prasit
อสุรผัด

ตอบ: 35
|
ความคิดเห็นที่ 330 เมื่อ 18 เม.ย. 18, 20:54
|
|
มีความรู้เพิ่มมาเรื่อยๆ ผลจากละครคุณภาพทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ๆ ขอขอบคุณผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแลความรู้หล่านี้ครับ หาความรู้เหล่านี้ไม่ได้ง่ายๆเลยจากบทเรียน ถึงมีแต่ก็ไม่ได้ใคร่สนใจ ณ เพลานั้น ล่วงเลยมาจนอายุอานามปาเข้าเลขสามยันเลขสี่ถึงได้ประสบพบเจอ ขอให้ Board นี้คงคุณภาพแลความรู้เหล่านี้อยู่ต่อเนื่องๆ ขอบพระคุณทุกท่านด้วยความจริงใจขอรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 331 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:30
|
|
ตรานี้ค่อยดูงามนะคะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 332 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:43
|
|
มาจากเล่มนี้หรือเปล่าครับ 
 ชัดเจนว่า fake ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 333 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 08:49
|
|
แต่มันได้รับความพยายามที่จะทำให้น่าเชื่อถือมาก่อนที่คุณหมอเพ็ญจะไปพบในเน็ทแล้ว
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 334 เมื่อ 19 เม.ย. 18, 20:31
|
|
แต่มันได้รับความพยายามที่จะทำให้น่าเชื่อถือมาก่อน คุณนวรัตนหมายถึงถูกทำให้น่าเชื่อในหนังสือนิยายฤๅ ? นิยายเรื่อง The Phaulkon Legacy ของ Walter J. Strach III ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๙ ปีหลังจากเขาพิมพ์วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ถ้าหากรวมเวลาหาข้อมูลเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ก็คงเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปีอย่างที่คุณ Walter เขียนในหนังสือนั่นแล รูปตราประทับบนครั่งสีแดงนี้ คุณ Walter ระบุว่าได้มาจาก อาจารย์ภูธร ภูมะธน ถ้าหากติดต่อสอบถามจากอาจารย์ได้ คงมีความกระจ่างมากกว่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 335 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 08:23
|
|
คุณนวรัตนหมายถึงถูกทำให้น่าเชื่อในหนังสือนิยายฤๅ ?
ผมหมายถึงตราครั่ง(แบบฝรั่งจ๋า)ที่ปรากฏบนหนังสือ The Phaulkon Legacy ซึ่งทำให้ดูว่าเป็นหนังสือแบบ non fiction นั้น ถูกทำให้น่าเชื่อถือด้วยการนำมาแปะไว้กับสมุดข่อยภาษาไทยโบราณ ที่อย่าว่าแต่ฝรั่งจะอ่านไม่ออกเลย คนไทยก็ไม่สามารถจะแกะถ้อยร้อยคำได้ รู้เพียงว่ามันไม่ใช่จดหมายหรือบันทึกเหตุการณ์เท่านั้นเอง แต่อย่างว่า หนังสือเล่มนี้เขาต้องการให้เตะตาฝรั่งด้วยกันซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้ที่จะทราบว่าหนังสือเล่มนี้นอกจากชื่อของฟอลคอนซึ่งเป็นชื่อของคนที่มีจริงๆในประวัติศาสตร์แล้ว ชื่ออื่นนอกนั้นผู้เขียนคิดเองแต่งเองทั้งหมด ก็ต่อเมื่อได้เปิดอ่านคำนำของเขาในหน้าในเสียก่อนเท่านั้น
นิยายเรื่อง The Phaulkon Legacy ของ Walter J. Strach III ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๙ ปีหลังจากเขาพิมพ์วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ถ้าหากรวมเวลาหาข้อมูลเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ก็คงเป็นเวลาเกือบ ๑๕ ปีอย่างที่คุณ Walter เขียนในหนังสือนั่นแล
รูปตราประทับบนครั่งสีแดงนี้ คุณ Walter ระบุว่าได้มาจาก อาจารย์ภูธร ภูมะธน ถ้าหากติดต่อสอบถามจากอาจารย์ได้ คงมีความกระจ่างมากกว่านี้
สองย่อหน้านี้งง คุณหมอเพ็ญชมพูใช้คำว่านิยายซึ่งแปลว่าเรื่องแต่งขึ้น แต่กลับให้ข้อมูลเหมือนจะพยายามชวนให้เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง รวมทั้งอ้างชื่ออาจารย์ภูธร ภูมะธนผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ให้รูปตราครั่งบนปกด้วย
ให้แค่รูป หรือให้ตัวตราครั่งที่สำนักพิมพ์เอามาแปะบนปกหนังสือครับ แต่อันนี้เดาไม่ยาก ถ้าได้ตัวตราครั่งมาก็คงต้องติดตัวเอกสารจริงมาด้วย ไม่งั้นก็ไม่น่าเชื่อถือเพราะแบบออกแนวฝรั่งจ๋า อย่างไรก็ดีตราแบบนี้ตามย่านขายของโบราณเมืองฝรั่ง พอจะหาได้ไม่ยากครับ หรือจะจ้างช่างแกะขึ้นมาใหม่ก็ย่อมได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 336 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 09:20
|
|
คุณหมอเพ็ญชมพูใช้คำว่านิยายซึ่งแปลว่าเรื่องแต่งขึ้น แต่กลับให้ข้อมูลเหมือนจะพยายามชวนให้เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง รวมทั้งอ้างชื่ออาจารย์ภูธร ภูมะธนผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ให้รูปตราครั่งบนปกด้วย ตราประทับบนครั่งที่ (อ้างว่า) ได้มาจากอาจารย์ภูธร ภูมะธน อยู่ในวิทยานิพนธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ ของคุณ Walter คุณ Walter บรรยายว่า
"Phaulkon's official state seal, used on official documents during his appointment to the court of Somdet Phra Narai Maharat.
ตรานี้ฟอลคอนน่าจะออกแบบเอง  ใน พ.ศ. ๒๕๕๖ คุณ Walter ได้นำตราประทับบนครั่งที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ครั้งกระโน้นไปแต่งภาพให้อยู่บนเอกสารโบราณ ปรากฏบนหน้าปกหนังสือนิยายของเขา The Phaulkon Legacy ภาพตราประทับพร้อมเอกสารโบราณถือว่า Fake อย่างที่คุณนวรัตนว่า ส่วนภาพตราประทับในวิทยานิพนธ์จะ Real หรือไม่ ต้องไปถามอาจารย์ภูธร ภูมะธน ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 337 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 10:18
|
|
สักวันคงมีคำตอบจากอาจารย์ภูธร แต่จนทุกวันนี้ในหน้าเว็บ ไม่มีปรากฏเรื่องตราครั่ง(ของแท้)จากท่านแม้จะหลุดมาจากปาก มิฉะนั้นเซียนเน็ทอย่างคุณหมอเพ็ญชมพูคงจะเอาออกแสดงแล้ว
แต่เท่าที่นำมาให้ หากใช้ความพยายามสักนิดก็จะเห็นข้อพิรุธจากหนังสือของWalter J. Strach ในหน้า biography ที่เขาอ้างอิงเอกสารมากมาย กลับเอ่ยถึงอาจารย์ภูธร ภูมะธน ผู้ที่เขานำตราครั่งมาปะ ว่าข้อมูลจากท่านได้มาจากการพูดคุยเท่านั้น
อย่างนี้ผมก็เชื่อยากเป็นธรรมดา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 338 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 10:24
|
|
แต่เรื่องของตราครั่งที่วิชเยนทร์ใช้ หาเจอในหน้าเน็ทนี้
โปรดสังเกตุหัวเรื่อง คำว่ามรดกของฟอลคอน มีความหมายเดียวกับ The Phaulkon Legacy ที่ Walter J. Strach ใช้เป็นชื่อหนังสือ แต่ตัวรูปแบบของตราประทับเป็นคนละเรื่องไปเลย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 339 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 11:15
|
|
"กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา" โดย คุณหนุ่มสยามแลสหาย   ในหน้าที่คุณนวรัตนยกมา ย่อหน้าที่ ๔ ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง ตรานกวายุภักษ์ ซึ่งเคยปรากฏในตราตำแหน่งพระยายมราชภักดี เจ้ากรมจำนวน ในกรมพระคลังเดิมตำแหน่งพระยายมราชภักดีแลเจ้ากรมจำนวนไม่มีหนาคุณหนุ่มสยาม  แบบเก่าซึ่งเป็นตราที่พระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติใช้ประทับหนังสือตั้งนายระวางหัวเมือง และประทับกำกับตราเจ้าจำนวน (เจ้าพนักงานควบคุมการเก็บภาษีอากร) ตั้งนายอากรในกรุง แขวง จังหวัด และหัวเมือง
ข้อมูลจาก พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง/เชิงอรรถ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 340 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 11:40
|
|
แต่เรื่องของตราครั่งที่วิชเยนทร์ใช้ หาเจอในหน้าเน็ทนี้ ตราที่ปรากฏในบทความไม่ใช่ตราประทับบนครั่งดอก แต่เป็นตราปักษาวายุภักษ์แบบเก่าของพระยาราชภักดีซึ่งใช้ประทับบนกระดาษ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 341 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 13:45
|
|
ขอบคุณครับ
เป็นอันว่า ในราชการแผ่นดินครั้งสมเด็จพระนารายน์ วิชเยนทร์ใช้ตราประทับ(ที่ประทับลงบนชาดก่อนแล้วจึงประทับบนหนังสือสำคัญอีกที)แกะจากงาโดยฝีมือของช่างไทย รูปแบบจึงเป็นอย่างวายุภักษ์ในรูปข้างบน ^ ซึ่งก็ดูหน้าเชื่อถือกว่าตรานกที่ประทับลงบนครั่งจริงๆ ตามแบบแผนนิยมของฝรั่ง แบบแผนของไทยนั้น ไม่นิยมตราครั่ง ดังหนังสือสำคัญที่รัฐบาลสยามในรัชกาลที่ ๔ กระทำกับนายเทาวเซ็นธ์ แฮริส ทูตจากสหรัฐอเมริกา
แต่ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่ วิชเยนทร์จะสั่งซื้อหรือสั่งทำแหวนที่มีหัวเป็นตราประทับรูปนกมาจากเมืองนอก สำหรับเอามาใช้โก้ๆในหนังสือส่วนตัวของตนเอง ที่ไม่ใช่ในทางราชการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีสรรเพชญ์
|
ความคิดเห็นที่ 342 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 18:07
|
|
เรื่องตราครั่งสีแดงของฟอลคอนที่เป็นประเด็นอยู่นี้ มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "จากบางเจ้าพระยาสู่ปารีส" ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี (ซึ่งมี อ.ภูธร ภูมะธน เป็นผู้เขียนคำนำ) ครับ
ในหนังสือเล่มนี้มีคำบรรยายใต้ภาพตราประทับว่า (ที่มา : Phaulkon : The Greek First Counsellor at the court of Siam : An Appraisal)
Phaulkon : The Greek First Counsellor at the court of Siam : An Appraisal ตีพิมพ์โดยสยามสมาคม เมื่อ ค.ศ. 1998 เขียนโดย ดร.จอร์จ เอ. ซิโอริส (George A. Sioris) อดีตเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศครับ หลังจากเกษียณแล้วท่านได้มาอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ท่านจะนำภาพตรานี้มาจากที่ใด ไม่ชัดเจนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีสรรเพชญ์
|
ความคิดเห็นที่ 343 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 18:19
|
|
ตราประทับแบบไทยของฟอลคอนในจดหมายที่ฟอลคอนส่งให้นักเรียนไทยไทยในปารีส เขียนที่เมืองละโว้ ลงวันที่ 6 ธันวาคม 1686 ต้นฉบับเก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศแห่งปารีส (Missions étrangères de Paris) เอกสาร Vol. 854, No. 773 ตีพิมพ์ในหนังสือ Adventures in Siam in the Seventeenth Century ของ E. W. Hutchinson
ลักษณะตราเห็นลวดลายไม่ชัดเจน ส่วนครึ่งล่างของตราน่าจะเป็นอักษรขอมไทย แบบเดียวกับที่พบในภาพตราประทับของออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีสรรเพชญ์
|
ความคิดเห็นที่ 344 เมื่อ 20 เม.ย. 18, 21:17
|
|
ผมเจอแล้วครับ ตราครั่งนี้ประทับอยู่บนจดหมายของฟอลคอน ส่งถึง M. Fermanelle แห่งคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส ลงวันที่ 1 มกราคม 1688
ต้นฉบับเก็บรักษาอยู่ที่หอจดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศกรุงปารีส (Missions étrangères de Paris) เอกสาร Vol. 862, No. 347 ตีพิมพ์ในหนังสือ Adventures in Siam in the Seventeenth Century ของ E. W. Hutchinson
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|