เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 20060 กลบท ในเรื่องหนึ่งด้าวฟ้าเดียว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 11:47

วันนี้เจ้าป้าผู้ประพันธ์เรื่องมาตอบเองแล้ว

https://pantip.com/topic/37681297

เจ้าป้าน่าจะสับสนจริง ๆ  ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 14:17

มสถอัส   
ท๊าจทาจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 18:46

ทงกหงลลเบงเทไล้ไม่ว
เไใเด้ช้คไคล่ม่ล่วกัอสื่งงอขา
หัไเวรเไไม้ม่ด้ปเกิวป็นดนยา
มอไใย่าทห้บ๊านัศึยบกบาสาษาย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 พ.ค. 18, 18:12

มีกลบท กลอักษรไทนับให้ศึกษาเพิ่มเติม อยู่ใน หนังสือจินดามณี หน้าเดียวกับที่แสดงกลบทไทหลง  นอกจากจะมีตัวอย่างกลบทไทนับสาม ยังมีไทนับห้าให้ศึกษาด้วย

ไทนับห้าอ่านเช่นเดียวกับไทนับสาม ต่างเพียงแต่อักษรที่จะนำมาประสมเป็นความ คือตัวที่ห้าในการนับแต่ละครั้ง

เชิญแสดงฝีมือถอดความกันตามอัธยาศัย ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 พ.ค. 18, 10:40

จากหนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ ๘/๔ นาทีที่ ๐.๒๓ - ๐.๕๕



ออกพระศรีฯ : กลบทเช่นนี้มีวิธีแก้หลายทาง ทั้งไทยนับสาม ไทยนับห้า ไทยหลง ฤาษีแปลงสาร กลอักษรตัวเลข ดูเพียงเท่านี้ ยังไม่รู้ดอกว่าต้องใช้วิธีใดบ้าง

แมงเม่า      : มีมากเช่นนั้นเลยหรือเจ้าคะ ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลย

ออกพระศรีฯ : ไม่แปลกดอก กลบทพวกนี้มักไม่ค่อยบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากแต่ถ่ายทอดกันปากต่อปาก

        

กลบท กลอักษร ที่ซ่อนความลับใช้สื่อสารในยามศึกสมัยอยุธยา มีมากดังออกพระศรีว่า

ฤๅษีแปลงสารมีตัวอย่างบันทึกไว้ใน จินดามณี หน้า ๗๗ ดูจะง่ายที่สุดในกลบท ๔ แบบที่ออกพระศรีว่าไว้

การอ่านฤๅษีแปลงสารไม่ยาก เพียงแต่นำพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำมาไว้ข้างหน้าเท่านั้น

เชิญทดลองถอดความดูเถิด
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 พ.ค. 18, 10:52

๏ อักษรไทนับแกล้ง    เปลี่ยนผลัด
ไทหลงสงสัยอรรถ      ยิ่งพ้น
ฤๅษีแปลงสารสวัสดิ์    สนเท่ห์
ลับลึกตรึกยากล้น      เล่ห์ล้ำกำบัง๚ะ๛

จินดามณี


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 พ.ค. 18, 16:15

อาจารย์ทุกท่านครับ วิชานี้ ผมงงจริงๆ มีวุ้นแปลภาษาไหมครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 พ.ค. 18, 17:18

คุณนริศลองทำแบบฝึกหัดของท่านอาจารย์ใหญ่ในวิชา "กลบท ๑๐๑" ดูเถิด ไม่ยากดอก

มสถอัส    
ท๊าจทาจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 พ.ค. 18, 17:04

ออกพระศรีฯ : กลบทเช่นนี้มีวิธีแก้หลายทาง ทั้งไทยนับสาม ไทยนับห้า ไทยหลง ฤาษีแปลงสาร กลอักษรตัวเลข ดูเพียงเท่านี้ ยังไม่รู้ดอกว่าต้องใช้วิธีใดบ้าง

ยังเหลือ "กลอักษรตัวเลข" หรือ "โคลงอักขระทดเลข" มีตัวอย่างอยู่ใน จินดามณี หน้า ๗๙ ฉบับพิมพ์ของกรมศิลปากร เล่มเดียวกับที่แสดง ไทหลง ไทนับสามนับห้า และฤๅษีแปลงสาร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 พ.ค. 18, 17:58

โคลงอักขระทดเลขเดียวกันนี้ ยังมีแสดงอยู่ในจินดามณีเล่ม ๑ ฉบับนายมหาใจภักดิ์ หรือ ฉบับวัดท่าพูด แต่มีบางจุดที่ต่างจากจินดามณีฉบับของกรมศิลปากร



อยู่บรรทัดที่ ๕ และ ๖ มีบางตอนที่เลอะเลือนไปบ้าง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 27 พ.ค. 18, 19:03

กุญแจไขความหมายของเลขแต่ละตัว อยู่ในข้อความบรรทัดที่อยู่บนกลบทโคลงอักขระทดเลขในจินดามณีทั้ง ๒ เวอร์ชั่น

เลข ๑ - ๙ มีความหมายกระไร ลองพิจารณาดูที



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 28 พ.ค. 18, 17:08

ข้อความบรรทัดดังกล่าวในจินดามณี ตรงกับบรรทัดซึ่งแสดงการนำพยัญชนะมาประสมกับสระ ๑๖ ตัวใน หนังสือประถม ก กา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 29 พ.ค. 18, 18:09

เมื่อเทียบกันแล้ว จึงสามารถถอดความหมายของตัวเลขได้ว่า

เลข ๑ คือ สระอุ
เลข ๒ คือ สระอู
เลข ๓ คือ สระเอ (เลข ๓๓ คือ สระแอ)
เลข ๔ คือ สระอะ
เลข ๕ คือ ไม้หันอากาศ
เลข ๖ คือ สระไอไม้มลาย สระไอไม้ม้วน
เลข ๗ คือ สระอิ (มีเลข ๑ อยู่บน คือ สระอี,  มีนฤคหิตอยู่บน คือ สระอึ, มีเลข ๒ อยู่บน คือ สระอือ)
เลข ๘ คือ สระโอ
เลข ๙ คือ สระอา

ใน จินดามณี สรุปคำเฉลยไว้เป็นโคลง ดังนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 30 พ.ค. 18, 19:22

กลบทอักษรเลขนี้ดูไปก็ไม่สู้ยากเท่าไร อ่านผ่าน ๆ ก็อาจจะเดาความได้บางตัว แต่เมื่อมีกุญแจไขความหมายตัวเลขครบถ้วน การถอดความโคลงบทนี้ทั้งหมดคงไม่ยาก

ลองดูสักหน่อยเป็นไร



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 09:19

 ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.148 วินาที กับ 20 คำสั่ง