เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48068 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ก.พ. 18, 18:48

และเรือนแพที่มาลอยอยู่กลางน้ำนั่น ก็มโนเกินบรรยาย

เรือนแพควรอยู่ริมฝั่งค่ะ   ไม่น่าจะไปลอยอยู่กลางแม่น้ำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ก.พ. 18, 20:11

ครับ เรือนแพจะต้องผูกติดกับหลักที่ปักไว้ในช่วงน้ำตื้น หรือไม่ก็อะไรที่มั่นคงบนตลิ่ง ไม่ได้ใช้สมอเหมือนเรือ ที่จะไปลอยกินบรรยากาศกลางน้ำลึกนั้น หากทำได้จากการทิ้งสมอก็ยังเกะกะทางสัญจรของเรืออยู่ดี บ้านไหนเมืองไหนเขาคงไม่ยอม
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ก.พ. 18, 20:59

แหม่...ท่านนริสถึงกับจุดธูปตามกันเลยทีเดียว  แลบลิ้น  ผมนี่จัดว่าเป็นผู้พิการทางด้านวรรณกรรมโดยแท้จริง ทั้งเรือนมยุราและบุเพสันนิวาสยังไม่เคยอ่านกับเขาเสียที จึงไม่รู้ว่านิยายกลายเป็นละครแล้วแตกต่างต้นฉบับแค่ไหน


เรื่องเรือผมมองว่าคงอยากให้มันดูวุ่นวายไว้ก่อน ถ้ายืดตามจริงมันก็จะโล่ง ๆ มีแต่น้ำแล้วผู้กินกับไม่ชอบ บังเอิญไม่ได้ทำเรือเอี้ยมจุ๊นลำใหญ่ ๆ ไว้ เอาเรือนแพนี่แหละฟระ 555



ส่วนตัวอยากเห็นฉากใน "บ้านเรือ" มากกว่านะครับ จะได้ดูสมจริงสมจังกับยุคสมัย แต่ไม่รู้ในหนังสือมีหรือเปล่าหนอ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 10:13

คำที่มาพร้อมกับ "บุพเพสันนิวาส" แลถูกพูดถึงกันกระหึ่มเมืองคือ "ออเจ้า" น้องมิ้นอธิบายเพียงว่า แปลว่า เธอ เป็นสรรพนามแทนบุคคลที่สอง ใช้แทนบุคคลที่เราพูดด้วย


สรรพนามบุรุษที่สองและสรรพนามบุรุษที่สามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีอยู่หลายคำ ลาลูแบร์อธิบายไว้ในหนังสือจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร) ว่า

เธอ (teu), ท่าน (tan), เอ็ง (eng), มัน (man), ออเจ้า (otcháou) ใช้เป็นทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และบุรุษที่ ๓ ทั้งที่เป็นเอกพจน์และพหูพจน์ แต่มักใช้เรียกชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลที่ตนเจรจาด้วยมากกว่า.

เธอ เป็นคำที่ใช้ยกย่องมาก แต่ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ หรือใช้ต่อพระภิกษุ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เมื่อเจรจาด้วยกัน.

ท่าน เป็นคำแสดงมรรยาท สำหรับบุคคลที่มีฐานะเสมอกัน ชาวฝรั่งเศสนำเอาไปแปลว่า เมอสิเออร์ (Monsieur).

เอ็ง ใช้แก่บุคคลที่มีฐานะที่ต่ำกว่า.

มัน ใช้พูดด้วยความดูถูกดูหมิ่น.

ออเจ้า ใช้พูดแก่บุคคลที่มีฐานะต่ำกว่า และซึ่งผู้พูดไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามมาแต่ก่อน.



น้องมิ้นใช้สรรพนามเรียกผู้ชมว่า "ออเจ้า" ดูยัง ๆ อยู่นา ถ้าถือตามมาตรฐานสมัยสมเด็จพระนารายณ์แลปัจจุบันใช้คำว่า "ท่าน" ดูจะเหมาะกว่า  ยิงฟันยิ้ม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มี.ค. 18, 17:58 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 10:54

น้องมิ้นยังเข้าใจผิดอยู่เล็กน้อยนะคะ   คุณเพ็ญชมพูทักมาข้างบนนั้นถูกแล้ว
น้องอย่าไปเรียกคนดูว่า "ออเจ้า" เพราะคนดูมีหลากหลาย ตั้งแต่เด็กไปจนผู้อาวุโสก็มี   เรียกออเจ้า ไม่ให้เกียรติผู้อาวุโสค่ะ
ออเจ้า มีความหมายทำนองเดียวกับ "เตง" ที่น้องมิ้นพูดกับเพื่อนๆน่ะค่ะ
ถ้าไปเปิด ขุนช้างขุนแผน  อ่าน  จะพบคำว่า "ออเจ้า"  เป็นการเรียกสรรพนามบุรุษที่สอง
ส่วนคำเรียก "ออ" แล้วตามด้วยชื่อใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่สองก็ได้ ที่สามก็ได้

ตอนนางเทพทองตั้งท้อง ฝันว่านกตะกรุมคาบช้างมาให้  ขุนศรีวิชัยจึงทำนายฝัน ว่า

ออเจ้าจะมีครรภ์หาเป็นไรไม่
ลูกของเราจะเป็นชายทำนายไว้   
เหมือนนกตะกรุมตัวใหญ่คาบช้างมา

ขุนศรีวิชัยเรียกเมียว่า ออเจ้า ได้ แต่นางเทพทองไม่เรียกสามีว่า ออเจ้า เพราะตามฐานะในสังคม สามีสูงกว่าภรรยา

่ส่วน ออ ตามด้วยชื่อ เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม    พ่อแม่ใช้เรียกลูก หรือบุคคลที่อาวุโสน้อยกว่า

จะกล่าวถึงท่านยายทองประศรี
อยู่กาญจน์บุรีที่เขาชนไก่นั่น.
คอยท่าลูกชายมาหลายวัน
นานครันไม่เห็นเจ้ากลับมา
สงสารออพิมพิลาไลย
จะตั้งใจคอยผัวอยู่หนักหนา
เมื่อแรกจากกันวันจะมา
ก็โศกเศร้าโศกาด้วยอาลัย
บันทึกการเข้า
เขียวนเรศ
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 12:35

เรียนถามคุณเทาชมพู และผู้รู้ทุกท่าน  คำว่า "ออ" ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงใช้เรียกบุคคลที่มีฐานะรองจากตัวผู้พูดหรือไม่ เพราะเคยอ่านพบว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเมื่อครั้นดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าบุญรอด ทรงเรียก สมเด็จพระศรีสุลาลัย ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชนนี ว่า "ออเรียม"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 13:35

ใช่ค่ะ
อ้างถึง
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเมื่อครั้นดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าบุญรอด ทรงเรียก สมเด็จพระศรีสุลาลัย ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชนนี ว่า "ออเรียม"
สมเด็จพระศรีสุริเยนทรฯ ทรงมีพระอิสริยยศสูงกว่าสมเด็จพระศรีสุลาไลย ทุกด้าน ทั้งด้วยชาติกำเนิด ทั้งเป็นพระมเหสีเอกในรัชกาลที่ 2  และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในเจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้าจุฑามณี
ส่วนสมเด็จพระศรีสุลาไลยเป็นสามัญชนและเป็นเจ้าจอมมารดามาแต่แรก
คิดว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทรฯ ท่านคงเรียก "ออเรียม" มาตั้งแต่ต้น  แม้ฝ่ายหลังจะเลื่อนขึ้นเป็นพระชนนีของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ทรงเรียกตามเดิมด้วยความคุ้นเคย    ไม่ได้เปลี่ยนไปเรียกตามยศศักดิ์ที่เพิ่มขึ้นมาทีหลัง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 15:54

ฉากเด็ดที่สะใจแฟนละครบุพเพสันนิวาส เห็นจะเป็นฉากปะทะคารมเป็นภาษาฝรั่งเศส ระหว่างหลวงสุรสาคร หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน กับ เกศสุรางค์ในร่างแม่นางการะเกด



เรื่องนี้เป็นอภิสิทธิ์ของนักเขียน (Dramatic license) ฟอลคอนพูดได้หลายภาษาเช่น กรีก, โปรตุเกส, อังกฤษ, อิตาเลียน และไทย  แต่สำหรับภาษาฝรั่งเศส มีหลักฐานว่าฟอลคอนพูดไม่ได้

บาทหลวงเดอชัวซีย์ (François-Timoléon de Choisy) เข้ามาพร้อมกับคณะทูตของเชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ใน พ.ศ. ๒๒๒๘  ชัวซีย์ระบุว่าเวลาทั้งสองคนสนทนากัน ฟอลคอนจะพูดภาษาโปรตุเกส แต่ชีวซีย์จะตอบเป็นภาษาอิตาเลียน

ในจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ (Claude Céberet) ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาพร้อมกับลาลูแบร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ระบุอย่างชัดเจนหลายครั้งว่าเวลาเขาพูดฝรั่งเศสไม่ได้ กับชาวฝรั่งเศสเขาจะใช้ภาษาโปรตุเกสซึ่งเป็นภาษาที่เขาถันดทั้งอ่านและเขียนได้แทน (ซึ่งในหลักฐานของเซเบเรต์หลายตอนจะเขียนบทสนทนาระหว่างฟอลคอนและลาลูแบร์เป็นภาษาโปรตุเกสด้วย)

ฟอลคอนจึงจำเป็นต้องมีชาวฝรั่งเศสเป็นล่ามคือบาทหลวงตาชารด์จากคณะทูตฝรั่งเศสซึ่งเป็นเพื่อนคู่คิดของเขาต่อมา

ในช่วงท้าย ๆ เขาอาจจะพอพูดได้บ้าง อย่างในบันทึกของพันตรีโบช็องซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ตอนที่ฟอลคอนถูกจับในพระราชวัง เขาระบุว่าฟอลคอนพูดกับเขาว่า "เมอซิเออร์ จงมอบกระบี่ของท่านให้เพทราชาไป"

ข้อมูลจากคุณศรีสรรเพชญ์  https://pantip.com/topic/37356219 ความคิดเห็นที่ ๒-๑
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:04

เรื่องนี้คุณรอมแพงผู้เขียนบุพเพสันนิวาส ชี้แจงว่า

เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ด้านประวัติศาสตร์เข้ามาแล้วววว ก็จะเรียนเลยว่า

การให้ฟอลคอนพูดฝรั่งเศสได้เป็นการบิดจากประวัติศาสตร์เพื่ออรรถรสค่ะ และต้องการสื่อว่าตัวฟอลคอนเป็นอัจฉริยะฉลาดในเรื่องภาษาให้เหมาะสมกับคาแรคเตอร์ในนิยายค่ะ รวมไปถึงใช้ในการขยายพล็อตย่อยที่เป็นการผจญภัยที่นางเอกต้องไปเจอด้วยค่ะ

ในนิยายเรื่องนี้มีจุดที่บิดอยู่คล้าย ๆ แบบนี้หลายจุดค่ะทั้งเรื่องคณะทูต ในประวัติศาสตรก็ไม่ได้เก่งภาษา แต่ในนิยายให้พูดได้ค่ะเมื่อได้เรียนโดยมีนางเอกช่วย ช่วงที่นายพลเดฟาจอยู่ป้อมบางกอก ก็มีการส่งโกษาปานไปเจรจาซึ่งก็น่าจะใช้ล่ามก็ให้ตัวพระเอกเจรจาค่ะ

ตัวพระเอกเอาตัวละครในประวัติศาสตร์มาใช้ก็ไม่ทราบว่าเป็นลูกใครรู้แต่ว่าเป็นลูกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเคยไปโมกุลตอนอายุ ๑๙ ก็บิดมาให้เป็นลูกพระโหราฯค่ะ ตำแหน่งยศบางอย่างก็มีจริงบางอย่างก็ตั้งขึ้นเองเพิ่มยศบ้างตามความเหมาะสมในรายละเอียดนั้น ๆ เหมือนเอาจิ๊กซอมาต่อ ๆ แล้วเบลนสีใหม่ให้กลมกลืนเป็นก้อนเดียวกัน

และขอบคุณนะคะที่เข้าใจศาสตร์ในการเขียนนิยายว่าย่อมแตกต่างจากการเขียนตำราประวัติศาสตร์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 16:49

บุพเพสันนิวาส ตอนที่ ๓

https://mello.me/video/57052/จะต้องรออีกนานแค่ไหนเนี่ย
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 มี.ค. 18, 19:19


ฟอลคอน​พูดอังกฤษ​ โปร์ตุเกตุ​ กับอิตาลีได้คล่อง​ พูดไทยได้
พูดฝรั่งเศสไม่มีปัญหาแน่ๆครับ
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 มี.ค. 18, 09:32

แล้วคำว่า "ชะแม่" นี่หมายความว่าอย่างไรเจ้าคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 มี.ค. 18, 09:42

ท่านรอยอินอธิบายว่า

ชะแม่ หมายถึง  สตรีชาววังฝ่ายใน เช่น ยังจะประพฤติตนให้นางท้าวชาวชะแม่พระสนมกำนัล สิ้นทั้งพระราชฐานรักใคร่ตัวได้แลฤา, บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) อนึ่ง ผู้เปนจ่าเปนโขลนท่านแต่งให้เรียกหาชะแม่ พระสนม ค่ำเช้าเข้าใต้เพลิง (กฎมนเทียรบาล).

อยู่ในละครตอนใดฤๅแม่นาง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 มี.ค. 18, 10:46









บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 มี.ค. 18, 10:49







บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง