เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 4399 ถามหาความรู้เรื่องแบบเรือนไทย มีเรือนออกญาโหราธิบดีที่ได้ทำร่างไว้มาให้ดูด้วยค่ะ
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 30 มี.ค. 18, 23:46

จากในละคร ทำไว้สองร่าง ขอเรียกง่ายๆว่าเรือนแบบใหญ่และเรือนแบบเล็กนะคะ ต้องขอขอบคุณเจ้าของรูปนี้ที่ได้ถ่ายแบบมาจากพระตำหนักทับขวัญ ที่มา http://www.oocities.org/manukv/prod06.htm  

มีประเด็นที่สงสัยคือ
1. เรือนนอนหลักต้องเป็นเรือนของออกญา ท่านผู้ใหญ่ที่สุดในบ้าน ใช่ไหมคะ และต้องอยู่ในตำแหน่งที่เป็นเรือนประธานเสมอ
2. เรือนครัว การปรุงอาหารในบ้านไทยแต่ดั้งเดิม ปรุงบนเรือนใหญ่แบบในละคร หรือว่าแยกไปจัดการที่เรือนครัวเพื่อไม่ให้กลิ่นรบกวนเรือนใหญ่ ส่วนครัวเรือนใหญ่ใช้เวลาฉุกเฉินเช่นฤดูน้ำหลากคะ
3. เรือนที่น่าจะเป็นไปได้ในความเป็นจริง ไม่ใช่ในแบบละคร คือเรือนใหญ่หรือเรือนเล็กคะ

เรือนใหญ่นี้ ดัดแปลงจากในละคร โดยให้ทางเข้าบ้านเป็นศาลาพักคอยของบ่าว มีครัวอยู่ใกล้ๆ ไกลออกไปเป็นหอพระ โถงกลางใช้เอนกประสงค์ เป็นศาลาใหญ่กลางเรือน เรือนนอนอยู่ริมด้านนอกทั้งหมด เรือนแม่การะเกดติดจะแปลกๆเพราะเป็นคนเดียวที่มีส่วนพักผ่อนแยกอย่างเด่นชัดตรงข้ามเรือนนอน คั่นด้วยทางเดินตรงกลาง( ให้เป็นไปตามละคร )

ส่วนเรือนเล็ก คิดจากความเป็นไปได้ ที่แต่ละท่านก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องมีพื้นที่มากมายนัก เพราะหากปลูกเรือนใหญ่โตเกินจำเป็น จะถือว่าไม่เหมาะสมกับฐานะขุนนาง

อยากรู้จริงๆนะเจ้าคะ ข้าต้องขอแนะนำตัวด้วยว่าเป็นกระทู้แรกของข้าเอง( ติดภาษาละครมาค่ะ สนุกดี )
ขอรบกวนด้วยนะคะ อายจัง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 08:22

ภาพเล็กน่าจะถูกต้องกว่ารูปใหญ่ครับ

เจ้าบ้านคือผู้มีอำนาจที่สุดก็ต้องนอนห้องที่สบายที่สุดซิครับ ไม่มีเจ้าบ้านที่ไหนจะยอมนอนข้างครัวซึ่งอย่างไรเสียจะมีกลื่น และเสียงหนูที่วิ่งคึ่กๆตอนกลางคืน
คนไทยโบราณเขาทำครัวบนเรือนอย่างนี้แหละครับ ไม่มีแยกไปทำข้างล่าง นั่นให้หมูหมาวัวควายอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 09:55

สถาปนิกใหญ่ให้คำตอบแล้ว   สถาปนึก(เอง) คงไม่ต้องเพ่ิ่มเติมอะไรอีกมั้งคะ

ขอเล่าถึงเรือนไทยในความทรงจำก็แล้วกันค่ะ  เป็นของแถม
ตอนเล็กๆเคยอยู่เรือนไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบางยี่ขัน    วิธีไปต้องนั่งเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าน้ำที่มีบันไดทอดขึ้นสู่ประตูรั้ว
พอเปิดประตูเข้าไปก็เจอนอกชานกว้าง  ใช้สารพัดประโยชน์  เช่นตากปลาเค็ม   ให้เด็กวิ่งเล่น  ตอนเย็นๆแดดร่มลมตกก็มานั่งเล่นกันได้สบาย
นอกชานนี้มีเรือนไทย 3 หลังล้อมอยู่  ซ้ายคือเรือนนอนหรือเรียกว่าหอนอนก็ได้   เป็นเรือนรูปยาวๆมีชานเรียกว่าพาไล  อยู่ใต้หลังคา  ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไปเป็นห้องยาว    เจ้าของบ้านกางมุ้งนอนกันได้หลายคน มุ้งใครมุ้งมัน  ไม่มีการแบ่งเป็นห้องเป็นสัดส่วนอย่างเดี๋ยวนี้
เช้าก็เก็บมุ้ง เก็บฟูกพิงฝาไว้   กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยในเวลากลางวันได้อีกหลายอย่าง 
เรือนไทยหลังที่สองอยู่ทางขวา  คือเรือนครัว   นอกจากทำครัวแล้วยังเก็บสัมภาระได้อีก
เรือนกลางอยู่สุดนอกชาน เป็นเรือนปลูกแบบขวางผิดกับสองเรือนแรกที่ปลูกหันด้านข้างออกแม่น้ำ และหันส่วนยาวมาทางนอกชาน    เรือนนี้ก็เป็นเรือนนอนอีกหลังหนึ่ง ของแม่เจ้าของบ้าน   ดิฉันเรียกท่านว่าคุณชวด

เรือนไทยของคุณชวดไม่ได้จัดแบ่งเป็นห้องนอนสวยงามใช้นอนอย่างเดียวอย่างเรือนแม่การะเกด     ไม่มีที่นั่งเขียนหนังสืออย่างเดียวอย่างเรือนพี่หมื่น    ไม่มีที่รับแขกอย่างเดียวอย่างเรือนออกญา
คือเรือนเดียวห้องเดียวนั้นใช้เป็นทั้งห้องรับแขก  นั่งเล่น  ออฟฟิศทำงานของสามีคุณชวดผู้ล่วงลับไปแล้ว   และใช้นอนด้วย   ข้าวของเครื่องใช้จึงมีเต็มไปหมด   จะจำแนกเป็นห้องอะไรก็เรียกไม่ได้ทั้งสิ้น
ถ้าแขกมาหา คุณชวดอาจจะต้อนรับที่หน้าเรือน หรือเชิญเข้ามาในเรือนแล้วแต่จะสนิทมากน้อยแค่ไหน    หลานก็หาเสื่อหรือพรมผืนย่อมๆมาปู ถ้าเป็นแขกผู้มีเกียรติ  ยกน้ำใส่เครื่องพวงมาวาง   แต่ถ้าสนิทกันเช่นเพื่อนบ้านก็ไม่ต้อง   บางทีก็รับแขกกันอยู่บนยกพื้นหน้าเรือนนั่นเอง   เอาความสะดวกเป็นหลัก

นั่นคือเรือนไทยในชีวิตแบบไทยๆ ก่อนอิทธิพลตะวันตกเข้ามา ทำให้คนไทยเริ่มแยกห้องนอน ห้องรับแขก  ห้องกินข้าวและครัวออกจากกันค่ะ
บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 10:22

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณสำหรับความกระจ่างค่ะ ดูไปก็สงสัยว่าความเป็นอยู่แบบในละครมีอะไรแปลกๆหลายอย่าง จุดที่แปลกที่สุดคือการอยู่เรือนเดียวกันแล้วแลเห็นกันได้จากหน้าต่างภายนอก

ตอนนี้กระจ่างแล้วค่ะ อยู่แบบเรือนเล็กดีที่สุดค่ะ เพียงพอกับความต้องการแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 11:09

ลักษณะการวางผังของหมู่เรือนไทยที่จังหวัดอยุธยา ภาพเมื่อ พ.ศ. 2489


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 11:17

หมู่เรือนไทย เมืองเพชรบุรี


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 12:09

เรือนไทยที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ด้านหลังเป็นเรือนแฝด


บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 12:20

ละครคงเน้นภาพสวยๆ ฉากกุ๊กกิ๊กเป็นหลัก ถึงกับนางเอกที่เป็นผู้อาศัย มีคอร์ตและที่พักผ่อนรับแขกหรือทำงานส่วนตัว ไม่ปะปนใคร มันแปลกๆอยู่น้า....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 19:15

ก็มีหลายฉากที่ตกแต่งเพิ่มเติมขึ้นให้ดูสวยงาม   เช่นการรับแขกด้วยการนั่งบนตั่ง  หันหน้าเข้าหากัน  ถ้ามีพนักเสียหน่อยก็คงเหมือนชุดรับแขกของฝรั่งละค่ะ    พื้นก็ปูพรมฝรั่งมีลวดลายให้เดินหรือนั่งเหยียบแบบพรมฝรั่ง   
เรือนไทยก่อนอิทธิพลฝรั่งเป็นแบบไหน   อาจเห็นได้จากเรือนขุนช้างในขุนช้างขุนแผน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ค่ะ
บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 19:49

ขอบคุณค่ะ

ได้ไอเดียเพิ่มเติม นอกจากขุนช้างขุนแผนแล้ว ก็มีคุ้มขุนแผนที่อยุธยาที่น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากเลยค่ะ อีกเรื่องนึงที่คอละครนึกขึ้นมาได้ ครอบครัวพระเอกที่มีมนต์มีพิธีพราหมณ์โดยเฉพาะ อาจจะมีหอพิธีพราหมณ์อีกด้วย ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ความสงสัยอีกอย่าง เรือนไทยไม่มีราวบันไดค่ะ อันนี้ได้แต่แปลกใจ คนแก่จะทำยังไงกันนะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 19:54

ตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยถัดลงบันไดที่ไม่มีราวค่ะ   คนแก่คงทำแบบเดียวกันมั้งคะ
รอท่านอื่นมาไขคำตอบดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 เม.ย. 18, 11:06

นอกประเด็นเรื่องแบบของเรือนนะครับ แต่สงสัยว่า ภาพมุมสูงอย่างนี้ สมัยนั้นถ่ายกันได้อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 เม.ย. 18, 17:57

ภาพนี้ถ่ายจากเคื่องบินโดยนักบินอังกฤษ ปึเตอร์ วิลเลี่ยมส์ ฮันท์ ในปี ๒๔๘๙
ความจริงเขาถ่ายภาพมุมกว้างแบบปูพรมไปหลายจังหวัด บางคนเช่นคุณหนุ่มสยามมีสำเนาที่เป็น high res. จึงสามารถตัดครอบบางส่วนมาแล้วยังมีความชัดอย่างที่เห็น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 เม.ย. 18, 18:14

ตัวอย่างที่ผมมีแค่ 142 KB


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 เม.ย. 18, 19:25

เรือนไทยที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ด้านหลังเป็นเรือนแฝด

ช่วง พ.ศ. 2514 - 2525 เคยนอนบนเรือนไทยที่มีผังเรือนดังภาพใน คห.ที่อ้างถึง แต่เป็นเรือนขนาดย่อม คือลดตัวเรือนออกไปเหลือเพียงด้านละหลัง ไม่มีผนังกั้นชานเรือนและไม่มีซุ้มประตูหัวบันใด เป็นเรือนไทยที่ปลูกมาแต่เก่าก่อน ไปนอนอยู่หลายครั้ง เป็นบ้านของผู้ใหญ่บ้าน บ.หลุมรัง อ.บ่อพลอย กาญจนบุรี

การใช้ประโยชน์ของเรือนต่างๆเป็นดังนี้ ขึ้นกระไดไปบนลานบ้านแล้ว เรือนทางขวามือกั้นเป็นห้องพระส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นครัวส่วนที่ใช้ปรุงอาหาร สำหรับการเตรียมเครื่องปรุงต่างๆนั้นใช้พื้นที่ส่วนที่เป็นชานเรือน เรือนกลางเป็นเรือนหลัก ส่วนหน้าใช้เป็นที่นั่งรับแขก เข้าประตูไปเป็นห้องนอน  เรือนทางซ้ายมือเป็นเรือนเก็บของ

คงจะพอมีประโยชน์บ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง