เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 77
  พิมพ์  
อ่าน: 83364 ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 24 ก.ย. 18, 12:44

ขอบคุณคุณหมอSILA มากครับ
แผลเก่า เวอร์ชั่น คุณเชิด ทรงศรี นับไปนับมา 40 ปีเข้าให้แล้ว เคยประทับใจมากเมื่อครั้งนู้น โดยเฉพาะเพลงประกอบภาพยนต์
ลำนำแผลเก่า ที่ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพ็ชร และคุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ทางต่างกัน แต่ร้องเพราะทั้งสองเวอร์ชั่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 24 ก.ย. 18, 12:54

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 24 ก.ย. 18, 12:55

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 24 ก.ย. 18, 13:50

          เรียมเศร้า คิดแล้วยิ่งเศร้า เจ้าขวัญใช่อื่นไกลเลยแม้จะเป็นชาวไร่ชาวนา มันก็รักจริง
หัวใจรักของมันหลักแหลมแก่กล้า มิเพราะมันรักหรือพี่เริญกับพ่อจึงอยู่โดยสวัสดิ์ ส่วนนายจ้อย
ต้นเรื่องถูกฟันอย่างหนำใจ
          เรียมคิดขนลุกขนพองถึงคืนหลัง ๓ ปีโน้น ขวัญมอมหน้าตัดฝาเข้าไปในโรงนา มันมาหา
ด้วยความรักที่ซื่อสัตย์ ฝ่าอันตราย แล้วเธอเล่า ขณะนั้นรู้สึกเช่นไร รักมัน-หลงมัน โธ่เอ๋ย ขวัญ_เอ๋ย
ฉันผิดเสียแล้วที่หลอกลวงทรมานให้คอยฉันจนป่านนี้ โอ้_พี่ขวัญ ฉันผิดลึกนัก ฉันลืมแผลเก่าของฉัน
เพราะกรุงเทพแท้ๆ กรุงเทพฯให้ความเพลิดเพลินซึ่งฉันไม่เคยพบเลยในทุ่งบ้านเรา
           ฉันหลับอยู่ทุ่งบางกะปิตั้งแต่เกิดมาจนรุ่นสาว และฉันก็เสียสาวเพราะขวัญของฉัน_ฉันมาตื่นเอา
ในกรุงเทพฯ เพียง ๓ ปีเท่านั้นฉันก็ลืมที่นอนซึ่งหลับอย่างแสนสบายมาแต่เล็ก ฉันกำลังหลับอยู่กลาง
พระนครเมื่อ ๓ ปีมานี้
           และก็บางกะปินี่เองที่ปลุกให้ฉันตื่นรู้จักบ้านเกิดเมืองนอนของฉันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับจากบางกะปิ
เมื่อกลับจากเธออย่างหญิงเจ้าเล่ห์ นายขวัญ_พี่ขวัญ บางกะปิของเราปลุกฉันตื่นแล้ว บางกะปิของเราทุกหย่อม
หญ้า วังน้ำนั่นสุขกว่ากรุงเทพฯเป็นไหนๆ

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 24 ก.ย. 18, 21:18

ขอบคุณคุณหมอศิลา และอาจารย์เทาชมพู ที่กรุณาจัดให้ทันทีทันควัน
บรรยากาศเดิมกลับมาอีกครั้ง
จริงๆแล้วได้เข้ามาอ่านกระทู้ต่างๆทุกวัน วันละสองครั้ง เป็นกิจวัตรไปแล้ว
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 25 ก.ย. 18, 11:05

มาอ่าน,ฟังต่อครับ

            อีกหนึ่งเพลงไทยสากลเพิ่มเติมที่เชิดได้เลือกนำมาใช้ประกอบแผลเก่า ๒๕๒๐ เป็นเพลงสำคัญอันเป็น
หมุดหมายแห่งยุคสมัย นั่นคือ เพลง วอลซ์ปลื้มจิต ประกอบฉากออกงานราตรีสโมสรที่บางกอกของ "เรียมคนใหม่"
กับชายคนใหม่ชาวกรุง

            เพลงวอลซ์ปลื้มจิต นี้, อ.จำนง รังสิกุล กล่าวว่า เป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกของไทย นิพนธ์เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖
โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่แต่ง "เพลงอย่างฝรั่ง" และนับถือว่าทรงเป็น
"พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล"  แต่แรกเป็นเพลงบรรเลงแล้วต่อมาครูพรานบูรณ์ได้แต่งเนื้อร้องเข้าทำนองในปี พ.ศ. ๒๔๗๔



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 25 ก.ย. 18, 11:09

            นอกจากเพลงไทยสากลแล้ว เชิดยังได้ตั้งใจนำเพลงพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ลิเก ลำตัด ด้น เหย่ย ฉ่อย
พวงมาลัย นางหงส์ มาประกอบ(แม้เพลงๆ นั้นจะไม่ได้ใช้ร้องในแถบบางกะปิตามท้องเรื่อง) ทำให้ได้กลิ่นอาย
สายเสียงชาวบ้านในชนบท อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเรื่องราวในหนัง ไม่ว่าจะเป็นการบอกนิสัยร่าเริง รักสนุกของขวัญ
จากเพลงที่เขาร้อง หรือ การสร้างบรรยากาศของเหตุการณ์ข้างหน้าด้วยเพลงกล่อมขวัญนาค กล่อมลูก ที่ถ่ายทอด
ความรักของพ่อแม่และบ่งบอกว่าขวัญจะบวช

บางเพลงลิเกที่ขวัญร้องเกี้ยวเรียม

      แม่นุ่งดำยืนเด่น พี่อยากจะเป็นเกี่ยวดอง
      แต่วาสนาพี่มันต้องจึงไม่สะเด็ดสะเด่า
      ขวัญรักเรียมยังไม่สะดวกเหมือน้ำลวกสะเดา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:22

            หลังการจากไปของพระเอกในตำนาน - มิตร ชัยบัญชา เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญในวงการหนังไทย ฟิล์ม ๓๕ มม. บันทึกเสียง(พากย์)ในฟิล์มได้กลับเข้ามาแทนที่ฟิล์ม ๑๖ มม. ที่ใช้
กันอยู่เป็นส่วนใหญ่ ผู้กำกับมือใหม่(ทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่ามาจากวงการอื่น) พร้อมนักแสดงรุ่นใหม่ให้กำเนิด
ผลงานหนังหลากหลายขึ้น ในขณะที่ผู้กำกับหน้าเดิมก็ปรับปรุงการสร้างงานไปในทางที่ดีขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง
            ผลงานของคนรุ่นใหม่ที่ได้สร้างหนังไทยคุณภาพบางส่วนสามารถเรียกคนไทยส่วนหนึ่งให้หันมาสนใจ
มาดูและชื่นชมหนังไทยที่เขาเคยดูแคลน

ส่วนหนึ่งของหนังไทยในปีพ.ศ. ๒๕๒๐


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:26

            เชิด ทรงศรี(นามปากกาเขียนนิยายว่า ธม ธาตรี) มีผลงานกำกับภาพยนตร์ไทยสมัย ๑๖ มม. ซึ่งสร้างจาก
นิยายที่เขาแต่ง(บางเรื่องได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง ๗ สี) ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งเป็นปลายยุคมิตร
ชัยบัญชาต่อเนื่องมาจนถึงยุคหลังมิตร ที่วงการหนังไทยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบเนื้อหา,นักแสดงและผู้กำกับใหม่
            แม้ผลงานช่วงแรกจะยังคงเป็นหนังตามกระแสแต่ต่อมาเขาได้เกิดแนวคิดที่จะสร้าง "หนังไทย" คุณภาพ
ที่ไม่อิงกระแสซึ่งนอกจากจะต้องอาศัยเงินทุนที่มากแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เป็นไปได้ไม่ง่าย เช่น ปัญหานักแสดง
ที่จะทุ่มเทเวลา(คิว) ให้กับการถ่ายทำที่ยาวนาน ปัญหาโรงหนังที่จะรับหนังไม่ตลาดเข้าฉาย และการหาสายหนังเพื่อ
จัดจำหน่ายหนัง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:28

             แนวคิดที่จะนำนิยายลูกทุ่งไทยมาสร้างเป็นหนังนี้เกิดขึ้นขณะที่เชิดไปอเมริกาเพื่อศึกษาภาษาและ
หลักสูตรเกี่ยวกับวิชาการภาพยนตร์ ณ ลอสแองเจลิส สภาพสังคมที่นั่นที่ซึ่งอเมริกันชนสูงวัยใช้ชีวิตโดยลำพัง
โดดเดี่ยว ชวนให้เขาคิดถึงย่าและวิถีชีวิต,ขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามของชนบทไทยที่คุ้นเคยในวัยเยาว์
            เมื่อกลับบ้านมาเชิดจึงเตรียมวางแผนการสร้างแผลเก่า นิยายซึ่งอยู่ในใจเขามาเก่าก่อน โดยการหาทุน
เพื่อสร้างหนังลูกทุ่งเรื่องนี้ที่จบเศร้าและไม่ได้อยู่ในกระแสด้วยการสร้างหนังในกระแส ๒ เรื่องคือ ความรัก(๒๕๑๗
เปลี่ยนชื่อจากเดิม อุบัติเหตุ) และ พ่อไก่แจ้ (๒๕๑๙)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:30

            เชิดตั้งใจทุ่มเทเตรียมงานอย่างพิถีพิถัน ทั้งการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเขียนบท การวางตัวทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่
ในตอนนั้นอย่างเช่น ยุทธนา มุกดาสนิท การวางตัวผู้แสดงโดยเฉพาะนางเอกใหม่เอี่ยม(คล้ายกับตอนที่เป็นละครช่องสี่)
ร่วมกับพระเอกและนักแสดงสมทบระดับคุณภาพชั้นครูอย่าง ส.อาสนจินดา, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สุพรรณ บูรณะพิมพ์    
            กล่าวกันว่าเชิดสร้าง แผลเก่า อย่างพร้อมที่จะขาดทุนเนื่องจากตลาดหนังไทยตอนนั้นไม่ใช่ช่วงเวลาของ
หนังพีเรียดสะท้อนวิถีชีวิตแบบโบราณพ้นสมัยซ้ำร้ายตอนท้ายพระเอกนางเอกยังตายคู่
            แต่เชิดก็ยังคงเดินหน้าทำ แผลเก่า อย่างเต็มที่ตามที่ได้ตั้งใจไว้ว่าจะสร้าง หนังไทยที่สำแดงความเป็นไทยต่อโลก
จนสำเร็จ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 28 ก.ย. 18, 09:34

แผลเก่า (๒๕๒๐)

ถ่ายทำด้วยฟิล์ม ๓๕ มม. สีอีสแมนท์(Eastman) พากย์เสียงทับ
กำกับ, อำนวยการสร้าง - เชิด ทรงศรี
บทภาพยนตร์-รพีพร, ธม ธาตรี จากบทประพันธ์ของไม้ เมืองเดิม
(ข้อมูลจาก ดร.รังสิมา กุลพัฒน์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง แผลเก่า: จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์ ระบุว่า
คุณเชิดให้เครดิตรพีพรด้วย แต่รพีพรไม่ได้เขียน เขาเขียนเอง
คหสต. คิดว่า เชิด คงได้พูดคุยปรึกษากับรพีพร ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์เจ้าประจำของคณะนาฏศิลป์
สัมพันธ์ผู้จัดละครย้อนยุคทางช่องสี่ บางขุนพรหม เช่น ขุนศึก,รอยไถและแผลเก่า)
ถ่ายภาพ - กวี เกียรตินันท์, โสภณ เจนพานิช, สุทัศน์ บุรีภักดี, สมชัย ลีลานุรักษ์/ กำกับศิลป์ - อุไร ศิริสมบัติ
ดนตรีประกอบ - เสรี หวังในธรรม
ผู้แสดง - สรพงษ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง, ส.อาสนาจินดา, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สุวิน สว่างรัตน์
ความยาว ๑๓๐ นาที


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 30 ก.ย. 18, 09:57

           แต่เชิดก็ยังคงเดินหน้าทำ แผลเก่า อย่างเต็มที่ตามที่ได้ตั้งใจไว้ว่าจะสร้าง หนังไทยที่สำแดงความเป็นไทยต่อโลก

จากนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์นี้, ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คอลัมนิสท์การเมืองสะกิดเกา แผลเก่า ว่า
 
          ความโดดเด่นที่สุดของแผลเก่า ไม่ใช่การถ่ายทอดความเป็นไทย....เนื้อหาไกลกว่าความเป็นไทย
เหลือเกิน แผลเก่าคืองานศิลปะที่ผู้กำกับชั้นดีของยุคทศวรรษ ๒๕๒๐ แชร์วิธีคิดเดียวกับปัญญาชนยุคโค่นล้ม
เผด็จการทหารปี ๒๕๑๖ แล้วใช้สุนทรียศาสตร์ของหนังเพื่อ "เปลี่ยน" ความเป็นไทย รวมทั้งวิพากษ์สังคมไทย
อย่างถึงรากและมีชั้นเชิง...
          จะคุยความลุ่มลึกของเชิดและของ "แผลเก่า" ที่ไปไกลกว่าการถ่ายทอดความเป็นไทยอย่างที่พูดกันมา
ในตอนต่อไป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:01

ตัวอย่าง แผลเก่า ๒๕๒๐



              และแล้ว ก็เป็นไปตามคาดเมื่อปรากฏว่าไม่มีสายหนังใดซื้อ "แผลเก่า" ไปฉาย เพราะมองไม่เห็นแวว
ทำเงิน แต่ หลังจากที่แผลเก่าได้เข้าฉายในโรงหนังอินทราบนจอโค้งกว้างตระการตาแบบหนัง ๗๐ มม. ร่วมด้วย
โรงอื่นในเครือเมื่อ ธันวาคม ๒๕๒๐ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีผิดคาด ด้วยคุณค่าของตัวหนังที่ประทับใจ
ผู้ชมโดยถ้วนหน้า สามารถยืนโรงฉายอย่างยาวนานนับเดือนๆ และทำรายได้เป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่มีหนังไทย
หรือเทศเรื่องใดเคยทำได้มาก่อนที่ ๑๓ ล้านบาท(ในยุคนั้นที่ค่าตั๋วอยู่ที่ ๑๐ - ๓๐ บาท)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 01 ต.ค. 18, 10:03

           จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ แผลเก่า ก็ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไป “สำแดงความเป็นไทยต่อโลก” สมดังที่
ตั้งปณิธานโดยการผลักดันของ โทนี เรย์นส์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ  
           แผลเก่า บินไปฉายในเทศกาล London Film Festival ในวาระครบรอบ ๒๕ ปีของเทศกาล จากนั้น
จึงได้เข้าร่วมประกวดในมหกรรมภาพยนตร์ Festival des 3 Continents ณ เมืองน็องต์ ฝรั่งเศสในปีเดียวกัน
และสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอง
           ต่อมา แผลเก่า ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น ๑ ใน ๓๖๐ หนังคลาสสิกของโลกของ Museum of the moving image
in London กับ นิตยสาร Sight & Sound


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 77
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง