เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13624 หากพระเจ้ามังระไม่สวรรคต กรุงธนบุรีจะสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้หรือไม่
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 พ.ค. 18, 08:32

2. พงศาวดารพม่าระบุว่าตั้งทัพอยู่ที่จันทรบุรี  แต่ๆๆ จากหลักฐานต่างๆนั้น ไม่เคยพบว่า มีทหารพม่ากองไหนฝ่าด่านค่ายของพระเจ้ากรุงธนฯล่วงล้ำมาเกินเขตจังหวัดไชยนาทได้  คงเป็นไปไม่ได้ที่ทหารกองนี้จะดำดินไปโผล่ที่จันทบุรี นอกเสียจากเดินทัพเข้าจากเส้นทางสายอีสานทะลุนครราชสีมา แล้วก็ผ่าลงไปทีจันทบุรี  แต่หากเป็นการบันทึกคลาดเคลื่อน มันน่าจะเป็นเมืองไหน หรือ จะบันทึกผิดเป็นเวียงจันทน์  ซึ่งเวลานั้น สิริบุญสารก็ยังสวามิภักดิ์พม่าอยู่

"จันทบุรี" มีความหมายเดียวกับ "เวียงจันทน์" เป็นนามพระราชทานจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นชื่ออำเภอหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทน์

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงเป็นวีรกษัตริย์พระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ลาว 

ใน พ.ศ. ๒๑๐๓ พระองค์โปรดให้ย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของบุเรงนองแห่งหงสาวดี และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี" ทั้งยังทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นกำลังในการต่อต้านพม่าซึ่งเป็นศัตรูร่วมกัน
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 15:20

ดูจากอาการที่สิริบุนสารตั้งตัวเป็นศัตรูท้าตีท้าต่อยกับเราหลังจากนี้ ก็มีที่มาอย่างนี้นี่เอง

แต่ดูจะเลือกลูกพี่ผิด และ เป็นความผิดพลาดที่ราคาแพงที่สุดของลาวยุค 3 อาณาจักร  หลังจากนี้ จึงกลายเป็นขาลงดิ่งของลาว แบบไม่มีโอกาสฟื้นตัวกลับมายิ่งใหญ่ได้อีก
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 19:29


เจ้าสิริบุญสารนับเป็นวีรบุรุษองค์หนึ่งของประเทศลาวครับ
เปรียบได้กับเจ้ากาวิละและพี่น้องที่เป็นวีรบุรุษล้านนา
ช่วยกันปลดแอกพม่าได้แล้ว แต่ไทยเก่งกว่าเข้าฮอร์สกินสองต่อ
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 20:53

เดี๋ยวนะครับ สิริบุนสารน่ะนะปลดแอกพม่า?  นั่นน่ะ บริวารพม่าสาขาลุ่มน้ำโขงเลยไม่ใช่เรอะ? เห็นสวามิภักดิ์พม่า, มีความเคลื่อนไหวอะไรในภาคกลางอะไรก็รีบไปรายงายทัพพม่าที่เชียงใหม่ตลอด

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 21:02


ผมว่าจริงครับ
้ถ้าคุณนับว่าพระมหาธรรมราชาทรงเป็นวีรบุรุษของไทยก็ต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 23:30

งั้นก็น่าเสียดาย ที่พระองค์ยังไม่ทันได้ได้ฟื้นม่าน ก็ท้าตีกับไทย จนเสียเมืองซ้ำสอง เปิดแนวรบกว้างเกิน
บันทึกการเข้า
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 มิ.ย. 18, 13:29

ลาป่วย ขาดเรียนหลายวันเลยค่ะ
จะตามเพื่อนๆ ในห้องทันมั้ยเนี่ย
รึจะขอลอกการบ้านใครดีเอ่ย
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 14 มิ.ย. 18, 08:42

น่าจะลอกทันนะ ช่วงนี้ พวกอาจารย์กำลังเตรียมแบบเรียนอยู่
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 มิ.ย. 18, 10:54

ต่อท่อนสุดท้าย

ฝ่ายกรุงอังวะนั้น พระเจ้ามังระ เชงพยูชิน (พระเจ้าช้างเผือก) เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๙ พระเจ้าเซ่งกูผู้เป็นพระโอรสจึงทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ และมีรับสั่งให้กองทัพทั้งหมด เช่น ทัพของพระมหาสิงหะสูระ (ฉบับพระราชหัตถเลขาเรียกว่า อะแซหวุ่นกี้) จากระแหงหนึ่งทัพ ทัพของพระเนมโยสิงหะปกติให้ไปตั้งอยู่ที่จันทบุรีหนึ่งทัพ และทัพของผู้ว่าเมืองเชียงใหม่ที่พระบิดามีรับสั่งให้ไปตีกรุงบางกอกธนบุรีอีกหนึ่งทัพ เดินทัพกลับเข้ากรุงอังวะทั้งหมด


พงศาวดารตรงนี้ มีประเด็นให้คิดเล็กน้อย  ทัพของเนเมียวสีหบดีที่จันทรบุรี (ใช้ชื่อที่คุ้นหูดีกว่า เดี๋ยวเป็นภาระให้ท่านอาจารย์ต้องอธิบาย)

ไมต้องขยายความ นักเรียนนิสิตที่เข้าลงทะเบียนห้องเรียนนี้ รู้กันหมดแล้ว นามนี้ คือ บรรดาศักดิ์ ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่มีปัญหาให้คิด 2 เรื่อง

1. เนเมียวสีหบดีคนนี้มีที่มายังไงปรากฎตัวมาตอนไหน  แต่ที่แน่นอนคือ เขาต้องเป็นนายทหารคนละคนกับ เนเมียวสีหบดีผู้มีมารดาเป็นลาวและตีอยุธยาแตก ซึ่งในทีนี้ขอกำหนดว่า เนเมียวสีหบดี ก.
ถ้านับตามไทม์ไลน์ เนเมียวสีหบดี ก.คนนี้หลังจากพ่ายศึกเชียงใหม่ ก็ได้หลบหนีพระราชอาญาของมังระไปซ่อนอยู่ละแวกตองอู และ ไม่ได้เข้าร่วมในสงครามนี้ ฉนั้น เนเมียวฯรายนี้น่าจะเป็นคนอื่นที่ตั้งตำแหน่งมาใหม่



ผมเอาความท่อนจบนี้ไปอยู่ในบทนำตั้งแต่แรก ซึ่งตอนนั้นได้วงเล็บชื่อเมืองที่พม่าเรียกว่าจันทบุรีไว้ ซึ่งคนละเมืองกับที่พระยาตากเคยหนีพม่าไปตั้งหลักที่นั่นนะครับ ตอนแรกที่อ่านของมิคกี้ผมก็สับสนอยู่ยกใหญ่
ส่วนเนเมียวสิงหะบดีในพงศาวดารไทย กับพเนมโยสิงหะปติในความข้างบนจะเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ยังไม่ได้ไปค้นหาครับ ขณะนี้ไม่อยากเดา


พิจารณาจากหลักฐานของทั้งไทยและพม่าพบว่าเป็นคนเดียวกกันตลอดครับ


แม่ทัพใหญ่พม่าที่ยกทัพจากเชียงใหม่ลงมาตีกรุงศรีอยุทธยา ตามหลักฐานพม่ามีชื่อว่า เนมฺโยสีหปเต๊ะ (နေမျိုးသီဟပတေ့) แต่พงศาวดารไทยฉบับที่เก่าๆ เช่น ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับบริติชมิวเซียม รวมถึงฉบับหมอบรัดเลจะเรียกว่า โปสุพลา โปสุบพลา หรือ โปซบพลาใกล้เคียงกับสำเนาท้องตราปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ เรียกว่า โปชุกพลา


ส่วนหลักฐานของล้านนา มีตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า โป่ซุกซุกปะสิหะ โป่ซุกขบปะสิหะพะเท โป่ซุกขบปะสิงหะพะเท หรือเรียกสั้นๆ ว่า โป่เจียก ส่วนตำนานสิบห้าราชวงศ์เรียกว่า โป่เจียกชุปปสีหพะเท โป่ม่านชุปปสีหพะเท โป่ซุกขุมสิงหะ


ส่วนคำให้การชาวอังวะในสมัยรัชกาลที่ ๑ เรียกว่า เนมะโยมหาเสนาบดี หรือ เนเมียวมหาเสนาบดี สันนิษฐานว่าเป็นด้วยเหตุนี้ทำให้พงศาวดารที่ชำระสมัยหลังได้แก่ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระ กับฉบับพระราชหัตถเลขาที่ชำระในสมัยรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนไปเรียกชื่อแม่ทัพผู้นี้ว่า เนเมียวมหาเสนาบดี ตามคำให้การชาวอังวะ

ส่วนชื่อ "เนเมียวสีหบดี" ที่นิยมเรียกกันในปัจจุบันนั้น ไม่พบในหลักฐานใดเลย แต่ปรากฏอยู่ในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเท่านั้น เข้าใจว่าจะทรงถอดพระนามมาจากพงศาวดารพม่าฉบับแปลภาษาอังกฤษของหลวงไพรสณฑ์สาลารักษฺ์ ที่สะกดว่า Nemyo Thihapate ซึ่งกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแปลเป็น สีหปตี อาจจะเพราะทรงเข้าใจว่า ปตี กับ บดีเป็นคำเดียวกันเรียกสะกดตามนั้น แต่ความจริงแล้วต้นฉบับภาษาพม่าสะกดว่า ปเตฺ (ပတေ့) ออกเสียงว่า ปะเต๊ะ เป็นคนละคำกับ ปตี/บดี ครับ



หลังจากพิชิตกรุงศรีอยุทธยาได้ เนมฺโยสีหปเต๊ะขึ้นไปทำศึกในแถบล้านนาและล้านช้าง และเตรียมการจะยกทัพมาตีกรุงธนบุรีพร้อมกับ โปมะยุง่วน (ဗိုလ်မျို့ဝန်) หรือ สะโตมังถาง (သတိုးမင်းထင် Thado Mindin) เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ล้านนาเรียกว่า "โป่หัวขาว" แต่เนื่องจากพระยาจ่าบ้านและเจ้ากาวิละแปรพักตร์ไปเข้ากับไทย ทำให้พระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองเชียงใหม่ได้ แม่ทัพพม่าทั้งสองจึงต้องหลบหนีไป พงศาวดารพม่าระบุว่าเนมฺโยสีหปเต๊ะถอยหนีไปอยู่ที่เมืองแหง แล้วไปเมืองหน่าย ส่วนคำให้การชาวอังวะระบุว่า "ฝ่ายภรรยาโปสุพลาซึ่งอยู่ณเมืองอังวะนั้นเจ้าอังวะจำไว้ ภรรยาโปสุพลาให้คนมาบอกโปสุพลาว่า อย่าให้ไปเมืองอังวะเปนอันขาดทีเดียว โปสุพลาจึงหลบหลีกอยู่ณบ้านซุยเกียน ใกล้กันกับเมืองตองอูทางห้าวัน"


คงเป็นด้วยเหตุนี้ที่คุณราชปักษาสันนิษฐานว่า เนมฺโยสีหปเต๊ะที่จะยกไปตีในศึกธนบุรีพร้อมอะแซหวุ่นกี้ (มหาสีหสูระ) นั้นอาจจะเปลี่ยนคน อย่างไรก็ตามพงศาวดารพม่าหรือคำให้การชาวอังวะเองก็ไม่มีบันทึกว่าเนมฺโยสีหปเต๊ะผู้นี้ถูกถอดจากตำแหน่งแต่อย่างใด จึงคงสรุปอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าเป็นคนละคนกันครับ


นอกจากนี้ใน พงศาวดารไทยก็ยังกล่าวถึง "โปสุพลา" อยู่ในช่วงสงครามอะแซหวุ่นกี้ โดยโปสุพลา โปมะยุง่วนได้ยกทัพจากเชียงแสนลงมาตีเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปช่วย โดยถ้าตีพม่าแตกไปได้ก็ให้ยกไปตีเชียงแสนต่อ พอทัพไทยไปถึงพม่าถอยไปแล้ว จึงจะยกไปตีเชียงแสนต่อ แต่ได้ข่าวว่าอะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาถึงเมืองตากแล้ว จึงถอยทัพกลับ

"ครั้นถึงณเดือนสิบในปีมะแมสัปตศก มีหนังสือบอกเมืองเชียง ใหม่ลงมาว่า โปสุพลา โปมะยุง่วน ไปอยู่ณเมืองเชียงแสน บัดนี้ได้ ว่า จะยกกองทัพกลับมาตีเมืองเชียงใหม่อีก จึงดำรัสให้เจ้าพระยา สุรสีห์เป็นแม่ทัพ คุมทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงยกขึ้นไปช่วยราช การเมืองเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นไปช่วยด้วย ถ้าตีทัพพะม่าแตกไปแล้ว ให้ยกตามไปตีเมืองเชียงแสนทีเดียว เจ้า พระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และท้าวพระยาพระหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้ง ปวงก็กราบถวายบังคมลารีบยกกองทัพขึ้นไปตามพระราชกำหนด

...ฝ่ายกองทัพโปสุพลา โปมะยุง่วน ยกมาตีเมืองเชียงแสน เข้าติดเมืองเชียงใหม่ พอกองทัพเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ยกไปถึง ทัพพะม่าก็เลิกถอยไป เจ้าพระยาทั้งสองก็ยกกองทัพติด ตามไป จะตีเมืองเชียงแสน พอหนังสือบอกขึ้นไปว่า พะม่ายก ทัพใหญ่มาทางเมืองตาก เจ้าพระยาทั้งสองก็ถอยทัพกลับมาถึงกลาง ทางใต้เมืองสุโขทัย หยุดทัพอยู่ณวัดปากน้ำ"



หลังจากพระเจ้ามังระสวรรคต จึงปรากฏในพงศาวดารพม่าว่า พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เนมฺโยสีหปเต๊ะซึ่งยกทัพไปทางจันทบุรีและเชียงใหม่ถอยกลับ และมีการบรรยายด้วยว่าทัพนี้พ่ายแพ้ยับเยินจนต้องถอยไปอยู่ที่เมืองนาย ซึ่งก็หมายความว่าเนมฺโยสีหปเต๊ะคนนี้ก็คือคนเดิมที่ยกทัพไปทำปฏิบัติการทางทหารจันทบุรีแลเชียงใหม่ระยะยาวตั้งแต่ช่วงเสียกรุงไม่นาน แต่ประจำอยู่ที่เมืองนายโดยไม่ได้กลับไปที่อังวะเลย และพงศาวดารยังระบุตำแหน่งของเนมฺโยสีหปเต๊ะคนนี้ว่า เมียนหวุ่น (မြင်းဝန် Myin Wun) หรือแม่ทัพทหารม้า ซึ่งก็เป็นตำแหน่งเดียวกับเนมฺโยสีหปเต๊ะใช้มาตั้งแต่ก่อนรบแพ้ที่เชียงใหม่ พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีข้อบ่งชี้ที่เนมฺโยสีหปเต๊ะสองคนนี้เป็นคนละคนครับ


หลังจากนี้ ปรากฏในหลักฐานฝั่งพม่าว่า พระเจ้าจิงกูจาทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เนมฺโยสีหปเต๊ะเป็น เนมฺโยเสนาปติ (နေမျိုးသေနာပတိ Ne Myo Thenapati) และทรงแต่งตั้งเป็น "หวุ่นญี (ဝန်ကြီး Wungyi)" หรือมหาเสนาบดี ใน ค.ศ. ๒๓๑๙ คงเป็นด้วยเหตุนี้ทีคำให้การชาวอังวะสมัยรัชกาลที่ ๑ เรียกขุนนางผู้นี้ว่า เนมะโยมหาเสนาบดี ตามทินนามที่ได้รับมาภายหลังครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 มิ.ย. 18, 11:51

^


บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 12 ก.ค. 18, 22:04

จะว่าไป ในสงคราม 9 ทัพ

หน่วยที่ 3 ที่บุกมาทางเหนือ ก็มีชื่อ เนมะโยสีหะปะติเป็น 1 ในนายทัพหน่วยนี้คุมกองหน้า 5,000 คนมาด้วย  ไม่รู้ยังเป็นคนเดิมมั้ย? แต่ถ้าใช่นี่ ศักดิ์ศรีดร็อบลงไปเยอะมาก จากแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพเรือนหมื่น กลายเป็นนายกองเกรด B ไป

แถมพอรบกันครั้งนี้ ถูกเราตีแตกแบบง่ายๆ หมดลายเนเมียวฯเลย
บันทึกการเข้า
alias1124
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 03 ก.ย. 18, 22:50

ต้องขอกราบท่านอาจารย์ต่างๆ ในห้องนี้นะครับที่ให้ความรู้ต่างๆ มากมาย จริงๆ แอบอ่านมาหลายกระทู้แล้วครับ
พอมาอ่านกระทู้นี้เผอิญมีข้อสงสัยนิดนึงตามหัวข้อกระทู้ นั่นคือตามความคิดเห็นที่ 3 ของคุณราชปักษา ท่านมองว่า
ฝ่ายเราน่าจะมีชัย  แต่พอไปฟังคลิปของอ.สุเนตร ที่คุณเพ็ญชมพูแปะไว้ในความคิดเห็นที่ 34 อ.สุเนตรท่านกลับ
มองว่าเราไม่น่ารอด  ผมเลยสงสัยเท่านั้นเองครับว่าเหตุใดหลักฐานต่างๆ มันถึงชี้ไปในผลที่ตรงข้ามกันได้หรือว่า
ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นเพียงอย่างเดียวครับ  ขออภัยจริงๆ นะครับถ้าหากล่วงเกิน _/\_


 
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 13:46

ผมขออนุญาตมาเสนอแนวคิดครับ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะผมมิใช่นักการทหาร เป็นแต่เพียงผู้สนใจคนหนึ่งเท่านั้น แต่ทว่า ในการรบกันนั้น ปัจจัยที่จะชี้ขาดผลการรบว่า แพ้-ชนะ มีหลายระดับครับ การรบกันนั้น ฝ่ายบุกจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายว่า ยกเข้ามาเพื่อทำอะไร เรียกว่า การกำหนดยุทธศาสตร์ เมื่อวางยุทธศาสตร์แล้ว จึงค่อยกำหนดยุทธวิธีให้เหมาะสม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ตนเองวางไว้นั้น จากนั้น จึงนำยุทธวิธีไปแปลงเป็นการปฏิบัติ เรียกว่า ดำเนินกลยุทธ (ถ้ามีท่านในเป็นนักการทหาร ผมผิดพลาดอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยนะครับ)

ทีนี้ ในระหว่างการดำเนินกลยุทธ ก็จะเกิดผลของการต่อสู้กันขึ้นต่างๆนานา บางทีก็แพ้ บางทีก็ชนะ แต่การแพ้ชนะอย่างนี้ ยังไม่ใช่การชี้ขาดการรบ
ผมยกตัวอย่าง ในสามก๊ก สมมุติว่า ขงเบ้งจะยกทัพไปยึดเขากิสาน ที่สุมาอี้รักษาอยู่ การยึดเขากิสาน ก็คือ ยุทธศาสตร์ ในการนี้ ขงเบ้งขอให้เล่าปี่ออกรบแล้วแสร้งแพ้ เพื่อลวงข้าศึกเข้ามาในพื้นที่สังหาร สิ่งนี้คือ กลยุทธ เมื่อเล่าปี่ออกไปดำเนินกลยุทธ เขารบแพ้ แต่ถ้าการแพ้นั้น สามารถลวงข้าศึกเข้ามาสังหารได้จริง ในทางยุทธวิธี คือ ประสบความสำเร็จ และถ้ายิ่งสามารถทำลายกองกำลังของสุมาอิ้ได้มาก จนเป็นเหตุให้ขงเบ้งสามารถยึดเขากิสานได้จริง ก็ถือว่า ยุทธศาสตร์ที่วางเอาไว้ ประสบความสำเร็จ

ใช่ครับ ทั้งๆ ที่เล่าปี่รบแพ้นี่แหละครับ

กรณีนี้ก็เช่นกัน ทัพพม่า วางยุทธศาสตร์การยึดครองเมืองพระพิษณุโลก เพื่อให้เป็นฐานเข้าตีกรุงเทพฯ แต่ทัพฝ่ายสยามสามารถยัดเอาไว้ได้อย่างยาวนาน แม้ตอนจบจะแพ้ เสียเมืองพระพิษณุโลกไปจริงๆ แต่พม่าก็ไม่สามารถใช้เมืองพระพิษณุโลกเป็นฐานที่มั่นได้ ซ้ำยังถูกทอนกำลังลงไปอีก จนไม่แน่ว่า ยุทธศาสตร์ขั้นถัดไป คือการเข้าตีกรุงเทพ จะทำต่อไปได้หรือไม่

เช่นนี้ ในทางยุทธศาสตร์ ต้องถือว่า พม่า "แพ้" ครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 04 ก.ย. 18, 17:00

สมมุติว่าทัพไทยยกไปตีเมืองมะละแหม่งของพม่า     เจ้าเมืองและแม่ทัพขาดเสบียงอาหาร ตีฝ่าไทยออกจากเมืองไป ทำให้ไทยยึดมะละแหม่งได้   วางแผนเดินทัพต่อไปอังวะ
แต่ไทยถูกเรียกตัวกลับธนบุรีด่วน   ทัพก็ต้องยกกลับมา ไม่ทันจะไล่ตามตีไปถึงอังวะ  ศึกครั้งนี้ก็จบลง

อย่างนี้    เราจะเรียกว่าไทยชนะพม่า  หรือว่าแพ้ คะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 ก.ย. 18, 10:10

ถ้ามองว่า เป้าหมายของฝ่ายเราคือต้องการยึดครองพื้นที่เอาเมืองมะละแหม่งไว้ในอำนาจ ก็ต้องถือว่า ยุทธศาสตร์บรรลุผล 100% แล้วครับ เรียกว่าชนะก็ได้

ถ้าวางยุทธศาสตร์ไปไกลถึงการรุกรานหัวเมืองพม่าชั้นใน กรณีนี้ ผมมองว่า ทัพไทยยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์นั้นต่อไปได้ แต่มีเหตุแทรกซ้อน คือ ฝ่ายนโยบายล้มเลิกแผนการเสียก่อน ทัพถูกเรียกกลับทั้งๆ ที่แผนยุทธศาสตร์ยังปฏิบัติไม่จบ เท่ากับวัดผลยังไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 21 คำสั่ง