เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48402 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 03 มี.ค. 18, 12:33



ตรงนี้ลา​ ลูแบร์ไม่ได้พลาดครับ
ลอกมาจาก​นิโกลาส์​ แชร์แวส์ตรงๆเลย

เรื่อง เลข ๘ และ เลข ๙ สลับที่กัน ลาลูแบร์พลาดตรงลอกมาแต่ไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องเสียก่อน

อีกเรื่องหนึ่งที่ลาลูแบร์พลาด คือ โกฏิ และ ล้าน

Cot  โกฏิ.   ล้าน (million) ในหนังสือของอบราฮัม โรเจอร์ที่อ้าวถึงนั้น เขียนไว้ว่าที่กรุงปาลีอากัตนั้น โกฏิ หมายถึง สิบล้าน

Lan  ล้าน.   สิบล้าน (dix-millions)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 03 มี.ค. 18, 13:52

จาก พันทิป

ทำไมการะเกตุถึงทักออกญาโหราธิบดีว่าอักษรไทยมี 44 ตัว ไม่ใช่ 37 ตัว

https://pantip.com/topic/37426508/comment1


คุณรู้บ้างไม่รู้บ้างเจ้าของความเห็น ซ่อนข้อความไว้ว่า "หวังว่าคงไม่มีใครเชื่อผมหรอกนะ"  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 10:00

อีกภาพหนึ่งใน "บุพเพนิวาส" ซึ่งแสดงถึงความรุ่งเรืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์คือฉากวัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนารามเป็นพระอารามอยู่ชิดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ตรงข้ามกับกำแพงพระนครทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอารามใหญ่โตโอ่อ่ามาก ๆ สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ด้วยอาจเพราะว่าตั้งใจสร้างให้มั่นคงแข็งแรงมาก หรือถูกเผาทำลายไม่มากนักทำให้ยังมีภาพรวมดีงดงามอยู่ อย่างไรก็ดีวัดนี้ก็ได้ถูกทำร้ายโดยฝีมือคนไทยเองกันมาอย่างต่อเนื่องยังมีร่องรอยปรากฏอยู่ทั่วไป ตัวพระเมรุทิศรอบพระปรางค์ประธานนั้นทำเป็นเสาสอบมีทางเข้าเชื่อมต่อกับพระระเบียงเป็นช่องโค้งทำให้สามารถรับน้ำหนักส่วนยอดพระเมรุที่เป็นทรงสูงได้ดี

ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นพระปรางค์ประธานและเมรุรายที่วัดไชยวัฒนาราม ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นนิวาสสถานเดิมและที่ถวายพระเพลิงพระศพของพระชนนี ก่อนขึ้นครองราชย์ พระปรางค์นี้สูงสง่าโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฟากใต้ของเกาะเมือง เป็นปรางค์ที่เห็นชัดในภาพเขียนเกาะเมืองอยุธยาที่ฝรั่งเขียนขึ้นแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ลงมา

ความโดดเด่นอย่างสำคัญของปรางค์วัดไชยวัฒนารามที่แตกต่างไปจากปรางค์วัดอื่น ๆ ก็คือ มีการจัดผังพุทธาวาสเป็นมณฑลจักรวาลที่ได้สัดส่วนตามเรขาคณิตเหมือนกับผังปราสาทขอม เช่นปราสาทนครวัดของกัมพูชา เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากการนำเอาศิลปสถาปัตยกรรมขอมมาปรุงแต่งขึ้นใหม่ในรัชกาลนี้

ชื่อวัดนี้ปรากฏในพระราชกำหนดที่ออกในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และมีปรากฏในพงศาวดารช่วงสงครามช้างเผือก พ.ศ.๒๑๐๖ สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่าเป็นหนึ่งในที่ตั้งค่ายของทัพหงสาวดี พระเจ้าปราสาททองน่าจะทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ใหญ่โตมากกว่าจะเพิ่งทรงสร้างใหม่ในรัชกาลครับ

คลิปแสดงแบบจำลอง ๓ มิติของวัดไชยวัฒนารามครั้งบ้านเมืองยังดีอยู่



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 10:04

แบบจำลองวัดไชยวัฒนาราม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 10:12

เนื่องจากอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดไชยวัฒนารามจึงประสบอุทกภัยแทบทุกปี

ภาพจาก http://www.hpc.go.th/director/?module=module_x&link2file=displayPicture.php&id=123


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 10:52

ชอบวัดไชยวัฒนารามมากค่ะ  เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนถึง "เรือนมยุรา" บ้านของแม่นกยูงอยู่ใกล้ๆกับวัด
ดีใจที่เห็นในละครอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 14:09

เพราะแม่การะเกด ตอนนี้ นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมวัดไชยวัฒนารามกันเยอะเลยครับ
https://news.sanook.com/5557382/
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 14:14

ขอมีส่วนร่วมบ้าง แฮร่ !!

https://twitter.com/DanielSphere/status/969933666615934976

บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 14:24

ในโลกโซเชี่ยลมีการเปรียบเทียบภาพ CG ระหว่างศรีอโยธยากับบุพเพสันนิวาส เท่าที่ดูมาบ้างผมว่าเรื่องหลังก็ไม่ได้เป็นรองอะไร ต้องถามคนที่ดูเยอะ ๆ แล้วล่ะครับ แฟนพันธ์แท้อย่างคุณนริสว่าไง ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 14:30

ตามหาแม่การะเกด

เพราะแม่การะเกด ตอนนี้ นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมวัดไชยวัฒนารามกันเยอะเลยครับ



แล้วอย่าลืมแม่นกยูง  ยิงฟันยิ้ม

ชอบวัดไชยวัฒนารามมากค่ะ  เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนถึง "เรือนมยุรา" บ้านของแม่นกยูงอยู่ใกล้ๆกับวัด
ดีใจที่เห็นในละครอีกครั้ง



บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 14:59

นักเรียนใหม่ ขออนุญาตลากกระทู้จากเวปพันทิป มาขอความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ ณ เรือนไทยค่ะ


https://pantip.com/topic/37422446
“วัดไชยวัฒนาราม สมัยอยุธยาเคลือบด้วยทองทั้งหมดเลยไหมครับ”


ในกระทู้ถกกันหลายความเห็น มีทั้งหุ้มด้วยทองคำ และทองจังโก้

ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับความรู้จากอาจารย์ทุกท่านค่ะ   อายจัง



ป.ล.
ส่วนตัวอยากขอความรู้เพิ่มเติมในส่วนขอความหมายทองจังโกด้วยค่ะ
ทองจังโก้ นั้นเป็นส่วนผสมจะเป็นทองเหลืองเท่านั้นหรือคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 15:21

พจนานุกรมราชบัณฑิตเรียกว่า ทองจังโก ค่ะ ไม่ใช้จังโก้  ให้ความหมายว่า
ทองจังโก (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน ทองสักโก ก็ว่า.

เท่าที่ทราบมา เป็นทองเกรดต่ำ เพราะมีโลหะอย่างอื่นผสมอยู่ด้วยหลายชนิด  บางแห่งระบุว่าเป็นทองเหลือง
เมื่อนำมาหุ้มเจดีย์ อยู่ในแสงแดดก็สว่าง เหลืองอร่ามเห็นแต่ไกล  พวกทูตานุทูตตลอดจนพ่อค้าวาณิชฝรั่งเมื่อจะเข้าอยุธยาต้องผ่านวัดไชยฯก่อน อาจเข้าใจว่าเป็นทองแท้ก็ได้
บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 16:28

กราบขอรับผิดโดยดุษฎีค่ะ
ในความเห็นข้างบนนักเรียนพิมพ์มาทั้ง จังโก้ และจังโก เลย  ยิงฟันยิ้ม






ถ้าทองจังโก ทำจากทองเหลืองเพียงอย่างเดียว นานๆไป คาดว่าน่าจะเป็นสนิมกระดำกระด่างหมดสวยไปเยอะเลยเชียว







มาเรื่อง เครื่องแต่งกายในละคร ผ้าก็งามนัก
เคยได้ยินมาว่าผ้าพิมพ์ลายในสมัยก่อนเพื่อใช้ในราชสำนัก หรือพระราชทาน เรียกว่า ผ้าลายอย่าง
ลายเป็นลายจำเพาะ เป็นลายชั้นสูง
คนทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้ได้ด้วยความไม่เหมาะสม


แล้วถ้าคหบดีในสมัยนั้นอยากใส่ผ้าสวยๆประเภทผ้าพิมพ์ลายบ้าง
จะมีผ้าพิมพ์ลายเฉพาะที่ไม่ใช่ลายชั้นสูง ที่คนนอกราชสำนักสามารถนำมาใช้ได้บ้างไหมคะ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 19:00

เคยได้ยินมาว่าผ้าพิมพ์ลายในสมัยก่อนเพื่อใช้ในราชสำนัก หรือพระราชทาน เรียกว่า ผ้าลายอย่าง
ลายเป็นลายจำเพาะ เป็นลายชั้นสูง
คนทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้ได้ด้วยความไม่เหมาะสม

แล้วถ้าคหบดีในสมัยนั้นอยากใส่ผ้าสวยๆประเภทผ้าพิมพ์ลายบ้าง
จะมีผ้าพิมพ์ลายเฉพาะที่ไม่ใช่ลายชั้นสูง ที่คนนอกราชสำนักสามารถนำมาใช้ได้บ้างไหมคะ

ผ้าลายอย่างเป็นผ้าที่ใช้ในราชสำนัก ส่วนมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง หรือลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามักเป็นลายเทพพนม และก้านแย่งเทพรำ ซึ่งเราส่งลายไปให้ทางอินเดียทำมาให้

แต่เมื่อลายอย่างเหล่านี้ขายดีขึ้นมา พวกแขกอินเดียก็ออกแบบพิมพ์ลายเองขึ้นมา โดยพยายามปรับลายให้เข้ากับลายไทย เมื่อส่งมาขายในบ้านเราก็ดูคล้ายลายของเรา จึงเรียกว่า "ลายนอกอย่าง" ต่อมาชาวบ้านที่มีเงินก็ซื้อหามาใช้ได้  


ข้อมูลจาก คุณณัฎฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 05 มี.ค. 18, 19:25

กราบขอรับผิดโดยดุษฎีค่ะ
ในความเห็นข้างบนนักเรียนพิมพ์มาทั้ง จังโก้ และจังโก เลย  ยิงฟันยิ้ม

จังโก้ คือคนนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง