เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 14:41
|
|
ล่าสุด คุณผู้ใช้นามแฝงว่า " เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี" ในกลุ่ม" ภาพเก่าในอดีต" ของ Facebook เสนอประเด็นน่าสนใจมาก เกี่ยวกับภาพสตรีปริศนาผู้นี้ คือโพสว่า แอดมินครับขออนุญาตโพสต์เกินสักโพสต์นะครับ อยากให้เพื่อนสมาชิกช่วยวิเคราะห์ด้วยครับว่าสุภาพสตรีเป็นบุคคล คนเดียวกันกับท่านพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล)ที่แต่งกายเป็นหญิงหรือเปล่า (Cr.reurnthai.com )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 14:44
|
|
ดิฉันหาภาพพระยาอุดมราชภักดีเจออีกภาพ คือภาพนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 14:50
|
|
จึงเอามาเทียบกันให้เห็นชัดๆทั้งสองภาพ ขอความเห็นชาวเรือนไทย ว่าท่านคิดว่า 1 สตรีและบุรุษในภาพนี้เป็นคนเดียวกัน 2 อาจเป็นญาติพี่น้อง 3 อาจไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้
ขออธิบายเพิ่มหน่อยว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระยาอุดมราชภักดีเคยแต่งเป็นหญิง ในงานแฟนซีหรือในละครเรื่องใดๆสมัยรัชกาลที่ ๖ มีแต่หลักฐานว่าท่านเคยรำเป็นตัวยักษ์อินทรชิต ในโขนหลวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 15:08
|
|
พระยาอุดมฯ อีกรูปหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 16:07
|
|
เพิ่งเจอรูปสตรีท่านที่สองโดยบังเอิญ ขอนำมาเปรียบเทียบกัน สตรีทั้งสองนี้เป็นคนเดียวกันได้ไหมคะ ถ่ายในเวลาที่ต่างกันประมาณ 10+ ปี โปรดสังเกตต่างหูด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
adinbera
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 20:33
|
|
ตอนแรกผมก็คิดว่าเป็นท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เช่นเดียวกับคุณเทาชมพู เพราะสตรีในยุคนั้นที่ได้รับพระราชทานเข็มวชิราวุธ มีไม่กี่ท่าน และต้องมีความใกล้ชิดพอสมควร หนึ่งในนั้นคือพระขนิษฐาของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 20:53
|
|
ตอนแรกไม่คิดว่าเป็นท่านผู้หญิงพัว เพราะเจอแต่รูปท่านผู้หญิงพัวตอนท่านชรามากแล้ว ดูไม่ออกว่าตอนสาวๆท่านหน้าตาอย่างไร เพิ่งจะเจอรูปสมัยท่านยังสาว ก็เลยนำมาลงให้เปรียบเทียบกัน ค่ะ ความคิดที่ว่าเป็นรูปพระยาอุดมราชภักดีแต่งเป็นหญิง เป็นสิ่งที่ดิฉันเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ จริงอยู่ ข้าราชสำนักบางท่านแต่งหญิงเวลาเล่นละคร เล่นโขน หรือในงานแฟนซี แต่ยังไงก็ดูออกว่าชายแต่งหญิง ต่อให้เป็นชายที่หน้าตางดงามอย่างพระยาอนิรุทธเทวาก็เถอะค่ะ อีกอย่าง พระยาอุดมราชภักดีรำเป็นตัวพระ ไม่ใช่ตัวนาง บทโขนที่ท่านได้รับเป็นบทยักษ์ ท่านขึ้นชื่อเรื่องรำเป็นอินทรชิต คนที่เล่นโขนบทยักษ์ต้องแข็งแรงล่ำสัน จะมาสวมชุดผ้าลูกไม้สะพายแพรได้สวยสง่าแบบสตรีปริศนา เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อเอารูปพระยาอุดมราชภักดีในวัยหนุ่มมาเทียบกับสตรีปริศนา ความคล้ายคลึงกันทำให้ดิฉันนึกขึ้นมาได้ว่า หรือจะเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตกัน ในเมื่อพระยาอุดมราชภักดีเป็นบุตรชายคนเดียวของมารดา ก็เหลือแต่น้องสาวต่างแม่ ที่จะหน้าตาคล้ายกันได้ สตรีปริศนาแต่งกายงามหรูเทียบได้กับเจ้าจอมดังๆ มีเครื่องประดับแพรวพราว ถ้าเป็นสามัญชนก็ต้องมาจากสกุลใหญ่ระดับแถวหน้า ไม่ใช่กลางๆ ในสยามมีไม่กี่สกุล เช่นบุนนาค ไกรฤกษ์ สุจริตกุล นอกจากนี้เข็มพระปรมาภิไธยเพชรบนเรือนผม ทำให้แน่ใจว่าไม่ใช่ชายแต่งหญิงเป็นแน่ เข็มนี้พระราชทานให้สตรี ไม่ใช่บุรุษ นอกจากนี้ตุ้มหูไข่มุกแบบนี้เรียกว่า ต่างหูด๊อก มีแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่สวม เข็มทิศชี้ไปทางน้องสาวคนใดคนหนึ่งของพระยาอุดมราชภักดี ก็เลยมาถึงรูปท่านผู้หญิงพัวนี่ละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 15 พ.ค. 20, 20:59
|
|
ถ้าใช่ท่านผู้หญิงพัว ก็โล่งใจที่ปริศนาค้างคาใจมานาน ได้คำตอบเสียทีค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Koratian
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 09:57
|
|
ถูกต้องแล้วคร๊าบ :-)
ขอสันนิษฐาน(เดา)ว่าเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อ คุณหญิงตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ไปเชียงใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 10:08
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 10:42
|
|
ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2529) เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับเง็ก สุจริตกุล เกิดที่บ้านฝั่งธนบุรี ตรงข้ามวัดปากน้ำ ตำบลปากคลองด่าน (ปัจจุบันคือ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร) ด้วยมารดาเลี้ยงบุตรยาก ให้กำเนิดบุตรมาหลายคนแต่เสียชีวิตหมด หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบิดาทราบความก็แก้เคล็ดด้วยการขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ท่านจึงถูกส่งตัวไปเข้ารับการอบรมในพระบรมมหาราชวัง อยู่ในความปกครองดูแลของท้าววนิดาพิจาริณี (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5) ผู้มีศักดิ์เป็นอา ตั้งแต่อายุได้ 2-3 ขวบ ท้าววนิดาพิจาริณีพาท่านขึ้นเฝ้าเจ้านายบนพระที่นั่งเทพดนัยบ่อย ๆ ได้มีโอกาสเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับพระราชทานชื่อว่า “พัวพันเพิ่ม“ ต่อมาใช้คำหน้าเพียงคำเดียวว่า “พัว” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านผู้หญิงพัวเข้ารับการศึกษาครั้งแรกกับทองสุก วิวัฒนานนท์ ซึ่งพำนักอยู่แถวเต๊งในเขตพระราชฐานชั้นใน พออายุ จากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินี จบการศึกษามัธยมปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2460 แล้วศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461-2464 เมื่อจบแล้วได้รับการบรรจุเป็นพยาบาลในแผนกโอสถกรรม รับเงินเดือน ๆ ละ 25 บาท จากนั้นเดินทางไปศึกษาและฝึกงานที่โรงพยาบาลควีนแมรี ที่ย่านแฮมป์สเตด กับศึกษาวิชาครูพยาบาลที่วิทยาลัยแบทเทอร์ซีโปลีเทคนิค ประเทศอังกฤษ
ท่านผู้หญิงพัวได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นพยาบาลประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ติดตามเสด็จไปทรงรักษาพระองค์ในปี พ.ศ. 2479 ต่อมามีโอกาสไปรอบโลกกับเพื่อน ๆ ในปี พ.ศ. 2507 กับได้เดินทางไปสหรัฐและอังกฤษกับหลาน ๆ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2515
ท่านผู้หญิงพัวเคยสอนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 5 ปี สอนวิชามาตเวชวิทยา ที่โรงเรียนการเรือน (ปัจจุบันคือวิทยาลัยครูสวนดุสิต) เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาพิเศษที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลตำรวจ
อีกทั้งยังได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในปี พ.ศ. 2493 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้า จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2470 ต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชฯสูงขึ้นเป็นลำดับ จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2519
ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร ได้รับพระมหากรุณาประกอบพิธีสมรสพระราชทานกับพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นพระยาประชุมมงคลการ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 มีบุตรชายฝาแฝด ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองคน คือแก้วขวัญ วัชโรทัยกับขวัญแก้ว วัชโรทัย ท่านทั้งสองต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง และรองเลขาธิการพระราชวัง ตามลำดับ ท่านผู้หญิงพัวมีธิดาอีกหนึ่งคนได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า คือเฉลิมพร วัชโรทัย
ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2529 สิริอายุ 88 ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 10:58
|
|
ท่านผู้หญิงพัว นอกจากเป็นน้องสาวต่างมารดาของพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) ท่านยังเป็นน้องสาวต่างมารดาของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา อีกด้วย ในรัชกาลที่ ุ6 ท่านผู้หญิงยังไม่ได้สมรส และยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ในฐานะน้องสาวของสมเด็จพระราชินี ก็น่าจะอยู่ในข่ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเข็มเพชรพระปรมาภิไธย เช่นเดียวกับภรรยาข้าราชสำนักชั้นผู้ใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 11:15
|
|
พระสุจริตสุดา ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร และ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในรัชกาลที่ ๖
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 11:21
|
|
วัยรุ่น-วัยสาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
adinbera
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 16 พ.ค. 20, 19:41
|
|
ทำไมใจผมถึงเอนเอียงมายังท่านผู้นี้ครับ เพราะดูโครงสร้างสรีระแล้วน่าจะเป็นสุภาพบุรุษเสียมากกว่าสตรีครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|