เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 77
  พิมพ์  
อ่าน: 83344 ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:03

ของแถมจากกิมย้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 15:08

กาลเวลาจากยุค 1970s ถึง 2018  ทำร้ายเธอไม่ได้เอาจริงๆ
อายุห่างจากญาญ่าราว 40 ปีเท่านั้นเอง

๒๒ - ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๘)

ภาพจาก https://www.sanook.com/news/1764317/

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 03 พ.ย. 18, 12:56

จาก ฟบ. วินทร์ เลียววาริณ (1)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 03 พ.ย. 18, 12:57

จาก ฟบ. วินทร์ เลียววาริณ (2)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 03 พ.ย. 18, 14:23

"มังกรหยก" แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก

ตำนานความรักระหว่าง ก๊วยเจ๋ง และ อึ้งย้ง คู่พระนางจาก มังกรหยก ซึ่งครองใจนักอ่านทั่วเอเชีย ส่งให้ผลงานเพชรน้ำเอกของ กิมย้ง สุดยอดนักประพันธ์ชาวจีน กลายเป็นนิยายกำลังภายในที่มียอดขายสูงสุดของศตวรรษที่ ๒๐วันนี้ตำนานการต่อสู้ของเหล่าจอมยุทธ์ถูกนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์ MacLehose Press ประเทศอังกฤษ โดยเล่มแรกที่มีชื่อว่า A Hero Born วางแผนจำหน่ายช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า โดยสำนักพิมพ์เตรียมแปล Condor Trilogy หรือมังกรหยกทั้ง ๓ ภาคออกมาเป็นหนังสือทั้งหมด ๑๒ เล่ม

มังกรหยกตีพิมพ์ครบรอบ ๖๐ ปีแล้ว แต่สาเหตุที่ผลงานของกิมย้งไม่ค่อยถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่นักแปลทั่วไปจะถ่ายทอดสำนวนอันล้ำลึกของยอดนักประพันธ์วัย ๙๓ ปีให้สมบูรณ์เท่าภาษาจีนต้นตำรับ รศ.เพทรูส หลิว สาขาวิชาวรรณกรรมจีน มหาวิทยาลัยบอสตัน กล่าวว่า ภาษาของกิมย้งแฝงความงามของบทกวี และใช้วลีจีนในการประพันธ์อย่างแพร่หลาย ทำให้ภาษาของเขามีความเป็นจีนโบราณอย่างสูง นอกจากนี้ ผู้แปลยังต้องเข้าใจปรัชญาและความเชื่อของชาวจีนที่สะท้อนอยู่ในเล่ม แม้แต่ชื่อท่าไม้ตายต่างๆ ยังมีที่มาอันลึกซึ้ง เช่น ท่าสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร นำมาจากปรัญชาเต๋าที่เล่าจื้อบัญญัติเอาไว้เมื่อ ๒,๕๐๐ปีที่แล้ว

ผู้รับหน้าที่เปิดโลกของมังกรหยกสู่นักอ่านภาษาอังกฤษ คือแอนนา โฮล์มวูด นักแปลสาวชาวสวีเดนผู้เชี่ยวชาญการแปลวรรณกรรมจีน โดยเธอใช้เวลาถึง ๑ ปี ๖ เดือน กว่าจะแปล A Hero Born ได้สำเร็จ นักแปลสาวยอมรับว่านักอ่านที่เฝ้ารอต่างจับจ้องว่าเธอจะแปลท่าไม้ตายของกิมย้งออกมาได้ดีแค่ไหน โดยสำนักพิมพ์เตรียมดึงตัวยอดนักแปลรายอื่น ๆ มาสานต่องานที่แสนยากและท้าทายนี้สำหรับการตีพิมพ์เล่มถัด ๆ ไป  

มังกรหยก ตีพิมพ์ครั้งแรกในฮ่องกง เมื่อปี ๑๙๕๗ หลังจากกิมย้งเดินทางมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์หมิงเป้าในฮ่องกง แต่เดิมมังกรหยกเคยถูกแบนในเมืองจีน เนื่องจากแนวคิดต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของหมิงเป้า แต่ภายหลังเติ้งเสียวผิงอดีตผู้นำจีน ซึ่งเป็นแฟนตัวยงของกิมย้งได้เชิญยอดนักเขียนมาพบถึงเมืองจีน ทำให้มังกรหยกเริ่มโด่งดังในแดนมังกรหลังเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี ๑๙๘๔ ช่วงเดียวกับที่มังกรหยกฉบับซีรีส์ปี ๑๙๘๓ ของ TVB กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงทั้งในจีนและฮ่องกง ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นซีรีส์มังกรหยกที่สมบูรณ์แบบที่สุดจนถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ อุ้ยเสี่ยวป้อ อีกผลงานดังของกิมย้ง เคยได้รับการแปลในภาษาอังกฤษมาแล้ว แต่ความสำเร็จยังอยู่ในวงจำกัด แต่เชื่อว่าความยอดเยี่ยมของมังกรหยก น่าจะทำให้ชื่อของกิมยิ้งเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ข่าวจาก ไทยพีบีเอส ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐



บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 09:54

"แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" ก็มีประเด็นครับ เพราะตัวเอกมีไม่ครบแปดคน ก็ยังสงสัยเหมือนกันครับว่า ทำไมชื่อ 8 เทพอสูร แฮ่ๆ
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 16:38

สำนวนของท่านใด แปลได้ครบถ้วนกระบวนความอ่านแล้วสนุกที่สุดครับ จาก
1. จำลอง พิศนาคะ
2. ว ณ. เมืองลุง
3. น. นพรัตน์
4. คนบ้านเพ

ผมเองเคยอ่านสำนวน ท่านจำลอง กับท่าน น.  ของท่านจำลองอ่านแล้วธาตุไฟเกือบเข้าแทรก ต้องใช้ความพยายามในการอ่านมาก
ท่าน น. กระชับเข้าใจง่าย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 16 พ.ย. 18, 14:30

"แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" ก็มีประเด็นครับ เพราะตัวเอกมีไม่ครบแปดคน ก็ยังสงสัยเหมือนกันครับว่า ทำไมชื่อ 8 เทพอสูร แฮ่ๆ

มติชนสุดสัปดาห์ที่แล้ว มีบทความเกี่ยวกับประเด็น แปดเทพอสูรมังกรฟ้า นี้,วันนี้ที่เว็บ

https://www.matichonweekly.com/column/article_148139 นำมาลงให้อ่านได้แล้ว

 
       กิมย้งไม่ได้เคยบอกเอาไว้ที่ไหนเลยสักนิดว่า เขาตั้งใจใช้ชื่อเรื่องอย่างนี้ เพื่อสร้างตัวละครให้เป็นสัญลักษณ์
หมายถึงเทพอสูรมังกรฟ้าทั้งแปดชนิดหรือเปล่า?
       กิมย้งจะไม่เคยอธิบายถึงที่มาที่ไปของชื่อนิยายเรื่องนี้เลยเสียด้วยซ้ำไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 16 พ.ย. 18, 14:49

เคยอ่านในหนังสือพิมพ์นี่แหละค่ะ สมัยแปดเทพอสูรฯปี 1982
สื่อให้คำอธิบายว่า แปดเทพอสูรหมายถึงตัวละคร 8 ตัวที่กิมย้งไปรวบรวมมาจากตำนานหรือประวัติศาสตร์นี่แหละ แล้วเอามาผูกเข้าเป็นเรื่อง
แต่ไม่ได้ติดตามว่าตัวไหนเป็นใคร   เพราะเวอร์ชั่นนั้นทำได้เลอะเทอะมาก  ดูไม่รู้เรื่อง  บทแย่เอามากๆ 

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 16 พ.ย. 18, 15:05

ส่วนที่วิกกี้ บอกว่า

        หากอุปมาเทพอสูร 8 เหล่า เป็นตัวละครต่างๆ อาจเปรียบได้ว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 22 พ.ย. 18, 11:15

ย้อนอดีตไปกระทู้เก่า

ขอบันทึกไว้กันลืมว่า ตอนดิฉันยังเด็กๆ เคยไปดูหนังเรื่องหนึ่งที่โรงภาพยนตร์คิง ที่วังบูรพา  
เจอคนไทยเล่นหนังฮอลลีวู้ด เป็นหนังแบบ sword and sandals  คือฟันดาบกันเป็นไฟ  หรือเป็นมนุษย์จอมพลังเฮอร์คิวลิสอะไรประมาณนั้น
ชื่อคุณจุลจิตร สิงหเสนี  เล่นเป็นเจ้าชายจีนหรืออะไรที่ไม่ใช่ไทย
แปลกใจว่าทำไมไม่มีการบันทึกเอาไว้ในวงการเลย  จะหาชื่อคุณจุลจิตรจาก IMDB ก็สะกดภาษาอังกฤษไม่ถูก  ถ้าใครสะกดได้กรุณาบอกด้วย
ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ป่านนี้คุณจุลจิตรก็คงเลยวัยเกษียณไปนานเกินสิบปีแล้ว


        วันนี้ได้ข้อมูลจากฟบ.กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน(ทิวลิบแห่งนิตยสารสตาร์พิคส์) ว่า เป็นหนังอิตาเลียนเรื่อง
Maciste at the Court of the Great Khan (1961) ชื่ออังกฤษว่า Samson and the 7 Miracles of the World
นำแสดงโดย Gordon Scott และชื่อคุณจุลจิตต์ สิงหเสนี ที่ปรากฏในรายนามนักแสดงกลายเป็น Chu Lai Chit
(ตามเนื้อเรื่องในหนังที่รับบทเป็นเป็นเจ้าชายจีน)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 22 พ.ย. 18, 20:55

ขอบคุณค่ะคุณหมอ SILA 
ดิฉันตามไปค้นชื่อ Chu Lai Chit  จากเว็บ IMDB ซึ่งรวบรวมชื่อดารานักแสดงฮอลลีวู้ดเอาไว้ทุกคน
พบว่าไม่มีประวัติอะไรเลย  แสดงว่าคุณจุลจิตรคงแสดงหนังเรื่องเดียว   แล้วอำลาจอเงินกลับประเทศ  มาเอาดีทางเป็นข้าราชการกรมเศรษฐสัมพันธ์ (ปัจจุบันน่าจะเป็นกรมส่งเสริมการส่งออก)
เจอชื่ออยู่ในอัตชีวประวัติของคุณพชร อิศรเสนาฯ ข้างล่างนี้  เพียงนิดเดียว ค่ะ
ถ้าเป็นยุคนี้น่าจะมีสื่อตามไปสัมภาษณ์  มีอะไรสนุกๆหลังกองถ่ายมาเล่าได้มากมาย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 27 พ.ย. 18, 11:08

            Bernardo Bertolucci (1941 – 26 November 2018)
 
นักเขียนบทและผกก.ชื่อดังเจ้าของผลงานโลกไม่ลืมอย่าง The Last Emperor จากไปที่วัย 77 ปีด้วยโรคมะเร็ง
            เติบโตในครอบครัวมั่งคั่งทางตอนเหนือของอิตาลี, ตามรอยพ่อเป็นกวีก่อนที่จะเปลี่ยนใจไปเป็น
คนทำหนังในที่สุด
            ได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์สาขาเขียนบทจากเรื่อง The Conformist ในปี 1970 และสาขาผกก.จาก
หนังสุดอื้อฉาว Last Tango in Paris(1972)
            จนกระทั่งมาถึงผลงานสร้างชื่อและชนะออสการ์ทั้งสาขาเขียนบทและกำกับใน  The Last Emperor(1987)

ผลงานเด่นของเขารวมทั้งผลงานเรื่องสุดท้าย Me and You(2012)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 09:14

          เชื่อว่าใครที่ได้ชม จักรพรรดิโลกไม่ลืม (The Last Emperor) คงจะจดจำตัวละครสัญลักษณ์ - เจ้าจิ้งหรีด
ที่เปิดตัวในฉากอลังการตอนต้นเรื่อง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 29 พ.ย. 18, 09:18

แล้วจึงมาปรากฏอีกครั้งในฉากสุดท้ายตอนจบ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 77
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง