เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13549 หากพระเจ้ามังระไม่สวรรคต กรุงธนบุรีจะสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้หรือไม่
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 13:56

เมื่อถึงกรุงอังวะ พระเจ้าปดุงทรงโปรดให้พระองค์ประทับยังวัดใกล้ๆ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวังกับพระราชวัง แต่ก่อนชื่อวัดอะไรไม่ทราบ แต่ทุกวันนี้เรียกว่าวัดมะเดื่อตามที่เรียกสืบต่อกันมายาวนาน แต่มีอีกชื่อหนึ่งว่าวัดพระมหาอุปราชา  พระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรได้ทรงจำพรรษาที่วัดนี้ เป็นเวลานานถึง ๑๖ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๖ อยู่ในช่วงสามรัชกาล คือ รัชกาลพระเจ้าเซงพยูชิน พระเจ้าเซ่งกู และพระเจ้าปดุง

วัดนี้มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แกะสลักจากไม้มะเดื่อประดิษฐานอยู่  เชื่อว่าพระภิกษุเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงสร้างไว้ แต่หลังจากผุพังลง ทายกทายิกาได้ปั้นปูนหุ้มไว้อีกที ตามภาพที่เห็น




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 14:29

วัดนี้แต่แรกผมนึกว่าเป็นวัดเล็กๆ ไหนได้ พอเดินพ้นแนวไม้ที่บังสายตาเข้าไป จะเห็นเนินใหญ่เป็นภูเขาเลากา มีพระเจดีย์บนยอดคล้ายภูเขาทองบ้านเรา พอใกล้เข้าไปจริงๆจะเห็นชัดว่าไม่ใช่เนินธรรมชาติ แต่เป็นทรากอิฐก่อ ท่านผู้รู้ที่พาไปอธิบายว่า แต่เดิมคนนึกว่าเป็นกองอิฐธรรมดาเพราะพุ่มไม้ขึ้นเต็ม จึงไปสร้างพระเจดีย์ขึ้นบนยอด ไม่เก่านัก

บังเอิญว่าเมื่อสี่ห้าปีที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหว กองอิฐบางส่วนถล่มลงมาเปิดเผยให้เห็นว่าเป็นฐานของพระสถูปขนาดมหึมา แต่ยังต้องทิ้งไว้อย่างนั้นเพราะไม่มีงบประมาณที่จะปฏิสังขรณ์
ผมก็ได้แต่เดินดูไปรอบๆฐานด้วยความทึ่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 14:35

ท่านเจ้าอาวาสได้บอกบุญขอแรงชาวบ้านมาช่วยโกยอิฐหักลงเท่าที่จะทำได้ ทำให้มีสภาพตามที่เห็น ส่วนอิฐหักดังกล่าวได้นำมาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานไว้ในอาคารที่เหมือนโรงเก็บของ น่าจะเป็นการชั่วคราวมากกว่าถาวร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 14:49

พระเจ้ามังระมีพระมเหสีองค์หนึ่ง เป็นคนโยเดียพระนามว่าพระองค์เจ้าประทีป ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าเอกทัศ เป็นผู้ได้ทรงอุปถัมภ์วัดนี้เป็นอย่างดี จนสิ้นพระเจ้าอุทุมพรไปแล้ว  พระองค์เจ้าทองซึ่งสืบเชื้อสายต่อมา ได้รับตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชาแห่งกรุงอังวะ ในรัชกาลพระเจ้าพุกาม (พ.ศ. ๒๓๘๙ – ๒๓๙๕)  พระองค์จึงทรงบูรณะวัดมะเดื่ออีกครั้ง ทำให้วัดนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระมหาอุปราชา

ที่เล่าย้อนหลังมาดังนี้เพื่อจะให้ผู่อ่านเข้าใจสถานะของชาวโยเดียที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาในครั้งนั้น
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 15:01

อาจารย์เข้าห้องมาอธิบายเองแล้ว กลับโต๊ะ...

ปล. ข้อความที่พิมพ์นั้น ปะติดปะต่อเรื่องราวมาจากหนังสือของ บดินทร์ กินาวงศ์ ตัวหนังสือไม่อยู่ในมือแล้ว หายตอนย้ายบ้าน หาซื้อใหม่ไม่ได้ด้วย ผิดถูกยังไงขออภัยท่านล่วงหน้าขอรับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 15:05

อย่าเพิ่งไปไหนครับ เราอยู่กันแค่สองคนเท่านั้น
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 15:18

ยังอยู่โต๊ะเรียนขอรับ จัดกระดาษปากการออาจารย์เล็คเชอร์แบบ ร้อนๆหนาวๆนิดหน่อย ที่ลบข้อเขียนบนกระดานไม่ทัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 15:22

ก่อนจะกรีฑาทัพไปทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา  พระเจ้ากรุงอังวะมีสงครามติดพันกับจีนกินเวลานานถึง ๔ ปี เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๐๘ โดยรบกันอยู่ที่รัฐฉาน พม่าเรียกอาณาจักรโกสัมพี หรือสยามเก้าประเทศ(ไตหรือไท)  มีเมืองแสนหวีกับเมืองบ้านหมอ ซึ่งอยู่ที่สามเหลี่ยมระหว่างแม่น้ำอิระวดีกับแม่น้ำรุยหลี่เป็นยุทธภูมิหลัก ผลัดกันตีผลัดกันถอย  มีพักรบกันเป็นพักๆ

พอได้กรุงศรีอยุธยาในปี ๒๓๑๐ เพียงแค่ ๔ เดือน  ทัพจีนก็มาเซย์ ฮัลโหลอีกครั้ง โดยเข้าตีเมืองแสนหวีแตก

พระเจ้ากรุงอังวะได้ข่าวศึกก็มีรับสั่งให้เตรียมทัพ ประกอบด้วยช้างศึก ๓๐๐ ม้าศึก ๓๐๐๐  พลทหาร ๓๐๐๐๐ นาย เป็นทัพหน้า มีมหาไชยสูเป็นแม่ทัพ ให้เดินทัพตรงไปเมืองสีป่อ มุ่งโจมตีกองทัพจีนทันที
อีกทัพหนึ่ง ประกอบด้วยช้างศึก ๒๐๐ ม้าศึก ๒๐๐๐ พลทหาร ๒๐๐๐๐ มีมหาสิงหะสูเป็นแม่ทัพ ตามไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองบ่อโจเป็นทัพหนุน

ศึกครั้งนี้กินเวลายืดเยื้อยาวนาน ทั้งภูมิประเทศก็ไม่เอื้ออำนวยให้เผด็จศึกถึงขั้นแตกหัก  ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงทำสัญญาสงบศึกกันที่แม่น้ำรุยหลี่ เมื่อวันจันทร์ แรม ๕ ค่ำ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๒  ถ้านับศพทหารที่ตายจากไข้ป่าแล้ว ถือว่าทั้งพม่าและจีนเป็นฝ่ายแพ้ เชื้อโรคเป็นฝ่ายชนะ

เราเสียกรุงอยุธยาเมื่อพ.ศ. พ.ศ. ๒๓๑๐ หากพระเจ้ามังระทรงส่งอะแซหวุ่นกี้มาตีพิษณุโลก หลังจากนั้นอีก ๘ ปี   ตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูว่า ก็เป็น พ.ศ. ๒๓๑๙  ระหว่างนั้นพม่ากับจีนยังคงสถานะสงครามกันอยู่ จึงน่าจะห่วงหน้าพะวงหลังพอสมควร 

เอาครับ ถึงตาคุณว่าบ้างแล้ว
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 15:36

อาจารย์เล็คเชอร์เถิดขอรับ อย่างที่แจ้งไปสักครู่ว่า หนังสือเล่มนั้นไม่อยู่กับตัวแล้ว ที่พิมพ์ตอบคำถามกระทู้ มาจากความทรงจำที่จำเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นล้วนๆ ถ้าจะให้พิมพ์ออกมาเลยก็คงจะออกมาแบบข้อเขียนที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่

ถ้าจะเอาตามหลักวิชาจริงๆ เห้นจะต้องวิ่งไปหาหนังสือเล่มนั้นอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 16:20

ผมก็อยู่ครับ แอบฟังอยู่ข้างประตู

อาจารย์ครับ ระหว่างที่ทัพพม่ากำลังปิดล้อมกรุงศรีฯ อยู่ พม่าก็มีศึกกับจีนอยู่ด้วยใช่หรือไม่ครับ 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 16:42

ผมก็อยู่ครับ แอบฟังอยู่ข้างประตู

อาจารย์ครับ ระหว่างที่ทัพพม่ากำลังปิดล้อมกรุงศรีฯ อยู่ พม่าก็มีศึกกับจีนอยู่ด้วยใช่หรือไม่ครับ 

ช่วงนั้นอาจมีการพักรบครับ ภูมือากาศโหดมาก ทั้งสองฝ่ายยินดีขอเวลานอกกันเป็นช่วงๆตลอด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 16:46

พงศาวดารพม่าที่มิคกี้ถ่ายทอดมาอีกทีกล่าวว่า หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกได้สี่ปี  ในปี พ.ศ. ๒๓๑๔ เจ้าเมืองจันทบุรีได้ส่งข่าวกราบทูลพระเจ้าอังวะว่าพระยาตาก คนสยามเชื้อชาติจีน เดิมเป็นเจ้าเมืองตากได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองบางกอกธนบุรี แล้วยกกองทัพไปตระเวนตีหัวเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมรับพระองค์  พยายามที่จะกำจัดพวกที่ต่อต้าน แม้แต่พระสงฆ์ที่สงสัยว่าจะเข้าข้างศัตรูก็ไม่มียกเว้น

เรื่องนี้ก็ไม่ได้เกินเลยไปจากความเป็นจริง  งานปราบดาภิเษกจำเป็นต้องใช้พระเดชนำหน้าอย่างเดียว  จะมาเหยะแหยะแต่งเพลงขอโน่นขอนี่ประชาชนไม่ได้  การกวาดล้างผู้ที่มิใช่พวกของพระเจ้าตากทำให้ราษฎรในเขตปริมณฑลรอบพระนครกรุงศรีอยุธยาวุ่นวายยิ่ง  ต่างไม่ทราบว่าคณะรัฐประหารจะเห็นว่าตนเป็นคนของกลุ่มอำนาจเก่าหรือเปล่า  ชาวเหนือ เช่น กำแพงเพชร พิษณุโลก สวรรคโลก ระแหง ซึ่งเหยียบเรือสองแคมอยู่เสมอจึงได้อพยพไปอยู่กรุงอังวะจำนวนมาก  พม่านับได้สามแสนคน  ไม่รู้นับซ้ำๆกันหรือเปล่า  อย่างไรก็ดี คนไปใหม่นี้ก็มากพอที่จะไปบอกคนที่ถูกกวาดต้อนมาแต่เดิมให้รู้กันทั่วว่า ทหารพระเจ้ากรุงธนไล่ฆ่าคนเป็นว่าเล่น จนในน้ำในนาเต็มไปด้วยซากศพ

นั่นถือเป็นข่าวร้ายที่สุดสำหรับคนไทยที่นั่น  พระเจ้าตากนั้นถึงจะเคยเป็นข้าราชบริพารเก่า  แต่ก็ขัดแย้งกับพระเจ้าแผ่นดิน ถึงขนาดต้องนำกำลังพลหนีออกจากพระนครก่อนกรุงแตก  หลังกลับมาขับไล่พม่ามอญออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว  กลับตามขึ้นไปไล่ล่าเจ้านายเชื้อพระวงศ์เก่า จนสูญสิ้นโคตรตระกูล  เช่นนี้ชาวกรุงศรีอยุธยาจึงหวั่นใจว่า หากพวกตนเสี่ยงภัยพม่าหลบหนีกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนได้แล้ว จะขอเข้าพึ่งพระบารมีกษัตริย์องค์ใหม่ได้อย่างไร  ดีไม่ดี ทรงจำได้ว่าเคยเป็นข้าวังโน้นวังนี้  อาจจะไม่เอาไว้ให้เป็นที่ระแวงพระทัย เพราะยังมีเจ้านายไทยอยู่ในพม่าอีกหลายพระองค์

ยามนั้น พระมหาเถระเจ้าอุทุมพรและวัดมะเดื่อ จึงเป็นที่พึ่งทางใจของชาวกรุงศรีทั้งปวง ยามที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ที่จำต้องมาเผชิญชะตากรรมอยู่บนแผ่นดินของชาติอื่น  พากันมาฟังเทศน์ฟังธรรม  และยอมรับสถานภาพในการเป็นพลเมืองพม่า ภายใต้ร่มพระโพธิสัมภารของกษัตริย์อังวะโดยดี  ครั้นเวลาผ่านไปเพียงรุ่นสองรุ่น เด็กโยเดียที่เกิดใหม่ก็กลายเป็นชาวพม่าไปโดยสมบูรณ์แบบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 16:51



เราเสียกรุงอยุธยาเมื่อพ.ศ. พ.ศ. ๒๓๑๐ หากพระเจ้ามังระทรงส่งอะแซหวุ่นกี้มาตีพิษณุโลก หลังจากนั้นอีก ๘ ปี   ตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูว่า ก็เป็น พ.ศ. ๒๓๑๙  ระหว่างนั้นพม่ากับจีนยังคงสถานะสงครามกันอยู่ จึงน่าจะห่วงหน้าพะวงหลังพอสมควร 
สงสัยคุณนวรัตนจะพิมพ์ผิด  จาก ๒๓๐๘ เป็น ๒๓๐๙
จีนกับพม่าทำสงครามกัน 4 ปี     ธันวาคม พ.ศ. 2308 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312 ค่ะ

คุณนริศ ช่วยเข้ามานั่งไม่ให้ห้องโหรงเหรงด้วยเถอะค่ะ  นั่งแถวหลังก็ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 17:18

พอถึงตัวเลขศักราชทีไร ผมมักจะหลุดเข้าป่าบ่อยๆ ขอบคุณที่เตือนครับ

ดังนั้นศึกกรุงศรีอยุธยาก็คาบเกี่ยวอยู่กับช่วงที่พม่าทำศึกค้างๆคาอยู่กับจีน จึงเป็นที่ทราบกัน พอตีกรุงศรีได้พม่าก็รีบเช็คบิล รีบกลับไปป้องกันพรมแดน

ส่วนศึกอะแซหวุ่นกี้ เกิดขึ้นหลังสงบศึกกับจีนแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 17:23

ย้อนกลับไปเมื่อพระเจ้าอังวะทรงทราบข่าวการปราบดาภิเษกของพระเจ้ากรุงธนและความระส่ำระสายเมืองสยามแล้ว  จึงโปรดให้เจ้าฟ้าทั้งหลายที่อยู่ในราชอาณาจักรอังวะทางทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ยกพลมารวมทัพกันที่กรุงอังวะ ก่อนจะยกไปตั้งหลักที่เมืองเวียงจันท์เพื่อสังเกตความเป็นไปของเมืองบางกอกธนบุรี

ตรงนี้ไม่อ่านก็ได้นะครับ ลอกมาให้อ่านพอให้รู้ว่า ดูรายชื่อแล้วทัพพม่าก็เป็นพวกไทยใหญ่เสียมาก  "ทัพจากกรุงอังวะประกอบด้วย อากาศจอทิงทัพหนึ่ง สักรรามจอทิงทัพหนึ่ง แสนรังอ่องทัพหนึ่ง เทวะจอทัพหนึ่ง อินทร์เวรจอทัพหนึ่ง รายแก้วอากาศทัพหนึ่ง แสนปลังชีทัพหนึ่ง จักรปลังชีทัพหนึ่ง สิทธิปลังชีทัพหนึ่ง นาถจักรอินท์แก้วทัพหนึ่ง พันธุปลังชีทัพหนึ่ง นาถจักรปลังชีทัพหนึ่ง นาถจักรรายแก้วทัพหนึ่ง พันธุราชาทัพหนึ่ง บุญตุรายทัพหนึ่ง นราจอชวาทัพหนึ่ง แลกแวอุทินทัพหนึ่ง  ติษะจอชวาทัพหนึ่ง นันทจอชวาทัพหนึ่ง  สิทธิจอชวาทัพหนึ่ง สิปปะจอชวาทัพหนึ่ง  ตุรายอุทินแก้วทัพหนึ่ง รวมเป็นยี่สิบสองทัพ แยกเป็นสองกองทัพ ทัพหนึ่งชื่อว่ากองทัพเมียนมา มีทหารมอญกับทหารพม่าอยู่   อีกกองหนึ่ง ชื่อว่ากองทัพกสัญ มีทหารไทย(ใหญ่) กับทหารไทยอาหมอยู่"

ส่วนคนไทยจากกรุงศรี ถ้าถูกเกณฑ์ไปรบ คงน่าจะเอาไปสู้กับจีนที่รัฐฉาน  หรือสู้กับแขกอินเดียทางยะไข่มากกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง