เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 58 59 [60] 61 62 ... 77
  พิมพ์  
อ่าน: 84091 ฉากประทับใจในหนังเก่า (3)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 885  เมื่อ 07 ธ.ค. 21, 09:04

เพลงนี้คือที่มาของเพลง  ดาวประจำใจ ร้องโดยสุเทพ วงศ์คำแหง

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 886  เมื่อ 07 ธ.ค. 21, 09:22

คุณโหน่งช่างสังเกตจริงๆ   เมล เฟอร์เรอร์ไม่เคยหล่อเลยยกเว้นใน War and Peace   หน้าตาโหดแบบเลือดเย็นหน่อยๆ
เรื่องที่เล่นกับเลสลี่ คารอง  เป็นพระเอกสไตล์มนต์รักอสูร   ดูแล้วสงสารนางเอกค่ะ

พูดถึงเลสลี่  เธอมีสมญาว่า ลูกเป็ดขี้เหร่ แต่ก็ข้ามจากฝรั่งเศสไปดังในฮอลลีวู้ด  คงเพราะเต้นรำเก่ง สมกับเป็นนักบัลเล่ต์มาก่อน  เลยเหมาะกับยุคที่ยังฮิทหนังเพลงไพเราะ ระบำงามตา





รู้จัก LC (และ Louis Jourdan) เป็นครั้งแรก (ไม่เคยดูหนังแต่อ่านจาก SP) จากเรื่องนี้ครับ

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 887  เมื่อ 07 ธ.ค. 21, 09:29

กิตติศัพท์หนังเรื่อง The Big Chill (1983) มาถึงผมทางตาโดยได้อ่านจาก SP  หนังสือเล่าว่าหนังดังมากที่อเมริกา  สิ่งสนับสนุนส่วนหนึ่งคือ soundtracks ที่รวบรวมเพลงดังในยุคปลาย 60s
 
อ่านแล้วก็หูผึ่ง  ไม่ใช่เพราะอยากดูหนัง  แต่อยากฟังเพลงพวกนี้มากเพราะในยุคนั้น อตน. ยังไม่มาเกิดในเมืองไทย  หมายความว่าไม่มีแหล่งตามหาของเก่า ๆ  

ในบ้านเราก็ไม่มีสถานีวิทยุใดเปิดเพลงเก่าโดยเฉพาะ  นอกจากเป็นครั้งคราวเช่นรายการเพลง Savvy Song Hits ของ ไกร รุจจิรัฐถิติกาล ที่ใช้ชื่อว่า Golden Oldies แต่เธอก็เปิดเพลงย้อนเลยไปถึงยุคต้น 60s  โน่น

สรุปแล้วผมอยากได้แผ่นเสียง soundtracks ของหนังเรื่องนี้มากกว่าอยากดูหนัง  แล้ววันหนึ่งผมก็สามารถหาซื้อได้ แล้วก็ฟังจนอิ่มใจ  แล้วก็พบว่าสามารถสนุกสนานกับเพลงได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหนังต้นกำเนิดเพลงเหล่านี้




แต่ฟังไปบ่อย ๆ พลางดูหน้าปกแผ่นไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มนึกสงสัยว่าเนื้อเรื่องของหนังมันเป็นอย่างไร  ยิ่งมาถึงฤดูแจกรางวัลของหนัง  SP ก็เอาข่าวมาบอกเนือง ๆ ว่าหนังเรื่องนี้เข้าไปอาละวาดบนเวทีต่าง ๆ มากมาย  ทำให้เกิดความอยากดูขึ้นมา

แล้ววันหนึ่งผมก็ได้ดูหนัง ทางวิดีโอที่เช่ามา หนังเล่าเรื่องชีวิตของเพื่อนสมัยมหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่งที่หลังจากจบไปต่างก็ออกไปหางานทำ  แล้วก็ยุ่งกับงานและชีวิตส่วนตัวทำให้ห่างเหินกันไปเป็นเวลานาน  แต่แล้วก็ต้องกลับมารวมตัวกันในประเภทรวมการเฉพาะกิจในงานศพของเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่ม  จากนั้นเรื่องราวในอดีตของแต่ละคนในมุมโน้นมุมนี้ก็เผยโฉมออกมา

โอ... หนังสนุกมาก  ขนาดฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง ตอบสนองสันดานความเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็นของผมเสียจริง ๆ  แล้วยิ่งรู้ว่าเพลงแต่ละเพลงในแผ่นเสียงที่ฟังมานานนมมันเชื่อมโยงกับบรรยากาศของหนังในช่วงไหนยิ่งสนุกเข้าไปใหญ่

ผมชอบฉากเปิดเรื่องมากที่สุดเพราะเป็นฉากของเพลง I heard it through the grapevine (Marvin Gaye) เพลงโปรดของผม ฉบับนี้ผมชอบมากกว่าเดิมเพราะเค้ายืดเวลาออกไปจากเวลาปกติที่เคยได้ฟังตามวิทยุเพื่อให้เหมาะสมกับฉากนำเรื่อง


จนกระทั่ง อตน. ถือกำเนิดแล้วถึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเพื่อนที่ตายกลายเป็นศพที่เห็นแค่ส่วนโน้นส่วนนี้บนจอคือ Kevin Costner ที่ต่อมาคือนักแสดงดังที่นักดูหนังทุกคนรู้จักดี


อีก 1 ฉากที่มีอีก 1 เพลงโปรดของผม Ain’t too proud to beg (Temptations)  เห็นแล้วอยากเต้นตาม




ฉากเด่นอีกฉากที่บ่งบอกว่า สิ่งที่เห็นบนจอไม่จำเป็นที่จะเกิดได้ในความเป็นจริง (ตัวละครในหนังคนนั้นหลังจากเรียนจบก็ไปเป็นดาราหนัง action)




นี่เป็นหนังรวมดาราดังในยุคนั้น
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 888  เมื่อ 08 ธ.ค. 21, 09:26

อีก 2 ปีต่อมาก็มีหนังในแนวเดียวกันกับ The Big Chill นี้ออกฉายเรื่อง The Breakfast club  นักดูหนังบอกว่าถ้า The Big Chill เป็นฉบับของผู้ใหญ่  The Breakfast club ก็คือ The Big Chill ฉบับของเด็ก  เรื่องนี้ก็รวมดาราวัยรุ่นที่ต่อมากลายเป็นดาราที่ทุกคนรู้จักชื่อเสียงเรียงนามเป็นอย่างดี




ในปีเดียวกันนั้นก็มีหนังแนวนี้อีกเช่นกันออกฉายเรื่อง St. Elmo’s Fire แล้วก็ได้รับสมญานามจากนักดูหนังว่าเป็น The Big Chill ฉบับวัยแสวงหา

มีดาราหลายคนจาก The Breakfast Club มาเล่นในเรื่องนี้  หนังทั้ง 2 เรื่องสร้างและออกฉายในปีเดียวกัน  เนื้อเรื่องต่างยุคกันแต่ใช้นักแสดง (บางคน) ร่วมกัน  โดยดูไม่ออกเลยว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาอายุเท่าไรกันแน่

นี่คือ ‘The Magic of Making Movies’



บันทึกการเข้า
kirstenw23
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 889  เมื่อ 08 ธ.ค. 21, 13:28

เป็นแฟนหนังเก่าด้วย แต่ฉันอดไม่ได้ที่จะแบ่งปันว่าปีแห่งข้อความใน Interstellar นั้นดีที่สุดตลอดกาล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 890  เมื่อ 09 ธ.ค. 21, 08:56

ใกล้คริสต์มาสแล้ว   ตามธรรมเนียม ฮอลลีวู้ดจะทำหนังสำหรับครอบครัวออกมาฉายรับคริสต์มาสทุกปี   
ย้อนหลังไปปี 1961  ในยุคเบบี้บูมเมอร์กำลังอยู่ในวัยเด็กโต  ดิสนีย์เอานักร้องหนุ่มขวัญใจวัยรุ่นคนก่อนเอลวิส ชื่อ Tommy Sands  มาจับคู่กับสาวน้อยเด็กปั้นของดิสนีย์ชื่อ Annette Funicello  มาเล่นหนัง Babes in Toyland  อิงตัวละครจากหนังสือ Mother Goose  ของอังกฤษ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 891  เมื่อ 09 ธ.ค. 21, 08:59

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 892  เมื่อ 09 ธ.ค. 21, 09:26

ในหนังเรื่อง The Big Chill นักวิจารณ์ทุกคนยกย่องการแสดงของ Glen Close  และเธอก็เป็นนักแสดงคนเดียวในเรื่องที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar (เป็นหนที่ 2)

เธอดังขึ้นเรื่อย  ชื่อของเธอเริ่มคุ้นหูนักดูหนัง  ชื่อของเธอขึ้นหิ้งเมื่อรับบท ผู้หญิงที่มี ‘อะไร ๆ’ เพียงแค่คืนเดียวกับผู้ชายที่มีเมียแล้ว  แล้วเธอก็กลายเป็นฝันร้ายสำหรับเขา  ในหนังเรื่อง ‘Fatal Attraction’ (1987)




ตอนดูในโรง (ฮอลลีวู้ด) ผมนั่งติดกับผู้หญิงฝรั่ง เมื่อหนังดำเนินมาถึงช่วงท้ายเรื่อง  (อันเป็นตอนท้ายของ clip นี้ (ประมาณ 2.00) โปรดชม)  มันเป็นฉากคาดไม่ถึง  ผู้หญิงฝรั่งคนนั้นร้องวี้ดลั่นโรง  ทำเอาผม (และอาจจะคนอื่น ๆ รอบ ๆ เธอที่กำลังลุ้นระทึก) สะดุ้งเฮือกไปด้วย  เพิ่มรสชาติของหนังอย่างได้ผล




ดูจบแล้วอดคิดไม่ได้ว่าถ้าผู้ชายไม่เริ่มต้นก่อน  เรื่องราวแบบนี้ก็ไม่เกิดขึ้น
บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 893  เมื่อ 10 ธ.ค. 21, 09:02

จากหนังเรื่อง Fatal Attraction นี้ Glen Close ดังสนั่นวงการภาพยนตร์  เธอเป็นตัวเต็ง Oscar แต่พลาด

ปีต่อมาเธอตอกย้ำความเป็นนักแสดงอันดับ 1 ของวงการด้วยบทนางร้ายอีกครั้งแต่ต่างบรรยากาศกันกับเรื่องแรก ในหนังลิเกฝรั่งเรื่อง Dangerous Liaisons
 
เมื่อคุยถึงหนังเรื่องนี้ทุกคนต้องเอ่ยถึงฉากนี้อันเป็นฉากตอนจบเรื่อง



ในงานประกาศผล Oscar พอถึงสาขาดารานำหญิง พิธีกรประกาศชื่อผู้เข้าชิง  เมื่อถึงชื่อของเธอ  ทางงานก็นำฉากช่วงท้ายของ clip นี้ออกฉายขึ้นจอ  พอจบ Clip คนตบมือกันสนั่น  

แต่เธอก็พลาดจับ Oscar ไปอย่างไม่มีใครคาดคิด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 894  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 10:27

เสียดาย พอคุณป้าอายุมากขึ้น บทดีๆก็น้อยลง  กลายเป็นตัวประกอบชั้นดีของหนังหลายเรื่องอย่าง Air Force One  ออกมาฉากสองฉากเองในฐานะรองประธานาธิบดี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 895  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 10:30

ฝีไม้ลายมือยังสมกับเล่นเป็นตัวร้าย Cruella ในหนังดิสนีย์

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 896  เมื่อ 11 ธ.ค. 21, 12:19

            ฝีมือการแสดงของคุณป้าไม่เป็นรองใคร ได้รางวัลจากสถาบันอื่นๆ รวมทั้ง Tony Awards จากละครเพลง
เรื่อง Sunset Boulevard แต่ไม่เคยได้ Oscar สักที จนทำสถิติเป็น Most nominations without a win คู่กับ
ฝ่ายชายคือ ปู่ Peter O'Toole


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 897  เมื่อ 12 ธ.ค. 21, 09:48

จากคุณป้าเกล็น มาถึงป้าอีกคนที่สวยและดังในยุค 1980s-90s คือมิเชล ไฟเฟอร์  
ปัจจุบันไม่ได้ติดตามว่าเธอไปทำอะไรอยู่ที่ไหน

ฉากนี้ จากThe Fabulous Baker Boys (1989) เธอดังระเบิดจากฉากร้องเพลงบนแกรนด์เปียโน    ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสคาร์ในฐานะดารานำหญิง  
สื่อพากันลงความเห็นว่าเป็นหนึ่งในฉากสวยเซกซี่ที่สุดในประวัติการของภาพยนตร์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 898  เมื่อ 13 ธ.ค. 21, 08:27

มิเชลในบท Catwoman  คู่ปรับคนสวยของมนุษย์ค้างคาว

บันทึกการเข้า
nathanielnong
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 899  เมื่อ 13 ธ.ค. 21, 08:52

ต่อเรื่อง Glenn Close อีกนิด

หลังจากดูหนัง 2 เรื่องที่เล่าไปผมก็ไม่ชอบหน้าเธอขึ้นมาเลย  เธอเล่นบทร้ายจนผมเกิดอคติ  แล้วก็เลิกตามหนังที่เธอเล่นไปนาน  จนในที่สุดก็มา ‘อดไม่ได้’ กับหนัง The Wife (2018)  เพราะมันดังมาก  ดังจน ‘เอาวะ  ดูซักหน่อย’

The Wife เล่าเรื่องเมียแสนดีที่สนับสนุนอาชีพการงานของผัวได้ร่วมเดินทางไป กรุง Stockholm เพื่อเป็นกำลังใจให้ผัวตัวเองในงานรับรางวัล Nobel 
ช่วงเวลานั้นเองที่เธอก็เริ่มมองเห็นผัวตัวเองด้วยตาที่สว่างขึ้นพร้อม ๆ กับความลับที่ผัวตัวเองปกปิดไว้ก็คลี่คลายออกมา




ฉากเมียและแม่ผู้แสนดี



ฉากที่ทำให้เมียผู้แสนดีตาสว่างขึ้นในที่สุด





Climax เกิดขึ้นหลังจากฉากที่ 2 นี้แต่ผมหา Clip ไม่เจอ

หูยยย... หนังดีสมกับที่ใคร ๆ เขากล่าวถึงจริง ๆ  บทในเรื่องนี้ที่ GC สวมลบล้างอคติที่ผมมีต่อเธอว่าเหมือนนางตัวร้ายจนหมดสิ้น  เหลือแต่ความน่าสงสาร  ความรักทำให้คนตาบอดนี่จริงแท้  อย่างไรก็ตามฉากสุดท้ายแสดงถึงความเป็นเมียที่ดีต้องทำตัวอย่างไร




การรับบทจากเรื่องนี้ทำให้ GC ได้รับเสนอชื่อเข้าชิง Oscar เป็นครั้งที่ 7  แต่ก็พลาดอีกตามเคย  อีก 2 ปีต่อมาเธอก็ได้รับการเสนอชื่ออีกเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งก็ยังพลาดอีก  ทำให้ชื่อของเธอเข้าไปอยู่ใน Guinness Book of Records ว่าเป็นนักแสดงที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Oscar มากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์แต่ยังไม่ได้จับต้องรางวัลสักที (มีทั้งหมด 2 คน  แต่อีกคนตายไปแล้ว -- คุณ SILA ได้กรุณาเฉลยไปแล้ว)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 58 59 [60] 61 62 ... 77
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง