เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 60 61 [62] 63 64 ... 77
  พิมพ์  
อ่าน: 83891 ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 915  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 09:10

วิมานลอย กันต่อครับ

อีกฉากหนึ่งที่เป็นที่มาของคำพูดดังและคลาสสิกมาจนถึงปัจจุบันคือ  ฉากท้ายเรื่องที่ Rhett พูดใส่ SOH ว่า “Frankly, my dear, I don’t give a damn”

ฉากนี้  ถ่ายทำเป็น 2 ฉบับ  อีกฉบับหนึ่งใช้คำพูดว่า “Frankly, my dear, I don’t care”  ทำฉากนี้เผื่อไว้ในกรณีที่คณะกรรมการเซ็นเซอร์ไม่ผ่านคำหยาบ (damn) ให้ออกสู่สาธารณะ  จะได้เอาฉากสำรองนี้ตัดต่อเข้าไปแทน

แต่ปรากฏว่า  คณะ กก.ฯ อนุญาตให้ผ่านแต่ต้องเสียค่าปรับ $5,000 สำหรับความจงใจนี้




ในฉากนี้มีดาราประกอบคนหนึ่งที่ต่อมาดังสุดกู่ในบท Superman  ทางจอทีวี  เธอคือ George Reeves


(คนขวา)


ฉากทหารนอนกันเขลงอยู่ที่ลานสถานีรถไฟใช้ตัวประกอบราว 1500 คน  และหุ่นจำลองอีก 1000 กว่าตัว (ตัวเลขไม่แน่นอน  เว่อร์กันเข้าไว้) โดยให้ตัวประกอบที่เป็นคนประกบและชักมือ/เท้าของหุ่นให้เคลื่อนไหว




ฉากจูบอมตะระดับโลก  จริง ๆ แล้วไม่โรแมนติกอย่างที่เห็นในจอ  Vivian Leigh แอบกระซิบว่า "His dentures smelled something awful"  นั่นเป็นเพราะ Clark Gable ใส่ฟันปลอมทั้งปากเนื่องจากเป็นโรคเหงือกอักเสบ




ช่วงการถ่ายทำหนังเรื่องนี้  Hattie McDaniel มักโดนค่อนขอดจากคนนิโกรด้วยกันว่าชอบเล่นบทที่แสดงถึงการเหยียดหยามต่อสีผิว  เธอตอบโต้ว่า "I would rather make seven hundred dollars a week playing a maid than seven dollars being one" (อึ้งไปเลย)



กระจิบข่าวเล่าว่าเพื่อนซี้ของเธอในกองถ่ายคือ Clark Gable   ทั้ง 2 หยอกล้อกันเป็นประจำ  พอถึงฉากที่ Rhett ฉลองเรื่องลูก (ใช่ปะ ฉากนี้) เธอเรียก Mammy มาร่วมฉลองดื่มเหล้า  ปกติทางกองถ่ายจะใช้น้ำชาจีน  แต่ CG แอบใส่เหล้าจริงให้ HM ดื่ม  เรื่องก็เลยครื้นเครง (เสียดายยุคนั้นไม่เห็นความสำคัญของการเก็บฉาก ‘หลุด’ ซึ่งในสมัยนี้คนชอบกันมาก เอาไว้ดูผ่อนคลาย)

วันประกาศผล Oscar จัดขึ้นที่ Coconut grove nightclub ในโรงแรม Ambassador ที่เมือง Los Angeles  สถานที่แห่งนี้มีป้ายแบ่งแยกสีผิวอย่างชัดเจน  ทางทีมงานต้องดำเนินเรื่องเพื่ออนุญาตให้ HM เข้าร่วมงานได้เพราะเธอมีชื่ออยู่รายชื่อผู้เข้าชิง  ซึ่งก็ตกลงกันได้แต่ต้องไปนั่งในส่วนหลังสุดของงานที่โต๊ะพิเศษที่จัดให้โดยเฉพาะแค่นั่งได้ 2 คนคือเธอกับสามี  และมี ‘guards’ คอยประกบ  พอผลประกาศออกมา Olivia de Havilland เป็นคนแรกที่วิ่งไปแสดงความยินดีกับเธอ

การได้ Oscar ไม่ได้กระตุ้นอาชีพของ HM ให้รุ่งโรจน์ขึ้นแต่อย่างไร  ทาง studio ที่เป็นต้นสังกัดของเธอก็ไม่รู้จะส่งเสริมเธออย่างไรดี  ลงท้ายก็อนุญาตให้ studio อื่น ๆ ขอยืมตัวไปเล่นเป็นคนใช้ในเรื่องโน้นเรื่องนี้


ส่วนฉาก SOH ตบ Prissy (ฉากในเรื่อง  หา clip ไม่เจอ  เจอแต่ clip นี้ซึ่งคนเอามาทำโจ๊ก) เกิดจากไอเดียของ ผกก. George Cukor  แต่ Butterfly McQueen ไม่ยอมเพราะชีวิตคนผิวสีในยุคนั้นก็รันทดอยู่แล้ว  ไม่จำเป็นต้องเน้นความสะใจ
 
GC ก็ไม่ยอม  BM เลยตั้งแง่ว่า  ถ้า VL ตบจริง ๆ เธอจะไม่ร้องซักแอะ  แต่ถ้าตบผ่าน ๆ  เธอจะแหกปากให้ลั่นกองถ่าย  GC ยอมโดยใช้มุมกล้องแทน  และเติมเสียงตบเข้าไปในภายหลัง

BM มาเล่าในภายหลังว่า  ยุคนั้นชีวิตคนผิวสีโดนเหยียดหยามมาก  ถ้าเป็นสมัยนี้  เธอจะยอมให้ตบ  เพราะ Prissy กวนประสาทจริง ๆ




Mrs. O’ Hara แม่ของ SOH เล่นโดย Barbara O’Neil ตอนถ่ายทำอายุเธอ 28  แก่กว่า VL 3 ปี



เป็นอีก 1 ของ The magic of making movies


ที่จริงตำนานของเรื่องนี้ยังมีอีกมาก... แต่จบตรงนี้ละ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 916  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 09:26

เบื้องหลังสนุกกว่าหนังเสียอีกค่ะ  เสียดายคุณโหน่งจบเร็วไปหน่อย

ตอนดูเรื่องนี้ครั้งแรก  สงสัยว่ามันจบได้ยังไงแบบค้างๆคาๆ  เพราะหนังและนิยายทั้งหลายเขาจบแบบไม่เหลือข้อสงสัยทั้งนั้น   จะจบดีจบร้ายก็บอกกันชัดแจ้งในฉากสุดท้าย
แต่นี่พระเอกทิ้งนางเอกไปอย่างไม่ไยดี   แล้วนางเอกก็กลับไปสู่ซากคฤหาสน์เก่าแบบงงๆ ไม่มีทางไป
เลยสงสัยว่าจะมีภาค 2  ไหม
ปรากฏว่าคนแต่งโดนรถรางชนตายเสียก่อน   ส่วนภาค 2  ที่คนอื่นมาแต่งต่อก็ดับสนิท
คุณโหน่งทราบไหมคะว่าพระเอกกับนางเอกกลับมาคืนดีกันไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 917  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 09:35

The Carol Burnett Show  ซึ่งเป็นวาไรตี้โชว์ตลกยอดนิยมตั้งแต่ยุคปลาย 1960s ถึง 1980s  เอาฉากเด็ดใน  'Gone with the Wind.' มาล้อ  ชื่อ Went with the Wind
เป็นฉากดัดแปลงจากสคาร์เล็ต นางเอกของเรื่องเป็นผู้ดีตกยากหลังสงคราม ต้องเอาผ้าม่านกำมะหยี่มาตัดเป็นเสื้อผ้าชุดสวย เพื่อออกไปพบพระเอก 

ฉากใน Went with the Wind ดังระเบิด   เสื้อผ้าชุดผ้าม่านที่ล้อเลียน ได้รับเกียรติคัดเลือกนำไปตั้งโชว์ในสถาบันสมิธโซเนียน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 918  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 10:02

https://www.pinterest.com/pin/26951297742992813/
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 919  เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 08:48

The Carol Burnett Show  ซึ่งเป็นวาไรตี้โชว์ตลกยอดนิยมตั้งแต่ยุคปลาย 1960s ถึง 1980s  เอาฉากเด็ดใน  'Gone with the Wind.' มาล้อ  ชื่อ Went with the Wind
เป็นฉากดัดแปลงจากสคาร์เล็ต นางเอกของเรื่องเป็นผู้ดีตกยากหลังสงคราม ต้องเอาผ้าม่านกำมะหยี่มาตัดเป็นเสื้อผ้าชุดสวย เพื่อออกไปพบพระเอก 

ฉากใน Went with the Wind ดังระเบิด   เสื้อผ้าชุดผ้าม่านที่ล้อเลียน ได้รับเกียรติคัดเลือกนำไปตั้งโชว์ในสถาบันสมิธโซเนียน


อุ๊ย... 'จาร' อ้ะ  โหน่งกำลังจะเอาเรื่องนี้มาลงวันนี้พอดีเลย




ขอลงซ้ำเพราะเตรียมไว้แล้ว...

นี่เป็นควันหลงจากเรื่อง วิมานลอย...

นานโขมาแล้วผมอ่านโน่นนี่แล้วก็มาเจอบทความเล่าเรื่องทีวีโชว์ที่ดำเนินงานโดย Carol Burnett ซึ่งเป็นตำนานของนักแสดงทางทีวี  รายการของเธอเป็นประเภท variety  เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี 1967 มาสิ้นสุด (แต่ไม่สนิท) ในปี 1978  เป็นรายการที่ดังมากในยุคดังกล่าว  กวาดรางวัลต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน

ในฤดูกาลที่ 10 ตอนที่ 8 (บ้าง (เช่นใน clip นี้) ก็ว่า ตอนที่ 2) ออกอากาศในวันที่ 13 พ.ย. 1976  ในช่วงหนึ่งของรายการ  เธอนำเสนอละครสั้นล้อเลียนหนัง Gone with the wind โดยใช้ชื่อว่า Went with the wind!
 
ในละครล้อนี้เธอเล่นเป็น Starlet O’ Hara ส่วนบทอื่น ๆ ก็ให้สมาชิกในกลุ่มของเธอรับไป  สำหรับบทล้อ Melanie Hamilton เธอเชิญ Dinah Shore ดารา/นักร้องชื่อดังมาแสดงโดยใช้ชื่อว่า Melody  สำหรับบททาส Prissy เป็นของเพื่อนซี้ของเธอ Vicky Lawrence เล่นในชื่อ Sissy

ตอนที่รู้เรื่องนี้ อยากเห็นเต็มแก่แต่ youtube ยังไม่เกิด  พอเกิดแล้วยังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ก็ยังหา clip ดูไม่ได้  อีกนานต่อถึงค่อยมีคนเอามาปล่อยแต่ก็ไม่ชัด  จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ถึงได้เห็นฉบับชัด ๆ


(ละครเริ่มที่ 28.00)


เนื้อเรื่องในละครไม่ได้ล้อเลียนเฉพาะหนัง GWTH เท่านั้นแต่ยังไปเกี่ยวเรื่องอื่น ๆ เช่น เอาชื่อ Billie Joe McAllister (ที่โดดสะพานเพื่อฆ่าตัวตาย) ตัวเอกในเนื้อเพลง Ode to Billie Joe ที่ร้องโดย Bobbie Gentry (1967 --- เพลงดังสุดขีดทั้งที่บ้านเขาและบ้านเรา)  เข้ามายำ (เริ่มที่ 28.40)... เป็นต้น

ผลการสำรวจออกมาว่ารายการตอนนี้ได้รับความนิยมล้นหลาม... “TV Guide ranked the sketch #53 on its list of "Top 100 Episodes of All Time” – ปี 2009

สำหรับชุดผ้าม่านสีเขียวที่ Starlet O’ Hara ใส่ในละครอันเป็นชุดล้อเลียนชุดในหนัง GWTW  (เริ่มที่ 41.10) ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 50 มุขที่ขำที่สุดตลอดกาล (1999) 




ชุดนี้ได้รับเกียรติเข้าไปโชว์ในสถาบัน Smithsonian



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 920  เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 09:08

อ้าว มาชนกันเอง  ไม่เป็นไรค่ะ ของคุณโหน่งให้รายละเอียดมากกว่า
เท่ากับคนอ่านได้กำไร 2 ต่อ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 921  เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 09:12

เบื้องหลังสนุกกว่าหนังเสียอีกค่ะ  เสียดายคุณโหน่งจบเร็วไปหน่อย

ตอนดูเรื่องนี้ครั้งแรก  สงสัยว่ามันจบได้ยังไงแบบค้างๆคาๆ  เพราะหนังและนิยายทั้งหลายเขาจบแบบไม่เหลือข้อสงสัยทั้งนั้น   จะจบดีจบร้ายก็บอกกันชัดแจ้งในฉากสุดท้าย
แต่นี่พระเอกทิ้งนางเอกไปอย่างไม่ไยดี   แล้วนางเอกก็กลับไปสู่ซากคฤหาสน์เก่าแบบงงๆ ไม่มีทางไป
เลยสงสัยว่าจะมีภาค 2  ไหม
ปรากฏว่าคนแต่งโดนรถรางชนตายเสียก่อน   ส่วนภาค 2  ที่คนอื่นมาแต่งต่อก็ดับสนิท
คุณโหน่งทราบไหมคะว่าพระเอกกับนางเอกกลับมาคืนดีกันไหม

ขออนุญาตคัดลอกต้นฉบับมาลงครับ

MITCHELL DOESN'T KNOW WHAT HAPPENED WITH SCARLETT AND RHETT.

Add Mitchell to the list of people who don’t know what ultimately happened with Scarlett and Rhett. She left the ending ambiguous with no “real” ending even in her own head. “For all I know, Rhett may have found someone else who was less—difficult,” she told Yank magazine in 1945.


เสริมอีกนิดว่า MM ไม่พอใจรูปลักษณ์ทั้งของ Tara และ Twelve Oaks บนจอ โดยเฉพาะ Tara  เธอบอกว่า Tara ในจินตนาการของเธอเป็นแค่บ้านไม้ 2 ชั้น  ไม่ได้มีเสาโรมันหรูหราใหญ่โตแบบบนจอ...

".... Of course, it didn't look nice but ugly" and, "I had feared, of course that [Twelve Oaks] would end up looking like the Grand Central Station, and your description confirms my worst apprehensions. I did not know whether to laugh or to throw up (วุ้ย... แสบ!) at the TWO staircases (ของ Twelve Oaks)... God help me when the reporters get me after I've seen the picture. I will have to tell the truth, and if Tara has columns and Twelve Oaks is such an elegant affair I will have to say that nothing like that has ever occurred in my mind...".

New York Grand Central Station

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 922  เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 09:16

อ้าว มาชนกันเอง  ไม่เป็นไรค่ะ ของคุณโหน่งให้รายละเอียดมากกว่า
เท่ากับคนอ่านได้กำไร 2 ต่อ
ขอบคุณค่ะ

หนุกดีครับ
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 923  เมื่อ 21 ธ.ค. 21, 09:29

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 924  เมื่อ 22 ธ.ค. 21, 09:53

ควันหลงสืบเนื่องจากเรื่อง Went with the wind!

หนัง Ode to ฺBillie Joe สร้างและออกฉายในปี 1976  การสร้างหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงชื่อเดียวกันที่ร้องโดย Bobbie Gentry (1967)



It was the third of June, another sleepy, dusty Delta day
I was out choppin' cotton, and my brother was balin' hay
And at dinner time we stopped and walked back to the house to eat
And mama hollered out the back door, y'all, remember to wipe your feet
And then she said, I got some news this mornin' from Choctaw Ridge
Today, Billy Joe MacAllister jumped off the Tallahatchie Bridge

And papa said to mama, as he passed around the blackeyed peas
Well, Billy Joe never had a lick of sense; pass the biscuits, please
There's five more acres in the lower forty I've got to plow
And mama said it was shame about Billy Joe, anyhow
Seems like nothin' ever comes to no good up on Choctaw Ridge
And now Billy Joe MacAllister's jumped off the Tallahatchie Bridge

And brother said he recollected when he, and Tom, and Billie Joe
Put a frog down my back at the Carroll County picture show
And wasn't I talkin' to him after church last Sunday night?
I'll have another piece-a apple pie; you know, it don't seem right
I saw him at the sawmill yesterday on Choctaw Ridge
And now ya tell me Billie Joe's jumped off the Tallahatchie Bridge

And mama said to me, child, what's happened to your appetite?
I've been cookin' all morning, and you haven't touched a single bite
That nice young preacher, Brother Taylor, dropped by today
Said he'd be pleased to have dinner on Sunday, oh, by the way
He said he saw a girl that looked a lot like you up on Choctaw Ridge
And she and Billy Joe was throwing somethin' off the Tallahatchie Bridge

A year has come and gone since we heard the news 'bout Billy Joe
And brother married Becky Thompson; they bought a store in Tupelo
There was a virus going 'round; papa caught it, and he died last spring
And now mama doesn't seem to want to do much of anything
And me, I spend a lot of time pickin' flowers up on Choctaw Ridge
And drop them into the muddy water off the Tallahatchie Bridge

 
ในเนื้อร้องของเพลงไม่ได้บอกว่า ตัวเอกของเรื่องคือ Billie Joe McAllister ฆ่าตัวตายเพราะสาเหตุอะไร  ซึ่ง BG คนแต่งเองก็สารภาพว่าตอนเขียนก็ไม่ได้คิดถึงสาเหตุนี้  เธอเขียนเพื่อจุดประสงค์อื่น  นี่ทำให้เกิดช่องว่างที่คนเขียนบทหนังสามารถเอามาขยายให้เป็นเรื่องเป็นราวได้




ผมไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้  เพียงแต่จะเล่าให้ฟังว่า  เพลงนี้ดังขนาดเป็นแรงบันดาลใจให้เอามาขยายผลเป็นหนัง (แม้จะโดนนักวิจารณ์สับ  แต่ก็ทำรายได้ดีทีเดียว)  ซึ่งเติมช่องว่างอธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายของ BJM ว่าเป็นเพราะวันนั้นเมาและไปมีความสัมพันธ์กับนายจ้างที่เป็นผู้ชาย

แม้แฟนของเธอจะไม่ว่าอะไรเพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้เมื่อมีความเมาเข้ามาเกี่ยว  แต่ BJM สารภาพว่าตอนนั้นเขารู้ตัวทุกอย่างว่ากำลังทำอะไรอยู่  แต่ก็รู้สึกผิดเหมือนทรยศแฟนตัวเอง  อันไปกระตุ้นให้เกิดโศกนาฏกรรม




Robby Benson เล่นเป็น BJM  ตอนเด็ก ๆ ผมคลั่งไคล้ดาราคนนี้มาก (เห็นรูปจาก SP น่ะ) เธอมีตาใสสีฟ้า ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน (ในสมัยโน้น) เสียดายที่เธอไปได้ไม่ไกลในวงการแสดง  3 ปีก่อนหน้านี้เธอเคยเล่นและร้องเพลงนำเรื่อง Jeremy (เคยคุยถึงไปแล้ว) คู่กับนางเอก Glynnis O'Connor  ซึ่งก็มาจับคู่กันในหนังเรื่องนี้อีกครั้ง



เขียนถึงตรงนี้ก็ให้สงสัยว่า  ที่เรามีสำนวนว่า 'ฝรั่งตาน้ำข้าว' นี่หมายถึงตาสีอะไร  ใช่สีฟ้ารึเปล่า


ส่วนเพลงดังสนั่น Ode to billie joe นั้น  กระแสความดังแผ่มาถึงบ้านเราด้วย  แต่ที่บ้านเราความดังน้อยกว่าเพลงสำรองในหน้า B (ที่ดั้งเดิมตั้งใจให้เป็นหน้า A) ของแผ่นคือ Mississippi Delta  เพลงนี้ดังก้องอยู่ในหูผมมาถึงปัจจุบัน



จังหวะและเสียงแหบ ๆ นี่คุ้นหูมั้ยครับ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 925  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 08:23

วันนี้มาถาม (อีกแล้ว) สงสัยว่าหนัง The Sandpiper (1965) มาฉายที่บ้านเรารึเปล่าครับ
 



ผมไม่เคยดู  เท่าที่อยู่หน้าจอทีวี  IBC/UBC ก็ไม่เคยเอาเรื่องนี้มาฉาย  แต่ผมรู้จักเพลงประกอบหนัง (The shadow of your smile) มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กชาย  ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าอยู่ในหนัง  เป็นเพลงโปรดเพลงหนึ่ง




เพลงนี้ได้ Oscar เพลงประกอบยอดเยี่ยม  เสียงร้องเป็นของคณะนักร้องประสานเสียงที่ไม่มีข้อมูลว่าเป็นใครมาจากไหนซึ่งแปลกมากในยุคที่อะไร ๆ ก็สามารถขุดคุ้ยขึ้นมาได้หมด  ยกเว้นเรื่องนี้




เพลงนี้มีคนนำมาร้องใหม่มากมายแต่ยังคงทำนองเดิม  ฉบับที่ผมชอบมากที่สุดร้องโดย Astrud Gilberto
 



หมายเหตุ - In 2004, the song finished at number 77 in AFI's 100 Years...100 Songs poll of the top tunes in American cinema.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 926  เมื่อ 23 ธ.ค. 21, 09:13

ไม่เคยดูค่ะ  คงต้องส่งคำถามต่อให้คุณหมอ SILA
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 927  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 08:28

ย้อนหลังไปเมื่อปลายศตวรรษที่ 19  มีนิยายขนาดสั้นเรื่องเล็กๆเรื่องหนึ่ง ชื่อ A Christmas Carol. In Prose. Being a Ghost Story of Christmas,  หรือเรียกกันสั้นๆว่า  A Christmas Carol  เป็นผลงานชิ้นเล็กของ  Charles Dickens  นักประพันธ์เลื่องชื่อลือนามของอังกฤษ  พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1843

ดิกเกนส์เป็นนักประพันธ์ใหญ่  เขียนเรื่องสะท้อนสังคมและเรื่องอิงประวัติศาสตร์  ได้รับคำยกย่องจากนักวิชาการและนักวิจารณ์มาก    ใครเรียนวรรณคดีอังกฤษจะต้องเรียนงานของดิกเกนส์  แต่ไม่ใช่นิยายเล็กๆเรื่องนี้
แต่กระแสนิยมสวนกลับตาลปัตร   เรื่องที่ดังที่สุดของดิกเกนส์ ทำหนังทำละครมานับไม่ถ้วน คืองานที่นักวิชาการมองข้าม  คือ A Christmas Carol
ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส  มักจะมีการผลิตเวอร์ชั่นใหม่ของเรื่องนี้ หรือเอาเวอร์ชั่นเก่ามาฉาย   หรือจัดแสดงละครเวที ละครเพลง การ์ตูนฯลฯ กัน กลายเป็นเรื่องคลาสสิคอยู่คู่เคียงคริสต์มาส

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 928  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 08:30

เวอร์ชั่นปี 1970  เป็นหนังเพลง ใช้ชื่อว่า Scrooge ซึ่งเป็นชื่อตัวเอกในเรื่อง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 929  เมื่อ 24 ธ.ค. 21, 08:32

A Christmas Carol (1984)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 60 61 [62] 63 64 ... 77
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง