เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48426 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 20:47

นี่มันผ้าลาย.......

ผ้าลายอย่างไงเจ้าคะ

ผ้าลายอย่าง เป็นผ้าพิมพ์ลายที่ทางราชสำนักวาดลายและส่งไปที่ประเทศอินเดียเพื่อให้พิมพ์กลับมา
เพราะว่าทางบ้านเรายังไม่มีฝีมือพัฒนาในการพิมพ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 09:24

อีกนิดหนึ่ง
อ้างถึง
กราบขอรับผิดโดยดุษฎีค่ะ




บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 09:49

เรียนพี่ Superboy
เรื่องงาน CG ในละครไทยนั้น จริงๆคนไทยเราทำ CG เก่งนะครับ หนังหรืองานโฆษณาระดับโลกหลายเรื่องใช้บริการทำ CG จากบริษัทในไทยเรานี่แหละ แต่งาน CG ระดับเนียนตา เส้นผมพริ้วปลิวไสวในสายลมเป็นเส้นๆ อย่างนั้น มีค่าใช้จ่ายในการทำที่แพงพอสมควรครับ ในระดับงานละครจึงไม่ใช้กันเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต

เมื่อเทียบ CG ในบุพเพสันนิวาส กับ ศรีอโยธยา สำหรับผม ผมมองว่า พอกันครับ

เรียนอาจารย์ SILA ครับ
ถ้า ดุษฎี แปลว่า ด้วยความยินดี เหตุใดจึงนำคำนี้มาใช้เรียกผู้ที่จบปริญญาเอกหละครับ

บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 10:21

อ้างถึง ความหมายคำว่า ดุษฎี

ได้ความรู้โดยละเอียดจากคุณ Sila  ยิงฟันยิ้ม
ยังได้แถมคำว่า ดุษณี
ไม่เคยใช้คำ ดุษณี เลยค่ะ ดีจังได้ความรู้เต็มๆ


ขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 10:56

ไม่ปรากฏคำอธิบายใน royin, ขอเดาว่า

          หยิบยืมมาจาก เหรียญดุษฎีมาลา  [ Go to https://goo.gl/q6eXH9 ]

      ร.๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญดุษฎีมาลา เมื่อ พ.ศ. 2425 พระราชทานเพื่อเป็นบำเหน็จแก่ผู้มี
ความชอบในราชการแผ่นดิน.....
      นับเป็นครั้งแรกที่ผู้มีความสามารถใน ศิลปวิทยา จะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ.....
      ผู้ที่สมควรจะได้รับการพิจารณารับพระราชทานตามสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาร่วมกันดังนี้
มนุษยศาสตร์
ศึกษาศาสตร์
วิจิตรศิลป์
สังคมศาสตร์ (นิติศาสตร์ , รัฐศาสตร์ , เศรษฐศาสตร์ , พาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
วิทยาศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
แพทยศาสตร์
เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

         วิทยานิพนธ์ ของปริญญาเอกก็เรียกว่า ดุษฎีนิพนธ์ ด้วย และ

         ทั้งคำว่า Dissertation กับ Doctor และ ดุษฎี ต่างก็เป็นเสียง ด พ้องกัน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 11:22

นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย อธิบายว่า

"ดุษฎี”

บาลีเป็น “ตุฏฺฐิ” (ตุด-ถิ) รากศัพท์มาจาก ตุสฺ (ธาตุ = ยินดี) + ติ ปัจจัย, แปลง สต (คือ -ส ที่ ตุสฺ กับ ต ที่ ติ ปัจจัย) เป็น ฏฺฐ

: ตุสฺ + ติ = ตุสติ (สต > ฏฺฐ) > ตุฏฺฐิ (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุยินดี” หมายถึง ความชื่นชม, ความรื่นเริง, ความบันเทิง (pleasure, joy, enjoyment)

“ตุฏฺฐิ” สันสกฤตเป็น “ตุษฺฏิ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -

“ตุษฺฏิ : (คำนาม) ‘ดุษฎี,’ ปรีติ, อภิลาษ, ความปลื้มใจ, ความพอใจ, ความยินดียิ่งในสิ่งที่พึงได้; มาตฤหรือเทพมารดาองค์หนึ่ง; pleasure, satisfaction, gratification, content, extreme satisfaction or delight in the thing possessed or obtained; one of the Mātris or divine mothers.”

ตุฏฺฐิ > ตุษฺฏิ ภาษไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ดุษฎี”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า -

“ดุษฎี : (คำนาม) ความยินดี, ความชื่นชม. (ส. ตุษฺฏิ; ป. ตฏุฐิ).”

ดุษฎี + บัณฑิต = ดุษฎีบัณฑิต แปลเอาความตามศัพท์ว่า “บัณฑิตผู้ควรแก่การชื่นชมยินดี”

“ดุษฎีบัณฑิต” เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้ในภาษาไทย ไม่มีรูปศัพท์ “ตุฏฺฐิปณฺฑิต” เช่นนี้ในคัมภีร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า -

“ดุษฎีบัณฑิต : (คำนาม) ปริญญาเอก; ผู้ได้รับปริญญาเอก.”


คนไทยนิยมเรียกผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตตามคำฝรั่งว่า “ดอกเตอร์”

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล doctor ในความหมายนี้เป็นบาลีว่า -

(๑) bahussuta พหุสฺสุต (พะ-หุด-สุ-ตะ) = พหูสูต, ผู้คงแก่เรียน
(๒) paṇḍita ปณฺฑิต (ปัน-ดิ-ตะ) คำเดียวกับ “บัณฑิต” ที่เราใช้กันในภาษาไทย เพียงแต่ไม่มี “ตุฏฺฐิ - ดุษฎี” เข้ามานำหน้า

https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1127325357361200
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 11:35

ขอบพระคุณครับ

ผมขออนุญาตอีกหนึ่งคำถามนะครับ (นอกประเด็น บุพเพสันนิวาส)
คือ เช่นนี้แล้ว คำว่า มาลา ใน ดุษฎีมาลา มีความหมายว่าอย่างไรครับ เนื่องจากมีเหรียญที่ลงท้ายว่า มาลา อีกหลายชนิด เช่น เหรียญจักรมาลา เหรียญจักรพรรดิมาลา เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร เป็นต้น รวมถึง เหรียญศารทูลมาลา ซึ่งพระราชทานแก่เสือป่า ซึ่งไม่มีการพระราชทานแล้วในปัจจุบันด้วยครับ 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 14:10

อาจารย์ทองย้อยอธิบายไว้ว่า

"มาลา"

รากศัพท์มาจาก -

(๑) มา (ธาตุ = รัก, ทะนุถนอม) + อล ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มา + อล = มาล + อา = มาลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนทะนุถนอม”

(๒) มาลฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + อล ปัจจัย, ลบ ล + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: มาลฺ + อล = มาล + อา = มาลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนคล้อง”

(๓) มา (ภมร, ผึ้ง) + ลสฺ (ธาตุ = ยินดี, รื่นรมย์) + กฺวิ ปัจจัย + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์, ลบ กฺวิ และ ส

: มา + ลสฺ > ล = มาล + กฺวิ = มาลกฺวิ > มาล + อา = มาลา แปลตามศัพท์ว่า “เป็นที่ยินดีแห่งหมู่ภมร”

คำว่า “มาลา” นักเรียนบาลีมักแปลว่า “ระเบียบ” หมายถึงดอกไม้ที่นำมาร้อยให้เป็นระเบียบ (a garland or wreath of flowers)

“มาลา” จึงหมายถึงระเบียบ, แนว, แถว (row, line) อีกด้วย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกความหมายของ “มาลา” ไว้ดังนี้ –

“มาลา : (คำนาม) ดอกไม้, ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ เรียกว่า พวงมาลา; หมวก (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระมาลา); สร้อยคอ; สาย, แถว. (ป., ส.).”

https://facebook.com/permalink.php?story_fbid=688629048001283&id=315075048690020&_rdc=1&_rdr
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 14:21

คำว่า มาลา ใน ดุษฎีมาลา มีความหมายว่าอย่างไรครับ

มาลามีความหมายหลายอย่างตามที่อาจารย์ทองย้อยอธิบาย พิจารณาแล้วความหมายในข้อ (๒) ดูจะใช้ได้มากที่สุด

(๒) มาลฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + อล ปัจจัย, ลบ ล + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: มาลฺ + อล = มาล + อา = มาลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนคล้อง”

ดุษฎี + มาลา = สิ่งอันทรงไว้ (ห้อยไว้) อันควรแก่การชื่นชมยินดี

ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บอกไว้ว่า

ดุษฎีมาลา : (คำนาม) ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด พระราชทานประกอบกับเข็มศิลปวิทยา.


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 16:02

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 06 มี.ค. 18, 19:06

กลับเข้าสู่โหมด "บุพเพสันนิวาส"  ยิงฟันยิ้ม

กรรมวิธีพิมพ์ "ผ้าลายอย่าง" แบบโบราณ

ผ้าลายอย่างเป็นผ้าที่ใช้ในราชสำนัก ส่วนมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง หรือลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามักเป็นลายเทพพนม และก้านแย่งเทพรำ ซึ่งเราส่งลายไปให้ทางอินเดียทำมาให้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:08

ใน "บุพเพสันนิวาส" กล่าวถึงผ้าอีกชนิดหนึ่งคือ ผ้าสมปัก ท่านรอยอินให้ความหมายว่า

สมปัก : (คำนาม) ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (มาจากภาษาเขมร สํพต แปลว่า ผ้านุ่ง).

อาจารย์เปลื้อง ณ นคร อธิบายเพิ่มเติมว่า

สมปัก : (คำนาม) ผ้านุ่งหมายยศหมายเหล่าอย่างเครื่องแบบ เป็นผ้าทอด้วยไหม เพลาะกลางพื้นผ้าเป็นสีเป็นลายต่าง ๆ เช่น สมปักปูม เป็นชั้นสูงสุด สมปักริ้ว เป็นชั้นต่ำสุด, ออกเสียงเป็น ถมปัก ก็มี (เหมือน สองปัก).

ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๕ เรื่องที่ ๕ ผ้าไทย / ลักษณะผ้าไทยแต่ละประเภท อธิบายว่า

ผ้าปูม หรือปัจจุบันทราบกันในชื่อมัดหมี่ ในประเทศไทยมีผลิตมาก ทั้งผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนล่างแทบทุกจังหวัด

ผ้าปูมนี้เดิมเป็นผ้าส่วยของหลวงมาจากเมืองเขมร ที่ใช้พระราชทานเป็นเครื่องยศขุนนาง เดิมไทยเรามีโรงไหมของหลวงทอผ้าสมปักปูม และสมปักเชิงกรวยพระราชทาน ทอด้วยไหมเพลาะ กลางผืนผ้าเป็นลายสีต่าง ๆใช้ตามยศตามเหล่า มีสมปักปูมเป็นชนิดสูงสุด สมปักริ้วเป็นชนิดต่ำสุด ดังนั้นผ้าปูมคงหมายถึง เฉพาะผ้าสมปักปูมนั่นเอง อันเป็นของหายากมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:12

ในชั้นเรียนของเกศสุรางค์ อาจารย์ท่านบรรยายว่า

ผ้าสมปักเป็นผ้าที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้กับขุนนางเพื่อเป็นเบี้ยหวัด ผ้าสมปักเป็นผ้ามัดหมี่ทำขึ้นในประเทศเขมรแล้วส่งมาเป็นเครื่องบรรณาการให้กับพระมหากษัตริย์ของเรา



ในฉากนี้เจ้าจ้อยบอกแม่หญิงการะเกดว่า "หมื่นท่านพึ่งมียศหมื่น ยังไม่ได้ใช้ผ้าสมปักขอรับ"

ยังสงสัยอยู่ว่า บรรดาศักดิ์ "หมื่น" ไม่ได้พระราชทานผ้าสมปักจริงฤๅ  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 10:22

ลายผ้าสมปักปูมพระราชทานคงประมาณนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 07 มี.ค. 18, 11:01

ต้องชั้น ขุน ขึ้นไปหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง