เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48678 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 11:12

วันนี้วันที่ ๑ มุสาเมษา

มารียองกลับมาจากภพโน้น  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5041.225


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 11:22

รีบตอบเสียก่อนคุณเพ็ญชมพูจะปาดหน้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 11:29

บทความนี้ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกจัดทำขึ้นเป็นพิเศษเนื่องในวัน April Fool’s  ๑ เมษายน ๒๕๖๑ (ตามรอยกระแสแม่การะเกด)

เอ็มมานูแอล เนย์บาร์ท ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ไม่มีตัวตนอยู่จริง
บาทหลวงเดอ ลิยอน มีตัวตนอยู่จริง โดยทำหน้าที่เป็นล่ามประจำคณะราชทูตของโกษาปานที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส
บันทึกของบาทหลวงเดอ ลิยอนที่ระบุถึงหญิงสาวจากต่างยุคต่างสมัยไม่ใช่เรื่องจริง
เอไลซา ซิดมอร์ เป็นช่างภาพหญิงของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกจริง ส่วนแอนเน่ไม่มีตัวตนอยู่จริง
ภาพถ่ายที่ถูกนำมาประกอบคือบรรยากาศของกาดหลวง ในเชียงใหม่ เมื่อร้อยปีก่อน จากสารคดี “จับเสือที่ป่าเมืองน่าน” ตีพิมพ์ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๒๘


สุขสันต์วันเอพริล ฟูลส์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 11:34

ผมนี้เงื้อมาแต่ไกลขอมีแม่พลอยสี่แผ่นดินด้วยคน ลืมวันลืมเวลาเฉยเลยเรา  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 17:33

เนื่องในวันเอพริลฟูลเดย์ ขอนำรูปพระเอกของเรา ขุนศรีวิสารวาจามาส่งดูกันค่ะ

ในรูปถ่ายใช้รูปนายแบบเชื้อแขกขาวชื่ออิมราน แทนพระเอก เนื่องจากหนังสืองแต่งไว้ให้ท่านเป็นลูกออกญาโหราธิบดี ซึ่งท่านน่าจะเป็นพราหมณ์พระราชครู เป็นแขกเทศบรรพบุรุษมาจากพาราณสี แล้วรูปนี้ยังมีความคล้ายคลึงกับรูปวาดที่ฝรั่งเศสวาดท่านไว้ด้วยค่ะ( รูปล่าง ) สังเกตจากเครื่องหน้ารวมๆ คิ้วหนาตาโตเจือประกายหวานดังหนังสือบรรยายนะคะ

ผิวท่านดูตามรูปวาดน่าจะผิวสีน้ำผึ้ง คาดว่าได้มาจากทางมารดา ระบุในหนังสือว่ามารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์เก่า

คาแรคเตอร์พระเอกเป็นพวกพูดน้อยต่อยหนัก คมในฝัก มีวิชาทางกวีและคาถาอาคม ถือศีลห้า ดุเจ้าระเบียบเหมือนแม่ ใจดีเหมือนพ่อ ลักคษณะนิสัยคล้ายลูกคนเล็กทั่วไปที่ิยากได้อะไรต่องเอาจนได้

หล่อไหมคะ

ชีวิตจริงๆไม่มีใครทราบว่าขุนศรีวิสารวาจาท่านเป็นลูกใคร มีบันทึกไว้แค่พ่อท่านเคยเป็นทูตไปต่างประเทศหนึ่งครั้ง ตอนไปนี่ยังหนุ่มมาก อายุไม่น่าเกิน 20 กว่าๆ ผู้เขียนเลยระบุให้ท่านออกญาโหราธิบดีเคยไปเป็นทูตที่ต่างประเทศครั้งหนึ่งเสียเลย


บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 17:34

ตกรูปคนจริงๆไปค่ะ พระเอกของเราน่าจะคล้ำกว่านี้เล็กน้อย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 18:15

มีบันทึกไว้แค่พ่อท่านเคยเป็นทูตไปต่างประเทศหนึ่งครั้ง ตอนไปนี่ยังหนุ่มมาก อายุไม่น่าเกิน 20 กว่าๆ

ในบันทึกอายุเกินยี่สิบ  ยิ้มเท่ห์

ภาพพิมพ์รูปหมู่ของราชทูต อุปทูต และตรีทูต ผลงานของ นิโกลาส์ เดอ ลาร์แมซแซ็ง (Nicolas de Larmessin) ในคำบรรยายภาพ (บรรทัดที่ ๘-๙) ให้ข้อมูลว่า

ออกขุนศรีวิสารวาจาตรีทูต ยังหนุ่มแน่นอยู่ อายุราว ๒๕ ถึง ๓๐ ปี บิดาของเขาเคยเป็นราชทูตไปยังประเทศปอร์ตุเกส (OOC,COUNSRIVISÂRAVÂKIAA TRITHOVD ; Ieune hoe agé déruiron 25 au 30, ans, Son Pere Est a pnt, en ambassade En Portugal)”



จากซ้ายไปขวา ออกหลวงกัลยาณราชไมตรี อุปทูต, ออกพระวิสุทสุนทร ราชทูต, ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 18:56

ผู้เขียนเลยระบุให้ท่านออกญาโหราธิบดีเคยไปเป็นทูตที่ต่างประเทศครั้งหนึ่งเสียเลย

ราชทูตไปโปร์ตุเกต  ตายที่อัฟริกาใต้ครับ​
พระยาโหราตามท้องเรื่องจึงตายไปก่อนแล้ว​

หากพระโหราธิบดีเคยเป็นราชทูตไปโปรตุเกส คงไปพร้อมกับ ขุนชำนาญใจจง ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๗ (ก่อนลูกชายคือขุนศรีวิสารวาจาไปฝรั่งเศส ๑ ปี) และไปเรือแตกที่แหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา พระโหราธิบดีอาจเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ดังที่คุณคนโคราชว่า (มีบันทึกระบุว่า คณะทูตต้องเสียขุนนางไปรายหนึ่ง เนื่องจากขุนนางท่านนี้ไม่ยอมกินต้นไม้ใบหญ้าเหมือนคนอื่น ๆ *) ยิงฟันยิ้ม

* จาก https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_8713

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 19:10


ตรงนี้ช่วยกันแกะรอยบิดาของขุนศรีวิสารวาจา​ กันนิดหนึ่ง
"Est" แปลว่า​ "เป็น"  หรือ​ "เคยเป็น"  ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 19:41

ภาษาฝรั่งเศส ใช้กับบุรุษที่สาม เอกพจน์ เหมือนคำว่า is
แปลว่า เป็น ค่ะ   ปัจจุบันกาล
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 20:07


ขอบคุณครับท่านอาจารย์เทาชมพู

ตรงนี้ชี้ว่า​ พระเอกของเราเข้าใจว่าคณะของบิดาได้เดินทางไปถึงกรุงลิสบอนโดยตลอดรอดฝั่ง
ตรงนี้เป็​น​เรื่องเศร้าครับ
คณะของพ่อพระเอกออกจากเมืองไทยก่อนแต่ไปติดอยู่เมืองกัว​ อยู่ครึ่งปี​ คณะของพระเอกออกจากเมืองไทยทีหลัง​ไปแซงกันกลางมหาสมุทรอินเดีย
เมื่อพระเอกแวะที่แหลมกู๊ดโฮป​ พ่อพระเอกยังตามมาอยู่กลางทะเลแล้วไปเรือล่มที่ปลายใต้สุดของทวีปอัฟริกา​ คนไทยเกือบทั้งหมดรอดมาได้บุกป่าฝ่าดงกันไปจนถึงแหลมกู๊ดโฮป​ แต่พ่อพระเอกหมดแรงกลางทางอยู่กับบ่าวอีกคน

ที่ฝรั่งเศส​ พระเอกจึงยังเข้าใจว่าพ่อพระเอกไปถึงลิสบอนโดยสวัสดิภาพ​ ขากลับถึงไปเจอออกขุนชำนาญแถวๆปากน้ำเจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 22:30


เนื่องในวันที่ 1 เมษา ผมขอเล่าเรื่องจริงที่นักประวัติศาสตร์ไทยลืมบอกให้เราได้รับรู้
ให้ท่านสมาชิกเรือนไทยได้พิจารณา ย้ำว่านี่คือเรื่องจริง

โศกนาฎกรรมของครอบครัวพระเอก

วันที่ 28 มกราคม 1686 คณะทูดสยามที่มีพ่อของพระเอกเป็นราชทูต ได้ออกจากเมืองกัวโดยเรือของโปรตุเกส
เส้นประสีแดงคือเส้นทางโดยประมาณของคณะนี้
ในวันเดียวกัน เรือของพระเอกออกมาจากเมืองปัตตาเวีย ตามเส้นสีน้ำเงินได้สักสัปดาห์หนึ่ง
ตำแหน่งเรืออยู่ประมาณตรงที่ MH317 สูญหาย

กลางเดือนมีนาคม 1686 โกษาปานและพระเอกแวะที่แหลมกู๊ดโฮป เรือของคณะพ่อพระเอกยังแล่นเอื่อยๆอยู่กลางทะเล

วันที่ 2ึ7 เมษายน 1686 เรือโปรตุเกสที่ตามมากลับเกยตื้นที่ปลายทวีปอัฟริกา เพราะต้นหนนำร่องผิดพลาด
ในวันเดียวกันเรือของโกษาปานก็ออกเดินทางไปเกือบถึงเส้นศูนย์สูตรแล้ว

คณะทูตของพ่อพระเอกว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้
ท่านราชทูตได้สั่งให้คณะทูตดูแลรักษาพระราชสาส์นเท่าชีวิต
จากนั้นเริ่มเดินบก ผจญภัยรอนแรมมุ่งไปให้ถึงแหลมกู๊ดโฮปหนึ่งเดือนเต็ม
คนสยามตายไปประมาณสี่ห้าคน รวมทั้งท่านราชทูตที่หมดแรงกลางทางด้วย (presumably)
ออกขุนชำนาญรอดกลับมาและได้เล่าเรื่องให้บาดหลวงตาชาบันทึกไว้ภายหลัง (บนเรือกายา ลำกันเดียวกับลาลูแบร์)

ด้วยชะตากรรมที่เล่นตลก พ่อ ลูก จึงคลาดกันไปตลอดกาล
ลูกชายยังคิดว่า คณะของพ่อเดินทางไปถึงโปรตุเกส จึงบอกฝรั่งว่า บิดาของตน "est" ราชทูตที่กรุงลิสบอน
ขากลับเรือแวะแหลมกู๊ดโฮปคงได้รับทราบข่าวด้วยความโศกเศร้าเสียใจ

เรื่องน่าสนใจในสมัยพระนารายณ์ที่นักประวัติศาสตร์ไทยลืมเล่ายังมีอีกเยอะครับ
(ออกขุนชำนาญ แมวเก้าชีวิต เป็นขุนนางคนเดียวที่อยู่รอดไปจนถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ
 พระเอกน่าจะโดนประหารในรัชกาลพระเพทราชา)


บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 22:41


โศกนาฎกรรมของครอบครัวพระเอก

 พระเอกน่าจะโดนประหารในรัชกาลพระเพทราชา


 ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ผูกพันข้ามภพชาติ  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 01 เม.ย. 18, 23:00

 ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
ขอบคุณค่ะ
หากมีรูปสองรูปที่ใกล้เคียงกัน ขอคิดว่ารูปที่สามที่ไม่ใกล้เคียงใครเลยคงเป็นอันต้องตกไปค่ะ ขอเชื่อในฉบับที่หล่อๆเข้าไว้ อิอิ
รูปสีนี้ทางฝรั่งเศสจัดแสดงอย่างดีค่ะ ค้นๆดูแล้วสะดุดตามาก ท่านออกพระวิสุทธสุนทร( ท่านโกษาปาน ) ท่านคงเป็นคนดังของสมัยนั้น ถึงมีหลักฐานถึงท่านเยอะเลย


บันทึกการเข้า
นิ่มนวล
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 02 เม.ย. 18, 00:24

ต้องขออภัยที่ตอบแล้วตอบอีกนะคะ ต่อไปคงได้แต่ตามอ่านให้ตาแฉะแล้วค่ะ พอดีเกิดสงสัยขึ้นมาว่าถ้าเราเป็นคนเขียนจะเขียนอะไรถึงจะเป็นความบันเทิง

ฉากรับราชทูตนี้ ได้ 8 แสนวีวขณะที่กุ้งเผาได้ไป 10 ล้านวีว หมูโสร่ง 2.7 ล้านวีว


ถ้ามีนางเอกภาคสองจริง อยากให้เป็นแม่ครัว ไม่ต้องสนใจวัดวังมาก บุกก้นครัวแม่มะลิให้พรุนน่าจะดีมาก  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

หมูโสร่ง ไม่มีอยู่ในนิยายเหมือนกุ้งเผาและมะม่วงน้ำปลาหวาน ท่าทางคนเขียนบทคงอยากนำเสนอเมนูอาหารกรุงศรีฯขึ้นมาบ้าง แต่เอาที่จริงสืบค้นลงไปก็ไม่แน่ว่าจะเป็นเมนูช่วงไหนของกรุงศรีอยุธยา เพราะอยู่ในบันทึกจาก"จดหมายเหตุความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่จุลศักราช ๑๑๒๙ ถึงจุลศักราช ๑๑๘๒ เป็นเวลา ๕๓ ปี" ที่ท่านก็เกิดหลังยุคพระนารายณ์อาจถึงร้อยปี อันนี้คงเป็น Dramatic license of script writer อีกที

จากบันทึกของลาลูแบร์ มีข้าวเหนียวหัวหงอก แกงเหงาหงอด ก็ไม่ยอมทำ สงสัยว่าหน้าตาจะธรรมดาเกินไปไม่ขึ้นกล้อง

" อาหารเช้าที่คนกรุงศรีอยุธยานิยมทานคือ “ข้าวเหนียวหัวหงอก” เป็นข้าวเหนียวคล้ายข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง แต่มีการโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด เมนูนี้พอไปถามคนพม่าจะบอกว่าคนโบราณกินกันมานาน พอไปดูที่เวียดนาม กัมพูชา ก็นิยมเหมือนกัน เราเลยสันนิษฐานว่า คนกรุงศรีอยุธยาสมัยก่อนเคยทานอาหารชนิดนี้ โดยเมนูนี้นิยมเพราะทำง่าย พอกินไปจะอยู่ท้อง รวมถึงมีความเค็มกับหวานอยู่ในตัว ในอยุธยาปัจจุบันอาหารชนิดนี้แทบไม่มีเหลือแล้ว ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านยังรักษาการกินอยู่

อาหารเช้าของราชวงศ์ในอยุธยามีความหลากหลายกว่าชาวบ้านทั่วไป เช่น นำแกงเหงาหงอด ที่ชาวโปรตุเกส นิยมทาน ซึ่งถ้ามีฐานะดีจะกินอาหารเช้าต่างจากชาวบ้านปกติ อย่างชาวบ้านหาข้าวกับปลามาปิ้งย่างก็กินได้ แต่คนมีเงินจะกินอาหารที่มีเครื่องเทศ เช่น น้ำพริกกะปิ แกงกะทิที่ใส่หัวหอม มีหลักฐานการใช้ผักหวานนำมาประกอบอาหาร ผิดจากชาวบ้านที่วันไหนไม่มีเวลาทำอาหารก็อาศัยขุดเผือกหามันกิน "

ตามรอยเมนูอยุธยาอื่นๆหลังหมูโสร่ง( ถ้ามี )

ข้าวเหนียวหัวหงอก


แกงงเหงาหงอด

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง