Tivakara
อสุรผัด

ตอบ: 0
|
สอบถามทุกท่านครับ เนื่องจากผมพบคำว่า เสื้อยันต์ ในประวัติหม่อมเจ้าประวิช(โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระยานริศฯ)ความว่า “เครื่องแต่งตัวที่ใช้เป็นเครื่องแบบแต่ก่อนมา หม่อมเจ้าประวิชทรงคิดรูปแบบและลวดลายทั้งนั้น เป็นต้นว่า เครื่องแบบมหาจักรีบรมราชวงศ์ เสื้อยันต์เจ้า เสื้อยันต์ขุนนาง...” แล้วนึกขึ้นว่าเคยเห็นคำนี้ในสาส์นสมเด็จที่ท่านทั้งสองพระองค์ทรงปรารถเรื่องเครื่องแต่งกายอย่างใหม่ แต่ตอนอ่านก็ไม่ได้เอาใจใส่ เมื่อเห็นคำนี้อีกครั้งจึงสงสัยว่าเป็นเสื้อรูปแบบใด คงไม่ใช่อย่างเสื้อกั๊กยันต์เป็นแน่ เดาว่าคงเป็นเครื่องแบบข้าราชสำนักหรือขอเฝ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงขอรบกวนท่านในเรือนไทยช่วยไขความกระจ่างด้วยครับ
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 09:47
|
|
นึกถึงเครื่องแต่งกายทหารในยุคเริ่มแรกที่ว่า เสื้อเป็นรูปทูนิคยาวตัดเป็น ๔ ปีก แพรสีเหล็ก มีแถบทองอย่างเล็กขลิบที่คอและขดเป็นลายยันต์ ที่มุมที่คอและข้อมือติดแถบทองเล็กวงรอบและขดเป็นลายยันต์ขัดสมาธิ . นายทหารชั้นผู้ใหญ่เพิ่มลายยันต์ทองที่คอและข้อมือเสื้อเป็น ๓ ชั้น ส่วนนายดาบและนายสิบเอกเป็นยันต์ ๒ ชั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 10:11
|
|
อินทรธนูปักลายทองเรียกว่า "กิมเชน" ขดขัดกันเป็นลายยันต์โปน ตามภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 10:15
|
|
ยันต์ที่ใช้ในการเดินลาย ดัดแปลงมาจากยันต์เฑาว์ ที่ไว้สำหรับป้องกันภัยครอบจักรวาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tivakara
อสุรผัด

ตอบ: 0
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 22 เม.ย. 18, 00:55
|
|
ขอบพระคุณคุณsiameseมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|