆ

อักษร つ (tsu) นี้ก็เช่นเดียวกัน

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 19:52

พออาจารย์บอก ดิฉันก็เลยลองให้ลูกสาว(ลูกครึ่งญี่ปุ่น)ออกเสียง สึนามิ(tsunami)ให้ฟัง ได้ยินเสียง tsu เป็นเสียงเอกดังที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้
แต่พอให้ออกเสียง ซึรุมิ(tsurumi) ก็ได้ยินเสียงtsuเป็นเสียงตรีตามที่อาจารย์ได้ยินจริงๆค่ะ

พอจะอธิบายได้ไหมคะว่า คำเดียวกันแต่ทำไมคนญี่ปุ่นออกเสียงไม่เหมือนกัน
ภาษาคือสำเนียงที่มนุษย์เปล่งออกมาตามอารมณ์ สะกดอย่างเดียวกัน คนๆหนึ่งอาจออกเสียงไม่เหมือนกันทุกครั้ง  ภาษาไทยก็ด้วย บางครั้งการสะกดแบบที่ราชบัณฑิตขัดใจ สามารถแสดงถึงอารมณ์ที่ผู้เขียนอยากจะสื่อได้ เช่น คะ หรือ ค๊ะ คุณลองอ่านให้เสียงต่างกันได้ไหมครับ แต่ต้องใส่อารมณ์หน่อยนะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 20:11

มาเสริม

ลองอ่าน ว้าย กับ ว๊าย  สวมวิญญาณนักแสดงดูนะคะ   เสียงมันต่างกันไหม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 20:39

ตัวอย่างที่คุณนวรัตนและคุณเทาชมพูเสนอ ทำให้นึกได้ว่า แม้แต่ภาษาไทยที่ออกเสียงแสดงอารมณ์ต่าง ๆ รวมถึงภาษาถิ่นต่าง ๆ ก็ไม่สามารถเขียนโดยใช้อักษรไทยให้ได้ครบถ้วนตามสำเนียงที่ต้องการได้

แม้จะสะกดแบบที่ขัดใจท่านรอยอินก็ตาม
  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 20:58

ภาษาที่ถูกต้องในสายตาท่านรอยอิน ใช้ได้กับบทความ หรือสารคดี ที่ต้องการหลักเกณฑ์การสะกดถูกต้องตามมาตรฐาน   
แต่ภาษาที่สะท้อนอารมณ์อย่างในบันเทิงคดีทั้งหลาย ไม่ว่านวนิยาย เรื่องสั้น หรือบทละคร     หลักเกณฑ์ไม่อาจครอบคลุมถึงได้
จริงป่ะค๊ะ?
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 22:05

จริงอย่างที่ท่านอาจารย์ทั้งสามพูดจริงๆค่ะ.. การเติมวรรณยุกต์ลงไปจะสื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่า
อย่างที่ท่านอาจารย์เทาชมพูได้ยกตัวอย่าง คำว่า จริงป่ะค๊ะ?จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่า จริงปะคะ? ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ก.ค. 18, 08:04

ไม่เคยเห็นร้านนี้เลยค่ะ อ่านคำบรรยายฉากในภาพยนตร์ไทย ทำให้อยากเห็นขึ้นมาเชียว เสียดายที่ไม่มีภาพนะค๊ะ

นะค๊ะ ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ตรี บนตัว ค ค่ะ

ค เป็นอักษรต่ำ  ผันด้วยสระเสียงสั้นเป็นเสียงตรีอยู่ในตัวแล้วค่ะ  

คุณมุทิตาใส่วรรณยุกต์ตรีบนตัว ค อาจเพื่อต้องการแสดงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ก.ค. 18, 08:39

ผมว่าไม่ใช่หรอกครับ อ่านบริบทแล้วอารมณ์มันไม่ได้ไปด้วย พอเห็นปุ๊บก็ตัดสินได้เลยว่าเขียนผิด

ถ้านะค๊ะเป็นประโยคคำถาม ที่ต้องการขึ้นเสียงสูงให้สูงกว่าปกติไปอีกระดับนึง จึงจะใช่
ผมว่าคุณหมอก็ทราบดีอยู่ แต่จะแกล้งเขียนซะอย่างงั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ก.ค. 18, 11:10

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ก.ค. 18, 20:16

ลองอ่าน ว้าย กับ ว๊าย  สวมวิญญาณนักแสดงดูนะคะ   เสียงมันต่างกันไหม

คงแสดงอารมณ์สู้ "ว้าย" ของคุณประกอบเทพไม่ได้  ยิงฟันยิ้ม

ว้ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!  ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ก.ค. 18, 21:35

ว้ายยยยยยยยยยยฯลฯของดร.ประกอบเทพ ยาวววววววววววววว 
แต่ไม่สู๊ง  ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 ก.ค. 18, 11:04

เพียงอักษรบอกอารมณ์สมบูรณ์ไม่
คงต้องใช้ภาพเสริมเพิ่มด้วยหนา
เพียงไม้ตรียลยินจินตนา
เสียงสูงมาไม่พอดอกบอกตรงตรง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 10 ก.ค. 18, 12:20

ภาพมันไม่ให้อารมณ์ว๊ากดังบทกลอนครับ มันท่ากรี๊ดดารามากกว่า

ว๊ากคืออย่างนี้ ไม่ต้องการคำบรรยายด้วยอักษร + วรรณยุกต์ใดๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 ก.ค. 18, 09:04

ว้าวววววววว!!!!!!!


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง