เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 13542 หากพระเจ้ามังระไม่สวรรคต กรุงธนบุรีจะสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้หรือไม่
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


 เมื่อ 27 พ.ค. 18, 17:43

หากพระเจ้ามังระไม่สวรรคต  ไม่มีการเรียกกองทัพพม่ากลับ  การศึกระหว่างไทยกับพม่ายังคงดำเนินต่อไป  กรุงธนบุรีจะสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้หรือไม่  หรือไทยจะต้องเสียกรุงครั้งที่ 3

ขอบพระคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 17:56

อ่านคำถามนี้ นึกถึงคุณศรีสรรเพชญขึ้นมาทันที     ไม่รู้จะแวะเข้ามาหรือเปล่า
ถ้าแวะก็ช่วยตอบด้วยนะคะ

ส่วนดิฉันมีคำตอบในใจแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 18:31

ท่านอื่นๆจะตอบก็ได้นะคะ     ไม่ต้องรอคุณศรีสรรเพชญหรอกค่ะ
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 20:49

นอกจากไม่ได้แล้ว ทัพของอะติโหว่งคยีนั่นแหละที่จะถูกทำลาย  เนื่องจากกรอบเต็มที่

ถ้าจะสนุปก็ราวๆว่า

1. ศึกนี้ จากราบละเอียดที่เพิ่มเติมจากพงศาวดารพม่านั้น ทัพพม่ากองนี้ตั้งใจใช้แผนบุกเข้ามาอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ฝ่ายไทยตั้งตัว ทำให้นำสัมภาระมาไม่มากนัก ทัพพพม่ามีเสบียงน้อยถึงขั้นที่ต้องแบ่งกองหลังไว้กวาดต้อนเสบียงไว้ที่สุโขไทย ส่วนกระสุนปืนก็ส่งจากเมาะละแหม่งมาไม่ทันท่วงที ทำให้ในระยะยาว

2. การรบแบบยืดเยื้อแบบเปล่าประโยชน์ที่พิษณุโลก ทำให้พม่าต้องสูญเสียไพร่พล และ ปัจจัยไปเปล่าๆ และ ไม่ได้ประโยชน์จากการยึดตัวเมืองพระพิษณุโลกเลย จะว่า เป็น ยุทธภูมิสตาลินกราด เวอร์ชั่นอาเซียนก็ได้

3. และ เมื่อหลังตีพิษณุโลกได้ ปัจจัยทหารของพม่าก็แทบจะหมดคลัง ทำให้ขาดศักยภาพที่จะรบรุกต่อไปได้ ในขณะที่ทางไทยนั้น เสียแค่ที่มั่นเมืองเอก แต่กำลังรบส่วนมากยังปลอดภัย และ ที่สำคัญ เป็นกำลังเพียงส่วนเดียวเท่านั้น 10,000 กว่านายเท่านั้น  ทั้งที่ศึกก่อนหน้านี้หัวเมืองเคยระดมคนได้มากกว่านี้เท่าตัว...

4.เช่นเดียวกับแนวรบทางภาคกลางนั้น ทัพหลวงได้ถอยไปจัดแนวรับใหม่ที่นครสวรรค์  แต่เสีนทางลำเลียง และ ยุทธศาสตร์ยังอยู่ในกำมือฝ่ายเรา

5. เมื่อแบ่งกองทัพตามไปกวาดล้างทหารไทยทีตีฝ่าหนีออกจากพิษณูโลก ก็ทำไม่สำเร็จแถมเป็นฝ่ายถูกทำลายเสียเองที่หล่มเก่า ทำให้ทหารพม่า 10,000 กว่าคนต้องออกจากการรบไป เวลานี้ อะตีโหว่งคยี เหลือทหารเพียง 2.5 หมื่นนายเท่านั้น  ส่วนทางเรา ทัพหลวงเหลือ 1.2 หมื่น + ทัพเมืองเหนือที่ระดมมาใหม่น่าเกิน 1.5 หมื่นนาย  กลยเป็นวา ข้อได้เปรียบเดียวของพม่าคือเรื่อง จำนวนไพร่พลนั้นหมดไปแล้ว....

6. แล้ว อะติโหว่งคยี ได้ทำผิดพลาดซ้ำ ด้วยการส่งแบ่งกำลัง 3 ทัพ จำนวนเกือบ 15,000 นาย ล่องลงไปโจมตีทัพหลวงเปิดช่องทางลงภาคกลาง หวังหาทางกวาดต้อนเสบียง  ทำให้กำลังพลในมือเบาบางลงไปอีก ในขณะที่ทัพของพระยาจักรีซึ่งรวบรวมใหม่กำลังเปิดฉากตีโต้



บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 21:00

7. สุดท้าย ตัวช่วยของทัพพม่าก็มาถึง แต่ไม่ใช่กองลำเลียง แต่เป็นราชสาส์นจากอังวะ เรียกให้อะติโหวางคยีถอยทัพซึ่งก็ช่วยได้ไม่หมด เนื่องเวลานั้นปล่อยทัพหน้าลงไปมาภาคกลางแล้ว เรียกกลับทันเพียง 1 ทัพ  ส่วนที่เหลือบุกลงมาก็ถูกฝ่ายเราจัดการแบบไม่ยากเย็น ในขณะที่แนวรบชานเมืองพิษณุโลกนั้น ทัพพระยาจักรีซึ่งเปิดแนวรบแล้ว ทำให้ต้องทิ้งทัพรั้งท้ายไว้สกัดอีก ซึ่งน่าจะฉุกละหุกมาก เพราะ พงศาวดารพม่าตอนนี้เองถึงกับบันทึกว่า เสียไพร่พลแลหม่ทัพนายกองมากมาย อะติโหว่งคยีเองก็เกือบหนีไม่พ้น แสดงว่า สถานะการณทัพพม่าตอนนั้นร่อแร่มาก

8. และที่น่าแปลกใจคือ สงครามนี้ ทั้งพม่าและไทยต่างแย่งกันเป็นฝ่ายแพ้ ทางพม่ายังพออธิบายได้ว่า จะหาเรื่องปลดอะติโหว่งคยี จึงต้องให้ผิดอะไรซักอย่าง ก็ยกเรื่องนี้และมาขยี้ท่านเจ้าคุณ ส่วนทางไทย ใครพออธิบายเรื่องนี้ได้ก็ขอรับข้อมูลเพิมหน่อย
บันทึกการเข้า
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 21:33

ขอบพระคุณคุณราชปักษา ที่กรุณาเข้ามาตอบกระทู้ค่ะ

ข้อ 2  รู้สึกรักและเป็นหนี้บุญคุณคนรัสเซียจากยุทธภูมิสตาลินกราดค่ะ  เคยอ่านข้อมูลชุดหนึ่งบอกว่า  หากทหารรัสเซียไม่สามารถยันกองทัพนาซีที่เมืองนี้ได้นานถึงเพียงนั้น  โฉมหน้าของ WWII อาจจะเปลี่ยนไปและไม่จบลงอย่างที่เป็น  ยุทธภูมินี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในความพ่ายแพ้ของนาซี  ข้อมูลนี้ยังระบุว่า  ยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในยุทธภูมินี้สูงที่สุดใน WWII  ไม่ทราบว่าจริงเท็จประการใดค่ะ

ข้อ 8  คิดเช่นกันว่าศึกครั้งนี้แปลกประหลาดมาก  เพราะคู่สงครามต่างแย่งกันเป็นผู้แพ้ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 21:54

มาเพิ่มเชิงอรรถหน่อยค่ะ
อะติโหว่งคยี  ที่คุณราชปักษาเรียก นักเรียนประวัติศาสตร์ยุคดั้งเดิมรู้จักในนาม อะแซหวุ่นกี้ นั่นแหละค่ะ  เป็นแม่ทัพใหญ่คู่พระทัยของพระเจ้ามังระ

ส่วนมังระ เป็นพระโอรสพระเจ้าอลองพญา หรือเรียกแบบพม่าว่า พระเจ้าอลองเมงตะยาจี   พระเจ้าอลองพญา(เรียกแบบไทยดีกว่า พิมพ์ง่ายกว่า)มาตีอยุธยา แต่ไม่สำเร็จ สิ้นพระชนม์เสียก่อนเมื่อปี 2303  มังระขึ้นครองราชย์ต่อ ก็สืบสานพระปณิธานพระบิดา ยกมาตีอยุธยาจนเราเสียกรุงเมื่อพ.ศ. 2310  

พระเจ้ามังระทรงส่งอะแซหวุ่นี้ มาตีพิษณุโลก หลังจากนั้นอีก 8 ปี   ทางฝ่ายไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงส่งแม่ทัพเอกทั้งสองท่านคือเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์มาป้องกันเมืองไว้

ศึกครั้งนี้เป็นศึกใหญ่ครั้งหนึ่งของอาณาจักรธนบุรี   พงศาวดารไทยเล่าว่าต่างฝ่ายต่างทำศึกกันเต็มความสามารถ  แต่ก็ไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำต่อกัน   ลงท้าย  อะแซหวุ่นกี้ยึดพิษณุโลกได้ แต่รุกต่อไม่ได้เพราะขาดเสบียง   เพราะเจ้าพระยาจักรีทำสงครามกองโจร ให้ฝ่ายไทยซุ่มตัดเสบียงแม่ทัพเฒ่าผู้นี้เอาไว้ตลอต   อะแซหวุ่นกี้เกิดความนับถือฝีมือแม่ทัพฝ่ายไทย จึงขอดูตัว ด้วยการเจรจาหยุดรบ 1 วัน
พงศาวดารไทยได้บันทึกอมตวาจาของอะแซหวุ่นกี้ ที่ทำนายเจ้าพระยาจักรีไว้ ดังนี้
“อะแซหวุ่นกี้ให้ล่ามถามเจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีให้บอกไปว่าอายุได้ 30 เศษ แล้วจึงให้ถามอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง บอกมาว่าอายุได้ 72 ปี อะแซหวุ่นกี้พิจารณาดูรูปลักษณะเจ้าพระยาจักรีแล้วสรรเสริญว่า ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับ 1 กับสักหลาดพับ 1 ดินสอแก้ว 2 ก้อน น้ำมันดิน 2 หม้อมาให้เจ้าพระยาจักรี ๆ ก็ให้ของตอบแทนตามสมควร"

พงศาวดารไทยบันทึกว่าศึกครั้งนี้อะแซหวุ่นกี้ชนะ ยึดพิษณุโลกได้ แต้ต้องถอนทัพกลับพม่ากะทันหัน เมื่อมีข่าวด่วนแจ้งมาว่าพระเจ้ามังระสวรรคตกระทันหัน
ชะตากรรมของอะแซหวุ่นกี้ต่อจากนั้น  ไม่เกี่ยวกับไทยแล้ว  เลยไม่ได้เอามาลงในกระทู้

ก็น่าแปลกที่นักพงศาวดารไทยกับพม่า แย่งกันเป็นผู้แพ้    งั้นใครที่ชอบพูดว่า ประวัติศาสตร์บันทึกโดยผู้ชนะ ก็น่าจะมาอ่านตอนนี้ จะได้เลิกพูดไงคะ
บันทึกการเข้า
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 01:26

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพู ที่กรุณาเข้ามาตอบกระทู้ค่ะ

เหตุที่พม่าไม่ประสบความสำเร็จในการศึกครั้งนี้  เป็นเพราะท่านอะแซหวุ่นกี้ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดรึเปล่าคะ  อาจคาดการณ์ว่าไทยจะตั้งรับศึกในพระนครเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งไม่คาดคิดว่าไทยจะมีแม่ทัพเก่งๆ กว่าครั้งที่ผ่านมา  เมื่อมาพบกับยุทธวิธีการตั้งรับทัพพม่าตามหัวเมืองชั้นนอก รวมทั้งถูกขัดขวางการส่งกำลังบำรุง  เพราะไทยมีแม่ทัพที่มีความสามารถเช่นเจ้าพระยาจักรี  ทัพพม่าจึงเกิดรวนเร  ไม่สามารถดำเนินยุทธวิธีการรบได้โดยสะดวก  ทำให้เสียทั้งเวลาและไพล่พลจำนวนมาก  ประจวบกับต้องถอนทัพกลับกระทันหัน  จึงส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างย่อยยับเช่นนี้
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 06:30

ขอบพระคุณและขออภัยอาจารย์หญิงที่เข้ามาช่วยอธิบายเพิ่มครับ ต่อไปจะพิมพ์อะไรเห็นจะต้องบอกให้เคลียน์กว่านี้ จะได้ไม่ลำบากท่านอีก

- เป็นคราวซวยของพม่าเองที่ผิดทุกอย่างผิดแผนตั้งแต่ต้น  เริ่มตั้งแต่ที่จุดสตาร์ท  พศ.2518 ในแถบเมาะตะมะแหล่งเสบียงของพม่าเกิดน้ำท่วม ทำให้นาล่มมากมาย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ อะติโหว่งคยี หรือ อะแซหวุ่นกี้ (กลับใช้ชื่อเดิมละกัน เดี๋ยวลำบากอจ.หญิงอีก) มีเสบียงไม่พอมาตั้งแต่ต้น จำเป็นต้องใช้แผนบุกเร็ว  เพื่อยึดพื้นที่ทางยุทธศาตร์ในภาคกลางหาเสบียงในเขตแดนไทยให้สำเร็จ  แต่ก็ติดอยู่พิษณุโลก ทำให้ไปตอไม่ได้

- เรื่องตั้งรับตามหัวเมืองนั้น ยังไม่ถือว่าเหนือคาด เพราะ เราเคยใช้แผนนี้มาแล้วที่ศึกบางแก้ว พม่าก็คิดว่าจะเจอไม้นี้อยู่เหมือนกัน จึงบลัฟจำนวนพลให้เหนือกว่าฝ่ายเราเอาไว้มากๆ เพื่อให้ทำลายกองทัพที่ออกไปตั้งรับอย่างเหนือชั้น แต่ที่พลาดคือ เรื่องเจ้าพระยาจักรี(ณ เวลานั้น พม่าประเมินแม่ทัพฝ่ายเราไว้ที่พระเจ้ากรุงธน และ เจ้าพระยาสุรสีฯ) ที่ชำนาญยุทธศาสตร์และแก้กลพม่า ถอนกำลังกลับมาป้องกันเมืองเหนือไว้ทัน  

อธิบายละกันก่อนหน้านี้ ในพงศาวดารล้านนา ได้บันทึกว่า ศึกนี้นอกจากทัพอะแซหวุ่นกี้ที่เข้ามาทางเมืองตากแล้ว ยังมีทัพพม่าอีก 2 กอง ได้บุกล้านนาด้วย ทำให่ ทางเชียงใหม่ขอความช่วยเหลือจากเจ้าพระยาสุรสีหฯ ซึ่งคุณเจ้าของกระทู้คงเดาได้ไม่ยากว่า คือ แผนล่อสิงห์ออกจากถ้ำ

ซึ่งทั้ง 2 ท่านก็ได้ยกทัพไป แต่เมื่อถึงเวลา ทัพพม่ากองนี้กลับค่อยๆถอยขึ้นเชียงแสน ทำให้ทั้ง 2 เจ้าพระยาเอะใจ ตัดสินใจถอนทัพกลับลงมา และจัดแนวรบใหม่ไว้ที่เชียงใหม่ - ลำปาง - สวรรคโลก


กลับเป็นกลายเป็นว่า พม่าต้องแก้กลของเจ้าพระยาจักรีแทนว่า จะเดินไม้ไหนต่อ  สุดท้าย พม่าก็เลือกเข้าตีไทยที่พิษณุโลก และก็ติดพันจนเสบียงกับกระสุนหมด....

ยิ่งกว่านั้น ผลงานสำคัญของเจ้าพระยาจักรี คือ การรบที่หล่มเก่า หรือ เพชรบูร์ ถือ เป็นจุดหักเหที่ทำให้กระดานและทุกอย่างของพม่าพลิกคว่ำเละเทะ เมื่อทหารพม่าหมื่นกว่านาย ถูกเจ้าพระยาจักรีทำลายทิ้งเปล่าๆ กำลังพลลดฮวบจนน้อยกว่าฝ่ายเรา


- เกี่ยวกับเรื่องถอนทัพ ก็มีเรื่องไม่กันอยู่คือ พงศาวดารฝ่ายเราจะบันทึกว่า พระเจ้ามังระสวรรคตกะทันหัน การถอยทัพเป็นแบบฉับพลัน แต่ทางพม่าบอกว่า ราชสาส์นนี้ถูกส่งมาก่อนที่พระเจ้ามังระสวรรคต เนืองจากทรงเห็นว่า รบต่ออาจจะแพ้ ก็เป็นเรื่องต้องศึกษาต่อไป

ปล. ภาพที่แปะประกอบเล่นข้างบน รบกวนผู้รู้ส่องให้หน่อย ฝั่งไหนพม่ารามัญกันแน่ครับ ดูเองมาหลายปีแต่ยังแยกไม่ออก ก็คนวาดเขาเขียนออกมาให้ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งแต่แม่ทัพยันไพร่พลในรูปดันใส่เกราะแบบเดียวกันเลยแยกไม่ออก

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 08:36

หนังสือเรื่อง "โยเดียกับราชวงศ์พม่า" ซึ่งผมซื้อมาแล้วนำไปให้คุณมิคกี้ ฮาร์ท ผู้เขียนลงนามให้เป็นที่ระลึกเล่มนี้ ได้เปิดหูเปิดตาผมจากมุมมองของพม่าที่มองไทยมาก ประวัติศาสตร์พม่าบันทึกแทบจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันกับของไทย โดยภาพรวมแล้ว ผู้อ่านจะเห็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์ต่อกษัตริย์ราชธานีต่างๆเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในอนุชมพูทวีป ส่วนเมืองเล็กๆก็ได้แต่มองทิศทางลม ศึกนี้จะเข้ากับฝ่ายใดจึงจะรอดตัว ไม่ได้มีความคิดในเรื่องชาติและประเทศตามนิยามในปัจจุบันเลย มิน่าเล่า คนพม่าจึงไม่เคยนึกเกลียดคนไทย เหมือนกับที่เราที่เคยได้รับการฝังหัวว่าพม่าเป็นศัตรูของประเทศชาติตลอดกาล

แต่ก็อย่างว่า ก็ในอดีตเราเป็นฝ่ายถูกกระทำ เหมือนลาว เขมร และมลายูที่ทุกวันนี้เกลียดคนไทยนั่นเอง

ก่อนที่จะออกนอกประเด็นไปกันใหญ่ ขอกลับมาที่กระทู้ หากพระเจ้ามังระไม่สวรรคต  ไม่มีการเรียกกองทัพพม่ากลับ  การศึกระหว่างไทยกับพม่ายังคงดำเนินต่อไป  กรุงธนบุรีจะสามารถต้านทานกองทัพพม่าได้หรือไม่  หรือไทยจะต้องเสียกรุงครั้งที่ ๓ ซึ่งคุณราชปักษาก็ตอบแบบตรงคำถามไปแล้ว ผมไม่มีข้อขัดแย้งแต่ประการใด ส่วนที่ทิ้งปริศนาไว้ว่า เกี่ยวกับเรื่องถอนทัพ ก็มีเรื่องไม่กันอยู่คือ พงศาวดารฝ่ายเราจะบันทึกว่า พระเจ้ามังระสวรรคตกะทันหัน การถอยทัพเป็นแบบฉับพลัน แต่ทางพม่าบอกว่า ราชสาส์นนี้ถูกส่งมาก่อนที่พระเจ้ามังระสวรรคต เนืองจากทรงเห็นว่า รบต่ออาจจะแพ้ ก็เป็นเรื่องต้องศึกษาต่อไปนั้น มิคกี้ ฮาร์ท ซึ่งอ้างอิงพงศาวดารกุงบองเชกมหาราชวงศ์หลวง (กุงบองก็คือคองบองที่เรียกแบบไทย) เขียนไว้ว่า

"ฝ่ายกรุงอังวะนั้น  พระเจ้าเชงพยูชิน (พระเจ้าช้างเผือก (มังระ)) เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๙ พระเจ้าเซ่งกูพระราชโอรสจึงทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อ และมีรับสั่งให้กองทัพทั้งหมด เช่น ทัพของมหาสิงหะสูระ (ฉบับพระราชหัตถเลขาของไทยเรียกอะแซหวุ่นกี้) จากระแหงหนึ่งทัพ ทัพของพเนมโยสิงหะปติ(เนเมียวสีหะบดี)ที่ไปตั้งอยู่ที่จันทบุรี(เวียงจันท์)หนึ่งทัพ และทัพของผู้สำเร็จราชการเมืองเชียงใหม่ที่พระบิดามีรับสั่งให้ไปตีบางกอกธนบุรีอีกหนึ่งทัพ เดินทัพกลับเข้ากรุงอังวะทั้งหมด"

รายละเอียดก่อนหน้าตามที่คุณราชปักษาแยกแยะไว้เป็นข้อๆนั้น มีทั้งที่ตรงกันและไม่ตรง ผมจะทะยอยนำมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 09:13

ลืมขยายความไปนิดนึงครับ การถอนทัพกลับราชธานีทันทีหลังการสวรรคตเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของทุกชาติ มิฉะนั้นแม่ทัพจะมีความผิดฐานกบฏ
พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ไว้ใจใครไม่ได้หรอกครับ โดยเฉพาะผู้ที่มีกำลังทหารในมือ บางครั้ง ระหว่างพักศึกชั่วคราว กษัตริย์ยังส่งน้ำพิพัฒน์สัตยาไปให้ดื่มเฉพาะกิจเลยก็มี
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 11:35


ปล. ภาพที่แปะประกอบเล่นข้างบน ฝั่งไหนพม่ารามัญกันแน่ครับ ดูเองมาหลายปีแต่ยังแยกไม่ออก ก็คนวาดเขาเขียนออกมาให้ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งแต่แม่ทัพยันไพร่พลในรูปดันใส่เกราะแบบเดียวกันเลยแยกไม่ออก


รูปใดถูก
 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 11:58

เอาแค่มีสัปคับหรือไม่มีเวลาเข้าทำยุทธหัตถี เท่านั้น น่าจะดีกว่า ลึกกว่านั้นคงไม่มีข้อยุติ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 12:04

อะแซหวุ่นกี้เกิดความนับถือฝีมือแม่ทัพฝ่ายไทย จึงขอดูตัว ด้วยการเจรจาหยุดรบ 1 วัน
พงศาวดารไทยได้บันทึกอมตวาจาของอะแซหวุ่นกี้ ที่ทำนายเจ้าพระยาจักรีไว้ ดังนี้

“อะแซหวุ่นกี้ให้ล่ามถามเจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีให้บอกไปว่าอายุได้ 30 เศษ แล้วจึงให้ถามอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง บอกมาว่าอายุได้ 72 ปี อะแซหวุ่นกี้พิจารณาดูรูปลักษณะเจ้าพระยาจักรีแล้วสรรเสริญว่า ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับ 1 กับสักหลาดพับ 1 ดินสอแก้ว 2 ก้อน น้ำมันดิน 2 หม้อมาให้เจ้าพระยาจักรี ๆ ก็ให้ของตอบแทนตามสมควร"

ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ความเห็นเรื่องการ “การเจรจาขอดูตัว” นี้น่าจะเป็นเรื่องที่เติมเข้ามาด้วยอิทธิพลของ “สามก๊ก” นิยายจีนที่มีการแปลขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพงศาวดารซึ่งมีความระบุถึงการขอดูตัวเจ้าพระยาจักรีนั้นเป็นพงศาวดารที่มีการชำระขึ้นร่วมสมัยหรือหลังการแปลนิยายสามก๊ก อย่างพระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์ และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งชำระขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยมีพระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์เป็นต้นร่างนั่นเอง

อาจารย์นิธิยังตั้งข้อสังเกตว่า การขอดูตัวที่มีการอ้างถึงในพงศาวดารบางฉบับนั้นหากพิจารณาตามหลักกฎหมายของทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าแล้ว “ออกจะเป็นการกระทำถึงขั้นขบถศึกอยู่ทีเดียว” นอกจากนี้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน์ก็ยังมีความที่ถูกเติมเข้ามาอีกหลายตอนเช่น การถอยทัพจากเมืองพิษณุโลกที่ทำกันอย่างเป็นระเบียบ เจ้าพระยาจักรีให้ทิ้งค่ายนอกเมืองมารบในเมือง แล้วให้เอาพิณพาทย์ขึ้นตีบนกำแพง ซึ่งก็น่าจะเป็นข้อความที่ได้อิทธิพลมาจากสามก๊กเช่นกัน

 https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_7334
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 13:53

อ่านไปตามท้องเรื่องก่อนะครับ เดี๋ยวจะมีศึกอะแซหวุ่นกี้ที่คุณหมอเพ็ญเอามาลงไว้

ในหนังสือของมิคกี้อ้างจากความในพงศาวดารมหาราชวงศ์หลวงฉบับพม่า ว่าพระศรีธรรมราชา (พระเจ้าบรมโกศ) มีพระโอรสสองพระองค์ พระโอรสองค์โตนามว่าเจ้าฟ้าเอกทัศ พระโอรสองค์รองนามว่าเจ้าฟ้าอุทุมพร  พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งแก่อำมาตย์ทั้งหลายไว้  หากแม้นพระองค์ไม่อยู่แล้ว ให้เจ้าฟ้าอุทุมพร ขึ้นปกครองบ้านเมือง อย่าให้เจ้าฟ้าเอกทัศปกครอง มิเช่นนั้นบ้านเมืองและราษฎรจะถึงคราวฉิบหายได้
หลังจากพระศรีธรรมราชาสวรรคต อำมาตย์ทั้งหลายปฏิบัติตามคำสั่งพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ  ถวายราชสมบัติให้เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา  แต่สามสี่วันหลังจากนั้น พระองค์เสด็จไปเฝ้าพระสังฆราชเพื่อขอผนวช  แต่พระสังฆราชทรงไม่อนุญาต  แต่ให้พระองค์ทรงสมาทานศีลสิบ(ศีลของสามเณร)  แล้วปกครองบ้านเมืองต่อด้วยธรรมะ

พระองค์ทรงอดทนเป็นกษัตริย์ต่อได้เพียงสามเดือน ก็ยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าเอกทัศ  พงศาวดารของพม่ามิได้กล่าวถึงเรื่องที่มีในพระราชพงศาวดารของไทย ว่าเจ้าฟ้าเอกทัศน์ทรงถือดาบไปประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ แล้วโปรดให้พระเจ้าอุทุมพรเสด็จมาเฝ้า ครั้งพระเจ้าอุทุทพรเห็นดังนั้นก็ทรงเข้าพระทัย ถวายราชสมบัติให้พระเชษฐาโดยดีแล้วทรงออกผนวช  เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พระองค์ยังอยู่ในสมณเพศ นี่ตรงกันทั้งสองฝ่าย  ส่วนที่พม่าว่า ได้ถูกนำเสด็จมาอยู่ ณ กรุงอังวะ พร้อมกับราชานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมถึงประชาราษฎร์ทั้งหลาย และได้จำพรรษาที่เมืองอังวะ(และต่อมาได้ย้ายไปอมรปุระ) จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๓๙ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตที่เมืองอมรปุระ ทั้งหมดนี้ พงศาวดารไทยไม่ได้กล่าวถึง แต่มีสันนิษฐานภายหลังจากบันทึกคำให้การอดีตเชลยไทยที่หนีกลับมาว่า พม่าได้นำพระองค์ไปประทับอยู่ที่เมืองสะกาย  ซึ่งไม่ตรงกับของพม่า

สำนวนข้างบนผมไม่ได้ลอกคุณมิคกี้มานะครับ ถ้าอันไหนยกมาทั้งท่อน จะให้สีเป็นน้ำเงิน/ฟ้า
ข้างล่าง เป็นเล่มที่มิคกี้กล่าวถึงอยู่เสมอ เขียนโดย กรมพระยาดำรงของพม่า เจ้าชายมองตีน ชื่อเจ้าชายองค์นี้น่าหวาดเสียว ถ้าอ่านดังๆแล้วคนฟังนึกว่าเป็นสำเนียงเจ๊กพูกทาย


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง