เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 10 มิ.ย. 18, 10:04
|
|
กลบท นอก เรื่องหนึ่งด้าวฟ้าเดียว
ก่อนหน้าถอยเริ่มต้น สุดท้ายขอนับมา โคลงแปลกเริ่มเองนา สนุกน้อยหนึ่งดีคล้าย "สารถีชักรถ"คล้าย กลโคลง ต้นเริ่มคำเชื่อมโยง สุดท้าย คำความช่วยจรรโลง จิตรื่น สนุกนึกลึกล้ำย้าย ยักเยื้องโยกโยน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 11 มิ.ย. 18, 09:11
|
|
ถ้าเป็นโคลงสารถีชักรถ จะเป็น 1 2 3 4 5 2 1 6 7 8 9 10 7 6 ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 11 มิ.ย. 18, 09:48
|
|
ก่อนหน้าถอยเริ่มต้น สุดท้ายขอนับมา มโนประมาณนี้ 1 2 3 4 5 2 1 หน้าก่อนถอยเริ่มต้น ก่อนหน้า
6 7 8 9 10 7 6 ท้ายสุดขอนับมา สุดท้าย
ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 12 มิ.ย. 18, 09:51
|
|
ถ้าเป็นโคลงสารถีชักรถ จะเป็น 1 2 3 4 5 2 1 6 7 8 9 10 7 6 ฯลฯ รูปแบบที่สมบูรณ์เป็นดังนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 12 มิ.ย. 18, 09:54
|
|
"สารถีชักรถ" นี้เป็นชื่อเรียกปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพนฯ มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ "ทวารประดับ" หรือ "สกัดแคร่" ปรากฏอยู่ใน จินดามณี หน้า ๔๒ ซึ่งมีลักษณะบังคับเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 12 มิ.ย. 18, 10:04
|
|
กลโคลงบทนี้ปรากฏอยู่ในหนึ่งด้าวฟ้าเดียวเช่นกัน เป็นตอนที่คุณท้าวโสภาประลองปัญญาเจ้าแมงเม่าโดยการต่อโคลง (ในละครบอกเป็นการต่อกลอน ) ต่างกับในจินดามณีเล็กน้อยตรง ส้อน-ซ้อน ๏ ลางวัน ฟังข่าวร้าย วันลาง ร้อนยิ่ง ไฟฟอนฟาง ยิ่งร้อน ข่มสุด โศกไป่วาง สุดข่ม ขืนนา กรรมกู ฉันใดซ้อน ซัดให้กูกรรม ๚ะ๛หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ ๓/๑ นาทีที่ ๓.๓๐ - ๔.๕๐
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 13 มิ.ย. 18, 14:04
|
|
ท่านรอยอินได้เก็บชื่อกลบทนี้ไว้ พร้อมแสดงตัวอย่างที่นำมาจากจินดามณี แต่ดูจะมีข้อผิดพลาดอยู่จุดหนึ่ง
ต้นฉบับ ไป่ ท่านรอยอินลอกมาเป็น ไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 13 มิ.ย. 18, 14:23
|
|
แบบนี้พอได้ไหมครับ
กลกลอนสอนอ่านเขียน กลอนกล ยังนับสามสี่ฉงน ยังนับ เพิ่มกลวกวนรถ กลเพิ่ม อีกนา งงยิ่งยิ่งอ่านแล้ว ชวนให้ยิ่งงง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 13 มิ.ย. 18, 17:49
|
|
ดูตามแผนผังข้างล่างนี้นะคะ จะได้เข้าใจว่าคุณแต่งสัมผัสผิด และเอกโทผิด ตรงไหนบ้าง หมายเหตุ คำที่ลงไม้เอก ใช้คำตายแทนได้ แก้ไขให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ๏ กลกลอนเขียนอ่านรู้ กลอนกล ให้นับสามห้าฉงน นับให้ เพิ่มกลยิ่งวกวน กลเพิ่ม อีกนา งงยิ่งยิ่งอ่านไซร้ ยั่วให้ยิ่งงง ๚ะ๛
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 14 มิ.ย. 18, 09:40
|
|
ขอบพระคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
superboy
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 15 มิ.ย. 18, 22:20
|
|
ตกลงคุณนริสสอบ Dek61 ผ่านไหมหนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 18 มิ.ย. 18, 12:59
|
|
สงสัยต้องไปรอสอบ TCAS รอบสี่ ซะแล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 19 มิ.ย. 18, 14:04
|
|
อักษรศาสตร์ ม.เรือนไทย สอบไม่ยาก ข้อสอบจากตำราภาษาสรรพ์ กลบทจินดามณีมีสอนกัน ศึกษาครัน TCAS ได้ไม่พลาดเลยจงถอดความกลบทข้างล่างนี้ ๑. (๑๐ คะแนน) ๒. (๑๐ คะแนน)  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 23 มิ.ย. 18, 19:20
|
|
คำแนะนำวิธีถอดความ จากท่านรอยอิน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 25 มิ.ย. 18, 11:02
|
|
หนังสือลับอย่างโบราณ กับ หนังสือลับแห่งไทยโบราณ ต่างกันอย่างไรหนอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|