เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48517 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 27 มี.ค. 18, 21:18


โมกุลแปลว่ามองโกลในภาษาเปอร์เซืยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 27 มี.ค. 18, 22:48

ตกลงว่าแม่หญิงรอมแพง ตีความถูกฤๅไม่เจ้าคะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 06:14


อินเดียที่ปกครองโดยโมกุล
น่าจะเรียกว่า​ เมืองมะหง่ล​ ครับ
ไทยไม่ใช้คำว่าโมกุลแน่นอน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 07:02

ตกลงว่าแม่หญิงรอมแพง ตีความถูกฤๅไม่เจ้าคะ



ขออภัยเข้าใจผิด
แม่หญิงคิดใช่ตีความ
วงเล็บที่มานาม
ถูกต้องตามคุณพระเคลียร์

หากคิดตามที่ตั้ง
โมกุลยังหมายอินเดีย
ถูกยึดโดยเปอร์เซีย
เชื้อสายเก่าเผ่ามองโกล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 07:04

อินเดียที่ปกครองโดยโมกุล
น่าจะเรียกว่า​ เมืองมะหง่ล​ ครับ
ไทยไม่ใช้คำว่าโมกุลแน่นอน

เรื่องนี้ต้องเชิญเจ้าคุณศรีสรรเพชญ์มาอธิบาย  ยิงฟันยิ้ม

แขกมห่น บางที่เรียก 'มะหง่ล' หรือ 'มะหงุ่น' มาจากคำว่า โมกุล (Mughal) ซึ่งเป็นมุสลิมที่สืบเชื้อสายจากชาวมองโกลที่ปกครองอินเดียในศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ คำนี้ใช้เรียกมุสลิมที่เดินทางมาจากอินเดียแบบรวม ๆ โดยอาจจะไม่ได้เป็นคนในอินเดียก็ได้ ซึ่งก็มีหลักฐานสมัยสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่าทหารม้าชาวอิหร่านในอินเดียถูกเรียกว่า 'โมกุล' เช่นเดียวกัน

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1079531378776998
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 09:08


กลับไปเรื่องทูตไทยพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยก็ดีนะครับ
เพราะคนฝรั่งเศสเองก็บันทึกไว้ว่าพระวิสูตรสุนทรพูดฝรั่งเศสได้ถือว่าชัด​เจนสำเนียงดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 10:57

คนฝรั่งเศสเองก็บันทึกไว้ว่าพระวิสูตรสุนทรพูดฝรั่งเศสได้ถือว่าชัด​เจนสำเนียงดี

บันทึกไว้ที่ไหนหนอ คุณพระ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 11:46


โกศาปานไปฝรั่งเศส​ เล่ม​ 1​ หน้า​ 44​ ครับท่าน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 11:51

ความประการใดนา วานบอก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 12:07

มาสนับสนุนว่า มะหง่ล คือ มองโกล อีกเสียงค่ะ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 13:27

สงสัยตรงนี้เหมือนกันค่ะ โมกุล(มองโกล) ตกลงคือ อินเดีย หรือ มองโกล(ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน?)
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 14:58

มะหง่ลในความเข้าใจคนไทยสมัยก่อนคือแขกทางอินเดียหรือตะวันออกกลางที่เป็นมุสลิมครับ เรารับรู้ผ่านมาทางชื่อโมกุลซึ่งเป็นจักรวรรดิ์อินเดียที่มีผู้ปกครองสืบเชื้อสายจากพวกมงโกลอีกที เราไม่เคยรู้จักมงโกลในฐานะรัฐครับ ตอนที่มงโกลยึดจีนปกครองจีนสมัยราชวงศ์เหยวียน เราเรียกว่าเขาเป็นจีนครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 20:49

กลับไปเรื่องทูตไทยพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยก็ดีนะครับ

เพราะคนฝรั่งเศสเองก็บันทึกไว้ว่าพระวิสูตรสุนทรพูดฝรั่งเศสได้ถือว่าชัด​เจนสำเนียงดี

คนฝรั่งเศสที่คุณพระว่าคือเดอ วิเซ (Jean Donneau de Visé) ได้บรรยายไว้ว่า

ถึงว่าท่าน (ราชทูตไทย) ยังพูดได้ แต่น้อยคำก็จริงอยู่ แต่คำที่พูดออกมานั้นน้ำเสียงชัดแจ่มใสดี ไม่มีเสียงแปร่งเจือปนเลย

พระวิสุทสุนทรท่านพูดภาษาฝรั่งเศสได้ชัดก็จริง แต่พูดได้น้อยไม่สามารถใช้สื่อสารเป็นเรื่องเป็นราวได้ อย่างในตอนก่อนที่ท่านจะกลับเมืองไทย เจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์เดินทางมาเยี่ยม ไม่มีล่ามอยู่ ก็ต้องใช้ภาษามือมาสื่อสารกัน

เจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ซึ่งเป็นคนค่อนข้างบูชาผู้มีปัญญาอยู่ ค่าที่พระองค์เองมีเชื้อปราชญ์ ๆ อยู่ในพระองค์ วันหนึ่งท่านได้เสด็จ มาเยี่ยมราชทูตไทย โดยไม่แพร่งพรายบอกให้ใครรู้เลย ครั้นพระองค์เสด็จมาถึงสำนักราชทูตซึ่งเผอิญวันนั้นในสถานทูตไม่มีล่ามเหลืออยู่สักคนเดียว เพราะจวนเจียนที่ท่านจะกลับไปเมืองไทยแล้ว ต่างคนต่างกำลังวิ่งไปซื้อนี่ซื้อโน่นกันออกวุ่น ตอนนี้ออกจะขลุกขลักกันหน่อย คือท่านหญิงก็พูดไทยไม่เป็น ส่วนข้างราชทูตก็พูดฝรั่งเศสกร็อกแกร็กไม่เป็นศัพท์เป็นแสง จะสนทนาปราศัยแลกความเห็นกันด้วยวิธีใด อย่ากลัวเลยคนเฉลียวฉลาดถึงที่อับจนก็ยังพอแก้ไขไปได้บ้าง ไม่ให้เสียการทีเดียว ข้างฝ่ายท่านหญิงและราชทูตเมื่อเห็นว่า ใช้ปากพูดจาปราศรัยกันไม่สำเร็จแน่แล้ว ก็เกณฑ์เอามือเอาตามาช่วยปาก ชี้โบ้ชี้เบ๊ กลับตาไป ๆ มา ๆ พลางทำท่าทางยักย้ายไปตามเรื่อง ถึงไม่ค่อยรู้ความละเอียดลออก็จริง ก็ยังพอเข้าใจกันได้บ้าง เป็นงู ๆ ปลา ๆ ดีกว่าไม่รู้เรื่องเลย แต่สิ่งที่ต่างคนต่างรู้ดีนั้น คือต่างฝ่ายต่างนับถือกันว่าเป็นเจ้าปัญญา ไล่ให้จนไม่ค่อยง่าย สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเขาเข้าใจความกันนั้นคือ ภายหลังวันที่ท่านหญิงเสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านหญิงได้ส่งถุงมือทำด้วยหนังนกมีขนติดอยู่ซึ่งท่านทรงเมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมนั้น ไปประทานอัครราชทูต และบนกระดาษที่ห่อถุงมือนั้น ท่านทรงสลักหลังด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองว่า

"ของกำนัลของเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์ ให้แก่ท่านอัครราชทูตสยาม ไว้เป็นที่ระลึกแห่งการสนทนาชี้โบ๊ชี้เบ๊ ซึ่งเจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์เดาแปลเอาเองว่า 'ถุงมือนี้สวยงามมาก ถ้าได้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะเป็นเกียรติยศยิ่ง' ผิดไม่ผิดจึงค่อยว่ากันคราวหลัง แต่โปรดรับไว้เถิด"

(ลงพระนาม) เจ้าหญิงเดอเนอมูร์ส์


จาก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๗โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑ บทที่ ๙ ข้าราชการและผู้ดีฝรั่งเศสออกมาเยี่ยมเยียนราชทูต และ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๙ โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๓  บทที่ ๗๗ ราชทูตรับรองของกำนัล    แปลจาก Voyage des ambassadeurs de Siam en France 1686 ของ Jean Donneau de Visé โดย เจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์

https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๕๗
https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๕๙
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 28 มี.ค. 18, 21:49


คุณพระอาจารย์เพ็ญชมพูเล่นยกตอนที่ท่านหญิงแอบไปคุยโบ๊เบ๊กับท่านราชทูตแล้วเอามาอ้างว่าราชทูตพูดฝรั่งเศสไม่รู้เรื่อง​ ต้องเรียนถามว่าถ้าคุยกันอยู่แค่นั้นแล้วผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ได้อย่างไร​ คงเป็นท่านหญิงที่แอบมาลองของแล้วเอามาเล่าเองต่อ​ ผู้ที่ถือพิธีการอย่างราชทูตคงตกใจแทบแย่​ที่ท่านหญิงแอบย่องเข้ามาลองของ

ตอนที่เห็นชัดว่าราชทูตรู้ฝรั่งเศสแน่ๆ​ คุณพระเพ็ญท่านไม่ยกมา
เช่น​ ตอนไปดูละคร​ ตอนเล่นเกมส์​ ตอนชี้แผนที่ได้ถูกต้อง​ หรือตอนเรียงพิมพ์ภาษาฝรั่งเศส​ ราชทูตคงไม่แกล้งทำไปมั่วๆแล้วถูกต้องตลอดนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 29 มี.ค. 18, 19:08

ฉากสำคัญฉากหนึ่งซึ่งปรากฏใน ละคร "บุพเพสันนิวาส" ตอนที่ ๑๑/๔ คือฉากราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เพื่อถวายราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  ราชทูตฝรั่งเศสยืนถวายพระราชสาส์นในระดับที่สมเด็จพระนารายณ์ต้องเอื้อมไปรับ  



ภาพในละครตอนนี้เลียนแบบภาพพิมพ์แกะไม้ชื่อ Ambassade française à la cour du Roi de Siam ผลงานของผลงานของ ฌ็อง-บัพตัสต์ โนแล็ง (Jean-Baptiste Nolin)




ภาพนี้แสดงเหตุการณ์ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๖๘๖ ที่เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ ถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์ที่น้อมพระองค์ลงมาจากสีหบัญชร โดยมีคอนสตันซ์ ฟอลคอน (Constans Phaulkon) หมอบอยู่เบื้องล่าง ชี้นิ้วบอกให้โชมงต์ชูพานขึ้นไป

เบื้องหลังโชมงต์คือพระอธิการ เดอ ชัวซีย์ ส่วนบาทหลวงอีกคนที่อยู่มุมขวาสุดคือบิชอปแห่งเมเตลโลโปลิส (Évêque de Métellopolis) ชื่อจริงว่า หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ผู้แทนพระองค์พระสันตปาปาและประมุขมิสซังแห่งสยาม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง