เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 21 ก.พ. 18, 19:46
|
|
ในการทำสัญญา มีข้อหนึ่งระบุว่า "เพื่อประโยชน์แห่งการนำเอางานวรรณกรรมตามสัญญาไปสร้างเป็นวัสดุแพร่ภาพ ตามความประสงค์ของ"ผู้รับอนุญาต" " มีสิทธิ์ในการแก้ไขดัดแปลงรายละเอียดแห่งเนื้อเรื่องให้ผิดแผกไปจากบทประพันธ์ได้ แต่การแก้ไขและดัดแปลงเนื้อเรื่องต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องเดิมหรือเค้าโครงเรื่องเดิม และจุดประสงค์ของงาน วรรณกรรมเปลี่ยนแปลงไป ดิฉันเห็นว่าการแก้ไข เรือนมยุรา ให้เป็น "ศรีอโยธยา ฉบับดัดแปลงจากเรือนมยุรา" ทำให้เนื้อเรื่องเดิม เค้าโครงเรื่องเดิม และจุดประสงค์ของงานวรรณกรรม เปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว จึงติดต่อขอเข้าพบผู้บริหารของ True4u แจ้งให้ทราบว่าดิฉันไม่เห็นด้วย และไม่อนุญาตให้ทำละครในลักษณะนี้ คือ ถ้าจะทำ "เรือนมยุรา" ก็ทำ "เรือนมยุรา" จะทำ "ศรีอโยธยา" ก็ทำ "ศรีอโยธยา" เพราะทั้งสองเรื่องเป็นคนละแนว ไม่สามารถผสมผสานกันได้ ดิฉันได้รับคำตอบจากคุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา ว่า ทรูไม่มีโครงการจะทำ "เรือนมยุรา" ในระยะ 2-3 ปีนี้ แต่จะทำ"ศรีอโยธยา" ในเมื่อได้คำตอบ ดิฉันก็ลากลับ ด้วยความเข้าใจว่า เมื่อรู้แล้วว่าเจ้าของบทประพันธ์ไม่อนุญาตให้ออกมาเป็นอย่างนี้ ศรีอโยธยาก็จะได้รับการแก้ไข ให้เป็นละครประวัติศาสตร์เทิดพระเกียรติ โดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ "เรือนมยุรา" อีก ต่อมาเมื่อละครออกอากาศ จึงพบว่า ตัวละครเอกหลายตัวในไฟล์ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่บทบาทเดิมยังคงอยู่ และไม่มีคำว่า ดัดแปลงจากเรือนมยุรา หรือ The Lost Mansion แต่เรื่องจะดำเนินต่อไปอย่างไร ดิฉันยังไม่ทราบ เพราะละครจบแค่ภาคแรกเท่านั้น ดิฉันส่งอีเมลผ่านผู้บริหารอีกท่านหนึ่งไปให้หม่อมน้อย ให้ติดต่อกลับมาที่เบอร์โทร.ของดิฉัน เพื่อจะสอบถามถึงการดำเนินเรื่องว่าแก้ไขหรือยัง ก็ยังไม่ได้รับการติดต่อจนบัดนี้
ก็ขอชี้แจงความเป็นมาแต่เพียงนี้ค่ะ ถ้าใครมีคำถามอะไรก็เชิญถามได้เลยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 21 ก.พ. 18, 20:20
|
|
มองจากสายตาคนดู ละครเรื่องศรีอโยธยา แยกโครงเรื่อง (plot) ได้ออกเป็น 3 โครงใหญ่ด้วยกัน 1 เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา มีศูนย์กลางอยู่ที่รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ 2 เหตุการณ์ในชีวิตตัวละครสมัยอยุธยา 3 เหตุการณ์ในชีวิตตัวละครปัจจุบัน ทั้ง 3 ข้อยังมีพล็อตย่อยลงไปอีกมาก เช่น ข้อ 1 รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศ มีพล็อตย่อยคือ 1.1 ศึกพม่า 1.2 ความยุ่งยากในราชสำนัก เช่นการทำเสน่ห์ 1.3 ความชิงดีชิงเด่นไม่ถูกกันระหว่างขุนนางฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ข้อ 2 มีพล็อตย่อย 2.1 ชีวิตของขุนนางหนุ่ม 3 คนคือพระยาตาก หลวงยกกระบัตรทองด้วง และพระอุทุมพรบริบาลบุนนาค 2.2 มิตรภาพของเจ้าฟ้าสุทัศและพระพิมานหัวหน้ามหาดเล็ก 2.3 ความรักของบุษบาบรรณกับพระพิมาน 2.4 ความรักของเจ้าฟ้าสุท้ศที่มีต่อบุษบาบรรณ 2.5 ความรักที่เจ้าฟ้ารุจจาเทวีมีต่อพระพิมาน ข้อ 2.2-2.5 นำไปสู่ 2.6 รักสี่เส้าระหว่างเจ้าฟ้าสุทัศ เจ้าฟ้ารุจจาเทวี พระพิมานและบุษบาบรรณ
ยังไม่ได้พูดถึงพล็อตที่ 3 ด้วยซ้ำ พอแยกแยะออกมาเป็นข้อๆ ก็ทำให้พอดูออกว่าเมื่อต้องดำเนินเรื่อง พันเกลียวพล็อตทั้งหมดเข้าด้วยกัน สโคปของละครจะกว้างและยุ่งยากมาก แค่ตัดต่อพล็อตย่อยแต่ละเรื่องให้ดำเนินควบตู่ไปด้วยกัน ไม่ทิ้งส่วนใดส่วนหนึ่งไปนานๆก็เป็นเรืองยากมากทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
superboy
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 21 ก.พ. 18, 21:43
|
|
อ่านแล้วเครียดแทน มีแค่ชื่อที่ถูกดึงมาใช้ ดัดแปลงตรงไหนเนี่ย  นิยายเรื่องหนึ่งไม่ใช่เขียน 3 วันเสร็จ ยิ่งเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยิ่งเหนื่อยขึ้นไปอีก มาเจอพระกำนัลนารีสังข์เข้าไปนี่ !@#$%^&*()_+ ช่วงนี้อารมณ์ไม่ดีเหมือนหน้าตา อาจแรงไปนิดขออภัยนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
katathorn
อสุรผัด

ตอบ: 11
"ไปกับอนาคตได้ต้องไม่ลืมอดีต"
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 22 ก.พ. 18, 09:25
|
|
ดิฉันก็ไม่อยากจะได้ชื่อว่ามีส่วนร่วมในการทำสิ่งใดให้เสียหายถึงพระอิสริยยศของเจ้านายจริงๆ เกรงว่าจะไม่เป็นมงคลกับตัวเอง ใครไม่เชื่อเรื่องพรรค์นี้ ดิฉันเชื่อค่ะ ทุกวันนี้ผมว่าผลกรรมก็เริ่มๆจะตามทันแล้วล่ะครับ ผมไม่เคยเห็นภาพยนต์หรือละครเรื่องไหนถูกวิพากษ์ได้รุนแรงขนาดนี้มาก่อนเลยครับ  จริงๆมีอีกมากครับ แต่เอาแต่เพียงเท่านี้ก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ภริยา ปรมา สขา ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 22 ก.พ. 18, 10:58
|
|
ขอบคุณค่ะคุณคทาธร ถ้าเจออีกกรุณานำมาลงเพื่อประกอบกระทู้ด้วยนะคะ
เนื้อหาของสามอาณาจักรที่ต่อเนื่องกัน คืออยุธยา(ตอนปลาย) ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ เป็นเนื้อหาที่ยิ่งใหญ่และยืดยาวพอจะทำซีรี่ส์ได้หลายสิบตอน ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องใส่ "เรือนมยุรา" เข้าไป โดยเฉพาะเมื่อเจ้าของบทประพันธ์เขาไม่ยินยอม ดิฉันก็เลยไม่เข้าใจว่า ในเนื้อหา แทรกเรือนมยุราเข้าไปทำไม มีฉากให้นกยูงซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบุษบาบรรณครอบครองเรือนข้ามกาลเวลาตั้งแต่อยุธยาตอนปลายมาถึงยุคปัจจุบัน มีบางตอนแสดงให้เห็นว่าเธอเปิดเรือนออกมาสู่โลกภายนอกเป็นครั้งคราว นี่คือเนื้อหาของเรือนมยุรา ที่เป็นคนละพล็อตกับเนื้อหาศึกพม่าและเนื้อหากลับชาติมาเกิด องค์ประกอบอย่างอื่นจากเรือนมยุรา ยังมีให้เห็นอีก คือมีเด็กหัวจุกอยู่ในเรือน เปลี่ยนชื่อจากส้มฉุนในนวิยาย เป็นทองหยิบ เปลี่ยนบทจากเด็กรับใช้มาเป็นหลานของนางเอก แต่ฉากที่ทองหยิบออกมาสู่โลกภายนอก มาพบตัวละครในยุคปัจจุบัน ได้กินลูกอมซึ่งไม่มีในสมัยอยุธยา ทั้งหมดนี้เป็นฉากในเรือนมยุรา ที่หม่อมน้อยไม่ได้ลบออกไป ทั้งๆดิฉันคิดว่าไม่จำเป็นกับเนื้อเรื่อง เพราะผู้เขียนบทละคร เขียนพล็อตให้ตัวละครกลับชาติมาเกิดกันแบบยกทีม เหตุไฉนจึงปล่อยให้นางเอกและเด็กชายทองหยิบตกสำรวจอยู่แค่ 2 คน แล้วนางเอกกับทองหยิบเป็นผีหรือเป็นคน ทำไมหายตัวได้ ทำไมมีฤทธิ์ ทำไมรู้เรื่องราวของโลกภายนอก ก็ไม่มีการเฉลย พล็อตที่ซ้อนกันหลายพล็อต ไม่ได้เชื่อมต่อกันได้สนิท ทำให้ติดตามเรื่องได้ยาก สับสนอลหม่าน จากยุคอดีตมายุคปัจจุบัน จากพล็อตประวัติศาสตรมาพล็อตชิงรักหักสวาท และยังพล็อตกลับชาติมาเกิด แทรกเข้ามาอีก ไม่รวมพล็อตเรือนมยุราซึ่งไม่ได้เข้ากับพล็อตอื่นๆอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 22 ก.พ. 18, 11:21
|
|
หากตัดพล็อต "เรือนมยุรา" และฉากปัจจุบันออก เดินเรื่องให้กระชับและถูกต้องตามราชประเพณี "ศรีอโยธยา" น่าจะสามารถเดินเรื่องจากอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ได้ภายใน ๒๐ ตอน พร้อมกับได้รับคำชมเชย เสียดายงบประมาณในการสร้าง และเสียดายเวลาในการเฝ้าชม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 22 ก.พ. 18, 11:39
|
|
คิดตรงกับคุณเพ็ญชมพูค่ะ ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ดราม่าเข้มข้น สมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว เสียดายอีกข้อคือ ได้ดาราเด่นๆอย่างศรราม อย่างตุ้ยธีรภัทร มารับบทบุคคลสำคัญในอดีต ทั้งสองคนมีฝีมือในการแสดงมายาวนาน น่าจะได้โชว์ฝีมือ แต่กลับมีบทออกมาให้เห็นน้อยมาก คนดูยังไม่ทันเห็นคุณสมบัติที่เด่นของพระยาตากและหลวงยกกระบัตรราชบุรี มีแต่บทเข้าเฝ้าบ้าง บทเดินชมซ่องโคมเขียวบ้าง บทประจำอยู่บนเชิงเทินคุยกันไปมาบ้าง ไม่ได้ชี้ให้เห็นเลยว่าสองท่านนี้ก้าวจากขุนนางหนุ่มขึ้นสู่ความเป็นมหาราชได้อย่างไร ที่น่าสังเกตอีกอย่างคือบทกลับไปเน้นความสำคัญที่ฮัท ทั้งๆบทวายุที่เขาเล่นก็เป็นบทลอยๆ ไม่มีอะไรเด่น เราก็ได้เห็นวายุแด๊นซ์ถ่ายทำมิวสิควิดีโอบ้าง ขับรถสปอร์ตบ้าง อาบน้ำบ้าง ถอดเสื้อโชว์หุ่นบ้าง เดินสำรวจที่รกร้างมีแต่ซากศาลพระภูมิก็กินเวลาเข้าไปหนึ่งตอน แถมตอนท้ายๆก่อนจบยังมีบทถูกหึงริมสระว่ายน้ำ ผู้หญิงตบตีกันตกน้ำ ราวกับตลกหนังไทยเมื่อ 50 ปีก่อน นอกจากบทวายุมาถึงบทเจ้าฟ้าสุทัศซึ่งเป็นคู่ชิงนางเอกจากพระเอก โดยการผูกพล็อต สามารถทำให้ดราม่าได้มาก แต่พอนำเสนอ ฮัทแทบไม่มีบทประกบคู่กับแพนเค้ก มีแต่บทประกบคู่กับอนันดาไม่รู้ว่ากี่ฉากต่อกี่ฉาก จนบางทีดูแล้วไม่รู้ว่าเจ้าฟ้าสุทัศรักเพื่อนหรือรักผู้หญิงกันแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 22 ก.พ. 18, 21:18
|
|
ประวัติศาสตร์ช่วงอยุธยาตอนปลาย เรื่อยมาจนถึงธนบุรีและรัตนโกสินทร์เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการทำละครประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า สายโลหิต ฟ้าใหม่ พิษสวาท นิราศสองภพ ล้วนแต่หยิบช่วงเวลาที่ว่ามาเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดนี้มีเส้นเรื่อง (story line) แตกต่างกันไปคนละแบบ เส้นเรื่องที่ว่านี้คือหยิบยกชีวิตผู้คนและประเด็นในเรื่องตามแนวถนัดของผู้ประพันธ์ ถ้าหากว่าศรีอโยธยาจะทำอีก ก็ต้องเลือกเส้นเรื่องที่ไม่ไปซ้ำกับละครเรื่องก่อนๆ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ดิฉันพิจารณาจากไฟล์ที่ส่งมาให้ คิดว่าผู้เขียนบทมี story line ของตัวเองอยู่แล้ว ลองแกะรอยเส้นเรื่องดูก็ได้คำตอบมาว่า เหตุการณ์ตอนปลายอยุธยาโฟกัสไปที่มหาดเล็กหนุ่มซึ่งรักอยู่กับนางละครในราชสำนักพระเจ้าเอกทัศ แต่นางละครก็เป็นที่หมายปองของเจ้าชายพระราชโอรส ส่วนพระเอกก็ถูกหมายปองจากเจ้าหญิงพระราชธิดา เมื่อเกิดศึกครั้งสุดท้าย ทั้งมหาดเล็ก เจ้าชายและเจ้าหญิงตายกันหมด แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นคนยุคปัจจุบัน มหาดเล็กเป็นนักโบราณคดี เจ้าชายมาเกิดเป็นดารานักร้องคนดัง เจ้าหญิงมาเกิดเป็นสาวไฮโซ ส่วนนางละครซึ่งควรจะมาเกิดใหม่ให้ครบชุด กลับไม่ได้เกิด ยังคงอยู่เฝ้าอดีตในที่อยู่เดิมเมื่อพ.ศ. 2310 ส่วนจะเป็นผีหรือเป็นคน ละครก็ยังบอกได้ไม่เคลียร์ ดูๆว่าเรื่องคงจะดำเนินไปซ้ำรอยกับชาติก่อน คือเจ้าหญิงเมื่อชาติก่อนก็ยังคงตามมาหลงรักพระเอกในชาตินี้ แล้วก็คงผิดหวังอีกเป็นชาติที่สอง เพราะละครปูพื้นให้เห็นว่านักโบราณคดีแสดงความไม่แยแสเธอจนออกนอกหน้า ส่วนเจ้าชายที่ชาติใหม่เป็นนักร้องดังก็คงจะได้พบนางละครแล้วหลงรักเช่นเดิม แล้วก็ไม่สมหวังเช่นเดิม พระเอกนางเอกจะสมหวังกันไหม ยังดูไม่ออก เพราะถ้านางเอกไม่ใช่คนก็คงลงเอยกันไม่ได้ ถ้านางเอกเป็นคนก็คงแฮปปี้เอนดิ้งกันไม่ยาก ที่จริง ถ้าไม่กำหนดบทบาทนางละครให้เป็นนางเอกในเรือนมยุรา แต่เปลี่ยนให้เธอกลับชาติมาเกิดใหม่ ก็คงจะลงตัวพอดี ไหนๆ ตัวอื่นก็กลับชาติมาเกิดกันหมดแล้ว เจ้าของเรื่องเรือนมยุราได้ไม่ต้องเสียเวลามาตั้งกระทู้ในเรือนไทยว่า ในเมื่อไม่อนุญาตแล้ว ยังเอาเนื้อเรื่องส่วนนี้ไว้ในละครด้วยเหตุใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 11:35
|
|
ส่วนตัวของผมนะครับ ผมติดตามข่าวเรื่องการสร้างละครเรื่องศรีอโยธยานี้อยู่ จึงพอจะทราบเรื่องการดัดแปลงเรือนมยุราอยู่บ้างแล้ว ในตอนแรก ผมเข้าใจเอาเองว่า ผู้สร้างศรีอโยธยา อยากใส่เรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของตัวละครต่างๆ ในเรือนมยุราให้มากขึ้น (คล้ายๆกับผู้ที่ได้ชมสตาร์วอร์ แล้วอยากรู้ว่า ดาร์ธ เวเดอร์ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร การเขียนเรื่อเรื่องส่วนนี้เพิ่มเติมจึงส่งผลทำให้เนื้อเรื่องของสตาร์วอร์ขยายออกไปอีก)
ครั้นพอทราบว่า เจ้าของเรือนมยุรา ไม่อนุญาตให้ดำเนินการต่อ ผมก็เดาว่า การขยายความนี้คงจะมากเกินกว่าจะเรียกว่าเป็นเรื่อง เรือนมยุราได้ เพราะผู้สร้างศรีอโยธยาได้นำเนื้อหาส่วนอื่นๆ มาห่อหุ้มโครงเรื่องเดิมจนทำให้ประเด็นเรื่องความรักของหญิงสาวยุคปลายอยุธยากับหนุ่มยุคปัจจุบัน กลายเป็นเพียงประเด็นเล็กๆ เมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆ เช่น บุคลิกของพระเจ้าเอกทัศน์ พระปรีชาสามารถของพระเจ้าตาก ความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าตาก รัชกาลที่ 1 และนายบุนนาค เรื่องมุมมองใหม่ที่มีต่อพระมหากษัตริย์พม่า สาเหตุของการเสียกรุง เหตุการณ์ปลายยุคกรุงธนบุรี เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ ทำให้ละครเรื่องนี้ ไม่ควรชื่อว่า “เรือนมยุรา” อีกต่อไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 11:40
|
|
เมื่อได้ทราบว่า ละครเปลี่ยนชื่อ ในตอนนั้น ผมเข้าใจว่า เนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับ “เรือน” น่าจะหายไปทั้งหมดด้วย ไม่มีเรือนและผู้คนที่ถูกซ่อนอยู่ในมิติเวลาอีกแล้ว ในตอนแรกที่เปิดตัวบุษบาบรรณ ที่หอประชุมครุสภา ผมยังเข้าใจว่าเธอเป็นวิญญาณที่พยายามจะมาบอกเล่า “เรื่องจริง” ของเหตุการณ์คราวเสียกรุงให้คนรุ่นหลังฟัง ว่าที่ "ถูกต้อง" แล้ว อยุธยาไม่เคยเสื่อม พระเจ้าเอกทัศน์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีและไม่เป็นอย่างที่คนรุ่นหลังไปตำหนิท่านไว้ และพระเจ้าตากไม่ได้ทิ้งหน้าที่หนีออกไปโดยพลการ และอื่นๆ อีกหลายประการที่คนรุ่นหลังเข้าใจผิด (ข้อเท็จจริงที่นำเสนอในละคร อาจมาจากข้อมูลประวัติศาสตร์สายรอง บางเรื่องเกิดจากการตีความเองของผู้สร้าง เรื่องราวอาจจะดำเนินไปไม่ตรงกับประวัติศาสตร์สายหลัก แต่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเทิดพระเกียรติบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า)
ผมพยายามเดาต่อไปอีกว่า วิญญาณบุษบาบรรณอาจมีข้อจำกัดบางประการ ทำให้ไม่อาจปรากฎตัวให้คนทั้วไปเห็นได้ ต้องเป็นคนที่มีกรรมผูกพันเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เธอถึงต้องรอให้คนที่เธอเคยรู้จักในยุคนั้นกลับชาติมาเกิดอีกครั้ง ถึงจะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังได้ เรื่องราวจึงน่าติดตามต่อไปว่า เมื่อคนสมัยใหม่ได้ทราบเรื่องจริงแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นตามมา อาจลงท้ายว่า ความจริงสุดท้ายที่พิมานได้รับทราบจากวิญญาณบุษบาบรรณก็คือ ศพนางอยู่ที่ใด ตัวละครยุคปัจจุบัน ไปทำกระดูกของนางขึ้นมาทำพิธีทางศาสนาแล้วเธอก็จากไป แต่ความจริงเกี่ยวกับราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่บรรยง จะไม่สูญไปอีกแล้ว อะไรยังงี้ก็ได้มังครับ
อันนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 11:51
|
|
แต่พอละครออกมาจริงๆ ปรากฎว่า เรือนยังอยู่ รักสาม-สี่เส้า ยังอยู่ เรื่องราวต่างๆ อยู่ในประเด็นการตามหาคนรัก ถ้าจะบอกว่า การที่พิมานกับบุษบาบรรณจะรักกันได้ พิมานต้องจำอดีตได้เสียก่อน เพราะฉะนั้น เรื่องราวจึงต้องพยายามพาพิมาน ย้อนอดีต ไปเห็นความรุ่งเรืองของอยุธยาตอนปลายเสียก่อน
ถ้าเป็นอย่างนี้ เรื่องราวในอดีต ก็คือ ความทรงจำของพิมาน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ สิ่งที่ปรากฎออกมา ก็ต้องเป็นสิ่งที่พิมานเคยเห็น เช่น เช่น พระเจ้าเอกทัศน์มีบุคลิกเช่นใด พระเจ้าเอกทัศน์ กับพระเจ้าอุทุทพร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรือเรื่องเรื่องอยุธยารบกับพระเจ้าอลองพญาด้วยกลศึกใด เป็นต้น (แม้ว่าจริงๆ เรื่องพวกนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรักของเขากับบุษบาบรรณเลยก็ตาม)
แต่เรื่องบางเรื่อง เช่น เรื่องเจ้าฟ้ากุ้งและเจ้าฟ้าสังวาลย์ พิมานน่าจะไม่ทันได้เห็น เหตุการณ์บางเหตุการณ์ เกิดขึ้นลับหลังพิมาน เช่น เรื่องที่สิน ทองด้วง และบุนนาค ไปเที่ยวหอโคมแดง เรื่องนี้พระมิมานในเวลานั้น ก็มิได้อยู่ด้วย แล้วภาพในละครที่ผู้ชมเห็น เป็นภาพอะไร มาจากไหน ใครเอามาเล่า
ต่อให้ผมไม่สนใจเรื่องความถูกต้องในเชิงประวัติศาสตร์ ผมก็ยังรู้สึกว่า ละครเรื่องนี้ เขียนบทไม่ดีอยู่ดีแหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 13:25
|
|
ขอบคุณค่ะคุณนริศ ดิฉันรู้สึกว่าเส้นเรื่องหรือ story line ในความเข้าใจของคุณ เข้าท่ามากทีเดียว ถ้าหากว่าละครสร้างเส้นเรื่องตามนี้ก็จะทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างมีเป้าหมาย มีขอบเขต มีต้นมีปลาย และไม่เกี่ยวกับเรือนมยุรา ไม่จำเป็นต้องเอาตัวเรือนในมิติเวลาและเด็กทองหยิบเข้ามาแทรกในสองยุค ให้งงกันไปเปล่าๆ
ถ้าสิ่งที่บุษบาบรรณเล่าให้พิมานฟัง มีเป้าหมายอย่างที่คุณว่า ผู้เขียนบทก็ควรจะรู้ว่าควรเน้นที่เหตุการณ์ไหน จุดไหน และตัวละครใดบ้าง ถ้าจะสร้างให้เห็นว่าพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ดี เหตุการณ์เจ้าจอมแขถวายตัวและทำเสน่ห์ก็ตัดออกไปดีกว่า การโยนความผิดว่าการเสียกรุงเกิดจากพระเจ้าแผ่นดินถูกเสน่ห์มนต์ดำ ไม่เป็นการเฉลิมพระเกียรติตรงไหนเลย นอกจากนี้บทบาทของขุนนางหนุ่มๆคนรุ่นใหม่ของอยุธยาอย่างท่านสิน ท่านทองด้วง ท่านบุนนาคก็ควรจะได้รับการเน้นไปที่ฝีมือและความเฉลียวฉลาด เพื่อปูพื้นความเป็นมหาราชของทั้งสองท่าน และอีกท่านก็เจริญขึ้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่ของรัตนโกสินทร์ เท่าที่ดูมา ก็ไม่รู้สึกว่าผู้เขียนบทคิดแบบนี้ค่ะ เนื้อหากว้างหลายทิศทาง ตัวละครบางตัวออกมาบ่อยแต่บทมีน้ำหนักน้อยต่อการดำเนินเรื่อง เช่นบทวายุในปัจจุบันและเจ้าฟ้าสุทัศในอดีต บทนางกำนัลสังข์ก็บ่อยกว่าบทพระยาตากและหลวงยกกระบัตรเสียอีก การให้เหตุผลในเรื่องก็ไม่ค่อยจะสมดุลย์กันนักในตัวเอง เช่นฉากบุษบาบรรณโกรธแม่ลูกจันทน์สาวใช้ที่เอาเพลงยาวของผู้ชายมาส่งให้ ดุว่าไปเสียหลายคำว่าทำสิ่งไม่สมควร ผิดกฎในวัง จะถูกเฆี่ยนหลังลาย แต่พอรู้ว่าเป็นของพระพิมานก็ยิ้มแป้นรีบเปิดออกอ่าน แสดงว่าที่ดุไปเมื่อครู่ก่อนไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 15:12
|
|
เห็นด้วยกับคุณ Naris ค่ะ ทีแรกดิฉันคิดว่าบุษบาบรรณเป็นผี วิญญาน เทพธิดาอะไรทำนองนี้ ถึงได้ปรากฏตัวแบบแวบไปแวบมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 21:26
|
|
เรื่องความถูกต้องของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ก็เรื่องหนึ่ง เรื่องความอ่อนของบทก็เรื่องหนึ่ง ว่ากันไปครับ
แต่นี่จะเป็นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าครับ ถ้าใช่ก็เรื่องใหญ่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 23 ก.พ. 18, 21:59
|
|
เรื่องใหญ่ค่ะ ถ้าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์จริง ในเมื่อละครยังไม่จบ จะตัดสินว่าเหมือนเรือนมยุรามากน้อยแค่ไหน ก็ยังยากอยู่ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|