เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48063 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
prasit
อสุรผัด
*
ตอบ: 35


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 16 มี.ค. 18, 23:52

ละครที่อิงกับประวัติศาสตร์ไทย  มีหลายแบบค่ะ  บางแบบก็แทบไม่สนใจข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์  มโนขึ้นมาเองเป็นส่วนใหญ่    บางแบบอย่างบุพเพสันนิวาส เดินรอยตามหลักฐานข้อมูล มีการค้นคว้ามากมาย  แสดงให้เห็นความตั้งใจของผู้ประพันธ์ ผู้เขียนบท และผู้สร้างละคร     แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา     
ในเรือนไทย ผู้ตั้งกระทู้ขึ้นมาไม่ได้ตั้งขึ้นเพื่อจับผิดละครเสียจนกระทั่งลืมไปว่านี่คือละคร ที่มุ่งให้ความบันเทิงเป็นหลัก   แต่ข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนบางข้อที่ชี้ให้เห็นก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่รักจะเขียน หรือรักจะทำละคร ได้มองเห็น จะได้ไม่ทำผิดในเรื่องเหล่านี้
นอกจากนี้การชี้ข้อผิดพลาด ก็คือการสนใจไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม แบบเดียวกับที่คุณประสิทธิ์ทำนั่นเอง    ต่างกันแต่ว่าคุณประสิทธิ์ประทับใจจนไปติดตามดูของจริง   ส่วนกระทู้นี้ประทับใจจนเอาหลักฐานที่พบมาเปรียบเทียบให้อ่านกัน
ถือว่าสนุกกันไปคนละแบบ    ไม่ควรมีใครคัดค้านใครในแบบไหน  เพราะต่างคนต่างก็มีวิธีดูละครตามแบบของตัวเอง

ดิฉันหวังว่าคุณคงจะเข้ามาร่วมวงสนทนากันอีกนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ comment ครับ โดยส่วนตัวอยากไปดูของจริงตามโบราณสถานต่างๆ แต่ติดปัญหาเรื่องครอบครัวและเวลาไม่ลงตัว จะมีก็แต่ช่วงปิดเทอมที่แม่เขาพาเด็กๆกลับไปซึมซับ
บรรยากาศต่างจังหวัดที่บ้านยายเขา ผมถึงมีโอกาสได้ไปยลสถานที่เหล่านั้น อย่างพระปรางค์วัดราชบูรณะผมไปอยู่ทั้งวันก็ยังไม่สาสมแก่ใจ ชอบและหลงไหลในศิลปะลายปูนปั้นต่างๆแต่ก็นั้นแหละครับ
ด้วยความที่ไม่มีข้อมูลทีอ้างอิงได้อย่างสมบูรณ์แบบ ผมก็จินตนาการไปเรื่อยตามแต่ในหัวจะคิดได้ว่าอยากย้อนไปดูยุคนั้นจริงๆว่า กรุงเก่าของเรามันน่าดูชมขนาดใหน นี้แค่เห็น CG ในละครฉากวัดไชย
ผมยังย้อนดูใน You tube ย้อนแล้วย้อนอีก ถ้าของจริงเป็นแบบนั้นจริงๆ ผมยอมตายในชาตินี้เพื่อย้อนไปเป็นทาสหรือบ่าวใครก็ได้ในชาตินั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 17 มี.ค. 18, 19:09

ผมก็จินตนาการไปเรื่อยตามแต่ในหัวจะคิดได้ว่าอยากย้อนไปดูยุคนั้นจริงๆว่า กรุงเก่าของเรามันน่าดูชมขนาดใหน นี้แค่เห็น CG ในละครฉากวัดไชย
ผมยังย้อนดูใน You tube ย้อนแล้วย้อนอีก ถ้าของจริงเป็นแบบนั้นจริงๆ ผมยอมตายในชาตินี้เพื่อย้อนไปเป็นทาสหรือบ่าวใครก็ได้ในชาตินั้น

ถ้าย้อนไปได้ อธิษฐานใหม่ให้ไปเกิดเป็นพี่หมื่น หรือขุนหรือหลวง น่าจะคุ้มกว่านะคะ
ไปเกิดเป็นทาส แปลว่าจะต้องรับใช้นายทุกอย่างทุกเรื่องโดยไม่มีสิทธิ์ลาออก  เงินเดือนก็ไม่มี  มีเมียมีลูก พอลูกเกิดมาก็เป็นทาสโดยอัตโนมัติ     จะพ้นจากทาสได้อย่างเดียวคือหาเงินมาไถ่ตัวได้เท่านั้น
ในเมื่อทำงานเป็นทาสตลอด 24 ชม.  ไม่มีค่าจ้างเงินเดือน จะเอาเงินที่ไหนมาไถ่ตัว ก็ต้องเป็นทาสไปจนตาย
ทำไม่ถูกใจนาย นายก็เฆี่ยนตีโบยหลังลายได้โดยนายไม่ผิด    ถ้านายมือหนักไปหน่อย พลาดพลั้งทำทาสตาย  เรื่องก็มักจะเงียบหายไป
บ่าวก็คือพวกทาสนั่นแหละค่ะ   มีน้อยมากที่เป็นบ่าวเฉยๆเรียกว่า "ทนาย" โดยไม่ต้องเป็นทาส  แต่ก็รับใช้หัวโตเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 17 มี.ค. 18, 20:01

ถ้าเป็นทาสผมขอเป็นไอ้จ้อยแล้วกันครับ สาวน้อยหน้าแฉล้มพากันกรี๊ดไม่แพ้พี่หมื่นนะเออ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 17 มี.ค. 18, 21:48

ไอ้จ้อยในละครเป็นคนเดียวกับนายเจิมในหนังสือ เป็นบ่าวหน้าหอหรือทนายนั่นแหละ หาใช่ทาสไม่  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 17 มี.ค. 18, 22:31

เจอกระทู้ในเวปพันทิปน่าสนใจ
ขออนุญาตยกมานำเสนอค่ะ


https://pantip.com/topic/37469666


หัวข้อเรื่อง :
กบฏออกพระเพทราชา" >>> พระองค์ทรงเป็นผู้ร้ายทางประวัติศาสตร์จริงหรือ?
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 18 มี.ค. 18, 22:37

เพิ่งจะได้ดูตอนที่ 8 ย้อนหลัง มีข้อสงสัยครับ ฮืม สิ่งที่พี่ผินพี่แย้มยกมาให้แม่หญิงการะเกดใส่ผ้า ในละครเรียกว่า เตียบ แต่เท่าที่เคยรู้ เตียบ หมายถึงของอีกอย่างหนึ่ง เปิดพจนานุกรมดูก็ได้ความตามรูป หรือในสมัยนั้น เตียบหมายถึงของหน้าตาตามรูปครับ ท่านใดทราบข้อมูล ขอความรู้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 19 มี.ค. 18, 10:16

ในสมัยแม่หญิงการะเกด เตียบไม่ได้มีไว้สำหรับใส่เสื้อผ้า แต่มีไว้สำหรับใส่อาหาร เตียบทำจากไม้ไผ่สาน หากทำอย่างดีจะลงรักและฝังมุกด้วย



ในปัจจุบัน ฝาครอบพานใส่อาหารในขบวนขันหมากบางทีก็เรียกว่า "เตียบ" เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 19 มี.ค. 18, 10:47

ส่วนหีบใส่เสื้อผ้าของแม่หญิงการะเกดน่าจะเรียกว่า "กำปั่น" ซึ่งปรกติจะหมายถึงหีบเหล็กใส่สมบัติต่าง ๆ

ภาพจาก http://nam.dol.go.th/museum/Pages/เล่าเรื่องจากภาพ.aspx


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 19 มี.ค. 18, 11:10

กำปั่นไม้ของแม่หญิงคล้ายกับของที่ ตะวันลานนา  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 19 มี.ค. 18, 16:20

พิธีแต่งงานระหว่างฟอลคอนและมารี กีมาร์ ตอนที่ ๘/๕ นาทีที่ ๑.๔๕-๕.๓๐



คุณอธิวัฒน์ ชื่นวุฒิอธิบายความคลาดเคลื่อนของพิธีไว้

๑. การแต่งงานของคาทอลิกสมัยออเจ้านั้น เป็นยุคก่อนการสังคายนาวาติกันที่สอง (การสังคายนานี้มีเรื่องสำคัญหนึ่งคือการอนุญาตให้ใช้ภาษาถิ่นในการประกอบพิธี) ภาษาที่ใช้ในพิธีกรรมจึงเป็นภาษาละติน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคนั้นภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นภาษาไม่บริสุทธิ์ (La Lingua Impura) จึงไม่เป็นที่นิยม แม้ในการสนทนาก็ตาม ยุคนั้นเป็นยุคเรืองอำนาจของภาษาฝั่งยุโรป

๒.ในสมัยนั้นการแต่งงานข้ามศาสนายังเป็นเรื่องต้องห้าม รวมไปถึง "ต่างนิกาย" ด้วย ฟอลคอนซึ่งนับถือนิกายออร์โธดอกซ์จึงจำเป็นต้องรับศีลล้างบาปเข้านิกายคาทอลิกเสียก่อน จึงจะแต่งงานกับแม่มะลิได้ และการแต่งงานนั้นไม่น่าใช่เฉพาะวจนพิธีกรรม (ที่ว่ารับเป็นสามีภรรยา) เท่านั้น แต่น่าจะมีพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) ด้วย เพราะการสมรสระหว่างคริสตชนคาทอลิกด้วยกัน จัดเป็น "ศีลศักดิ์สิทธิ์" ประการหนึ่งที่สำคัญ

๓. อาภรณ์ที่พระสังฆราชสวมใส่ในละครเรียกว่าเสื้อคัปปา โดยปรกติสีม่วงเป็นสีที่ใช้สำหรับพิธีปลงศพ ส่วนพิธีแต่งงานจะใช้สีขาว แต่ถ้าเป็นมิสซาจะสวมชุดที่เรียกว่ากาสุลา ส่วนไม้เท้านั้นตรงปลายยอดมักมีลักษณะโค้งงอเพื่อสื่อถึงไม้เท้านายชุมพาบาล ไม้เท้าที่เป็นกางเขนสงวนไว้สำหรับ
พระสันตะปาปา และการถือไม้เท้าจะถือด้วยมือซ้าย เพื่อมือขวาจะใช้ทำสัญลักษณ์รูปกางเขนอวยพรประชาสัตบุรุษได้

๔. พิธีสมรสจารีตลาตินโบราณ ไม่มีการส่งตัวเจ้าสาวโดยบิดา และการจูบกันของบ่าวสาวหน้าพระแท่น เป็นการวิวัฒน์ของวัฒนธรรมยุคปัจจุบัน และในเมืองไทยปัจจุบันการแต่งงานแบบคาทอลิกก็ไม่มีธรรมเนียมนี้

**ทั้งหมดนี้ไม่ได้จับผิดละคร เพราะคิดว่าน่าจะมีข้อจำกัดหลายอย่างโดยเฉพาะการใช้เขตศักดิ์สิทธิ์ (Sanctuary) ในการถ่ายทำ เขียนแบ่งปันให้ออเจ้าอ่านกันเฉย ๆ ขอบน้ำใจที่อ่านจนจบ ฉันไหว้จ้ะ**

https://www.facebook.com/ch.athiwat/posts/10209009576596120


บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 19 มี.ค. 18, 19:55

ส่วนหีบใส่เสื้อผ้าของแม่หญิงการะเกดน่าจะเรียกว่า "กำปั่น" ซึ่งปรกติจะหมายถึงหีบเหล็กใส่สมบัติต่าง ๆ

ภาพจาก http://nam.dol.go.th/museum/Pages/เล่าเรื่องจากภาพ.aspx

ขอไหว้คุณเพ็ญชมพูขอรับ ได้ความรู้มากโข ปรกติไม่ค่อยได้ดูละคร ชอบฟังหนังสือเสียงมากว่าครับ แต่เรื่องนี้น่าสนใจ มาอ่านกระทู้ในเรือนไทยนี้ประกอบได้ความรู้เพิ่มเติมไปอีก ขอบคุณครับ 


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 21 มี.ค. 18, 11:00

ย้อนกลับไปดูตอนนี้อีกที



ในละครสื่อว่า สมัยแม่หญิงการะเกดไม่ใช้คำว่า "หีบ" แต่เรียกว่า "เตียบ"  แต่ในหนังสือคุณรอมแพงบรรยายไว้อีกอย่างหนึ่ง

"เตียบใส่ของไม่มีฝาครอบแต่มีตีนเชิงเจ้าค่ะ มีหลายขนาดนัก ถ้าเป็นเตียบเล็กเตียบพิธีจักมีฝายอดด้วยเจ้าค่ะ ส่วนข้าง ๆ นั้นเป็นหีบมีหลายอย่าง มีทั้งหีบญี่ปุ่น แบบนี้เจ้าค่ะ หีบญี่ปุ่นจะมีเชิง แลมีหีบลิ้นจักมีลิ้นชักแบบนี้นะเจ้าคะ" นางผินอธิบาย

เตียบของคุณรอมแพงคือภาชนะใส่ของคล้ายพานใบใหญ่ คำนิยามนี้น่าจะหมายถึง "ตะลุ่ม" มากกว่า

คำว่า "หีบ" มีใช้อยู่ หีบอย่างในละครตามคำบรรยายของคุณรอมแพงน่าจะเรียกว่า "หีบญี่ปุ่น"


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 21 มี.ค. 18, 13:23


๒.ในสมัยนั้นการแต่งงานข้ามศาสนายังเป็นเรื่องต้องห้าม รวมไปถึง "ต่างนิกาย" ด้วย ฟอลคอนซึ่งนับถือนิกายออร์โธดอกซ์จึงจำเป็นต้องรับศีลล้างบาปเข้านิกายคาทอลิกเสียก่อน จึงจะแต่งงานกับแม่มะลิได้ และการแต่งงานนั้นไม่น่าใช่เฉพาะวจนพิธีกรรม (ที่ว่ารับเป็นสามีภรรยา) เท่านั้น แต่น่าจะมีพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) ด้วย เพราะการสมรสระหว่างคริสตชนคาทอลิกด้วยกัน จัดเป็น "ศีลศักดิ์สิทธิ์" ประการหนึ่งที่สำคัญ


เรื่องศาสนาของฟอลคอน พิจารณาจากหลักฐานหลายชิ้น เช่น "บันทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและมรณกรรมของ ก็องสตังซ์ ฟอลคอน" กับ จดหมายของ “คาทอลิกชาวอังกฤษ (English Catholic)” ส่งถึงบาทหลวงดอเลอ็องส์ (Père Pierre-Joseph D’orléans) ระบุตรงกันว่าเดิมเขานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ไม่ใช่กรีกออร์โธด็อกซ์ครับ

หลายแห่งที่ระบุว่าเขาเคยนับถือนิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ คงด้วยเข้าใจว่าเขาเป็นชาวกรีก แต่ความจริงแล้วเซฟาโลเนียบ้านเกิดของฟอลคอนอยู่ใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิสในยุคนั้น และก็ถูกสถาปนาเป็นหนึ่งในมุขมณฑลของคาทอลิกด้วย ฟอลคอนจึงเป็นคาทอลิกไม่ต่างจากคนส่วนใหญ่ของเซฟาโลเนียครับ  https://www.facebook.com/HistoryofChristianitybothWestandEast/posts/2038980323040239

ต่อมาเขาไปอยู่กับพวกอังกฤษตั้งแต่ยังน้อย และทำงานอยู่ในแวดวงชาวอังกฤษเรื่อยมา เขาเลยเปลี่ยนไปนับคือศาสนาคริสต์นิกายแองกลิกันอย่างชาวอังกฤษ แล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็นคาทอลิกโดยการชักชวนของบาทหลวงนิกายเยซูอิตชื่อ อ็องตวน โตมาส์ (Antoine Thomas) ก่อนจะแต่งงานไม่นานครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 21 มี.ค. 18, 14:14

ขอบคุณคุณศรีสรรเพชญ์สำหรับข้อมูลการนับถือศาสนาของฟอลคอน

เข้าไปในลิ้งก์ที่ให้ไว้ พบภาพยนตร์เรื่องหนึ่งกำลังสร้างชื่อ "SÏAM" เป็นเรื่องในยุคเดียวกับ "บุพเพสันนิวาส"

ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเล่าเรื่องราวในช่วงที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ส่งบาทหลวงคณะเยสุอิตกลุ่มหนึ่งเข้ามายังอยุธยาเมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๕ เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงราชอาณาจักรแห่งนี้ให้กลายเป็นดินแดนคาทอลิก กลุ่มบาทหลวงได้ดำเนินกโลบายดังกล่าวโดยร่วมมือกับ “คอนสแตนติน ฟอลคอน” หรือ ออกญาวิชเยนทร์ ขุนนางต่างชาติซึ่งเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์

อย่างไรก็ตาม เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนัก แผนการยึดครองอยุธยาของฝรั่งเศสกลับประสบกับความยากลำบาก เพราะเกิดเหตุรัฐประหารอันนองเลือดขึ้นในสยาม

ดูจากตัวแสดงในคลิปนี้คงน่าดูทีเดียว  ยิงฟันยิ้ม

https://konmongnangetc.com/tag/siam/

https://www.facebook.com/siamthemovie/?hc_ref=ARSn7b0k_AY4YnGWE985csuqOBEyrsocyXKpQ1hkU6urciAkoOmVuoIbwqAhENcoYXM

บันทึกการเข้า
Voodoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 21 มี.ค. 18, 23:47

จากตัวอย่างเรื่อง Siam เห็นหน้าฟอลคอนแล้วนึกถึงพวกกบฏมักกะสันเลย หน้าแขกเกิ๊น  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง