เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48410 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 10:17

บุพเพฯ เสวนา

ควันหลงอีกสักครา
เสวนาวันเดียวกัน
อดีตรุ่งโรจน์ครัน
ปัจจุบันฝันตามรอย


"สยามวิถีและความศิวิไลซ์ในสมัยพระนารายณ์" โดย ดร.วิษณุ เครืองาม และ "การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กับบทบาทการตามรอยละคร" โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (เริ่มนาทีที่ ๓.๒๕)

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 12:24

ถ่ายมาจากพิพิธภัณฑ์ที่ลพบุรีครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 12:26

ผมอ่านได้ว่า

.... ใช้ภาษาไทยสามฉบับ ภาษาฝรั่งเศสสามฉบับ ภาษา..(อ่านไม่ออก).. สามฉบับ แลผู้มีชื่อทั้งหลายนั้น ได้ปิดตราเป็นสำคัญทุกฉบับ เขียนในเมืองลพบุรี ในวันพฤหัสเดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำ พุทธศักราชสองพันสองร้อยเจ็ดสิบแปดปีพระศาสนา

ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ครับ

มีประเด็นที่อยากเรียนถามคือ ภาษาที่สามที่ใช้ในกาเรขียนสัญญานี้ คือภาษาอะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 12:45

เดานะครับ ภาษาปตุกกรร
ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ อ่านได้ประมาณนี้
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 12:50

ราชสำนักอยุธยาคงคุ้นเคยกับภาษานี้พอสมควร ละมังครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 12:57

โปรตุเกส ฤาขอรับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 14:24

ขยายหน่อย ได้ชัดแค่นี้
ตราประทับของใครบ้างก็ไม่ทราบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 14:46

ต้องขออภัยด้วยครับ ถ่ายมาได้ไม่ชัดเจน
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 14:53

ในส่วนตราประทับ เป็นแบบนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 15:12

หนังสือที่คุณนริศถ่ายภาพมาคือตอนท้าย (หน้า๑๒) ของ สัญญาไทย-ฝรั่งเศส ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. ๒๒๓๐ ต้นฉบับอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กระทรวงอาณานิคม ประเทศฝรั่งเศส

ความในหน้านี้มีว่า

ทุกภาษา ในนี้ ภาษาไทยสามฉบับ ภาษา
ฝรั่งเศสสามฉบับ ภาษาโปตุกรร* สามฉบับ
แลผู้มีชื่อทั้งสองฝ่ายนั้นขีดแกงใด ปิด
ตราเป็นสำคัญทุกฉบับ เขียนในเมือง
ลพบุรี ในวันพระหัด เดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำ
พุทธศักราชสองพันสองร้อยสามสิบเอ็ด** ปีเถาะ นพศก (ตราเทวดาถือจักร)
                                                (ตราประทับและลายเซ็น La Loubère ลายเซ็น Céberét)
                                                (ตราประทับ Céberét)
                                                (ตราบัวแก้ว)
                                                (ตราของพระศรีพิพัฒน์ราชโกษา)


*  ภาษาโปรตุเกส ถูกใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยากับชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ ทั้งในด้านการค้าและการทูตเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ในสมัยรัตนโกสินทร์จึงใช้ภาษาอังกฤษแทน จากบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ดซึ่งเดินทางเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาพร้อมคณะทูตฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า ขุนนางอยุธยาสามารถพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน บาทหลวงฝรั่งเศสเองก็ต้องใช้เวลา ๘ เดือนระหว่างการเดินทางมาอยุธยา เรียนภาษาดังกล่าวเพื่อที่จะติดต่อสื่อสารกันได้

** เป็นการนับพุทธศักราชแบบพม่าและลังกา ซึ่งมากกว่าที่ไทยใช้ในปัจจุบัน ๑ ปี

http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=1216


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 27 เม.ย. 18, 16:04

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 29 เม.ย. 18, 14:07

ว่าด้วยเรื่องภาษาโปรตุเกสครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ภาษาโปรตุเกส ถูกใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อระหว่างกรุงศรีอยุธยากับชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ ทั้งในด้านการค้าและการทูตเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จดหมายของพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) เสนาบดีกรมพระคลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๑ ฝากมากับนายสตีเฟน วิลเลียมส์ (Stephen Williams) กัปตันเดินเรือชาวอเมริกันซึ่งนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกับน้ำตาลที่กรุงเทพมหานคร และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

จดหมายฉบับนี้ส่งถึงประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร (James Monroe) เป็นการติดต่อกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา โดยเขียนเป็นภาษาโปรตุเกส ภาษาทางการทูตที่ใช้ในราชอาณาจักร   ปัจจุบันเก็บรักษาที่แผนกเอกสารโบราณ หอสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา; James Monroe Papers Series I. เอกสารเลขที่ ๔๗๘๔-๔๗๘๕

โปรดสังเกตตราประทับบนจดหมายทั้ง ๒ แผ่น คือตราปักษาวายุภักษ์แบบเก่าที่เราเคยพูดถึงกันนั่นเอง  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 29 เม.ย. 18, 14:35

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ระหว่างกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับสหรัฐอเมริกา ร่างใน พ.ศ. ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับพระราชลัญจกรไอราพตเป็นการให้สัตยาบันอย่างสมบูรณ์พร้อมกันกับรัฐสภาอเมริกันและประธานาธิบดีมาร์ติน แวน บิวแรน (Martin   Van. Buren) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙

สนธิสัญญานี้เขียนเป็น ๔ ภาษา คือ ไทย (ไท) โปรตุเกส (พุทเกษ) จีน และอังกฤษ (มะริกัน) ปัจจุบันเก็บรักษาที่แผนกบันทึกทั่วไปของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ

ภาพจดหมายและสนธิสัญญามาจาก https://www.greatandgoodfriends.com/gallery-ceremonial-letters


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 29 เม.ย. 18, 14:48

ขณะนี้ทั้งจดหมายและสนธิสัญญาระหว่างไทยและอเมริกันฉบับแรกอยู่ในเมืองไทย ท่านใดสนใจสามารถไปดูฉบับจริงได้ที่นิทรรศการ 'ของขวัญแห่งมิตรภาพ :ราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๓๖๑-๒๕๖๑' ซึ่งสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ที่ ๒๑ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑



"ไทกับฝรังชาตมะริกันเปนไม้ตรีมีความราบคาบต่อกันชั่วฟ้าแลดิน"

ภาษาไทยเมื่อสองร้อยปีก่อนต่างกับปัจจุบันยิ่งนัก
ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 29 เม.ย. 18, 18:07

สำหรับตราปักษาวายุภักษ์มีอยู่ ๒ แบบคือแบบใหม่ที่คุณหนุ่มโคราชนำมาแสดงซึ่งออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ นี้เอง และแบบเก่าซึ่งเป็นตราที่พระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติใช้ประทับหนังสือตั้งนายระวางหัวเมือง และประทับกำกับตราเจ้าจำนวน (เจ้าพนักงานควบคุมการเก็บภาษีอากร) ตั้งนายอากรในกรุง แขวง จังหวัด และหัวเมือง

ข้อมูลจาก พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง/เชิงอรรถ

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทอดพระเนตรลายตราเก่าปักษาวายุภักษ์ของพระยาราชภักดีฯ  แล้วตรัสว่า      

"เห็นรูปนกวายุภักษ์ในตราของพระยาราชภักดีฯ   ซึ่งคัดมาไว้ก็นึกเสียใจ  ว่าถ้าทำรูปเป็นอย่างเก่าแต่ทำขนเป็นอย่างใหม่ก็จะดีกว่านั้น  ตามที่ทำไว้เป็นธรรมดามากเกินไป"

ภาพตราปักษาวายุภักษ์ของพระยาราชภักดีจาก https://th.wikisource.org/wiki/ไฟล์:Lanchakon_-_030.jpg

ที่เรียกว่าตราวายุภักษ์แบบเก่าของพระยาราชภักดี น่าจะมีแบบใหม่กว่าใช้ในรัชกาลที่ ๓ ไม่ทราบว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงหมายถึงแบบไหนที่ว่าธรรมดามากเกินไปนะครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง