เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48074 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 07 เม.ย. 18, 14:58

"บุพเพสันนิวาส" กำลังปกคลุมสังคมไทยขณะนี้ คนไทยจำนวนหนึ่งหันมาสวมใส่ชุด "ไทยโบราณ" ใช้ภาษา "ไทยโบราณ" และหลั่งไหลไปวัดไชยวัฒนาราม ทำให้นักศึกษาประวัติศาสตร์ต้องตั้งคำถามว่าความนิยมในละครอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับบริบททางการเมืองของแต่ละยุคสมัยอย่างไร
คำตอบที่ได้คือ ทุกครั้งที่ชาติสั่นคลอนจากการเมือง สังคมเกิดความโกลาหล ละครและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จะกลับมารุ่งเรืองเสมอ

จำนวนของละครอิงประวัติศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นบอกอะไรเรา ?

ละครทั้งหมดมีโครงเรื่องคล้ายกันคือ ย้อนกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เช่น บางระจัน อตีตา ฟ้าใหม่ และศรีอโยธยา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไทยกำลังถูกรุกรานจากพม่า ทำให้ประชาชนต้องรวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับศัตรูและสามัคคีกันดังเช่นที่ใช้กันในยุคของชาตินิยม ดังนั้น สารของละครอิงประวัติศาสตร์จึงวางในบริบทใหม่คือ ส่งเสริมให้คนในชาติรักกันภายใต้ภาวะสังคมที่แตกแยก รู้จักหน้าที่ของตนเองที่มีต่อชาติ และส่งเสริมความสามารถของกษัตริย์

ในทางกลับกัน ตัวละครหลักของบุพเพสันนิวาส ไม่ได้เป็นกษัตริย์หรือชนชั้นนำชั้นสูงที่จับต้องไม่ได้ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงทางประวัติศาสตร์ในยุครุ่งเรือง แต่ก็ไม่ได้ขับเน้นความเป็นชาตินิยม ผู้เขียนสร้างสรรค์เรื่องได้อย่างมีสีสัน ท่ามกลางสภาพของสังคมและการเมืองในปัจจุบันที่ยุ่งเหยิง ขาดความมั่นคง เชื่อมั่นต่อรัฐบาล และยากต่อการทำนายอนาคตของประเทศ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกของการโหยหาอดีต (Nostalgia) ได้ง่าย การดูละครย้อนยุคสักเรื่องหนึ่ง จึงทำให้ในทางความรู้สึกสามารถหลีกเร้นกลับไปสู่อดีต เพราะอย่างน้อยอดีตก็เป็นสิ่งที่มั่นคงกว่าปัจจุบันและอนาคต

ดังนั้น ละครและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ดังนั้น ความสนใจต่อประวัติศาสตร์ของคนไทยที่เพิ่มขึ้นในเวลานี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนักสักเท่าไหร่


บางส่วนจาก บทความเรื่อง บุพเพสันนิวาส: ความรุ่งเรืองในอดีตที่คนไทยทุกสมัยใฝ่หา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์  อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 09 เม.ย. 18, 14:39

ประเทศเกาหลีใต้ น่าจะเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองต่ำสุดๆไปเลยหละครับ เพราะเขาทำหนังอิงประวัติศาสตร์ออกมาเพียบ ในพันทิป มีผู้เรียงไว้ดังนี้ครับ
อ้างถึง
มีสมาชิกท่านหนึ่งเรียงไว้ดังนี้ค่ะ

*** ยุค 3 อาณาจักร

จูมง มหาบุรุษกู้บัลลังก์ (เป็นปู่ของมูยุล) // ผู้ก่อตั้งอาณาจักรโกกุเรียว
มูยุล มหาบุรุษพิชิตแผ่นดิน // ผู้ล้มล้างอาณาจักรพูยอ
จามอง ยอดหญิงผู้พิทักษ์แผ่นดิน // สมัย กษัตริย์แทมูซิน หรือ มูฮยุน ( องค์ที่ 3 )
ตำนานจอมกษัตริย์เทพสวรรค์  // สมัยพระเจ้ากวังแกโท หรือ ทัมต็อก ( องค์ที่ 19 )
Kim Soo Ro // กษัตริย์องค์แรกของเผ่าคาย่า
ซอดองโย สายใยรักสองแผ่นดิน // สมัยพระเจ้ามู ( องค์ที่ 30 ) อาณาจักรแพคเจ
Gyebaek  //สิ้นสุดอาณาจักรแพคเจ โดยแม่ทัพคิมยูซินแห่งชิลลา
ซอนต็อก ราชินีสามแผ่นดิน // อาณาจักรชิลลา รวม 3 อาณาจักรสำเร็จ

*** ยุค โครยอ
ชอนชูหัวใจเพื่อแผ่นดิน // K 5 พระเจ้าคยองจง K 6 พระเจ้าซองจง K 7 พระเจ้ามกจง
Faith // กษัตริย์กงมิน
The Great Seer // คาบเกี่ยวโครยอ K 31 พระเจ้าคงมิน K32 พระเจ้าอู K33 พระเจ้าชาง(1ปี) K 34  พระเจ้าคงยาง
เริ่มราชวงศ์โชซอน K 1 พระเจ้าแทโจ (หรือแม่ทัพ อีซองเกย) ได้เห็น K3 อีบังวอน ตอนหนุ่มด้วย

*** ยุคโชซอน

Tree With Deep Root // K 4 พระเจ้าเซจง
The Princess Man // K 7 พระเจ้าเซโจ
Queen Insoo // K 8 พระเจ้าเยจง + K 9 พระเจ้าซองจง
คิมชูซอน สุภาพบุรุษมหาขันที // K 9 พระเจ้าซองจง
แดจังกึม  จอมนางแห่งวังหลวง // K 11 พระเจ้าจุงจง
คนดีที่โลกรอ หมอโฮจุน // K 14 พระเจ้าซอนโจ
Chuno  ( แทกิล ) // K 16 พระเจ้าอินโจ
Horse Doctor // K 18 พระเจ้าฮยอนจง**องค์ชายที่หมอเบค รักษาฝีให้คือซุกจง
ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์ // K 19 พระเจ้าซุกจง
Queen In Hyun's Man // K 19 พระเจ้าซุกจง **พระเอกเป็นลูกน้องของมเหสีอินฮยอน
ชังอ๊กจอง //  K 19 พระเจ้าซุกจง
ลีซาน จอมบัลลังก์พลิกแผ่นดิน // K 22 พระเจ้าจองโจ
ยอดหญิงตำนานศิลป์ ซินยุนบก // K 22
sungkyunkwan sacndal // K 22
The Warrior Baek Dong-soo // K 22
อิมซังอ๊ก ยอดพ่อค้าหัวใจทระนง // K 22-25  พระเจ้าจองโจ/ซุนโจ/ฮอนจง/ชอลจง
Time Slip Dr.Jin // K 25 พระเจ้าชอลจง
เมียงซอง จักรพรรดินีที่โลกลืม // K 26 พระเจ้าโกจง
เจจุงวอน ตำนานแพทย์แห่งโชซอน // K 26-27 พระเจ้าโกจง/พระเจ้าซุนจง...ราชวงศ์ล่มสลาย


*** ยุคญี่ปุ่นเข้ายึดครอง

Bridal Mask
Capital Scandal
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
cr. คุณ ชาติหน้าขอเกิดมาหมวย
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 09 เม.ย. 18, 14:52

ตอนเกาหลีทำ เราได้แต่อิจฉา และตำหนิว่า เหตุใดรัฐบาลไทย ไม่สนใจที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมไทยบ้าง ปล่อยให้เด็กไทยคลั่งไคล้วัฒนธรรมเกาหลี ญี่ปุ่น

ครั้นพอวัฒนธรรมของเราจุดติด เกิดกระแสในทางบวกขึ้นมาบ้าง แทนที่จะมองกันว่าเป็นเรื่องดี เพราะเราจะได้เป็นผู้ส่งออกทางวัฒนธรรมบ้าง นี่กลับวิเคราะห์กันว่า เป็นการแก้ปัญหารัฐบาลขาลง เป็นแค่ปาหี่ทางการเมืองซะยังงั้นอ่ะครับ

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นหละครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 09 เม.ย. 18, 17:48

ก็คนบ่น เป็นคนละคนกันนี่คะ

พอไม่มีละครแบบแดจังกึม  นาย ก. ก็ออกมาบ่นว่าไม่รู้จักทำอย่างเกาหลีมั่ง  เขาส่งออกวัฒนธรรมจนดังและรวยอีกต่างหาก
พอมีละครบุพเพสันนิวาส ก็ถึงตานาย ข. โผล่ออกมามั่งละ  ว่าไม่เข้าท่า

นี่ยังมีนาย ค. จนถึงนาย ฮ. รอคิวอยู่อีกนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 09 เม.ย. 18, 18:29

ถึงคิวของนาย ค. และ นาย ง.

คุยเฟื่องเรื่องละครย้อนยุค : จินตนาการ กับ ข้อเท็จจริง พบกับ ๒ นักศึกษาปริญญาเอกของไทย ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ที่สถาบัน SOAS, University of London ลุพธ์ อุตมะ นักออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้เคยเข้าชิงรางวัล Emmy Award เมื่อปี ๒๐๐๙ กับภาพยนตร์เรื่อง "The House of Saddam" และ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เกี่ยวกับเรื่องที่คุณนริศยกขึ้นมาถาม นาย ค. และ นาย ง. ได้ตอบไว้บ้างตั้งแต่นาทีที่ ๓๖.๐๕ เป็นต้นไป
 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
prasit
อสุรผัด
*
ตอบ: 35


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 02:54

ถึงจะมี นาย ค. นาย ง. มาวิเคราะห์ ผมว่าก็เป็นเรื่องทีต่างคิดต่างมุมของเขา ถ้าไม่มีละคร เขาเหล่านั้นหรือแม้กระทั้งพวกเราเหล่านี้ก็ไม่ได้มีเรื่องมาสุมหัวสัมนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เอาเป็นว่ายังไงผมก็ยังชอบและรักที่จะดูละครบุบเพฯอยู่ดี ที่ผมชอบและรักที่จะดูนั่นก็เพราะ เนื้อเรื่องที่ลงตัวผ่านแม่การะเกด และแม่เกศสุรางค์สื่อออกมาได้ดีนั้นเองและส่งผลให้น่าติดตาม
ตอนต่อๆไป ถ้าหากว่าถ้ามองดูที่สิ่งต่างๆที่นำมาเป็นฉากหรือเอามาเป็นความรู้ผมให้เต็มสิบ ถึงมันจะน้อยนิดหากเทียบกับบทละคร เช่น ผ้าลายสมปัก 1 อุบะ แขวนหน้าต่าง 1 กริช 1
หมูสร่ง 1 สีผ้าที่ใส่ 1 ฯลฯ แค่นี้ก็ทำให้ผมค้นหาเพิ่มเติมเสริมความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้อีกโข หรือท่านอื่นๆมีเพิ่มให้ผมได้อีกจักขอบพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 10:41

เห็นด้วยกับพี่ prasit ครับ ขอเพียงมีผู้สร้างให้เกิดขึ้น ให้เรื่องราวได้รับการเล่าขาน ให้ชื่อยังได้ยินผ่านหู ไม่ถูกลืมเลือนไป แม้เรื่องราวจะตรงบ้างไม่ตรงบ้าง แต่ก็ยังเป็นต้นสายให้ผู้สนใจอยากรู้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ครับ ก็เนี่ย อย่างผมเนี่ย เพราะศรีอโยธยา ต่อด้วยบุพเพสันนิวาส เลยทำให้ผมจำพระนามพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้

เมื่อไหร่จะมีคนทำละครช่วงพระเจ้าปราสาททองบ้าง ผมจะได้จำพระนามพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททองได้อีก ถ้ามีช่วงหลังสมเด็จพระเอกาทศรถอีก จะได้ต่อกับตำนานสมเด็จพระนเรศวร และตำนานสมเด็จพระศรีสุริโยไทยพอดี (แฮ่ๆ)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 11:17

ว่าด้วยมนตร์คาถา
เค้าโครงจากพงศาวดาร กล่าวถึงมนตร์คาถาที่ทำให้อาวุธปืนยิงไม่ออก อ.ชีปะขาว แสดงโชว์พระเจ้าหลุยส์ไปคราวหนึ่ง

มีมนตร์คาถาที่ทำให้มองไม่เห็นตัว พระยาสีหราชเดโช โชว์ให้ทหารพม่าดู คราวโกษาเหล็กยกทัพไปตีพม่า ซึ่งผมเดาว่า ผู้เขียนใช้ข้อมูลตรงนี้ มาประยุกต์ของมนตร์หายตัวของแม่การะเกด ในบุพเพฯ

มีมนตร์คลายพันธนาการ ก็พระยาสีหราชเดโช อีกนั่นแหละ ที่สำแดงไว้คราวถูกพม่าจับเป็นเชลย

ในศรีอโยธยา ผมเข้าใจว่า หม่อมน้อยท่านก็นำข้อมูลเหล่านี้ มาเล่าว่า มีทหารคนหนึ่ง ไปจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เหตุที่ทำสำเร็จเพราะ ทหารคนนี้ แค่ยืนจังก้า วิชาเยนทร์ก็ยิงปืนไม่ลั่น กระสุนออก วิชาเยนทร์ก็รู้ทันทีว่า ทหารคนนี้ ไม่ธรรมดา เป็นพวกมีอาคม จึงยอมแพ้แต่โดยดี

นอกจากนี้ ยังมีมนตร์กำบังเรือน หรืออาจจะเรียกว่า มนตร์ที่ใช้ปิดกันพื้นที่ก็ได้ครับ และมนตร์กำบังเรือน อาจจะมีหลายระดับ (มั๊งครับ)
ระดับพื้นๆ แค่ปิดผนึกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งไว้ ไม่ให้คนเข้าออกได้ แต่พื้นที่นั้นไม่ได้หายไปไหน ยังคงมองเห็นได้อยู่ ก็คล้ายๆกับ มนตร์ที่ อ. ปะขาว เสกไว้ที่วัดในเรื่อง บุพเพฯ วัดยังอยู่ ไม่ได้หายไป แต่ใครก็เข้าไปไม่ได้
ระดับกลาง อาจทำให้พื้นที่นั้นหายไป ไม่ปรากฎต่อสายตาผู้คน แต่ยังไม่มีผลกับมิติเวลา
ระดับสูงนอกจากพื้นที่นั้นจากหายไปจากสายตาแล้ว มิติเวลายังถูกเปลี่ยนแปลงด้วย มนตร์ที่แม่นกยูง หรือแม่บุษบาบรรณใช้ ควรเป็นระดับนี้ (แต่ของแม่นกยูง ผู้ร่ายดูโปรกว่า เพราะมนตร์ทำงานราบเรียบสมบูรณ์  ไม่มีช่วงกระพริบ ติดๆดับๆ บ่อยๆ แบบของแม่บุษบาบรรณ)

ปัญหาคือ มนตร์กำบังเรือนระดับสูง มีลักษณะเหมือน Time Capsule ที่ทำให้คนในอดีต ข้ามไปสู่อนาคตได้ (และเป็นการข้ามไปแบบมีกายเนื้อ ตัวเป็นๆ ด้วย)  แต่ไม่อาจทำให้คนในอนาคต ข้ามกลับมายังอดีตได้

ตอนคุณรอมแพง แต่งเรื่องบุพเพฯ จึงต้องสร้างวิธีการใหม่ เกิดเป็นมนตร์กฤษณะกาลี ที่ใช้ทำอะไรได้บ้างก็ไม่รู้ แต่เกิดผลข้างเคียงคือ เฉพาะดวงจิตเท่านั้น ที่ข้ามเวลามาได้ กายเนื้อข้ามมาด้วยไม่ได้     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 16:12

   ที่จริง ประวัติศาสตร์ไทยมีเรื่องให้โฟกัสได้หลายยุคหลายสมัย   ไม่ใช่เฉพาะแต่ตอนปลายเมื่อเสียกรุงครั้งที่สองเท่านั้น
   ลักษณะดราม่ามีตั้งแต่อยุธยาตอนต้น  เมื่อเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาชนช้างกันชิงราชบัลลังก์   จนสิ้นพระชนม์กันไปทั้งคู่     ส้มทองคำเลยไปหล่นที่เจ้าสามพระยา    นี่ก็ดราม่าไม่แพ้กับการสืบราชบัลลังก์ของฮ่องเต้ในสมัยราชวงศ์ต่างๆ
   ถ้าเอามาขยายก็น่าสนุกไม่แพ้กันค่ะ
   ถ้าเราเชื่อว่าพระเจ้าปราสาททองเป็นพระโอรสลับของพระเอกาทศรถ   การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็นับเป็นรัฐประหารที่สีสันเข้มข้นไม่น้อย   ราชวงศ์ปราสาททองนั้นนองเลือดตั้งแต่ต้นราชวงศ์จนปลายราชวงศ์    จับลงไปตรงไหนเจอดราม่าทุกตอน
   เรื่องของออกญาเสนาภิมุขก็ยังไม่มีนักเขียนไทยเอามาตีความให้เป็นเรื่องยาว 
   บทบาทของโปรตุเกส  ฮอลันดา และญี่ปุ่นในอยุธยาล้วนน่าสนใจ    ทำดีๆละครสามารถขายอินเตอร์ได้หมดค่ะ  คอนเฟิร์ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 21:14

"บุพเพสันนิวาส" กำลังปกคลุมสังคมไทยขณะนี้ คนไทยจำนวนหนึ่งหันมาสวมใส่ชุด "ไทยโบราณ" ใช้ภาษา "ไทยโบราณ" และหลั่งไหลไปวัดไชยวัฒนาราม ทำให้นักศึกษาประวัติศาสตร์ต้องตั้งคำถามว่าความนิยมในละครอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับบริบททางการเมืองของแต่ละยุคสมัยอย่างไร
คำตอบที่ได้คือ ทุกครั้งที่ชาติสั่นคลอนจากการเมือง สังคมเกิดความโกลาหล ละครและภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จะกลับมารุ่งเรืองเสมอ

ขอเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวก็แล้วกันนะคะ
ย้อนหลังกลับไปเมื่อโทรทัศน์ยังมีอยู่ไม่กี่ช่อง    ละครเป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุด  เรียกว่าช่องไหนมีละครดังช่องนั้นก็ได้ความมั่นคงในธุรกิจไปมากกว่าเพื่อน
การทำละครนั้น ผู้บริหารในแต่ละช่องเขาจะรู้จังหวะเวลาว่า  ช่วงไหนควรมีละครแบบไหนออกมา    ช่วงไหนควรเอาละครเรื่องอะไรมาประชันกับเรื่องอะไร   แม้แต่ละครเรื่องไหนเหมาะจะออกอากาศในวันไหนของสัปดาห์   ก็มีการคำนวณเอาไว้แม่นยำล่วงหน้าแล้ว
ทั้งนี้เพราะการผลิตและออกอากาศของละคร เป็นเรื่องของธุรกิจ   ส่วนเนื้องานของละครอาจจะเป็นศิลปะก็ได้ เป็นพาณิชย์ก็ได้ หรือผสมสองอย่างพร้อมกันก็ได้ 
แต่ไม่เคยได้ยินเลยว่า การผลิตละครนั้นต้องดูทิศทางของลมการเมืองด้วย

ย้อนหลังไปก่อนพ.ศ. 2530   เริ่มเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องแรก "รัตนโกสินทร์" ตอนนั้นนวนิยายไทยว่างเว้นเรื่องแนวประวัติศาสตร์มานานมาก    นักเขียนก่อนหน้านี้ที่เขียนแนวนี้ ก็มีม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ "สี่แผ่นดิน" อันลือลั่นของท่าน  เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นในช่วงพ.ศ. 2490s   ผู้อ่านเรือนไทยสัก 90 %  คงยังไม่เกิด
จากนั้น นักเขียนที่เขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ไว้หลายเรื่อง ก็มี ไม้ เมืองเดิม  รพีพร   และรุ่นหลังต่อมาคือศุภร บุนนาค 
  งานเขียนของรพีพรเช่น ลูกทาส เป็นละครของทีวีช่อง 4 วิกบางขุนพรหม    ก็คงนึกออกนะคะว่านานขนาดไหน

เมื่อ "รัตนโกสินทร์" ตีพิมพ์รวมเล่ม  เรื่องนี้ได้รางวัลหนังสือดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี 2530  ทางช่อง  7   ก็ติดต่อมา ขออนุญาตทำละคร  โดยวางระยะเวลาลิขสิทธิ์ไว้ถึง 10 ปี
ทำไมนานขนาดนั้น  ก็เพราะเรื่องอิงประวัติศาสตร์ไม่ได้อยู่ในกระแสความนิยมเลย   แต่ผู้บริหารคือคุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ พอใจเรื่องนี้  จึงขอซื้อไว้โดยที่ยังมองไม่เห็นจังหวะเวลาว่าจะทำได้ในปี 2530 หรือ 2531  หรือแม้แต่ปีถัดไป

จนกระทั่งถึงปีอันเป็นมหามงคล ปีกาญจนาภิเษก คือพ.ศ. 2539     ช่อง 7 เห็นว่าทำละครประวัติศาสตร์จะถูกกาลเทศะ  "รัตนโกสินทร์" จึงมีโอกาสเป็นละครขึ้นมา   ต่อจากเรื่องแรกคือ "สายโลหิต" ของคุณโสภาค สุวรรณ
"รัตนโกสินทร์" ก็ประสบผลสำเร็จ  ได้รางวัลละครดีเด่นของปี 

ทั้งนี้ขอเล่าในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังการทำละครอิงประวัติศาสตร์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร   และทางช่องเขามีวิธีบริหารจัดการจังหวะเวลาอย่างไร      ไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว  นวนิยายอิงปวศ. อื่นๆ เช่นสองฝั่งคลอง   มาลัยสามชาย  เพชรกลางไฟ  ก็มีที่มาที่ไปที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเมืองทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 10 เม.ย. 18, 23:12

ส่วนตัวผมว่าบุบเพได้รับความนิยมเพราะเนื้อหาไม่ได้ย้อนยุคจ๋าเสียทีเดียว มีของใหม่ของเก่าปะปนกันไป ทั้งยังมีไอเทมลับจำพวก กุ้งเผา มะม่วงน้ำปลาหวาน หมูกะทะ อะไรทำนองนี้ คนรุ่นใหม่เลยอยากติดตามไปด้วย


ขณะที่ละครอีกเรื่องที่ได้ศรรามของผมมาเล่น ผมจำได้แค่.....เอ่อ....ผมควรจะจำอะไรได้บ้างเนี่ย  ลังเล


อีกเรื่องนะครับ รู้สึกประมาณ 2 ปีมานี้ วัยรุ่นค่อนข้างชอบนิยายแนว อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต มากพอสมควร มากชนิดที่เบียดนิยาย Y นิยายว๊ายอะไรพวกนี้ลงได้ บุบเพที่เขียนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเลยเข้ากระแส ใช้คำว่าโป๊ะเช๊ะ...นี่เขาจะรู้อายุมั้ยนะ


อ้อ...อีกนิด บุบเพมีแฟนดั้งเดิมเป็นทุนอยู่แล้วพอสมควร อย่างเพื่อนผมก็เคยอ่านกันตั้งหลายคน พอมาเป็นละครเลยตามกริ๊ดได้เต็มเหนี่ยว แต่ผมก็ยังไม่ได้อ่านอยู่ดี ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 11 เม.ย. 18, 09:46

กระแสย้อนยุคจากบุพเพสันนิวาส

เจ้าหน้าที่แบงก์กรุงไทยสาขาสิงห์บุรี พร้อมใจแต่งชุดไทยให้บริการ

อ่านรายละเอียดได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ
http://www.naewna.com/local/332392


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 11 เม.ย. 18, 09:55

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านครับ
เรื่องเกี่ยวกับ ยามาดะ นางามาซะ เคยมีภาพยนตร์เรื่องนี้ ครับ

แต่เนื้อหาไม่ค่อยอิงประวัติศาสตร์เท่าไหร่ ในตอนที่ภาพยนตร์ออกฉาย ก็มีการถกเถียงกันว่า ผู้ดำรงตำแหน่ง ออกญาเสนาภิมุข มีกี่ท่าน และท่านนางามาซะ ท่านเป็นเสนาภิมุขคนที่เท่าไหร่ ใช่คนที่เคยร่วมรบกับสมเด็จพระนเรศวรหรือเปล่า  

ผมมาคิดๆ ดู ละครหรือภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของบ้านเรา เรื่องที่บอกเล่าเรื่องราวที่ย้อนหลังไปไกลสุด เห็นจะเป็นเรื่องตำนานสมเด็จพระสุริโยทัย นี่กระมังครับ

ไกลกว่านั้น ก็เห็นจะมีเรื่องนี้

ไปยุคน่านเจ้าโน่นแหนะครับ แต่ผมว่า จัดเป็นเรื่องแฟนตาซีมากกว่าจะนับว่า อิงประวัติศาสตร์ครับ

นอกจากนี้ก็ยังมี

แต่เรื่องนี้ เห็นเฉพาะการโฆษณา แต่ไม่ทราบว่าได้ฉายไปแล้วหรือยังนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 11 เม.ย. 18, 10:05

โรงพยาบาลก็ทันกระแสไม่น้อยหน้าใคร

https://news.mthai.com/social-news/489909.html

เดียเริ่ด! ทีมหมอ-พยาบาล สวมชุดไทยตรวจคนไข้ ในโรงพยาบาล รับประเพณีสงกรานต์

วันนี้(13 เม.ย.) เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์แล้ว ในหลาย ๆ โรงพยาบาลทั่วไทย ได้มีความคิดสร้างสรรค์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทย ด้วยการให้ทีมแพทย์และพยาบาลแต่งกายด้วยชุดไทยมาทำงาน ออกไปตรวจผู้ป่วย สร้างสีสันเรียกร้อยยิ้มให้กับผู้ป่วย และผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก


ป.ล.ไม่รู้ว่าคุณหมอ SILA จะต้องนุ่งโจงกระเบนกับเขาหรือเปล่านะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 11 เม.ย. 18, 10:18

ตำรวจก็ทันกระแสไม่แพ้คุณหมอและพยาบาล ค่ะ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1709387579100644&id=100000882551811
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง