เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48434 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 13 มี.ค. 18, 21:32

ดิฉันรู้แต่ว่าผ้าสมปักมีหลายแบบหลายลาย   ขุนนางที่มียศสูงต่ำไม่เท่ากัน ได้ผ้าสมปักกันคนละแบบ  ค่ะ  แต่ใครได้สมปักหลายไหน  ยังไม่ได้ไปค้น  เคยอ่านพบเหมือนกันเพียงสั้นๆ เลยจำไม่ได้

เมื่อเลื่อนยศแล้วต้องคืนผ้าสมปักเดิมหรือเปล่า  ข้อนี้ก็ยังไม่เคยอ่านพบว่ามีการคืนผ้านุ่งตามยศด้วย
คุณหนุ่มสยามหรือคุณเพ็ญชมพูทราบ ช่วยบอกด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 09:20

ขออนุญาตตอบเรื่องผ้าสมปักค่ะ จากหนังสือ วิวัฒนาการแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ปี2525 จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี

"ผ้าสมปัก ผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่งใช้เป็นเครื่องแบบมาก่อนสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะใช้เฉพาะในเวลาเข้าเฝ้าหรือในพระราชพิธี เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะด้วยวิธีมัดหมึกกลางผืนผ้าเป็นสีและลายต่างๆ สมปักมีหลายชนิด ได้แก่ “สมปักปูม ” ถือว่าเป็นชนิดที่ดีที่สุด "สมปักกล่องจวน” เป็นสมบักที่เป็นลายยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้น เชิงมีลาย นอกจากนี้มีสมปักลายและสมปักริ้ว ซึ่งเป็นผ้าสามัญที่บรรดา เจ้ากรมปลัดกรมนุ่งเท่านั้น มิใช่เป็นของขุนนางชั้นผู้ใหญ่"

และมีอธิบายอย่างละเอียดตรงเรื่องของผ้าปูมเจ้าค่ะ

"ผ้าปูม ประเทศที่ทอผ้าปูม มีประเทศไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ด้วยเทคนิคมัดหมี่ ลายผ้าปูม เกิดจากการทอด้ายควบ คือเอาด้ายสีต่างกันทอไปตามอำนาจความลักลั่น จึงเกิดเป็นลายตาม ความคิด ผ้าปูมที่เห็นเป็นผ้าไหมทอ มีลวดลายเด่นด้วยไหมสีต่างๆ แต่ส่วนมากเป็นพื้นผ้าปูม (เส้นยืน) เป็นสีแดง ตัวผ้าปูมแบ่งส่วนผ้าออกเป็นส่วนขอบผ้า เชิงผ้า กับท้องผ้า ชายริม (เชิง) ผ้าเป็นลายเชิง หรือลายกรวยเชิง ขอบผ้าด้านยาวเป็นลายก้านแย่งขนาบด้วยลายแนวเส้นแคบๆ ต่อด้วยลายกรวยเชิงสั้นๆ ท้องผ้าปูมเองมักทอยกดอกลายเครือเถาก้านแย่งทั้งผืน ลายในผ้าปูมนี้จะไม่เห็นเป็นลายดอกเด่นชัด อย่างลายปักหรือลายพิมพ์ แต่จะเห็นเป็นลายโครงร่างคร่าวๆ เท่านั้น เพื่อให้ทราบว่าใช้เค้าโครงของ ลายอะไร คำว่า สมปัก บ้างว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรที่ว่า สมปรต แปลว่า ผู้ชาย ปูมแปลว่าลาย ผ้าสมปักปูม หมายถึง ผ้าลายของผู้ชาย อย่างไรก็ดี ผ้าปูมนี้เดิมเป็นผ้าของหลวงที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง เดิมไทยเรามี โรงไหมของหลวงทอผ้าสมปักปูม และสมปักเชิงกรวยพระราชทานให้ขุนนางเป็นผ้าเบี้ยหวัดรายปี ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นลายสีต่างๆ เชิงผ้ามีลายเป็นชั้นๆ แสดงถึงยศ ตำแหน่งของผู้นุ่ง มีสมปักปูมเป็นชนิดสูงสุด สมปักริ้วเป็นชนิดต่ำสุด ดังนั้นผ้าปูมคงหมายถึงเฉพาะผ้าสมปักปูมนั่นเอง ปัจจุบันเป็นผ้าหายากมาก"
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 09:26

(๑) ผ้าสมปักเป็นเสมอเหมือนเครื่องยศเฉกเช่นสมัยนี้ใช่ไหมคะ อย่างนี้ ผ้าสมปักก็คงมีหลายแบบลาย หมายถึงแบ่งแยกเป็นหลายแบบตามตำแหน่งยศใช่ไหมคะ

(๒) ถ้าใช่ แล้วถ้าได้อวยยศ เลื่อนยศสูงขึ้น ต้องนำผ้าสมปักประจำตำแหน่งเดิมคืนราชสำนักไหมคะ

(๑) ผ้าสมปักใช้เป็นเครื่องยศ พระราชทานให้นุ่งได้ตามตำแหน่งแห่งยศของแต่ละบุคคล ใช้เฉพาะในเวลาเข้าเฝ้าหรือในพระราชพิธี  ผ้าสมปักมีหลายชนิด คือ "สมปักปูม" ถือว่าเป็นชนิดดีที่สุด สมปักปูมดอกเล็ก, กลาง, ใหญ่ สำหรับข้าราชการชั้นสูง สมปักปูมท้องนาคสำหรับขุนนางชั้นผู้ใหญ่ "สมปักล่องจวน" เป็นสมปักที่ทอเป็นรอยยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้นมีเชิงลาย นอกจากนี้มี "สมปักลาย" และ "สมปักริ้ว" สำหรับขุนนางชั้นล่าง

ข้อมูลจาก

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=15&chap=5&page=t15-5-infodetail06.html

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1435.msg24066


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 09:27

(๒)  คุณแพทคงนึกถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปัจจุบันที่ต้องคืนเมื่อได้รับเครื่องราชฯ ชั้นที่สูงขึ้น

ผ้าสมปักที่พระราชทานแม้เป็นเครื่องบอกยศ แต่ก็ไม่ได้มีไว้สำหรับเก็บแต่ต้องนำออกมาใช้เมื่อเวลาเข้าเฝ้า ย่อมหมดสภาพไปตามกาลเวลา หากต้องคืนราชสำนักคงไม่สามารถนำไปพระราชทานขุนนางท่านอื่นได้

ในคำอธิษฐาน ๑๒ บท ของ คุณพุ่ม กวีหญิงคนสำคัญในรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ ในข้อ ๑๐ มีว่า "ขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย" สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายคำอธิษฐานบทนี้ว่า

"ขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย” นั้น คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็นที่ จมื่นไวยวรนาถ อยู่ในรัชกาลที่ ๓ สมปักไหมลายต่างกันตามชั้นยศเป็นของพระราชทานขุนนาง เมื่อทรงตั้งเป็นตำแหน่ง สำหรับให้นุ่งเข้าเฝ้า โดยปกติขุนนางนุ่งผ้าอย่างสามัญ ต่อเมื่อถึงเวลาจะเข้าท้องพระโรง จึงผลัดผ้านุ่งสมปักที่ในวัง (ดูเหมือนมีรูปภาพขุนนางกำลังผลัดผ้าเช่นว่า เขียนไว้ที่ในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐ์) ออกจากเฝ้าก็ผลัดผ้านุ่งผืนเดิมกลับไปบ้าน ชะรอยสมปักพระนายไวย จะใช้อยู่แต่ผืนเดียวนุ่งจนเก่า ไม่มีผืนสำรองสำหรับเปลี่ยน คุณพุ่มจึงแกล้งค่อนให้

ผ้าสมปักของจมื่นไวยวรนาถผืนนี้คงไม่มีใครอยากนุ่งต่อเป็นแน่แท้
 ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจาก  https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_8015
บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 14 มี.ค. 18, 23:20

ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะ  อายจัง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:00

บุพเพฯ วันละคำวันนี้เสนอคำว่า

         คุณหญิงจำปาว่าที่แม่สามีมองแม่หญิงการะเกดกับสิ่งประดิษฐ์แปลกประหลาดแล้วพึมพำว่า พิเรนทร์

รอยอิน ให้ความหมายคำว่า พิเรนทร์ ไว้ว่า

           “ว. อุตรินอกลู่นอกทาง เช่น เล่นพิเรนทร์ คนพิเรนทร์.”

       คำว่า พิเรนทร์ มีที่มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในกฎหมายตราสามดวง พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
ด้วยปรากฏราชทินนามระบุไว้ว่า “หลวงพิเรนณเทพบดีศรีสมุหะ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ตราคนถือหวายมือขวา นา ๒๐๐๐”

       ส่วนคำว่า เล่นพิเรนทร์ มีเรื่องเล่าที่มาของการใช้คำดังกล่าวปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง ปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย
นายแพทย์นวรัต  ไกรฤกษ์  ให้ความหมายและที่มาของคำว่า พิเรนทร์ จากคำบอกเล่าของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
(นพ  ไกรฤกษ์) ผู้เป็นบิดา ว่า

       เมื่อไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสใน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) นั้น มีพลเมืองที่นิยมทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับการอยู่ยง
คงกระพันล่องหนหายตัวได้ คิดอาสาสมัครออกรบกับฝรั่งเศส มีพระตำรวจหลวงผู้หนึ่งราชทินนามว่า พระพิเรนทรเทพ ออกความคิด
จะจัดตั้งและฝึกหัดหน่วยจู่โจมพิเศษ โดยให้ดำน้ำไปเจาะเรือรบฝรั่งเศสให้จม
       พระพิเรนทร์ฯ ได้จัดการฝึกหัดบ่าวไพร่และผู้อื่นที่อาสาสมัครในคลองหน้าบ้านของท่านทุกวัน เพื่อให้เกิดความชำนาญและ
ดำน้ำได้ทนเป็นพิเศษ แต่บางคนดำน้ำได้ไม่นานก็โผล่ขึ้นมา พระพิเรนทร์ฯ ต้องใช้ไม้ถ่อค้ำคอไว้ไม่ให้โผล่ขึ้นมาเร็วเกินไปจนเกิด
มีการตายขึ้น จากการกระทำดังนั้น ความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยจู่โจมพิเศษจึงต้องล้มเลิกไป

        พวกชาวบ้านจึงพากันเรียกการกระทำของพระพิเรนทร์ฯ ว่า “เล่นอย่างพิเรนทร์” ซึ่งเป็นคำพูดติดปากกันต่อมา เมื่อมีใครทำ
สิ่งใดแผลง ๆ อุตรินอกลู่นอกทางในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่ควรกระทำ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ “เล่นพิเรนทร์” หรือเป็น “คนพิเรนทร์”.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:29

คำว่า "พิเรนทร์" แต่ดั้งเดิมนั้นมีความหมายในทางบวก ในพจนานุกรมของอาจารย์เปลื้อง ณ นคร บอกว่า พิเรนทร์ แปลว่า จอมนักรบ, พระเจ้าแผ่นดิน ความหมายเปลี่ยนไปในทางลบในรัชกาลที่ ๕ นี่เอง

คุณหญิงจำปาไปเอาคำล้ำสมัยเช่นนี้มาจากที่ใดฤๅ น่าสงสัยยิ่งนัก  ยิงฟันยิ้ม


จากหนังสือบาลีวันละคำ นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย เขียน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:44

การใช้ภาษาโบราณในละครแนวย้อนยุคมีข้อจำกัดคือไม่สามารถเลียนสำเนียงในยุคสมัยนั้นได้ ใครเลยจะรู้ว่าคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์พูดภาษาไทยสำเนียงอย่างไร ดังนั้น การใช้ภาษาโบราณจึง “ประดิษฐ์” ออกมาในแง่ของการใช้ถ้อยคำสำนวน ซึ่งค้นจากหนังสือโบราณอย่างพงศาวดาร เป็นต้น

หากเป็นละครแนวข้ามภพข้ามชาติ ทั้งคนสร้างและคนดูต่างยอมรับกติกาว่าตัวละครในอดีตกับปัจจุบันสื่อสารกันได้ด้วยภาษา “กลาง ๆ” ส่วนใหญ่ดูเอาเรื่องเอารสมากกว่าจะสนใจเรื่องความแตกต่างของภาษาต่างสมัย

แต่ละครเรื่องบุพเพสันนิวาสตั้งใจเล่นมุกภาษาอย่างเห็นได้ชัด เปิดพื้นที่ให้ภาษาเก่ากับภาษาใหม่ปะทะกันสุดขั้ว เกดสุรางค์ในร่างของการะเกดต้องเรียนรู้คำโบราณ เช่น ออเจ้า ห้าบาท เวลาชาย เวจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ตัวละครในอดีตทั้งหมดต้องฉงนฉงายกับคำสแลง คำติดปากที่เป็นภาษาปัจจุบันของนางเอก เช่น โอเค ชัวร์ จริงแท้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ สองมาตรฐานชัด ๆ ขอบอก ซัดเลย (=กินเลย) แซ่บ อาหารเรียกน้ำย่อย คุณแม่บ้าน อยากสุด ๆ สโตรก นอนเป็นผัก เป็นต้น ตัวละครอย่างพระเอก แม่พระเอกต้องออกปากว่า นางพูดจาชอบกล พูดจาพิกลพิการ ฟังไม่รู้ความ

ลองนึกเล่น ๆ ดู ถ้ามีใครในโลกปัจจุบันหลงเข้าไปในอดีต แล้วพูดจาภาษาปัจจุบันอย่างนางเอก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นเพียงความฉงนฉงาย แต่น่าจะเป็นการตระหนกทางวัฒนธรรม (คัลเจอร์ช็อก) ขนานหนัก แต่ละครเรื่องนี้อาศัยความไม่สมจริงนี้สร้างกระแสให้ละครอย่างได้ผล

ละครก็คือละคร ผู้เขียนนวนิยายได้ทลายกำแพงความเป็นอื่นทางภาษาลง ด้วยการให้ตัวละครในอดีตเริ่มพูดตามนางเอก แม่ผินแม่แย้มพูดคำว่า “โอเค” พระโหราธิบดีพูดคำว่า “เหล่” ได้คล่องปาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:45

ยิ่งไปกว่านั้น ความเพ้อฝันของละครเรื่องนี้เกิดจาก “ความไม่รู้” หรือเผลอไผล ตัวละครในอดีตพูดคำที่คนโบราณไม่พูด ความตอนหนึ่งในช่วงหลังของเนื้อเรื่อง พระโหราธิบดีพูดว่า “คิดว่าข้าโกหกงั้นฤๅ” คำว่า “โกหก” เป็นคำหยาบในสมัยโบราณ ใช้ด่าไพร่ทาสบริวาร คนโบราณน่าจะใช้คำว่า “ปด” ในสถานการณ์ปกติมากกว่า

อีกตัวอย่างหนึ่ง ตัวละครในอดีต มีพระโหราธิบดี พระยาโกษาธิบดีปาน พระยาโกษาธิบดีเหล็ก ทุกคนฉงนคำว่า “มนุษย์” นางเอกต้องเปลี่ยนคำว่า “มนุษย์” เป็นคำว่า “คน”

ข้อนี้เป็นความผิดพลาดสาหัส เหตุใดตัวละครอย่างพระโหราธิบดี พระยาโกษาธิบดีปาน และพระยาโกษาธิบดีเหล็กจึงไม่เข้าใจคำว่า “มนุษย์” โดยเฉพาะพระโหราธิบดีซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือจินดามณี ที่ในหน้า ๘ ของหนังสือเล่มนี้มีคำว่า “มานุษ มนุษย” !!!

ถ้านักเขียนใส่ใจเรื่องพัฒนาการทางภาษา น่าจะรู้ว่าในไตรภูมิพระร่วงมีคำว่า “มนุสสภูมิ” แล้ว และสมัยอยุธยาตอนต้นถึงตอนกลางก็ได้รับอิทธิพลภาษาบาลีสันสกฤตเขมรเต็มที่ วรรณคดีในสองยุคนี้อุดมด้วยอักษรศัพท์จากภาษาต่างประเทศเหล่านี้ ในบทขานนาคตอนบวชพระมีคำถามเป็นภาษาบาลีว่า “มนุสโสสิ” พระท่านถามว่าผู้ขอบวชเป็น “มนุษย์” หรือไม่ ชายไทยสมัยอยุธยาก็น่าจะขานนาคบทเดียวกัน เป็นไปได้อย่างไรที่คนอย่างพระโหราธิบดีจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “มนุษย์”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:48

แต่ก็อีกล่ะนะ ด้วย “ความไม่รู้” หรือเผลอไผล ในฉากประชันโคลงระหว่างพี่หมื่นกับแม่หญิงจันทร์วาด นักเขียนนวนิยายและผู้เขียนบทละครให้นางเอกยกกลอนขึ้นมาอวด ในนวนิยายระบุว่าเป็นกลอนของนักเขียนคนหนึ่ง (ตรงนี้อาจารย์พลาดบ้างเพราะในหนังสือก็ว่าเป็นของ น.ม.ส.  นั่นแหละ - เพ็ญชมพู)  แต่ในบทละคร ยกวรรคทองในกนกนคร ของ น.ม.ส. ซึ่งเป็นกลอนหกขึ้นมา

หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย
เบื่อหน่ายบงนักพักตร์ผิน
หาเดือนเพื่อนเถินเดินดิน
คือนิลนัยนาหาดาย
เพ็ญเดือนเพื่อนดินสิ้นหา
เพ็ญเดือนเลื่อนฟ้าหาง่าย
เดือนเดินแดนดินนิลพราย
เดือนฉายเวหาสปราศนิล

ตัวบทเขียนให้ตัวละครในอดีตชื่นชมนางเอกว่ามีฝีมือทางโคลงกลอน ช็อตนี้เป็นช็อตฟุ้งเฟื่องที่สุด

วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ไทยสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นฉันท์และโคลงสี่สุภาพ ถามว่าสมัยนั้นมีกลอนสุภาพหรือไม่ คำตอบคือน่าจะมี แต่คงเป็นฉันทลักษณ์ของชาวบ้าน และมีพัฒนาการถึงขีดสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงขั้นมีกลอนกลบทเกิดขึ้น ในกลบทสิริวิบุลกิตติชาดก เพราะฉะนั้น ตัวละครในอดีตคือพระโหราธิบดี พระยาโกษาธิบดีปาน พระยาโกษาธิบดีเหล็ก คุณพี่หมื่นน่าจะฉงนสนเท่ห์ว่านางเอกกำลังใช้ฉันทลักษณ์อะไร โดยเฉพาะเป็นกลอนหก ซึ่งปรากฏใช้อยู่เรื่องเดียวในประวัติวรรณคดีไทย คือกนกนครในสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันด้วย ยิ่งไปกันใหญ่ มันต้องเป็น “นวัตกรรม” วรรณศิลป์ไทยที่พระโหราธิบดีต้องรีบจดบันทึกในจินดามณีด้วยความตื่นเต้น!!!

จาก "ออเจ้าพูดจาพิกลพิการ : แฟนซีภาษาและวัฒนธรรมต่างสมัย" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ธเนศ เวศร์ภาดา คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

https://www.facebook.com/notes/ธเนศ-เวศร์ภาดา/ออเจ้าพูดจาพิกลพิการ-แฟนซีภาษาและวัฒนธรรมต่างสมัย-ธเนศ-เวศร์ภาดา/1776053812478072/
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 10:49

         คุณหญิงจำปาจะพูดว่า พิลึก พิลั่น(สมัยนั้นคงมีใช้คำนี้แล้ว?) แต่ตะลึงงันกับเครื่องกรองน้ำ
จนถึงกับพูดคลาดเคลื่อน'เลื่อนเปื้อน'


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 11:37

ในฉากประชันโคลงระหว่างพี่หมื่นกับแม่หญิงจันทร์วาด ในบทละคร ยกวรรคทองในกนกนคร ของ น.ม.ส. ซึ่งเป็นกลอนหกขึ้นมา

ตัวบทเขียนให้ตัวละครในอดีตชื่นชมนางเอกว่ามีฝีมือทางโคลงกลอน ช็อตนี้เป็นช็อตฟุ้งเฟื่องที่สุด

วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ไทยสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นฉันท์และโคลงสี่สุภาพ ถามว่าสมัยนั้นมีกลอนสุภาพหรือไม่ คำตอบคือน่าจะมี
แต่คงเป็นฉันทลักษณ์ของชาวบ้าน และมีพัฒนาการถึงขีดสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงขั้นมีกลอนกลบทเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ตัวละครในอดีตคือพระโหราธิบดี พระยาโกษาธิบดีปาน พระยาโกษาธิบดีเหล็ก คุณพี่หมื่นน่าจะฉงนสนเท่ห์ว่านางเอกกำลังใช้ฉันทลักษณ์อะไร
โดยเฉพาะเป็นกลอนหก ซึ่งปรากฏใช้อยู่เรื่องเดียวในประวัติวรรณคดีไทย คือกนกนครในสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันด้วย ยิ่งไปกันใหญ่ มันต้องเป็น “นวัตกรรม”
วรรณศิลป์ไทยที่พระโหราธิบดีต้องรีบจดบันทึกในจินดามณีด้วยความตื่นเต้น!!!

จาก "ออเจ้าพูดจาพิกลพิการ : แฟนซีภาษาและวัฒนธรรมต่างสมัย" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ธเนศ เวศร์ภาดา คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

https://www.facebook.com/notes/ธเนศ-เวศร์ภาดา/ออเจ้าพูดจาพิกลพิการ-แฟนซีภาษาและวัฒนธรรมต่างสมัย-ธเนศ-เวศร์ภาดา/1776053812478072/

           โดยคหสต. ในตอนนี้น่าจะให้เหล่ากวีชุมนุมในคืนนั้น เห็นว่า,เข้าใจว่า ออเจ้าแต่ง ฉันท์ชนิด ๑๒ พยางค์
แต่ออเจ้าเป็นมือสมัครเล่น,พูดจาพิกลพิการ ดังนั้นบังคับ ครุ ลหุ จึงคลาดเคลื่อน,ไม่เป๊ะ(แต่ก็ไพเราะและเนื้อหาโดน)

ป.ล. โคลงของคุณพี่หมื่นในคืนนั้นมีอยู่บาทหนึ่งที่หายไปหนึ่งพยางค์

    ตะวันลับเหลี่ยมเจ้า        เมฆบัง

นกส่งเสียงยังรัง                แซ่ซ้อง

จันทร์ฤาแลหลัง <            ถึงเมฆ

ดาวจึ่งเจียมจิตป้อง            ไป่สู้เทียมจันทร์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 11:57

คหสต. ในตอนนี้น่าจะให้เหล่ากวีชุมนุมในคืนนั้น เห็นว่า,เข้าใจว่า ออเจ้าแต่ง ฉันท์ชนิด ๑๒ พยางค์ แต่ออเจ้าเป็นมือสมัครเล่น,พูดจาพิกลพิการ ดังนั้นบังคับ ครุ ลหุ จึงคลาดเคลื่อน,ไม่เป๊ะ(แต่ก็ไพเราะและเนื้อหาโดน)

หาเป็นเช่นนั้นไม่ แม้แต่ท่านผู้รจนาจินดามณียังกล่าวว่า "กลอนช่างไพเราะเสียจริง"   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 12:13

ป.ล. โคลงของคุณพี่หมื่นในคืนนั้นมีอยู่บาทหนึ่งที่หายไปหนึ่งพยางค์

    ตะวันลับเหลี่ยมเจ้า        เมฆบัง

นกส่งเสียงยังรัง               แซ่ซ้อง

จันทร์ฤาแลหลัง <            ถึงเมฆ

ดาวจึ่งเจียมจิตป้อง            ไป่สู้เทียมจันทร์

คุณพี่หมื่นยังแต่งโคลงไม่คล่อง  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 15 มี.ค. 18, 12:16


           โดยคหสต. ในตอนนี้น่าจะให้เหล่ากวีชุมนุมในคืนนั้น เห็นว่า,เข้าใจว่า ออเจ้าแต่ง ฉันท์ชนิด ๑๒ พยางค์
แต่ออเจ้าเป็นมือสมัครเล่น,พูดจาพิกลพิการ ดังนั้นบังคับ ครุ ลหุ จึงคลาดเคลื่อน,ไม่เป๊ะ(แต่ก็ไพเราะและเนื้อหาโดน)

           จากนั้น,ออเจ้าจึงนำเสนอโคลงบ้าง

(จากโคลงโลกนิติ)

         รักกันอยู่ขอบฟ้า    เขาเขียว

เสมออยู่หอแห่งเดียว        ร่วมห้อง  (ออเจ้ามองไปทางแม่หญิงจันทร์วาดและคุณพี่หมื่น หรือจะให้เป็นมองหมื่นเรืองดี)

ชังกันบ่แลเหลียว            ตาต่อ  กันนา  (มองไปทางคุณพี่หมื่นแล้วทำหน้าเศร้านิด)

เหมือนขอบฟ้ามาป้อง       ป่าไม้มาบัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง