เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48383 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
prasit
อสุรผัด
*
ตอบ: 35


ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 18 เม.ย. 18, 20:54

มีความรู้เพิ่มมาเรื่อยๆ ผลจากละครคุณภาพทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ๆ ขอขอบคุณผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแลความรู้หล่านี้ครับ หาความรู้เหล่านี้ไม่ได้ง่ายๆเลยจากบทเรียน
ถึงมีแต่ก็ไม่ได้ใคร่สนใจ ณ เพลานั้น ล่วงเลยมาจนอายุอานามปาเข้าเลขสามยันเลขสี่ถึงได้ประสบพบเจอ ขอให้ Board นี้คงคุณภาพแลความรู้เหล่านี้อยู่ต่อเนื่องๆ
ขอบพระคุณทุกท่านด้วยความจริงใจขอรับ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:30

ตรานี้ค่อยดูงามนะคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:43


มาจากเล่มนี้หรือเปล่าครับ  ยิงฟันยิ้ม



ชัดเจนว่า fake ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:49

แต่มันได้รับความพยายามที่จะทำให้น่าเชื่อถือมาก่อนที่คุณหมอเพ็ญจะไปพบในเน็ทแล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 19 เม.ย. 18, 20:31

แต่มันได้รับความพยายามที่จะทำให้น่าเชื่อถือมาก่อน

คุณนวรัตนหมายถึงถูกทำให้น่าเชื่อในหนังสือนิยายฤๅ ?

นิยายเรื่อง The Phaulkon Legacy ของ Walter J. Strach III ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๙ ปีหลังจากเขาพิมพ์วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ถ้าหากรวมเวลาหาข้อมูลเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ก็คงเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปีอย่างที่คุณ Walter เขียนในหนังสือนั่นแล

รูปตราประทับบนครั่งสีแดงนี้ คุณ Walter ระบุว่าได้มาจาก อาจารย์ภูธร ภูมะธน  ถ้าหากติดต่อสอบถามจากอาจารย์ได้ คงมีความกระจ่างมากกว่านี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 08:23

คุณนวรัตนหมายถึงถูกทำให้น่าเชื่อในหนังสือนิยายฤๅ ?

ผมหมายถึงตราครั่ง(แบบฝรั่งจ๋า)ที่ปรากฏบนหนังสือ The Phaulkon Legacy  ซึ่งทำให้ดูว่าเป็นหนังสือแบบ non fiction นั้น ถูกทำให้น่าเชื่อถือด้วยการนำมาแปะไว้กับสมุดข่อยภาษาไทยโบราณ ที่อย่าว่าแต่ฝรั่งจะอ่านไม่ออกเลย คนไทยก็ไม่สามารถจะแกะถ้อยร้อยคำได้  รู้เพียงว่ามันไม่ใช่จดหมายหรือบันทึกเหตุการณ์เท่านั้นเอง  แต่อย่างว่า หนังสือเล่มนี้เขาต้องการให้เตะตาฝรั่งด้วยกันซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก
ผู้ที่จะทราบว่าหนังสือเล่มนี้นอกจากชื่อของฟอลคอนซึ่งเป็นชื่อของคนที่มีจริงๆในประวัติศาสตร์แล้ว ชื่ออื่นนอกนั้นผู้เขียนคิดเองแต่งเองทั้งหมด ก็ต่อเมื่อได้เปิดอ่านคำนำของเขาในหน้าในเสียก่อนเท่านั้น

นิยายเรื่อง The Phaulkon Legacy ของ Walter J. Strach III ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๙ ปีหลังจากเขาพิมพ์วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ถ้าหากรวมเวลาหาข้อมูลเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ก็คงเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปีอย่างที่คุณ Walter เขียนในหนังสือนั่นแล

รูปตราประทับบนครั่งสีแดงนี้ คุณ Walter ระบุว่าได้มาจาก อาจารย์ภูธร ภูมะธน  ถ้าหากติดต่อสอบถามจากอาจารย์ได้ คงมีความกระจ่างมากกว่านี้


สองย่อหน้านี้งง คุณหมอเพ็ญชมพูใช้คำว่านิยายซึ่งแปลว่าเรื่องแต่งขึ้น แต่กลับให้ข้อมูลเหมือนจะพยายามชวนให้เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง  รวมทั้งอ้างชื่ออาจารย์ภูธร ภูมะธนผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ให้รูปตราครั่งบนปกด้วย

ให้แค่รูป หรือให้ตัวตราครั่งที่สำนักพิมพ์เอามาแปะบนปกหนังสือครับ
แต่อันนี้เดาไม่ยาก ถ้าได้ตัวตราครั่งมาก็คงต้องติดตัวเอกสารจริงมาด้วย ไม่งั้นก็ไม่น่าเชื่อถือเพราะแบบออกแนวฝรั่งจ๋า อย่างไรก็ดีตราแบบนี้ตามย่านขายของโบราณเมืองฝรั่ง พอจะหาได้ไม่ยากครับ หรือจะจ้างช่างแกะขึ้นมาใหม่ก็ย่อมได้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 09:20

คุณหมอเพ็ญชมพูใช้คำว่านิยายซึ่งแปลว่าเรื่องแต่งขึ้น แต่กลับให้ข้อมูลเหมือนจะพยายามชวนให้เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง  รวมทั้งอ้างชื่ออาจารย์ภูธร ภูมะธนผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ให้รูปตราครั่งบนปกด้วย

ตราประทับบนครั่งที่ (อ้างว่า) ได้มาจากอาจารย์ภูธร ภูมะธน อยู่ในวิทยานิพนธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ ของคุณ Walter

ภาพจาก วิทยานิพนธ์ Master of Arts in Asian Studies มหาวิทยาลัยฮาวาย เรื่อง Contantine Phaulkon and Somdet Phra Narai : Dynamics of Court Politics in Seventeenth Century Siam โดย Walter J. strach lll หน้า ๑๑๐

https://scholarspace.manoa.hawaii.edu/bitstream/handle/10125/11457/uhm_ma_3194_r.pdf?sequence=1

คุณ Walter บรรยายว่า

"Phaulkon's official state seal, used on official documents during his appointment to the court of Somdet Phra Narai Maharat.

ตรานี้ฟอลคอนน่าจะออกแบบเอง



ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ คุณ Walter ได้นำตราประทับบนครั่งที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ครั้งกระโน้นไปแต่งภาพให้อยู่บนเอกสารโบราณ ปรากฏบนหน้าปกหนังสือนิยายของเขา The Phaulkon Legacy  ภาพตราประทับพร้อมเอกสารโบราณถือว่า Fake อย่างที่คุณนวรัตนว่า



ส่วนภาพตราประทับในวิทยานิพนธ์จะ Real หรือไม่ ต้องไปถามอาจารย์ภูธร ภูมะธน ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 10:18

สักวันคงมีคำตอบจากอาจารย์ภูธร แต่จนทุกวันนี้ในหน้าเว็บ ไม่มีปรากฏเรื่องตราครั่ง(ของแท้)จากท่านแม้จะหลุดมาจากปาก มิฉะนั้นเซียนเน็ทอย่างคุณหมอเพ็ญชมพูคงจะเอาออกแสดงแล้ว

แต่เท่าที่นำมาให้ หากใช้ความพยายามสักนิดก็จะเห็นข้อพิรุธจากหนังสือของWalter J. Strach ในหน้า biography ที่เขาอ้างอิงเอกสารมากมาย กลับเอ่ยถึงอาจารย์ภูธร ภูมะธน ผู้ที่เขานำตราครั่งมาปะ ว่าข้อมูลจากท่านได้มาจากการพูดคุยเท่านั้น

อย่างนี้ผมก็เชื่อยากเป็นธรรมดา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 10:24

แต่เรื่องของตราครั่งที่วิชเยนทร์ใช้ หาเจอในหน้าเน็ทนี้

โปรดสังเกตุหัวเรื่อง คำว่ามรดกของฟอลคอน มีความหมายเดียวกับ The Phaulkon Legacy ที่ Walter J. Strach ใช้เป็นชื่อหนังสือ
แต่ตัวรูปแบบของตราประทับเป็นคนละเรื่องไปเลย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 11:15

"กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา" โดย คุณหนุ่มสยามแลสหาย  ยิงฟันยิ้ม



ในหน้าที่คุณนวรัตนยกมา ย่อหน้าที่ ๔ ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง

ตรานกวายุภักษ์ ซึ่งเคยปรากฏในตราตำแหน่งพระยายมราชภักดี เจ้ากรมจำนวน ในกรมพระคลังเดิม

ตำแหน่งพระยายมราชภักดีแลเจ้ากรมจำนวนไม่มีหนาคุณหนุ่มสยาม  ยิ้มเท่ห์

แบบเก่าซึ่งเป็นตราที่พระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติใช้ประทับหนังสือตั้งนายระวางหัวเมือง และประทับกำกับตราเจ้าจำนวน (เจ้าพนักงานควบคุมการเก็บภาษีอากร) ตั้งนายอากรในกรุง แขวง จังหวัด และหัวเมือง

ข้อมูลจาก พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง/เชิงอรรถ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 11:40

แต่เรื่องของตราครั่งที่วิชเยนทร์ใช้ หาเจอในหน้าเน็ทนี้

ตราที่ปรากฏในบทความไม่ใช่ตราประทับบนครั่งดอก แต่เป็นตราปักษาวายุภักษ์แบบเก่าของพระยาราชภักดีซึ่งใช้ประทับบนกระดาษ

ภาพตราปักษาวายุภักษ์ของพระยาราชภักดีจาก https://th.wikisource.org/wiki/ไฟล์:Lanchakon_-_030.jpg


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 13:45

ขอบคุณครับ

เป็นอันว่า ในราชการแผ่นดินครั้งสมเด็จพระนารายน์ วิชเยนทร์ใช้ตราประทับ(ที่ประทับลงบนชาดก่อนแล้วจึงประทับบนหนังสือสำคัญอีกที)แกะจากงาโดยฝีมือของช่างไทย รูปแบบจึงเป็นอย่างวายุภักษ์ในรูปข้างบน ^ ซึ่งก็ดูหน้าเชื่อถือกว่าตรานกที่ประทับลงบนครั่งจริงๆ ตามแบบแผนนิยมของฝรั่ง
แบบแผนของไทยนั้น ไม่นิยมตราครั่ง ดังหนังสือสำคัญที่รัฐบาลสยามในรัชกาลที่ ๔ กระทำกับนายเทาวเซ็นธ์ แฮริส ทูตจากสหรัฐอเมริกา

แต่ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่ วิชเยนทร์จะสั่งซื้อหรือสั่งทำแหวนที่มีหัวเป็นตราประทับรูปนกมาจากเมืองนอก สำหรับเอามาใช้โก้ๆในหนังสือส่วนตัวของตนเอง ที่ไม่ใช่ในทางราชการ


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 18:07

เรื่องตราครั่งสีแดงของฟอลคอนที่เป็นประเด็นอยู่นี้ มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "จากบางเจ้าพระยาสู่ปารีส" ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี (ซึ่งมี อ.ภูธร ภูมะธน เป็นผู้เขียนคำนำ) ครับ

ในหนังสือเล่มนี้มีคำบรรยายใต้ภาพตราประทับว่า (ที่มา : Phaulkon : The Greek First Counsellor at the court of Siam : An Appraisal)


Phaulkon : The Greek First Counsellor at the court of Siam : An Appraisal  ตีพิมพ์โดยสยามสมาคม เมื่อ ค.ศ. 1998 เขียนโดย ดร.จอร์จ เอ. ซิโอริส (George A. Sioris) อดีตเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศครับ หลังจากเกษียณแล้วท่านได้มาอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ท่านจะนำภาพตรานี้มาจากที่ใด ไม่ชัดเจนครับ



บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 18:19

ตราประทับแบบไทยของฟอลคอนในจดหมายที่ฟอลคอนส่งให้นักเรียนไทยไทยในปารีส เขียนที่เมืองละโว้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม 1686 ต้นฉบับเก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศแห่งปารีส (Missions étrangères de Paris) เอกสาร Vol. 854, No. 773 ตีพิมพ์ในหนังสือ Adventures in Siam in the Seventeenth Century ของ E. W. Hutchinson


ลักษณะตราเห็นลวดลายไม่ชัดเจน ส่วนครึ่งล่างของตราน่าจะเป็นอักษรขอมไทย แบบเดียวกับที่พบในภาพตราประทับของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ครับ


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 20 เม.ย. 18, 21:17

ผมเจอแล้วครับ ตราครั่งนี้ประทับอยู่บนจดหมายของฟอลคอน ส่งถึง M. Fermanelle แห่งคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส ลงวันที่ 1 มกราคม 1688

ต้นฉบับเก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส (Missions étrangères de Paris) เอกสาร Vol. 862, No. 347 ตีพิมพ์ในหนังสือ Adventures in Siam in the Seventeenth Century ของ E. W. Hutchinson



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง