เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 48497 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ใน บุพเพสันนิวาส
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 09:58

เครดิตคลิป Arnon Jittanawiboon YouTube
วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรูปแบบวิดีทัศน์แบบจำลอง 3 มิติ
ผู้จัดทำ นายอานนท์ จิตนวิบูลย์ และนางสาวกมลชนก พรหมจู
โครงการการพัฒนาวิดีทัศน์แบบจำลอง 3 มิติ วัดไชยวัฒนาราม กรุงศรีอยุธยา
กรมศิลปากรที่ สาม และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 14:02

ย้อนกาลกลับไปเรื่องของกินจานเด็ดที่แม่การะเกดสำแดงฝีมือ ปรากฏว่ามีส่วนประกอบสำคัญเป็น พืชจากโลกใหม่(ทวีปอเมริกา) นั่นคือ พริก (ถ้าทำส้มตำก็จะมี "พืชใหม่" อื่นๆ ร่วมด้วย นั่นคือมะละกอ กับ มะเขือเทศ).....

 .....และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดีย และเอเชียอาคเนย์

พริกน่าจะเข้ามาสู่กรุงศรีฯ เร็วกว่านั้น

อ่านหนังสือ "พรรณพืช ในประวัติศาสตร์ไทย" ของ ดร.สุรีย์ ภูมิภมร แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมาอีกหลายส่วน

ดร.สุรีย์ ให้ข้อมูลว่า คนที่ทำให้พริกแพร่หลายในโลกคือ ปีเตอร์ มาร์ทิล ซึ่งเป็นลูกเรือของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา นั่นเอง โดย ปีเตอร์ มาร์ทิล ได้เอาพริกจากทวีปอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิด ไปปลูกที่สเปน เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๐๙๖ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิของกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาชาวสเปนและชาวโปรตุเกส ได้นำพริกเข้ามาเอเชีย โดยปลูกในอินเดียประมาณปี พ.ศ. ๒๑๔๓ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งราชวงศ์สุโขทัย ของกรุงศรีอยุธยา

อินเดียเป็นประเทศที่ร่ำรวยในวัฒนธรรมการกินได้ผลิตอาหารรสจัด และเป็นเจ้าตำรับเครื่องแกง พริกที่มีรสเผ็ดก็คงถูกปรับเข้าไปเป็นองค์ประกอบของอาหารเหล่านั้น และได้เผยแพร่วัฒนธรรมการกินไปยังผู้คนในประเทศใกล้เคียงในเวลาต่อมา

ดร.สุรีย์ บอกว่า ในปี พ.ศ. ๒๑๔๓ พริกจากอินเดียได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศจีนและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคงรวมถึงไทยด้วย

หลังทูตคณะแรกไปฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๒๔  เกศสุรางค์จึงมาเข้าร่างการะเกด (มีฉากหนึ่ง พระโหราธิบดีบอกข่าวว่าคณะทูตไทยที่ไปฝรั่งเศส เรือแตกเสียชีวิตทั้งหมด) ตีว่าสัก พ.ศ. ๒๒๒๕ ดังนั้นหากเชื่อข้อมูลของ ดร.สุรีย์ พริกเพิ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยาก่อนเกศสุรางค์มาไม่ถึงร้อยปี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 14:04

ส่วนมะละกอสมัยสมเด็จพระนารายณ์ก็มีรับประทานแล้ว

ตรงนี้ นิโกลาส์ แชร์แวส์ (คนที่เคยกินมะละกอ)
บอกว่าในสมัยพระนารายณ์ papaye เรียกว่า molokos




จาก Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam, divisee en quatre parties หน้า ๒๕

แชร์แวส์น่าจะเคยรับประทานมะละกอจริง เพราะบรรยายว่าเนื้อมีรสหวานกว่าเมลอน และเมล็ดกลมเหมือนเมล็ดพริกไทย และที่น่าเชื่อที่สุดก็ตรงชื่อ Molokos นี่แหละ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 10 มี.ค. 18, 20:40

ขออนุญาตให้ออชู เอ๊ย! นายชูมีโอกาสเรียนถามเรื่องถ้อยคำอีกสักครั้งเถิดครับทุกๆท่าน

   ก่อนอื่น ผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพู, ท่านอาจารย์เพ็ญชมพู และคุณ Koratian เป็นอย่างยิ่งครับ ที่เมตตาแจกแจงลักษณะการใช้คำ “จัก” และ “จะ” จนผมเข้าใจกระจ่าง

   ครานี้ก็มาถึงชื่อเมืองหลวงของเราแต่ก่อนแต่กี้บ้างหละครับ ผมได้ยินคำ “อโยธยา” จากละครบุพเพสันนิวาส สงกากินแหนงนักว่า ชาวกรุงเก่าแต่ครั้งโพ้นออกสำเนียงนามบ้านเมืองฉันใดแน่ หลักฐานที่ผมค้นเจอมีทั้ง “อยุธยา”, “อโยธยา” แหละ “อโยทธยา” (เข้าใจว่าน่าจะออกเสียง อะ-โยด-ทะ-ยา) ครับ

   “อยุธยา” พบในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (เวลาที่แต่ง อ้างแล้วในกระทู้ก่อนหน้า) ดังนี้

   “แลจึงเจ้าทองลันพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาได้ ๗ วัน จึงสมเด็จพระราเมศวรยกพลมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา แลท่านจึงให้พิฆาตเจ้าทองลันเสีย”

อีกแห่งก็โคลงบทแรกของกำสรวลสมุทรนั่นเองครับ สมัยที่แต่ง ยังเป็นประเด็นอภิปรายกันมาตราบถึงบัดนี้ หายุติลงได้ไม่
   “*อยุธยายศยิ่งฟ้า   ลงดิน แลฤๅ
อำนาจบุญเพรงพระ      ก่อเกื้อ
เจดีย์ลอออินทร      ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ      นอกโสรม” 
   “อโยธยา” พบในโคลงบทต้นๆแห่งลิลิตพระลอ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางวรรณคดียังไม่มีบทสรุปแน่นอนว่านิพนธ์ขึ้นช่วงระยะใดของกรุงศรีอยุธยา

“*บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง   โลกา
ระเรื่อยเกษมสุขพูน      ใช่น้อย
แสนสนุกศรีอโยธยา      ฤๅร่ำ ถึงเลย
ทุกประเทศชมค้อยค้อย      กล่าวอ้างเยินยอ”

   “อโยทธยา” พบในญวนพ่ายโคลงดั้น นักวิชาการอนุมานว่า น่าจะประพันธ์ขึ้นรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือหลังจากนั้นเพียงมินานไม่น่าจะเกินรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

   “ปางเทนคเรศเรื้อ   ยังกรุง
พระนครอโยทธยา      ยิ่งฟ้า
แถลงปางท่านผดุงเอา      รสราช
เวนพิภพไว้หล้า      เศกศรี”

   ครับ หลักฐานที่ผมคนความรู้น้อยหาเจอในสภาวะอันจำกัด ก็นำมาแสดงสิ้นแล้ว ทุกท่านโปรดวิสัชนาโอยวิทยาทานให้ผมด้วยเถิดครับ

ขอแสดงความนับถือ
นายชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ

หมายเหตุ:
๑.   โคลงกำสรวลสมุทร พิมพ์จากความทรงจำล้วนๆ ตัวสะกดอาจผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ ต้องขออภัยด้วยครับ

๒.   โคลงอ้างอิงในลิลิตพระลอ พิมพ์ตามเสียงอ่านของอาสาสมัคร มิอาจสอบเทียบจากหนังสือตัวอักษรซึ่งคนสายตาปรกติอ่านได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

๑.   พระราชพงศาวดารครั้งกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ จากเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ

http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8Cติ์

 
๒.   ลิลิตพระลอ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดพิมพ์ ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๔๗

๓.   ลิลิตญวนพ่าย จากเว็บไซต์ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ

http://vajirayana.org/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2
   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 07:49

ชื่อเมืองหลวงของเราแต่เก่าก่อน นอกจากที่คุณชูพงค์นำมาแสดงแล้ว ยังมีอีกหลายคำ เช่น ศรีโยธยา, ศรีโยทญา, ศรีอโยธยา, ศรีอยุทธยา และกรุงเทพพระมหานคร

ในหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร บันทึกไว้ว่า

ส่วนเมืองสยามนั้น ชาวสยามเรียกว่า ศรีโยธยา (Si-yo-thi-ya) และในคำว่า โย นั้น ต้องจีบปากออกเสียงยิ่งกว่าสระ au ของเรา ลางทีพวกเขาก็เรียกเมืองสยามว่า กรุงเทพพระมหานคร (Crung-thé -paprà-maha-nacôn)

จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6855.msg161478#msg161478

"ศรีอโยธยา" นั้นพบหลักฐานน้อยมาก ส่วนใหญ่พบเป็นศิลาจารึกในสมัยอยุทธยาตอนต้นหรือช่วงก่อนเสียงกรุง พ.ศ. ๒๑๑๒ เป็นหลัก แต่ในหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นเอกราชทางราชการเช่นสนธิสัญญา กฎหมาย พงศาวดาร ล้วนแต่สะกด "ศรีอยุทธยา" เป็นหลัก

แต่ก็น่าจะยังมีเรียก อโยธยา อยู่ประปรายบ้างเช่นวรรณกรรม แผนที่ของสมุดภาพไตรภูมิกรุงศรีอยุธยา หมายเลข ๖ ซึ่งประเมินว่าทำขึ้นราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองถึงสมเด็จพระนารายณ์ จะเรียกชื่อกรุงว่า "ศรีโยท่ญา" ใกล้เคียงกับที่ลาลูแบร์เรียกว่า Si-yo-thi-ya (น่าจะเป็น ศรีโยธิยา) ซึ่งในไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรีเปลี่ยนมาเรียกว่า "ศรีอยุทธยา" อย่างเอกสารอื่นๆ แต่ไม่ได้ปรากฏเรียกเป็นทางการ




จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6855.msg161523#msg161523
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 08:37

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูเป็นอเนกอนันต์ครับ ที่กรุณาอรรถาธิบายให้ผมฟัง ยังผลให้หูและดวงตาภายในของผมกว้างขวางขึ้น อีกทั้งผู้ที่เข้ามาอ่านท่านอื่นๆก็ได้ความรู้กลับไปด้วย นับเป็นหิตานุหิตประโยชน์ยิ่งนักครับ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 08:52

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีโขอยู่ คุณศรีสรรเพชญ์อธิบายไว้ใน "วิพากษ์ประวัติศาสตร์"

https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1067884189941717

เชิญเข้าไปอ่านเทอญ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 10:55

หลังทูตคณะแรกไปฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๒๒๔  เกศสุรางค์จึงมาเข้าร่างการะเกด (มีฉากหนึ่ง พระโหราธิบดีบอกข่าวว่าคณะทูตไทยที่ไปฝรั่งเศส เรือแตกเสียชีวิตทั้งหมด) ตีว่าสัก พ.ศ. ๒๒๒๕

เกศอาจมาเข้าร่างเกดเลทกว่านั้น

       สมเด็จพระนารายณ์เจ้าโปรดแต่งคณะทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปยังฝรั่งเศส โดยเรือออกเรือ
จากกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. ๑๖๘๐ (พ.ศ. ๒๒๒๓) จนระยะเวลาล่วงเลยมากว่า ๓ ปี ทางกรุงศรีอยุธยาก็ยังหา
ทราบกันไม่ว่า เรือที่พาราชทูตไปนั้นได้ไปอับปางแตกลงระหว่างทางเสียแล้ว

ที่ SIAM-FRANCE RELATIONS

https://sites.google.com/site/samfrancerelations/home/11-sub-khaw-khraw-khna-thut-thi-hay
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 16:45

สมเด็จพระนารายณ์เจ้าโปรดแต่งคณะทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปยังฝรั่งเศส โดยเรือออกเรือ
จากกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. ๑๖๘๐ (พ.ศ. ๒๒๒๓) จนระยะเวลาล่วงเลยมากว่า ๓ ปี ทางกรุงศรีอยุธยาก็ยังหา
ทราบกันไม่ว่า เรือที่พาราชทูตไปนั้นได้ไปอับปางแตกลงระหว่างทางเสียแล้ว

จำได้ว่าในหนังสือ คุณพี่ขุนบอกว่าแม่หญิงการะเกดมากรุงศรีอยุธยาก่อนคุณพี่จะร่วมคณะทูตไปฝรั่งเศสกับท่านโกษาปานเป็นเวลา ๓ ปี คุณพี่ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘ คำนวณแล้ว การะเกดหรือเกศสุรางค์จึงมากรุงศรีฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๕ หลังทูตคณะแรกไปฝรั่งเศสประมาณปีกว่า ๆ

การที่พระโหราธิบดี (หรือออกญาโหราธิบดีของคุณรอมแพง) ทราบว่าเรือทูตคณะแรกแตก* อาจถือได้ว่าเป็นอภิสิทธิ์ของนักเขียนอย่างหนึ่งโดยซ่อนเหตุผลให้ผู้อ่านตีความเอง ที่นึกออกอาจเป็นความสามารถเฉพาะตัวของท่าน

อย่าลืมว่าพระโหราธิบดีท่านเป็นโหร   ยิงฟันยิ้ม

*ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทูตคณะแรกที่หายสาบสูญ คุณศรีสรรเพชญ์ได้เล่าไว้ใน "วิพากษ์ประวัติศาสตร์" เช่นกัน

https://facebook.com/WipakHistory/posts/1698563343540462
บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 12 มี.ค. 18, 14:00

หลังจากดูซีรี่ย์เกาหลีจนกินผักดองกับหมูย่างเกาหลีมาเนิ่นนาน คราวนี้แหละเกาหลีต้องดูหมูกะทะกับมะม่วงน้ำปลาหวานของเราบ้างแล้ว  ยิงฟันยิ้ม



https://pantip.com/topic/37451539
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 12 มี.ค. 18, 18:17

จำได้ว่าในหนังสือ คุณพี่ขุนบอกว่าแม่หญิงการะเกดมากรุงศรีอยุธยาก่อนคุณพี่จะร่วมคณะทูตไปฝรั่งเศสกับท่านโกษาปานเป็นเวลา ๓ ปี

เพิ่งเอาหนังสือมาอ่านอีกที (พิมพ์ครั้งที่ ๓๔ หน้า ๓๕๑)  แท้จริงเรื่องเวลา ๓ ปี อยู่ในคำบรรยายของคุณรอมแพง แสดงความรู้สึกของคุณพี่ขุนที่มีต่อแม่หญิงการะเกด-เกศสุรางค์ก่อนจะเดินทางไปฝรั่งเศส ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 13 มี.ค. 18, 15:22

ย้อนกลับไปตอนที่ ๓/๕ ในฉากงานบุญบ้านท่านโกษาเหล็ก หากสังเกตที่เอวจะเห็นท่านเจ้าของเรือน ท่านโกษาปาน และหมื่นเรืองเหน็บกริชเอาไว้ที่เอว

เรื่องนี้มีบันทึกไว้ในหนังสือของลาลูแบร์ คุณสันต์ ท. โกมลบุตร แปลไว้ว่า

ส่วนมีดที่เขาเรียกว่า เหน็บ (Pen) * นั้น ใช้กันทั้งบ้านทั้งเมืองและไม่ถือว่าเป็นสาตราวุธ แม้จะใช้เป็นอาวุธได้เมื่อคราวจำเป็น ใบมีดนั้นกว้าง ๓ หรือ ๔ นิ้ว ยาวราว ๑ ฟุต. พระมหากษัตริย์พระราชทานดาบและมีดพกให้แก่ขุนนาง ขุนนางสยามเหน็บมีดพกไว้ที่เอวเบื้องซ้าย คล้อยมาข้างหน้าเล็กน้อย. ชาวปอรตุเกศเรียกมีดชนิดนี้ว่า คริสต์ (Christ) เป็นคำที่เลือนมาจาก กริช (Crid) ซึ่งชาวสยามใช้พกนั่นเอง.  คำ ๆ นี้ยืมมาจากภาษามลายา เป็นที่นิยมกันตลอดทั่วภาคบูรพทิศ และกริชที่ทำมาจากเมืองอะแจ (Achem) ในเกาะสุมาตรานั้น นับว่าเป็นเยี่ยมกว่าที่อื่น ๆ. 

* ในต้นฉบับพิมพ์ไว้ว่า Pen ดังนี้ ซึ่งออกเสียงได้ว่าเป็น เพน ผู้แปลได้พยายามค้นหาชื่อมีดที่ใกล้เคียงกับเสียงนี้แล้ว ไม่พบ จึงสงสัยว่าน่าจะเขียนผิดโดยสลับอักษรกลับหน้ากลับหลังกันไป ที่จริงควรจะเป็น Nep มากกว่า เพราะได้สำเนียงตรงกับคำว่า "เหน็บ" เราจะพบคำ ๆ เดียวกันนี้อีกในภาคที่สองของจดหมายเหตุนี้.


จาก  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4734.msg92966#msg92966


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 13 มี.ค. 18, 15:45

เมื่อคณะราชทูตไทยอันประกอบด้วย ออกพระวิสุทสุนทร ราชทูต  ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต และออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระราชสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙

ทุกท่านเหน็บกริชที่เอวโดยพร้อมหน้าเช่นกัน
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 13 มี.ค. 18, 16:19

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ กริชถือเป็นเครืองยศ เหน็บกันตั้งแต่ขุนนาง จนถึงพระราชวงศ์และองค์พระมหากษัตริย์

มีหลักฐานว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงฉลองพระองค์อย่างอิหร่าน และคาดกริชอย่างอิหร่าน ดังที่จดหมายเหตุ “สำเภาสุลัยมาน” ของราชทูตชาวเปอร์เซียที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุทธยาใน พ.ศ. ๒๒๒๙ ระบุว่า

“พระองค์ทรงเริ่มสวมเสื้อผ้าแบบอิหร่าน คือเสื้อคลุมตัวยาวมีลวดลายปัก สนับเพลา เสื้อเชิร์ต รองพระบาทและถุงพระบาท เมื่อข้าราชบริพารของพระองค์ทูลถามว่าพระองค์ประสงค์จะเหน็บอาวุธชนิดไหน ก็จะตรัสตอบว่า ‘อาวุธที่คนเราเหน็บควรต้องสอดคล้องกับบรรดาศักดิ์ของเขาสิ แลข้าพบว่ากริชแบบอิหร่านเท่านั้นจึงจะคู่ควรกับสะเอวของข้า’ แต่ทรงปฏิเสธจะสวมผ้าโพกเศียรเพราะน้ำหนักของมัน”

สอดคล้องกับรายงานของ อ็องเดร เดอล็องส์-บูโร (André Deslandes-Boureau) ผู้แทนราชบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสซึ่งได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ใน พ.ศ. ๒๒๒๓ ได้กล่าวถึงการทรงเครื่องของสมเด็จพระนารายณ์ไว้ว่า

“ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงมาจากเมืองเปอเซียมีดอกทองประปรายรูปคล้ายเสื้อแยกเก๊ต แขนเหมือนแขนเสื้อยาว ที่บาดหลวงใส่แต่ไม่มีลูกกระดุม แลยังทรงฉลองพระองค์ชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำด้วยผ้ามาจากเมืองเบงกอลเปนผ้าบางโปร่ง มีลายคล้ายลูกไม้ตามตะเข็บ ข้างซ้ายทรงเหน็บกฤชด้ามทองคำฝังพลอย แลมีพระแสงดาบยี่ปุ่นฝังพลอยวางลงบนพระเพลา พระองคุลีสวมพระธำมรงค์ประดับพลอยเมล็ดใหญ่ ๆ หลายสีหลายชนิด”

สำหรับกริชเปอร์เซียของสมเด็จพระนารายณ์ น่าจะมีลักษณะเป็นมีดสั้นโค้งสองคมที่เรียกว่า “คันจาร์ (Khanjar)” ซึ่งนิยมใช้โดยแพร่หลายในโลกมุสลิมตะวันตกทั้งเปอร์เซีย ออตโตมัน มาถึงอินเดียมากกว่ากริชอย่างมลายู มีดชนิดนี้ในภาษาไทยเรียกว่า “กั้นหยั่น” ซึ่งพบหลักฐานว่าเป็นหนึ่งในเครื่องต้นที่พระมหากษัตริย์สมัยอยุทธยาตอนปลายทรงเมื่อเสด็จออกแขกเมือง

วัฒนธรรมการคาดกริชรุ่งเรืองอยู่จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะเลือนหายไป คงเหลือแพร่หลายอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ข้อมูลจาก "วิพากษ์ประวัติศาสตร์" ของคุณศรีสรรเพชญ์

https://facebook.com/WipakHistory/posts/1700630716667058
บันทึกการเข้า
Pat
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 13 มี.ค. 18, 21:18

ผ้าสมปัก

เป็นเสมอเหมือนเครื่องยศเฉกเช่นสมัยนี้ใช่ไหมคะ
อย่างนี้ ผ้าสมปักก็คงมีหลายแบบลาย หมายถึงแบ่งแยกเป็นหลายแบบตามตำแหน่งยศใช่ไหมคะ

ถ้าใช่
แล้วถ้าได้อวยยศ เลื่อนยศสูงขึ้น ต้องนำผ้าสมปักประจำตำแหน่งเดิมคืนราชสำนักไหมคะ


ยังรอท่านอาจารย์เฉลยคำตอบอยู่นะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง