เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 7646 ขออนุญาตสอบถามอาจารย์เทาชมพู เกี่ยวกับเรื่อง อักษรสามหมู่ค่ะ
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


 เมื่อ 06 ก.ค. 18, 07:28

...เท่าที่เคยเรียนมา ทราบแต่ว่า พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น 3 หมู่คือ อักษรกลาง อักษรสูงและอักษรต่ำ โดยแบ่งตามกฎการผันวรรณยุกต์ แต่มีข้อสงสัยคือ ทำไมกฎการผันแบบนี้ถึงต้องเรียกว่าเป็นอักษรกลาง อักษรสูง อักษรต่ำ ด้วยคะ...ลองค้นในอินเทอร์เน็ตแล้วไม่มีคำตอบเลยจึงอยากเรียนสอบถามอาจารย์ค่ะ

กราบขอบพระคุณมากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 10:55

คนที่เข้ามาตอบน่าจะเป็นคุณเพ็ญชมพู วิชาเอก สัตวแพทยศาสตร์ วิชาโท ภาษาไทย  แต่ท่านคงรอให้ดิฉันตอบก่อนค่ะ
อธิบายง่ายๆ อักษรสูง ออกเสียงสูงสุดในวรรณยุกต์ทั้ง 5  คือสามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไงคะ
 ข ฉ ห  ฯลฯ เสียงจัตวาหมด
อักษรต่ำ คือตัวอักษรที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง  ทุกตัวเป็นเสียงสามัญ ซึ่งเป็นเสียงต่ำสุดของวรรณยุกต์
ค  ช  ฮ  เสียงสามัญหมด

ส่วนอักษรอีกกลุ่มที่ไม่มีคู่  เช่น  ก  จ ด ต  ไม่มีตัวอักษรที่ออกเสียงสูงคู่กัน  ก็จัดเป็นอีกกลุ่มเรียกว่าอักษรกลาง  เพื่อให้เห็นชัดว่าไม่ซ้ำกับอักษรต่ำ ทั้งๆอักษรกลางมีเสียงสามัญเหมือนกัน   เพื่อจะได้ไม่สับสนว่าอะไรคืออักษรต่ำกันแน่

อักษรกลาง ผันได้ 5 เสียง
อักษรสูง  ผันได้ 3 เสียง   ถ้าจะให้ครบ 5 เสียงต้องเอาอักษรต่ำมาช่วย   คอ  ข่อ ข้อ ค้อ ขอ
จริงอยู่  ข ไข่ ผันเสียงตรี จะสะกดว่า ข๊อ  ก็ได้ แต่ในเมื่อมีอักษรต่ำสะกดได้อยู่แล้ว คือ ค้อ  ตามตำราให้ใช้อักษรต่ำแทนค่ะ
เขาค้อ  จึงไม่ใช่ เขาข๊อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 11:04

การแบ่งอักษรเป็น ๓ พวก มีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในหนังสือ "จินดามณี" สมัยสมเด็จพระนารายณ์

จินดามณีสมัยสมเด็จพระนารายณ์แบ่งอักษรเป็น ๓ หมู่ตามระดับการออกเสียงเมื่อผันด้วยวรรณยุกต์เอกและโท เป็นอักษรเสียงสูง, อักษรกลาง และอักษรเสียงกลางก้องต่ำ ตามคำอธิบายข้างล่างนี้แล

จาก จินดามณีฉบับวัดท่าพูด หน้า ๒๓-๒๔



บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 13:21

คนที่เข้ามาตอบน่าจะเป็นคุณเพ็ญชมพู วิชาเอก สัตวแพทยศาสตร์ วิชาโท ภาษาไทย  แต่ท่านคงรอให้ดิฉันตอบก่อนค่ะ
อธิบายง่ายๆ อักษรสูง ออกเสียงสูงสุดในวรรณยุกต์ทั้ง 5  คือสามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไงคะ
 ข ฉ ห  ฯลฯ เสียงจัตวาหมด
อักษรต่ำ คือตัวอักษรที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง  ทุกตัวเป็นเสียงสามัญ ซึ่งเป็นเสียงต่ำสุดของวรรณยุกต์
ค  ช  ฮ  เสียงสามัญหมด

ส่วนอักษรอีกกลุ่มที่ไม่มีคู่  เช่น  ก  จ ด ต  ไม่มีตัวอักษรที่ออกเสียงสูงคู่กัน  ก็จัดเป็นอีกกลุ่มเรียกว่าอักษรกลาง  เพื่อให้เห็นชัดว่าไม่ซ้ำกับอักษรต่ำ ทั้งๆอักษรกลางมีเสียงสามัญเหมือนกัน   เพื่อจะได้ไม่สับสนว่าอะไรคืออักษรต่ำกันแน่

อักษรกลาง ผันได้ 5 เสียง
อักษรสูง  ผันได้ 3 เสียง   ถ้าจะให้ครบ 5 เสียงต้องเอาอักษรต่ำมาช่วย   คอ  ข่อ ข้อ ค้อ ขอ
จริงอยู่  ข ไข่ ผันเสียงตรี จะสะกดว่า ข๊อ  ก็ได้ แต่ในเมื่อมีอักษรต่ำสะกดได้อยู่แล้ว คือ ค้อ  ตามตำราให้ใช้อักษรต่ำแทนค่ะ
เขาค้อ  จึงไม่ใช่ เขาข๊อ

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 13:27

อาจารย์ตอบได้กระจ่างมากๆค่ะ จากที่เคยเรียนในหนังสือเรียนยังไม่เคยเห็นนักวิชาการท่านใดชี้แจงว่าทำไมต้องเรียกอักษรสามหมู่นี้ว่าเป็นอักษรสูง อักษรกลางหรืออักษรต่ำ ตอนนี้หายสงสัยแล้วค่ะ...ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 13:39

ขอขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูด้วยค่ะที่กรุณานำเอาหนังสือจินดามณีมาอธิบายเพิ่มเติม แต่ขอสารภาพว่าอ่านแล้วจะงงๆค่ะ..ขอเวลาไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนนะคะ...ขอบพระคุณมากค่ะ..
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 14:04

คุณวาริสาอ่านจินดามณีไว้เป็นความรู้   ได้แค่ไหนเอาแค่นั้นก็พอค่ะ   เพราะมันเป็นหลักภาษาไทยที่เลิกใช้กันมาหลายร้อยปีแล้ว   
ยกเว้นแต่จะเตรียมตัวเดินทางย้อนเวลาไปหาแม่การะเกด  ก็ค่อยจำให้แม่น เพื่อเอาไปสื่อสารกับพระโหราธิบดีพ่อของคุณพี่หมื่น

เอาคำอธิบายของดิฉันไปตอบนักเรียน(ถ้าคุณเป็นครู) เด็กก็จะเข้าใจค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 14:50

อักษรกลาง ผันได้ 5 เสียง
อักษรสูง  ผันได้ 3 เสียง

การผันวรรณยุกต์ยังมี "คำเป็น คำตาย" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ที่คุณเทาชมพูอธิบายเป็นกรณี "คำเป็น" สำหรับ "คำตาย" อักษรกลางผันได้เพียง ๔ เสียง และอักษรสูงผันได้ ๒ เสียง ดังรายละเอียดในตารางข้างล่าง



 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 15:27

ผังข้างบนนี้ทำให้นึกถึงการบ้านของลูก สมัยเรียนชั้นมัธยมต้น
การผันคำตาย สระเสียงสั้น เป็นอะไรที่ปวดหัวมาก ทั้งกับลูกและแม่   เพราะจนบัดนี้   คำอย่าง ขั่น ในตารางข้างบนนี้ ก็ยังไม่เคยใช้
หรือคำว่า หงะ  ก็พอกันละค่ะ
ถ้าถามว่าแปลว่าอะไร ก็ยังสงสัยว่ามีคำแปลหรือเปล่า

สงสารเด็กต้องมาท่องจำ เปลืองเนื้อที่ในสมอง    แล้วยังไม่ได้ผลอีกด้วย   ถ้าได้ผล ภาษาไทยที่ใช้กันในสื่อต่างๆรวมทั้งหนังสือพิมพ์ที่ควรจะมีบก.พิสูจน์อักษร คงไม่ผิดกันฉกาจฉกรรจ์อย่างทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 15:47

เรื่องอักษรกลางคำตายผันวรรณยุกต์ได้เพียง ๔ เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้เพียง ๓ รูปคือ โท, ตรี และจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์เอก หลายคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ทำให้เขียนคำผิด เช่น "อ่ะ" และ "ป่ะ" เรื่องนี้พบบ่อยพอ ๆ กับการใช้ไม้ตรีกับอักษรสูงและอักษรต่ำ

คำที่พบบ่อยบ่อย              มิใช่น้อยนั้นคือ "อ่ะ"
"โอ่ะ" "โห่ะ" พบน้อยจ้ะ     "อ่ะ" เป็น "อะ" จะปลอดภัย


ป่ะ เป็น ปะ ก็จะปลอดภัยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 16:01

อาจารย์เดาแม่นจริงๆค่ะว่าดิฉันเป็นครู คือนักเรียนมาถามดิฉันแล้วดิฉันตอบไม่ได้ก็เลยขอผัดผ่อนว่าจะถามผู้เชี่ยวชาญให้ ส่วนตารางการผันวรรณยุกต์ที่อาจารย์เพ็ญชมพูยกมานั้นตอนนี้ดิฉันก็ใช้สอนนักเรียนอยู่ เอามาจากเว็บเรือนไทยนี่แหละค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ยิ้ม

            
              



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 18:06

เข้ามาบอกว่า คุณครูอย่าเพิ่งเข้าใจว่าดิฉันต่อว่าว่าครูสอนภาษาไทยไม่ดีนะคะ      ดิฉันโทษหลักสูตรและตำราสอนมากกว่า ว่าสอนให้เด็กท่องจำในสิ่งที่ยากเกินไป   
ความจริงเรื่องทิศทางของการศึกษาไทยเป็นเรื่องพูดกันได้ยาว จนบัดนี้ก็ยังเหมือนเรืออยู่ในวังน้ำวน ยังไม่รู้จะไปทางทิศไหน

ปะ  ไม่สะกด ว่า ป่ะ
อะ  ไม่สะกดว่า อ่ะ

แต่ ว่อกแว่ก ไม่ยักสะกดว่า วอกแวก
สองคำนี้ เสียงต่างกันยังไงคะ   อาจารย์เพ็ญชมพู?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 18:54

แต่ ว่อกแว่ก ไม่ยักสะกดว่า วอกแวก
สองคำนี้ เสียงต่างกันยังไงคะ   อาจารย์เพ็ญชมพู?

ว่อกแว่ก-วอกแวก

ว่อกแว่ก พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น (เอาะ-แอะ) เสียงวรรณยุกต์ โท-โท

วอกแวก พยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว (ออ-แอ) เสียงวรรณยุกต์ โท-โท


แต่ก่อนคำนี้ก็เขียนว่า วอกแวก ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมาท่านรอยอินเปลี่ยนใจให้ใช้ว่า ว่อกแว่ก ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 19:16

ที่จริง คำว่า วอกแวก ก็ดี ลอกแลก ก็ดี  เวลาอ่านเราไม่ได้อ่านเป็นเสียงยาว ว่า วอกกก แวกกก  หรือ ลอกกก แลกกก
เราอ่านออกเสียงสั้นทั้งสองคำ
วอก ในวอกแวก  อ่านออกเสียงสั้นว่า ปีวอก  ลอก ในลอกแลก  ก็อ่านสั้นว่า ลอก(การบ้าน)
การใส่ ไม้เอก คือย้ำว่าคำนี้อ่านเสียงสั้น ทั้งๆตัวสะกดเป็นเสียงยาว

ป่ะ ออกเสียงสั้นกว่า ปะ    เราไม่ได้พูดว่า จริงปะ  ด้วยเสียงยาวเท่ากับ  ปะผ้า  หรือ พบปะ
ถ้าพูดว่า จริงป่ะ เขาปะผ้า  จะเห็นความแตกต่างของการออกเสียง "ปะ" ทั้งสองคำ คำแรกออกเสียงสั้น คำที่สองออกเสียงยาว ทั้งๆสะกดด้วยสระเสียงสั้นเหมือนกัน
อ่ะ ก็แบบเดียวกัน     ออกเสียงสั้นกว่า อะ   

อ่ะ  อะไรก็ได้

ลองออกเสียงดูซิคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ก.ค. 18, 19:43

เรื่องนี้วนมาอีกรอบหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2403.120
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง